Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

พาร์ทิชันแบบใด เหมาะกับระบบปฏิบัติการแบบ Dual Boot

การทำ Dual Boot เป็นเรื่องปกติที่หลายคนนิยมทำกัน เนื่องจากบางครั้งมีระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ออกมาให้ทดลองใช้ ก็จัดการแบ่งสรรปันส่วนฮาร์ดดิสก์ออกเป็นพาร์ทิชัน จากนั้นก็ทำการติดตั้งระบบต่างๆ ลงไป

การทำ Dual Boot เป็นเรื่องปกติที่หลายคนนิยมทำกัน เนื่องจากบางครั้งมีระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ออกมาให้ทดลองใช้ ก็จัดการแบ่งสรรปันส่วนฮาร์ดดิสก์ออกเป็นพาร์ทิชัน จากนั้นก็ทำการติดตั้งระบบต่างๆ ลงไป เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้การแบ่งพาร์ทิชันที่เหมาะสมก็ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลมีระเบียบและเป็นระบบ ทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรจะต้องทราบคือ Partition แต่ละแบบนั้นหมายถึงอะไร แล้วทำไมต้องแบ่งไม่เหมือนกันด้วย โดยพาร์ทิชันต่างๆ นั้น ล้วนมีความหมายดังนี้

Partition Boot 1

Advertisement
1
Primary partition เป็นพาร์ทิชันหลักที่ใช้สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือใช้บูตเครื่องเข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่เป็นไดรฟ์ C: โดยฮาร์ดดิสก์หนึ่งลูกจะแบ่งพาร์ทิชันในลักษณะนี้ได้ไม่เกิน 4 พาร์ทิชัน ยกเว้นว่าไดรฟ์นั้นมี Extended partition อยู่ด้วย ก็จะสร้างได้เพียง 3 พาร์ทิชันเท่านั้น

Partition Boot 2

2
Extended partition เป็นพาร์ทิชันในส่วนต่อขยาย เพื่อลดข้อจำกัดของ Primary partition โดยพื้นที่ภายในของ Extended partition นี้จะประกอบไปด้วยพาร์ทิชันย่อยที่เรียกว่า Logical partition หรือ Logical DOS drive นั่นเอง

Partition Boot 3

3
Logical partition เป็นพาร์ทิชันที่มีอยู่ใน Extended partition ทำหน้าที่หลักในการจัดเก็บข้อมูล สำรองไฟล์หรืออาจจะนำไปใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติมได้

โดยการทำ Dual Boot นั้น ก็สามารถแบ่งพาร์ทิชันในแบบ Primary partition บนไดรฟ์หลักออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ต้องการลงบนฮาร์ดไดรฟ์ลูกดังกล่าวนี้ได้ทันที ซึ่งข้อดีของการแบ่งพาร์ทิชันก็คือ การแยกระบบออกอย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกยิ่งกว่า ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากระบบปฏิบัติการเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งก็ยังมีช่องทางในการสำรองข้อมูลที่สะดวกยิ่งขึ้น

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

พอใช้คอมพิวเตอร์มาสักพักแล้ว เป็นใครก็อยากล้างเครื่องรีเซ็ตคอมให้กลับไปเหมือนวันแรกที่ซื้อเครื่องมาทั้งนั้น จะได้จัดการปัญหาร้อยแปดที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุได้แบบหมดจดในทีเดียว ถ้าเป็นในอดีตก็คงจะหาแฟลชไดรฟ์โหลดระบบปฏิบัติการ Windows มาลบลงใหม่กัน แต่เหมือน Microsoft ก็เข้าใจว่าจะมาคอยลบลงใหม่แบบนี้ก็จะเสียเวลานาน ตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการกันใหม่แล้วไหนจะโปรแกรมและเซ็ตอัพการตั้งค่าใดๆ อีกมากมาย กว่างานจะกลับมาเดินได้ดังเดิมก็เป็นอันชะงักไปหมด ดังนั้นจึงมีวิธีการล้างเครื่องรีเซ็ตคอมใหม่โดยไม่ต้องลบข้อมูลทิ้งให้เลือกทำได้ แถมไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานมากนักแล้วงานก็ไม่ชะงักเกินไป อันที่จริง Microsoft ก็ทำวิธีรีเซ็ตคอมให้ใช้งานตั้งแต่ Windows 7 เป็นต้นมาแล้วอย่าง Restore Point แต่ซ่อนอยู่ใน Control...

