Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

วิธีการนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง พร้อมวีดีโอประกอบด้านใน

เราทุกคน ต่างนั่งใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์กันทุกวัน แต่รู้กันหรือไม่ ว่าท่านั่งใช้งานของเรานั้น ถูกต้องแล้วหรือยัง เพราะว่าล่าสุดนั้น หน่วยงาน American Osteopathic

เราทุกคน ต่างนั่งใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์กันทุกวัน แต่รู้กันหรือไม่ ว่าท่านั่งใช้งานของเรานั้น ถูกต้องแล้วหรือยัง เพราะว่าล่าสุดนั้น หน่วยงาน American Osteopathic Association (AOA) ของสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่า พนักงานออฟฟิศมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์นั้น ใช้เวลาในแต่ละวันมากกว่า 5 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ในการที่ต้องนั่งทำงานกับโต๊ะทุกๆวัน และการทำเช่นนั้น ก็แน่นอนว่าจะส่งผลถึงสุขภาพร่างกายตามมา โดยเฉพาะสาเหตุการเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อในร่างกายต่างๆ และจะยิ่งเป็นมากขึ้นด้วย ถ้าหากว่าท่านั่งในการทำงานนั้น ไม่เหมาะสม

ergonomics matters

Advertisement

ดังนั้นเราจึงมาดูคำแนะนำที่เหมาะสม จากผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ว่าควรจะนั่งยังไง หรือจัดอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ แบบไหน เพื่อลดหรือป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของเรามากจนเกินไป

?
1

เราก็จะต้องนั่งหลังตรง และไม่โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อมองหน้าจอ เพื่อลดอาการตึงที่ช่วงหลังของเรานั่นเอง และช่วยให้การหายใจนั้น สะดวกโล่งมากยิ่งขึ้น

Ergonomics

?
2

วางเท้าให้ราบไปกับพื้นทั้ง 2 ข้าง เพราะเมื่อเท้าเราอยู่ลักษณะที่วางราวไปกับพื้นแล้ว มันก็จะช่วยจัดท่าทางของร่างกายให้โดยอัตโนมัติในทันทีนั่นเอง ถ้าหากนั่งไขว่ห้าง หรือวางขาไว้ข้างเดียว ก็จะส่งผลในเรื่องของความดัน ที่ส่งลงไปที่ช่วงขาใต้หัวเข่าเราลงไป และก็จะตามมาถึงผลเสียจากเลือดที่ไหลเวียนไม่ค่อยสะดวก

?
3

สำหรับตำแหน่งในการมองของตานั้น ก็จะต้องปรับระดับหน้าจอ ให้อยู่ตรงหน้าของเราพอดี ให้สายตานั้น มองตรงไปที่ด้านหน้า ไม่เงยขึ้น หรือก้มลง จะช่วยลดอาการตึง หรือเมื่อล้าบริเวณกล้ามเนื้อช่วงคอได้

?
4

สำหรับแขน ช่วงที่ใช้งานพิมพ์คีย์บอร์ดนั้น ก็ให้เก็บตำแหน่งข้อศอกให้ใกล้กับตัวสักหน่อย เพื่อช่วยผ่อนคลายหัวไหล่ และแขน ลดอาการความเนื้อตึงได้ และเมื่อล้าจากการใช้งานได้

?
5

ส่วนที่ข้อมือนั้น ก็ให้แน่ใจว่า เราไม่ได้บิดงอข้อมือเงยขึ้นมามากเกินไป หรือกดต่ำไป เวลาที่เราพิมพ์ หรือใช้งานคีย์บอร์ด ซึ่งก็จะช่วยให้ไม่ได้เกิดอาการตึงหรือเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน และจะเป็นการป้องกันไม่ให้กลายเกิดโรค carpal tunnel syndrome ขึ้นมาด้วย

ที่มา: American Osteopathic Association

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก