นอกจากจะเปิดตัวการ์ดจอตัวท็อปรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง NVIDIA?GeFoece GTX Titan Z ที่รองรับความระดับระดับ 5K ราคาเฉียดแสนไปแล้วในงาน GTC 2014 ทาง NVIDIA??ยังไม่หยุดแค่นั้นและได้มีการเปิดตัว GPU ใหม่ภายใต้รหัส Pascal โดยเจ้า Pascal จะเป็นชิปประมวลผลกราฟฟิกหรือ? GPU ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาคอขวดการส่งข้อมูลระหว่าง GPU และ CPU ผ่าน PCI-Express ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีชื่อว่า NVLink โดยจะทำหน้าที่เป็นเหมือน stacked DRAM ?
Jen-Hsun Huang CEO ของ NVIDIA??ได้ออกมากล่าวว่าเทคโนโลยี NVLink จะให้ความเร็วมากกว่า PCIe 3.0 มากกว่า 5-12 เท่า ด้วย bandwidth ที่มากถึง?80GB/sec รายละเอียดส่วนอื่นๆนั้นยังมีไม่มากนักแต่มีการคาดเดาว่าทาง NVIDIA??ต้องขอความร่วมมือกับผู้ผลิต Mainboard เพื่อที่จะให้ผลิตช่องเชื่อมต่อแบบ NVLink เพิ่มขึ้นมานอกเหนือจาก PCIe 3.0 ด้วย
Huang ยังคงกล่าวด้วยว่า Pascal จะมาพร้อมกับ stacked DRAM อยู่บนฐานของ GPU แต่ข้อมูลยังไม่แน่ชัดมากนักว่าจะมีขนาดเท่าไรและรูปแบบการใช้งานเป็นอย่างไร ทั้งนี้ NVIDIA??ตั้งใจจะปล่อย Pascal ออกสู่ตลาดในปี 2016 ต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมกันอย่างใกล้ชิดแล้วละครับซึ่งคาดว่าน่าจะมีออกมาเรื่อยๆ
สำหรับ Roadmap GPU ของ NVIDIA นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในปีที่แล้วนั้นทาง NVIDIA??ได้วางกำหนด GPU ในรหัส Volta สำหรับ GPU ถัดจาก Maxwell แต่ในงาน GTC 2014 นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น GPU รหัส Pascal โดยได้มีการคาดเดาว่าสาเหตุที่ Volta ถูกเปลี่ยนเป็น Pascal นั้นอาจจะเนื่องมาจากทาง NVIDIA??มีปัญหาทางเทคนิคเกี่ยวข้องกับ stacked DRAM จึงได้ทำการออกแบบดีไซน์และเปลี่ยนชื่อใหม่
ในส่วนของ Roadmap ชิปเซ็ททางฝั่ง mobile ภายใต้ชื่อ Tegra ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยชิปเซ็ทรหัส Paeker ที่ถูกเปิดตัวบน Roadmap ในงาน CES 2014 ที่ผ่านมา (มาพร้อมกับ CPU รหัส Denver, GPU รหัส Maxwell และการทำงานแบบ FinFET) ได้ถูกเปลี่ยนเป็น GPU รหัส Erista ในงาน GTC 2014 โดยประกาศเพียงแค่ว่าจะใช้พื้นฐานในการพัฒนา GPU มาจากชิปรหัส Maxwell เท่านั้น ส่วนรายละเอียดข้อมูลอื่นๆ ยังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด
สำหรับ NVIDIA??แล้วปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่การประกาศเทคโนโลยีใหม่ออกมาเร็ว แต่กว่าที่จะนำเทคโนโลยีนั้นลงสู่ตลาดได้กลับใช้เวลานานและบางทีเทคโนโลยีนั้นก็ถูกเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ CEO อย่าง?Huang จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
?
ที่มา : vr-zone