หลังจากที่พูดถึง Mini-Review การทดสอบเกม , แกะกล่องและอื่นๆบน ASUS K550JK กันไปแล้วในอีกเรื่องหนึ่งบนตัวโน๊ตบุ๊คตัวคุ้มประสิทธิภาพสูงอย่าง ASUS K550JK ที่หลายๆ คนสงสัยกันเป็นอย่างมากนั่นก็คือในเรื่องของความร้อนระหว่างเล่นเกมใช่ไหมละครับ ซึ่งวันนี้ทีมงาน NotebookSPEC จะมาไขข้อข้องใจนั้นให้เพื่อนๆ ทุกคนได้หายสงสัยกัน
ความร้อนของ?ASUS K550JK
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเล่นเกม Battlefield 4 ที่การตั้งค่า 1366×768 พิกเซล บนกราฟฟิคระดับ High ครับโดยทำการเล่นราวๆ 20-30 นาที ในห้องแอร์ปรับอุณหภูมิที่ 24 องศา ซึ่งผลความร้อนระหว่างการเล่นเกม และใช้เครื่องวัดความร้อนบนพื้นผิวแบบ Infrared Thermo โดยจะแบ่งย่อยออกเป็น 6 จุด บนบริเวณที่เพื่อนๆ สัมผัสโดนโน๊ตบุ๊คตรงๆในขณะเล่นเกมครับ ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ไม่ร้อนและจัดอยู่ในระดับอุ่นๆ เท่านั้นเองซึ่งจะมีความร้อนในจุดดังกล่าวดังนี้
นอกจากเหนือจากนี้ความร้อนที่วัดได้ในขณะเล่นเกมบน ASUS K550JK โดยใช้การตั้งค่าในการเล่นคล้ายๆกัน ก็แสดงผลผ่านโปรแกรมออกมาได้ดังนี้
HWmonitor
จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของตัวซีพียูอยู่ที่ราวๆ 43-45 องศา แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนของซีพียูจะไปสูงสุดอยู่ที่ระดับ 85 องศา ซึ่งถือว่าร้อนพอสมควรเลยละครับ ซึ่งเข้าขั้นอันตรายเลยถ้าเปิดต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ทางที่ดีแนะนำให้ใช้ Cooling Pad มาช่วยเสริมจะช่วยลดความร้อนซีพียูได้ดีอย่างแน่นอน
GPU-Z?
ในส่วนของความร้อนการ์ดจอนั้นขณะใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ราวๆ 50-52 องศาครับผม แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนจะพุ่งอยู่ที่ 76-77 องศาซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานและใช้งานเล่นเกมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดีครับผม
?
ASUS K550JK อัพเกรด
ส่วนในเรื่องของการรื้อเครื่องหรือแกะเครื่องอัพเกรดนั้นผู้ใช้สามารถอัพเกรดเครื่องได้อย่างง่ายๆ เลยอยู่สามจุดก็คือใส่แรมเพิ่มได้สูงสุด 8GB แบบ DDR3 บัส 1600MHz (ของเดิมจะมีอยู่แล้วที่ 4GB เท่ากับ 4GB+8GB= 12GB นั่นเอง) รวมไปถึงสามารถที่จะอัพเกรด HDD เป็น SSD และเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ครับ
ซึ่งในส่วนอื่นๆ เช่นใส่เบย์ฮาร์ดดิสก์แทน DVD ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะยากมาก เพราะในการแกะเครื่องไม่สามารถที่จะขันน๊อตฝาหลังออกมาแล้วแกะตรงๆได้เลย แต่เพื่อนๆ ต้องทำการเลาะบริเวณฝาบนที่พักมือและบริเวณคีย์บอร์ดออกมาด้วย ซึ่งตัวเมนบอร์ดและชื้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับบริเวณฝาเครื่องด้านล่างไม่เหมือนกับโน๊ตบุ๊คมาตราฐานทั่วไปที่ตัวชิ้นบอร์ดต่างๆจะอยู่บริเวณฝาบน ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังในการแกะเครื่องมากเป็นพิเศษ ในส่วนนี้ทางทีมงานจึงขอข้ามไปเพราะถ้าพลาดแต่เพียงนิดเดียวตัวเครื่องอาจเกิดความเสียหายและไม่สามารถใช้ทดสอบต่อได้นั่นเองละครับ
ก็หวังว่าบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊ค ASUS K550JK กันบ้างนะครับ อย่างไรก็ตามถ้าอยากรับชมรีวิวฉบับเต็มอดใจรอสักหน่อยอีก 2-3 วันนี้ได้ชมกันแน่นอน แต่ในตอนนี้เอาการทดสอบเกมเจ้า ASUS K550JK ที่เราได้ทำ Mini Reviewไว้ไปชมกันก่อนเลย