มาแล้วตามคำสัญญาครับกับรีวิว ASUS K550JK โน๊ตบุ๊คสเปคคุ้มค่าที่หลายๆ ท่านลอยคอ รอคอยให้รีวิวกัน แน่นอนละครับเชื่อว่าทุกๆ ท่านก็คงได้ยินกิตติศัพท์ความคุ้มค่ากันมาอย่างมากมายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสเปคของระบบที่จัดหนักจัดเต็มมาให้แบบไม่ยั้งทีเดียว ทั้งหน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-4710HQ รวมไปถึงการ์ดจอ GeForce GTX 850M ที่เป็นการ์ดจอในระดับเดียวกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คเลยก็ว่าได้
แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สเปคจะสูงมากแต่ ด้วยรูปแบบและรูปลักษณ์ของตัวเครื่องนั้นเทไปทางโน๊ตบุ๊คมาตราฐานทั่วไป ซึ่งหลายๆ ท่านสงสัยว่ามันจะออกมาสวยไหม จะดีหรือไม่อย่างไร ก็เชิญคลายข้อสงสัยกันในรีวิวนี้กันได้เลยละครับ ก่อนอื่นบอกในเบื้องต้นก่อนเลยว่ามันร้อน และแรงมากๆ
Specification
สเปคของระบบ ที่แน่นอนว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้เลือกใช้ซีพียู Intel ในรหัส Core i7-4710HQ (2.5GHz, เร่งได้สูงสุด 3.5GHz 6 MB L3 Cache) พ่วงด้วยการ์ดจอแยกในกลุ่มเกมมิ่งอย่าง NVIDIA GeForce GTX 850M 2G DDR3 (แตกต่างกับตัว G550JK ที่ได้แรมการ์ดจอ 4GB GDDR3 และมี Memory Clock เยอะกว่าอยู่ 100MHz) มาพร้อมด้วยแรมขนาด 4GB DDR3L แบบฝังติดกับบอร์ดและสามารถอัพเกรดได้เพิ่มเติมอีก 1 แผงสูงสุด 8GB (4GB+8GB=12GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟมาตรฐาน 1 TB
หน้าจอแสดงผล ASUS K550JK ใช้จอแสดงผลมาตราฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ที่ค่อนข้างดีอย่าง SonicMaster audio technology vocal master
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , Card Reader 3 in 1 (SD/SDHC/SDXC) , RJ45 (10/100/1000 Base T Ethernet LAN) , Optical Media Drive Super-Muti DVD แบบสลิม และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตราฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0
ขนาดตัว ASUS K550JK ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.48 ~ 3.17 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัม พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปี สนนราคาอยู่ที่ 25,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS K550JK
Using Experience
มาเข้าเรื่องรีวิวกันเลยครับสำหรับเจ้า ASUS K550JK เมื่อแรกได้สัมผัสตัวจริงทางผู้เขียนรีวิวเอง ก็ยอมรับค่อนข้างปลื้มการออกแบบภาพนอกของมันอยู่พอสมควรทีเดียวครับ โดยเฉพาะกับฝาบนของตัวเครื่องที่จะใช้วัสดุพลาสติกสีออกเทาๆดำๆ ที่ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสแบบมีเท็กเจอร์ที่ค่อนข้างฟินไม่เบาเลยละแถมยังสวยงามดีด้วย ส่วนด้านหลังของตัวเครื่องยังคงใช้พลาสติดผิวดำด้านตามมาตราฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วอยู่ครับซึ่งก็ไม่ได้ถือว่าโดดเด่นอะไรมาก แต่ก็สมราคาแล้วละครับกับราคานี้ได้สเปคขนาดนี้
การใช้งานจริงๆ ก็แน่นอนว่าตอบสนองกับการใช้งานทั่วไปได้เป็นอย่างดีครับ และไม่ทำให้ผิดหวัง แถมยังใช้งานได้สมน้ำสมเนื้อตามสเปคของมันเลยละครับ ซึ่งแน่นอนการทดสอบแรกที่ผมใช้อยู่เป็นประจำก็คือเปิดหนังจำพวก Full-HD และ Trailer ต่างๆดู เจ้า ASUS ก็ตอบสนองและให้ภาพได้ดีพอสมควรครับ และให้มุมมองซ้ายขวาแที่ค่อนข้างกว้างดีเลยละแต่มาติดตรงที่มุมมองจอมุ้มก้มและมุมเงยที่ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนักครับ ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณครับครับสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างได้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆบนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดซึ่งก็แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเจ้านี่จัดหน้าจอแบบ HD ความละเอียด 1366×768 พิกเซลมาให้