How to

นอกจากรู้วิธีกดติดตั้ง, เปิดและปิดโปรแกรมแล้ว Windows 11 เองก็มีคีย์ลัดวินโดว์ 11 ให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากคำสั่งพื้นๆ อย่าง Copy/Paste และ Cut แล้ว ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ก็มีปุ่มลัดอื่นเสริมเข้ามาให้ใช้อีกมากมายกว่า 100 คำสั่ง ซึ่งหลายคนอาจรู้สึกว่ามันเยอะเกินไปจนไม่รู้จะใช้ยังไงให้ครบทุกอย่าง ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าทาง Microsoft เองใส่มาก็ไม่ใช่ว่าจะให้ผู้ใช้กดทุกคำสั่ง เพราะคีย์ลัดบางตัวก็อยู่กับโปรแกรมเฉพาะบางอย่างซึ่งเราอาจจะไม่ได้เปิดใช้บ่อยๆ และยังไม่รวมกับคำสั่งแยกเฉพาะของแต่ละโปรแกรมอีก ซึ่งเราเลือกจำเฉพาะคำสั่งใช้งานบ่อยก็เพียงพอแล้ว วิธีการกดคีย์ลัดวินโดว์...

How to

ถ้าคอมพิวเตอร์เสียนอกจากเสียงานแล้วถ้างานยังไม่เสร็จก็เป็นอันเสียอารมณ์ไปตามกัน ดังนั้นถ้ารู้วิธีแก้ปัญหาคอมเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ นอกจากแก้ปัญหาเร่งด่วนตรงหน้าได้แล้วยังไม่ต้องเสียเงินค่าช่างเพิ่มและยังเพิ่มความมั่นใจ ว่าถ้ามีปัญหานี้เกิดขึ้นมาในอนาคตไม่ว่าจะกับคอมตัวเองหรือของเพื่อนร่วมงานก็จัดการให้เรียบร้อยได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาคอมฉบับทำด้วยตัวเองทั้ง 7 ขั้นตอนนี้จะเป็นวิธีทั่วไปซึ่งอาจจพบได้ในบางโอกาส ยังไม่ได้รวมวิธีการแก้ปัญหา BSoD (Blue Screen of Death) เข้าไป ซึ่งกรณีนั้นมีรายละเอียดและต้นเหตุหลากหลายปัจจัยมากหลากหลาย Code จนแยกเป็นอีกบทความได้จึงต้องขอยกยอดออกไปโดยเฉพาะจะได้ครอบคลุมกว่านี้Advertisement วิธีแก้ปัญหาคอมฉบับทำด้วยตัวเองไม่ง้อช่าง ต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง? ปัญหาอาจเกิดจากการใช้งานมาอย่างยาวนานแล้วซอฟท์แวร์ภายในเกิด Error ได้ ฮาร์ดแวร์บางชิ้น...

Windows Zone

Microsoft 365 แตกต่างจาก Microsoft Office Home & Student 2021 อย่างไรบ้าง? “ในเมื่อซื้อโน๊ตบุ๊คมี Office แท้แล้ว จะต้องซื้อ Microsoft 365 มาทำไม?” นั่นเพราะผู้ใช้หลายๆ คนเห็นว่าฟังก์ชั่นการทำงานของทั้งสองนั้นเหมือนกันมาก เพราะรวมกลุ่มโปรแกรม Word Processing มาเป็นแพ็คเกจครบถ้วนทั้งคู่ ได้...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก