การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์นั้นไม่ค่อยดีนักครับ เพราะก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายๆ อย่างที่หนักที่สุดก็คงเป็นปัญหาโลกร้อนที่ทั่วทุกภูมิภาคในโลกประสบกัน การที่เราจะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้นั้นมี 3 ทางเลือกด้วยกันครับ สองในสามวิธีนั้นก็คือการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์(carbon capture and storage (CCS)) และจับเอาคาร์บอน์มาเข้ากระบวนการผลิตพลังงานใหม่ โดยนักวัจัยของมหาวิทยาลัย?Princeton ได้ทำการยืนยันออกมาแล้วครับว่ากำลังพัฒนาเทคนิดที่จะผลิตพลังงานออกมาโดยรวมเทคนิดทั้ง 2 ที่กล่าวไปเข้าด้วยกัน โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ให้รวมตัวกับน้ำแล้วกลายมาอยู่ในรูปของกรดฟอร์มิก?(HCOOH) เพื่อใช้ในเซลล์ไฟฟ้าเคมีครับ
โดยปกติแล้วเซลล์ไฟฟ้าเคมมีจะมีช่องว่างที่เป็นที่อยู่ของของเหลวรอบๆ ขั้วไฟฟ้าที่เป็นโลหะครับ โดยกรรมวิธี?impedance matching ทางทีมวิจัยจะสามารถที่จะใช้พลังงานที่ได้จากโซลาร์เซลล์เพียงเล็กน้อยมาใช้ในการเปลี่ยนรูปก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ให้อยู่ในรูปของกรดฟอร์มิกที่เป็นของเหลวซึ่งอยู่ภายในช่องว่างของเซลล์ไฟฟ้าเคมีต่ออีกทอดหนึ่ง ทำให้สามารถที่จะผลิตพลังงานได้ 2 รูปแบบในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้อีกทางหนึ่ง และส่งผลให้มีพลังงานมากขึ้นกว่าการใช้โซลาร์เซลล์ในการผลิตพลังงานทั่วไปครับ
อ้างอิงจากทีมวัจัยพบว่าการใช็เซลล์ผลิตพลังงานในรูปแบบนี้ 3 เซลล์ติดกันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานได้มากกว่าเดิม 2% แต่ทว่ากระบวนการนี้จะสามารจำกัดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้มากกว่าการสังเคราะห์แสงมากถึง 2 เท่า สำหรับกรดฟอร์มิกนั้นเป็นพิษต่อมดครับ และพบว่าถูกใช้งานในอุตสาหกรรมการกำจัดแมลงอยู่ด้วยในปัจจุบันนี้ นอกจากนั้นกรดฟอร์มิกยังสามารถนำไปใช้ในการสร้างเกลือฟอเมทซึ่งใช้ในการสร้างรันเวย์สนามบินได้อีกด้วยครับ ถือว่านี่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมครับ ถึงแม้ว่าในตอนนี้ประสิทธิภาพจะยังไม่ดีมากเท่าไรนัก แต่ทางทีมนักวิจัยก็ยังคงวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้ต่อไป ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องกังวลกับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์อีกก็เป็นได้ครับ
ที่มา :?gizmag