แต่อย่างไรก็ตามด้วยหน้าจอแสดงผลแบบ HD นี้จะว่าเป็นข้อดีของการเล่นเกมก็ว่าได้นะครับ เพราะด้วยประสิทธิภาพของตัวเครื่อง ASUS K550JK เองที่ค่อนข้างสูงพอตัวอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง Core i7 และการ์ดจอ GeForce GTX850M ยิ่งเล่นเกมยอดฮิตกราฟฟิคหนักๆ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Far Cry 3 , Battlefield 4 , Crysis 3 เป็นต้น และปรับกราฟฟิคภายในเกมระดับ High บนความละเอียด Native อย่าง 1366×768 พิกเซลก็ให้การเล่นเกมที่ลื่นไหลและคมชัดมาๆเลยละครับ ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งข้อดีของหน้าจอความละเอียดไม่สูงมากนัก เมื่อมารันบนโน๊ตบุ๊คสเปคสูงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเพื่อนๆ ต้องการที่จะเล่นเกมผ่านจอแยกก็สามารถทำได้เช่นกันบนการเชื่อมต่อ HDMI ครับแต่ถ้าจะเล่นที่ Full-HD คงจะไม่ไหว ขอแนะนำให้ปรับ HD นี่และ Work สุดๆ
มาพูดถึงเรื่องเสียงกันบ้างครับ สำหรับเสียงนั้นตัวผมเองได้ลองเล่นเกมต่างๆ รวมไปถึงฟังเพลง ดูหนัง ดูคลิป MV ต่างๆ ก็ยอมรับว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้ที่ใช้ระบบเสียง SonicMaster audio technology vocal master มีเสียงออกไปทางค่อนข้างแหลมเปรียบฟังเพลงก็ประมาณว่าได้ยินน้ำเสียงของนักร้องเยอะหน่อย เปรียบเสียงปืนก็จะออกแนวเสียงปืนกลๆ รัวๆ แหลมแต่ไม่แน่นนะครับ ซึ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่เน้นเบสเจ้านี่ก็พอไหวครับ อย่างไรก็ตามสำหรับเพื่อนๆ ที่ฟังเพลงหนักๆ เช่น R&B , Hip Hop , Dubstep หรือเพลงที่ใช้เสียงเบสมากๆ บอกเลยว่าไม่เหมาะเท่าไรครับ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานทั่ว ASUS K550JK ก็สามารถทำได้ตามมาตราฐานทั่วๆไปเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แช็ท ก็ทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยโดดเด่นมากนักครับ เพราะการออกแบบของ ASUS K550JK ที่เน้นไปในทางประสิทธิภาพเป็นหลัก ทำให้ต้องลดคุณภาพของวัสดุลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงช่วงบริเวณของแป้นพิมพ์และทัชแพดเอง ที่บอกก่อนเลยว่าตัวแป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดีนะ แต่ฐานของแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอาซะเลยครับ ทำให้เวลาใช้พิมพ์งานไปนานๆ จะรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไรนั่นเอง เช่นกันกับตัวทัชแพดแบบซ่อนปุ่มที่ลื่นไหลดีพอสมควร แต่ต้องออกแรงกดมากหน่อยครับผม
แต่อย่างไรก็ตามสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยการหาเมาส์และคีย์บอร์ดมาต่อพ่วงเท่านั้นก็หมดปัญหาละครับ ซึ่งเชื่อว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่มักซื้อมาใช้งานกันอยู่แล้ว นอกเหนือจากนี้ในการใช้งานทั่วไปถ้าเพื่อนๆอยากเซฟงานลงแฟลชไดร์ฟ , ฮาร์ดดิสก์ External , DVD หรือต่อพ่วงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ก็สามารถทำได้ด้วยพอร์ตเชื่อมต่อมาตราฐานใหม่ที่มีมาให้อย่างครบครันทั้ง USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 ที่สำคัญเจ้านี่ยังมาพร้อมกับกล้องเว็บแคมมาให้ด้วย รับรองว่าในด้านการเชื่อมต่อ ASUS K550JK ทำได้ไม่แพ้ใครแน่นอน
การพกพาต่างๆกับ ASUS K550JK ยังคงสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้เช่นเดียวกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ ครับด้วยขนาดตัวที่ 15 นิ้ว พร้อมด้วยน้ำหนักตัวราวๆ 2.3 กิโลกรัมกว่าๆ แต่ทางผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้กระเป๋าในการพกพาเจ้านี่นะครับจะพกพาได้ง่ายและสะดวกกว่า
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบหรือผล Benchmark ของเจ้า ASUS K550JK ?ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Core i7-4710HQ ที่มีประสิทธิภาพสูงพ่วงด้วยการ์ดจอประสิทธิภาพเยี่ยมอย่าง GeForce GTX850M กันครับว่าจะแรงได้แค่ไหน
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ NVIDIA ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอ GTX ได้อย่างครบถ้วน
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลจาก Intel และการ์ดจอ NVIDIA ตัวแรง
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบมาตราฐาน HDD ความจุ 1TB ก็มีคะแนนที่รวดเร็วตามปกติ
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาไม่มากไม่มาย 19 นาทีกว่าๆเท่านั้นถือว่าทำได้ดี
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 7 นาทีกว่าๆ เท่านั้นไวมากๆเลย
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อรๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 3 นาที
การเล่นเกมต่างๆ จะเห็นว่าเล่นได้ดีเลยละละครับ เรียกได้ว่าเล่นได้ลื่นไหลบนความละเอียดระดับ HD ปรับ High ทุกเกมบนหน้าจอ 15.6 นิ้วที่ติดตั้งมาให้เสียด้วย
โปรแกรม Benchmark หรือทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยมครับผม
ขณะใช้งานผ่านแบตเตอรี่ ASUS K550JK นั้นก็แสดงผลขณะเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป และตั้งค่า Balance ตัวโปรแกรมก็แสดงผลระยะเวลาใช้งานได้อยู่ที่ราวๆ 1 ชั่วโมงกว่าครับซึ่งค่อนข้างเพี้ยนทีเดียว ซึ่งถ้านำมาใช้จริงตัวอายุการใช้งานถ้าดูหนัง HD ก็จะได้ราวๆ ?2-3 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1-1.30 ชั่วโมงเป็นต้นครับ โดยเจ้า ASUS K550JK นั้นจะใช้แบตเตอรี่มีความจุ 2950 mAh ครับผม
Heat / Upgrade
แบตเตอรี่และการอัพเกรดเผื่ออนาคตเจ้า ASUS K550JK ก็สามารถทำได้พอประมาณครับ โดยการอัพเกรดที่สามารถทำได้ก็อาทิ อัพเกรดแรม อัพเกรด SSD และเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นต้น ซึ่งในส่วนของแรมดังที่กล่าวไปครับมีสล๊อตแรมเพิ่มเติมมาให้อีก 1 สล๊อตด้วยกัน ครับผม และสามารถอัพเกรดแรมได้จากเดิม 4GB สูงสุด 8GB ป็น 12GB ส่วนการอัพเกรด SSD เองก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยน HDD ตัวเดิมหรือเพิ่มเบย์ก็สามารถทำได้(แต่ค่อนข้างยากและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ)
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเล่นเกม Battlefield 4 ที่การตั้งค่า 1366×768 พิกเซล บนกราฟฟิคระดับ High ครับโดยทำการเล่นราวๆ 20-30 นาที ในห้องแอร์ปรับอุณหภูมิที่ 24 องศา ซึ่งผลความร้อนระหว่างการเล่นเกม และใช้เครื่องวัดความร้อนบนพื้นผิวแบบ Infrared Thermo โดยจะแบ่งย่อยออกเป็น 6 จุด บนบริเวณที่เพื่อนๆ สัมผัสโดนโน๊ตบุ๊คตรงๆในขณะเล่นเกมครับ ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ไม่ร้อนและจัดอยู่ในระดับอุ่นๆ เท่านั้นเองซึ่งจะมีความร้อนในจุดดังกล่าวดังนี้
นอกจากเหนือจากนี้ความร้อนที่วัดได้ในขณะเล่นเกมบน ASUS K550JK โดยใช้การตั้งค่าในการเล่นคล้ายๆกัน ก็แสดงผลผ่านโปรแกรมออกมาได้ดังนี้
?HWmonitor
จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของตัวซีพียูอยู่ที่ราวๆ 43-45 องศา แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนของซีพียูจะไปสูงสุดอยู่ที่ระดับ 85 องศา ซึ่งถือว่าร้อนพอสมควรเลยละครับ ซึ่งเข้าขั้นอันตรายเลยถ้าเปิดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆอาจทำให้เครื่องวูบดับกลางอากาศได้เลย โดยเหตุผลที่ทำให้ร้อนขนาดนี้ก็เพราะการออกแบบระบบระบายความร้อนที่ยังคงใช้แบบมาตราฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ใช้พัดลมเพียงตัวเดียวนั่นเองละครับ (เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คอย่า ASUS G550JK ใช้ถึงสองตัว) ทางที่ดีแนะนำให้ใช้ Cooling Pad มาช่วยเสริมจะช่วยลดความร้อนซีพียูได้ดีอย่างแน่นอน
GPU-Z?
