Google Android เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เป็นแพลตฟอร์มบนโทรศัพท์มือถือ มีพื้นฐานจากระบบปฎิบัติการลีนุกซ์ (Powered by the Linux kernel) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Google โดยที่ Google Android ได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถเขียนโค๊ตต่างๆ ได้ด้วยภาษาจาวา (JAVA) และเขียนโค้ตสำหรับการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางจาวาไลบลารี่ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ (Google-developed Java libraries) ซึ่งโปรแกรมต่างๆ ที่ทำงานบนกูเกิลแอนดรอย์นั้น สามารถเขียนขึ้นด้วยภาษาซี (C) และภาษาอื่นๆ
Android คือ
ระบบปฏิบัติการ (OS) หรือแพลตฟอร์ม ที่จะใช้ควบคุมการทำงานบนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา โดยมี กูเกิล อิงก์, ที-โมบาย, เอชทีซี, ควอลคอมม์, โมโตโรลา และบริษัทชั้นนำอีกมากมายร่วมพัฒนาโปรเจ็กต์ แอนดรอยด์ ผ่านกลุ่มพันธมิตรเครื่องมือสื่อสารระบบเปิด (Open Handset Alliance) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรชั้นนำระดับนานาชาติด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่ง Android ประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ ไลบรารี เฟรมเวิร์ค และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นในการพัฒนา ซึ่งเทียบเท่ากับ Windows Moble, Palm OS, Symbian, OpenMoko และ Maemo ของโนเกีย โดยใช้องค์ประกอบที่เป็นโอเพนซอร์สหลายอย่าง เช่น Linux Kernel, SSL, OpenGL, FreeType, SQLite, WebKit และเขียนไลบรารีเฟรมเวิร์คของตัวเองเพิ่มเติม ซึ่งทั้งหมดจะโอเพนซอร์ส ใช้ (Apache License) โดยสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551
Android?มีเวอร์ชัรอะไรบ้าง
หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวเลขที่ตามหลังของชื่อ Android นั้น จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งคล้ายกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น Windows Vista, 7 หรือ Windows 8 เป็นต้น เป็นตัวบอกถึงเวอร์ชันหรือการพัฒนาของตัวระบบปฏิบัติการ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ถึง 10 เวอร์ชันและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ประกอบไปด้วย
1.Apple Pie (Android1.0)
2.Banana Bread (Android1.1)
3.Cup Cake (Android1.5)
4.Donut (Android1.6)
5.Eclair (Android2.1)
6.Froyo (Android2.2)
7.Gingerbread (Android2.3)
8.Honeycomb (Android3.0)
9.Ice Cream Sandwich (Android4.0)
10.Jelly Bean (Android4.1, 4.2, 4.3)
11.KitKat (Android4.4)
แม้ว่าแอนดรอยด์จะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาเข้าไปปรับแต่งได้เองและนำเอามาสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตน เพื่อนำไปติดตั้งและใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงให้ใช้สำหรับการพัฒนาและแจกฟรีเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องรอให้ทางกูเกิลอนุมัติ แต่ถ้าในกรณีที่ต้องการผลิตเพื่อการค้า ผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาเหล่านี้จะต้องได้รับการยอมรับและอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร จากกูเกิล จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้ โดยผู้ผลิตจะทำการพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปร่างหน้าตาหรือการแสดงผล รวมถึงฟังก์ชันการใช้งานนั้นต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของแต่ละค่าย จากนั้นจึงมาทำการทดสอบระบบกับทางกูเกิลเสียก่อน จึงจะผลิตออกจำหน่ายได้
Google Mobile Service
บริการเสริมจากกูเกิลหรือที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) เป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพเป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริษัทผู้ร่วมพัฒนา อันประกอบด้วยบริษัทซอฟท์แวร์, ผู้ผลิตอุปกรณ์, ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์, ผู้ให้บริการเครือข่ายและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ดังนั้นระบบ Android ที่ดีจะต้องมี GMS ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตรายใดได้รับการยอมรับจากกูเกิลและสามารถนำเอา GMS ไปใช้ได้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้อุปกรณ์บางรุ่นถูกจำกัดความสามารถในการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้ GNL สิทธิบัตร จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อจำกัดต่างๆ นั้นหมดไป