ในส่วนของความร้อนการ์ดจอนั้นขณะใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ราวๆ 50-52 องศาครับผม แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนจะพุ่งอยู่ที่ 76-77 องศาซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานและใช้งานเล่นเกมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดีครับผม
Conclusion / Award
สรุปผลการ Review เจ้า ASUS K550JK ก็ต้องบอกเลยว่ามันคุ้มค่าคุ้มราคามากๆเลยละครับ ถึงแม้มันจะมีข้อสังเกตอยู่บ้างในบางจุดยกตัวอย่างเช่นวัสดุบริเวณคีย์บอร์ดที่ยวบยาบสักเล็กน้อยทำให้เวลาใช้งานไม่ค่อยมั่นใจเท่าไร รวมไปถึงในเรื่องของความร้อนสะสมที่มีค่อนข้างมากขณะใช้งานหนักๆ โดยเฉพาะกับการเล่นเกม แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยากครับเพียงแค่หาคีย์บอร์ด และ Cooling Pad ที่มีคุณภาพสูงๆ มาใช้เท่านั้นก็จะช่วยทุเลาได้แล้วละครับ ส่วนเพื่อนๆที่กังวลว่าแรมฝังกับซีพียูแบบฝังใช้งานนานๆจะเป็นปัญหาหรือไม่นั้น ทางผู้เขียนเองประเมินว่าถ้าผู้ใช้ดูแลเครื่องและใช้งานอย่างทนุถนอนไม่ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไรครับ ทางที่ดีแนะนำให้ซื้อประกันเพิ่มเป็น 3 ปีเพื่อความปลอดภัยจะเป็นดีที่สุดครับ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าเกิดพังแล้วเต้องปลี่ยนยกบอร์ด
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมองข้ามข้อสังเกตต่างๆ สิ่งที่โดดเด่นมากของ ASUS K550JK เลยก็คือฮาร์ดแวร์และสเปคที่เทียบได้กับโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งในระดับเริ่มต้นเลยละครับไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลางประสิทธิภาพสูงอย่าง Intel Core i7-4710HQ และการ์ดจอประสิทธิภาพสูงอย่าง GeForce GTX 850M ซึ่งเมื่อทั้งสองฮาร์ดแวร์มาบวกรวมกับหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว HD ที่ถึงแม้หลายๆคนจะมองว่ามันเป็นจุดด้อยในการใช้งาน แต่ขอบอกได้เลยละครับว่าถ้านำเจ้าจอ HD นี้มาเล่นเกมบนสเปคนี้แล้วละก็ลื่นไหลอย่างแน่นอน (แต่การทำงานก็อีกเรื่องนึงนะ) ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ASUS K550JK ก็จัดว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่น่าสนใจและอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานพร้อมรองรับได้กับทุกการเชื่อมต่อเลยละครับไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , HDMI , DVD-RW และ SD-Card เป็นต้น ซึ่งก็นับได้ว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้มีความคุ้มค่าน่าซื้อหาเป็นอย่างมากเลยละครับในราคา 25,990 บาท
ข้อดี
- สเปคสูงในระดับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค
- หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ่โต
- ใช้ Core i7 HQ และได้การ์ดจอแยก GeForce GTX850M เล่มเกมลื่น
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ราคาเหมาะสมกับสเปคจัดได้ว่าคุ้ม
ข้อสังเกต
- วัสดุไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการลดต้นทุนเยอะ
- ความร้อนสูงมาก มีสเปคที่สูง แต่ระบบะระบายความร้อนมีพัดลมเพียงตัวเดียว
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS K550JK ?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
การจับคู่ระหว่าง Intel Core i7 รหัส HQ ที่เป็นซีพียูประสิทธิภาพสูงพ่วงด้วยกับ NVIDIA GeForce GTX 850M ที่เป็นกราฟิกการ์ดในสายเกมมิ่งสุดแรงถือว่าเป็นการจับคู่ที่ทรงประสิทธิภาพ รองรับการทำงานได้รอบด้าน ไม่ว่าจะใช้ทำงานกราฟิกหรือว่าจะเล่นเกมก็ตาม
ด้วยสเปคของระบบภายใน ASUS K550JK อยู่ในระดับสูงซึ่งถ้าจะตั้งราคาแพงกว่านี้ก็ยังสามารถทำได้ แต่ทาง ASUS เลือกตั้งมาที่ 25,990 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงที่ราคาไม่สูงนักใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ เราจึงขอมอบรางวัล Best Value ไปให้กับเจ้า K550JK เลย
Specification
สเปคของระบบ ที่แน่นอนว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้เลือกใช้ซีพียู Intel ในรหัส Core i7-4710HQ (2.5GHz, เร่งได้สูงสุด 3.5GHz 6 MB L3 Cache) พ่วงด้วยการ์ดจอแยกในกลุ่มเกมมิ่งอย่าง NVIDIA GeForce GTX 850M 2G DDR3 (แตกต่างกับตัว G550JK ที่ได้แรมการ์ดจอ 4GB GDDR3 และมี Memory Clock เยอะกว่าอยู่ 100MHz) มาพร้อมด้วยแรมขนาด 4GB DDR3L แบบฝังติดกับบอร์ดและสามารถอัพเกรดได้เพิ่มเติมอีก 1 แผงสูงสุด 8GB (4GB+8GB=12GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟมาตรฐาน 1 TB
หน้าจอแสดงผล ASUS K550JK ใช้จอแสดงผลมาตราฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ที่ค่อนข้างดีอย่าง SonicMaster audio technology vocal master
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , Card Reader 3 in 1 (SD/SDHC/SDXC) , RJ45 (10/100/1000 Base T Ethernet LAN) , Optical Media Drive Super-Muti DVD แบบสลิม และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตราฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0
ขนาดตัว ASUS K550JK ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.48 ~ 3.17 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัม พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปี สนนราคาอยู่ที่ 25,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS K550JK
Using Experience
มาเข้าเรื่องรีวิวกันเลยครับสำหรับเจ้า ASUS K550JK เมื่อแรกได้สัมผัสตัวจริงทางผู้เขียนรีวิวเอง ก็ยอมรับค่อนข้างปลื้มการออกแบบภาพนอกของมันอยู่พอสมควรทีเดียวครับ โดยเฉพาะกับฝาบนของตัวเครื่องที่จะใช้วัสดุพลาสติกสีออกเทาๆดำๆ ที่ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสแบบมีเท็กเจอร์ที่ค่อนข้างฟินไม่เบาเลยละแถมยังสวยงามดีด้วย ส่วนด้านหลังของตัวเครื่องยังคงใช้พลาสติดผิวดำด้านตามมาตราฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วอยู่ครับซึ่งก็ไม่ได้ถือว่าโดดเด่นอะไรมาก แต่ก็สมราคาแล้วละครับกับราคานี้ได้สเปคขนาดนี้
การใช้งานจริงๆ ก็แน่นอนว่าตอบสนองกับการใช้งานทั่วไปได้เป็นอย่างดีครับ และไม่ทำให้ผิดหวัง แถมยังใช้งานได้สมน้ำสมเนื้อตามสเปคของมันเลยละครับ ซึ่งแน่นอนการทดสอบแรกที่ผมใช้อยู่เป็นประจำก็คือเปิดหนังจำพวก Full-HD และ Trailer ต่างๆดู เจ้า ASUS ก็ตอบสนองและให้ภาพได้ดีพอสมควรครับ และให้มุมมองซ้ายขวาแที่ค่อนข้างกว้างดีเลยละแต่มาติดตรงที่มุมมองจอมุ้มก้มและมุมเงยที่ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนักครับ ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณครับครับสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างได้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆบนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดซึ่งก็แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะเจ้านี่จัดหน้าจอแบบ HD ความละเอียด 1366×768 พิกเซลมาให้
แต่อย่างไรก็ตามด้วยหน้าจอแสดงผลแบบ HD นี้จะว่าเป็นข้อดีของการเล่นเกมก็ว่าได้นะครับ เพราะด้วยประสิทธิภาพของตัวเครื่อง ASUS K550JK เองที่ค่อนข้างสูงพอตัวอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง Core i7 และการ์ดจอ GeForce GTX850M ยิ่งเล่นเกมยอดฮิตกราฟฟิคหนักๆ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Far Cry 3 , Battlefield 4 , Crysis 3 เป็นต้น และปรับกราฟฟิคภายในเกมระดับ High บนความละเอียด Native อย่าง 1366×768 พิกเซลก็ให้การเล่นเกมที่ลื่นไหลและคมชัดมาๆเลยละครับ ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งข้อดีของหน้าจอความละเอียดไม่สูงมากนัก เมื่อมารันบนโน๊ตบุ๊คสเปคสูงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเพื่อนๆ ต้องการที่จะเล่นเกมผ่านจอแยกก็สามารถทำได้เช่นกันบนการเชื่อมต่อ HDMI ครับแต่ถ้าจะเล่นที่ Full-HD คงจะไม่ไหว ขอแนะนำให้ปรับ HD นี่และ Work สุดๆ
มาพูดถึงเรื่องเสียงกันบ้างครับ สำหรับเสียงนั้นตัวผมเองได้ลองเล่นเกมต่างๆ รวมไปถึงฟังเพลง ดูหนัง ดูคลิป MV ต่างๆ ก็ยอมรับว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้ที่ใช้ระบบเสียง SonicMaster audio technology vocal master มีเสียงออกไปทางค่อนข้างแหลมเปรียบฟังเพลงก็ประมาณว่าได้ยินน้ำเสียงของนักร้องเยอะหน่อย เปรียบเสียงปืนก็จะออกแนวเสียงปืนกลๆ รัวๆ แหลมแต่ไม่แน่นนะครับ ซึ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่เน้นเบสเจ้านี่ก็พอไหวครับ อย่างไรก็ตามสำหรับเพื่อนๆ ที่ฟังเพลงหนักๆ เช่น R&B , Hip Hop , Dubstep หรือเพลงที่ใช้เสียงเบสมากๆ บอกเลยว่าไม่เหมาะเท่าไรครับ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานทั่ว ASUS K550JK ก็สามารถทำได้ตามมาตราฐานทั่วๆไปเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แช็ท ก็ทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยโดดเด่นมากนักครับ เพราะการออกแบบของ ASUS K550JK ที่เน้นไปในทางประสิทธิภาพเป็นหลัก ทำให้ต้องลดคุณภาพของวัสดุลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงช่วงบริเวณของแป้นพิมพ์และทัชแพดเอง ที่บอกก่อนเลยว่าตัวแป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดีนะ แต่ฐานของแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอาซะเลยครับ ทำให้เวลาใช้พิมพ์งานไปนานๆ จะรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไรนั่นเอง เช่นกันกับตัวทัชแพดแบบซ่อนปุ่มที่ลื่นไหลดีพอสมควร แต่ต้องออกแรงกดมากหน่อยครับผม
แต่อย่างไรก็ตามสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยการหาเมาส์และคีย์บอร์ดมาต่อพ่วงเท่านั้นก็หมดปัญหาละครับ ซึ่งเชื่อว่าเพื่อนๆ ส่วนใหญ่มักซื้อมาใช้งานกันอยู่แล้ว นอกเหนือจากนี้ในการใช้งานทั่วไปถ้าเพื่อนๆอยากเซฟงานลงแฟลชไดร์ฟ , ฮาร์ดดิสก์ External , DVD หรือต่อพ่วงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ก็สามารถทำได้ด้วยพอร์ตเชื่อมต่อมาตราฐานใหม่ที่มีมาให้อย่างครบครันทั้ง USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 ที่สำคัญเจ้านี่ยังมาพร้อมกับกล้องเว็บแคมมาให้ด้วย รับรองว่าในด้านการเชื่อมต่อ ASUS K550JK ทำได้ไม่แพ้ใครแน่นอน
การพกพาต่างๆกับ ASUS K550JK ยังคงสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้เช่นเดียวกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ ครับด้วยขนาดตัวที่ 15 นิ้ว พร้อมด้วยน้ำหนักตัวราวๆ 2.3 กิโลกรัมกว่าๆ แต่ทางผู้เขียนขอแนะนำให้ใช้กระเป๋าในการพกพาเจ้านี่นะครับจะพกพาได้ง่ายและสะดวกกว่า
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบหรือผล Benchmark ของเจ้า ASUS K550JK ?ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Core i7-4710HQ ที่มีประสิทธิภาพสูงพ่วงด้วยการ์ดจอประสิทธิภาพเยี่ยมอย่าง GeForce GTX850M กันครับว่าจะแรงได้แค่ไหน
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ NVIDIA ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอ GTX ได้อย่างครบถ้วน
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลจาก Intel และการ์ดจอ NVIDIA ตัวแรง
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบมาตราฐาน HDD ความจุ 1TB ก็มีคะแนนที่รวดเร็วตามปกติ
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาไม่มากไม่มาย 19 นาทีกว่าๆเท่านั้นถือว่าทำได้ดี
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 7 นาทีกว่าๆ เท่านั้นไวมากๆเลย
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อรๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 3 นาที
การเล่นเกมต่างๆ จะเห็นว่าเล่นได้ดีเลยละละครับ เรียกได้ว่าเล่นได้ลื่นไหลบนความละเอียดระดับ HD ปรับ High ทุกเกมบนหน้าจอ 15.6 นิ้วที่ติดตั้งมาให้เสียด้วย
โปรแกรม Benchmark หรือทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยมครับผม
ขณะใช้งานผ่านแบตเตอรี่ ASUS K550JK นั้นก็แสดงผลขณะเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป และตั้งค่า Balance ตัวโปรแกรมก็แสดงผลระยะเวลาใช้งานได้อยู่ที่ราวๆ 1 ชั่วโมงกว่าครับซึ่งค่อนข้างเพี้ยนทีเดียว ซึ่งถ้านำมาใช้จริงตัวอายุการใช้งานถ้าดูหนัง HD ก็จะได้ราวๆ ?2-3 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1-1.30 ชั่วโมงเป็นต้นครับ โดยเจ้า ASUS K550JK นั้นจะใช้แบตเตอรี่มีความจุ 2950 mAh ครับผม
Heat / Upgrade
แบตเตอรี่และการอัพเกรดเผื่ออนาคตเจ้า ASUS K550JK ก็สามารถทำได้พอประมาณครับ โดยการอัพเกรดที่สามารถทำได้ก็อาทิ อัพเกรดแรม อัพเกรด SSD และเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นต้น ซึ่งในส่วนของแรมดังที่กล่าวไปครับมีสล๊อตแรมเพิ่มเติมมาให้อีก 1 สล๊อตด้วยกัน ครับผม และสามารถอัพเกรดแรมได้จากเดิม 4GB สูงสุด 8GB ป็น 12GB ส่วนการอัพเกรด SSD เองก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยน HDD ตัวเดิมหรือเพิ่มเบย์ก็สามารถทำได้(แต่ค่อนข้างยากและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ)
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเล่นเกม Battlefield 4 ที่การตั้งค่า 1366×768 พิกเซล บนกราฟฟิคระดับ High ครับโดยทำการเล่นราวๆ 20-30 นาที ในห้องแอร์ปรับอุณหภูมิที่ 24 องศา ซึ่งผลความร้อนระหว่างการเล่นเกม และใช้เครื่องวัดความร้อนบนพื้นผิวแบบ Infrared Thermo โดยจะแบ่งย่อยออกเป็น 6 จุด บนบริเวณที่เพื่อนๆ สัมผัสโดนโน๊ตบุ๊คตรงๆในขณะเล่นเกมครับ ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ไม่ร้อนและจัดอยู่ในระดับอุ่นๆ เท่านั้นเองซึ่งจะมีความร้อนในจุดดังกล่าวดังนี้
นอกจากเหนือจากนี้ความร้อนที่วัดได้ในขณะเล่นเกมบน ASUS K550JK โดยใช้การตั้งค่าในการเล่นคล้ายๆกัน ก็แสดงผลผ่านโปรแกรมออกมาได้ดังนี้
?HWmonitor
จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของตัวซีพียูอยู่ที่ราวๆ 43-45 องศา แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนของซีพียูจะไปสูงสุดอยู่ที่ระดับ 85 องศา ซึ่งถือว่าร้อนพอสมควรเลยละครับ ซึ่งเข้าขั้นอันตรายเลยถ้าเปิดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆอาจทำให้เครื่องวูบดับกลางอากาศได้เลย โดยเหตุผลที่ทำให้ร้อนขนาดนี้ก็เพราะการออกแบบระบบระบายความร้อนที่ยังคงใช้แบบมาตราฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ใช้พัดลมเพียงตัวเดียวนั่นเองละครับ (เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คอย่า ASUS G550JK ใช้ถึงสองตัว) ทางที่ดีแนะนำให้ใช้ Cooling Pad มาช่วยเสริมจะช่วยลดความร้อนซีพียูได้ดีอย่างแน่นอน
GPU-Z?
ในส่วนของความร้อนการ์ดจอนั้นขณะใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ราวๆ 50-52 องศาครับผม แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนจะพุ่งอยู่ที่ 76-77 องศาซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานและใช้งานเล่นเกมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดีครับผม
Conclusion / Award
สรุปผลการ Review เจ้า ASUS K550JK ก็ต้องบอกเลยว่ามันคุ้มค่าคุ้มราคามากๆเลยละครับ ถึงแม้มันจะมีข้อสังเกตอยู่บ้างในบางจุดยกตัวอย่างเช่นวัสดุบริเวณคีย์บอร์ดที่ยวบยาบสักเล็กน้อยทำให้เวลาใช้งานไม่ค่อยมั่นใจเท่าไร รวมไปถึงในเรื่องของความร้อนสะสมที่มีค่อนข้างมากขณะใช้งานหนักๆ โดยเฉพาะกับการเล่นเกม แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยากครับเพียงแค่หาคีย์บอร์ด และ Cooling Pad ที่มีคุณภาพสูงๆ มาใช้เท่านั้นก็จะช่วยทุเลาได้แล้วละครับ ส่วนเพื่อนๆที่กังวลว่าแรมฝังกับซีพียูแบบฝังใช้งานนานๆจะเป็นปัญหาหรือไม่นั้น ทางผู้เขียนเองประเมินว่าถ้าผู้ใช้ดูแลเครื่องและใช้งานอย่างทนุถนอนไม่ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไรครับ ทางที่ดีแนะนำให้ซื้อประกันเพิ่มเป็น 3 ปีเพื่อความปลอดภัยจะเป็นดีที่สุดครับ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าเกิดพังแล้วเต้องปลี่ยนยกบอร์ด
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมองข้ามข้อสังเกตต่างๆ สิ่งที่โดดเด่นมากของ ASUS K550JK เลยก็คือฮาร์ดแวร์และสเปคที่เทียบได้กับโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งในระดับเริ่มต้นเลยละครับไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลางประสิทธิภาพสูงอย่าง Intel Core i7-4710HQ และการ์ดจอประสิทธิภาพสูงอย่าง GeForce GTX 850M ซึ่งเมื่อทั้งสองฮาร์ดแวร์มาบวกรวมกับหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว HD ที่ถึงแม้หลายๆคนจะมองว่ามันเป็นจุดด้อยในการใช้งาน แต่ขอบอกได้เลยละครับว่าถ้านำเจ้าจอ HD นี้มาเล่นเกมบนสเปคนี้แล้วละก็ลื่นไหลอย่างแน่นอน (แต่การทำงานก็อีกเรื่องนึงนะ) ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ASUS K550JK ก็จัดว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่น่าสนใจและอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานพร้อมรองรับได้กับทุกการเชื่อมต่อเลยละครับไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , HDMI , DVD-RW และ SD-Card เป็นต้น ซึ่งก็นับได้ว่าเจ้า ASUS K550JK ตัวนี้มีความคุ้มค่าน่าซื้อหาเป็นอย่างมากเลยละครับในราคา 25,990 บาท
ข้อดี
- สเปคสูงในระดับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค
- หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ่โต
- ใช้ Core i7 HQ และได้การ์ดจอแยก GeForce GTX850M เล่มเกมลื่น
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ราคาเหมาะสมกับสเปคจัดได้ว่าคุ้ม
ข้อสังเกต
- วัสดุไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการลดต้นทุนเยอะ
- ความร้อนสูงมาก มีสเปคที่สูง แต่ระบบะระบายความร้อนมีพัดลมเพียงตัวเดียว
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS K550JK ?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
การจับคู่ระหว่าง Intel Core i7 รหัส HQ ที่เป็นซีพียูประสิทธิภาพสูงพ่วงด้วยกับ NVIDIA GeForce GTX 850M ที่เป็นกราฟิกการ์ดในสายเกมมิ่งสุดแรงถือว่าเป็นการจับคู่ที่ทรงประสิทธิภาพ รองรับการทำงานได้รอบด้าน ไม่ว่าจะใช้ทำงานกราฟิกหรือว่าจะเล่นเกมก็ตาม
ด้วยสเปคของระบบภายใน ASUS K550JK อยู่ในระดับสูงซึ่งถ้าจะตั้งราคาแพงกว่านี้ก็ยังสามารถทำได้ แต่ทาง ASUS เลือกตั้งมาที่ 25,990 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงที่ราคาไม่สูงนักใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ เราจึงขอมอบรางวัล Best Value ไปให้กับเจ้า K550JK เลย