Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

พาร์ทิชันแบบใด เหมาะกับระบบปฏิบัติการแบบ Dual Boot

การทำ Dual Boot เป็นเรื่องปกติที่หลายคนนิยมทำกัน เนื่องจากบางครั้งมีระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ออกมาให้ทดลองใช้ ก็จัดการแบ่งสรรปันส่วนฮาร์ดดิสก์ออกเป็นพาร์ทิชัน จากนั้นก็ทำการติดตั้งระบบต่างๆ ลงไป

การทำ Dual Boot เป็นเรื่องปกติที่หลายคนนิยมทำกัน เนื่องจากบางครั้งมีระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ออกมาให้ทดลองใช้ ก็จัดการแบ่งสรรปันส่วนฮาร์ดดิสก์ออกเป็นพาร์ทิชัน จากนั้นก็ทำการติดตั้งระบบต่างๆ ลงไป เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้การแบ่งพาร์ทิชันที่เหมาะสมก็ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลมีระเบียบและเป็นระบบ ทำให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรจะต้องทราบคือ Partition แต่ละแบบนั้นหมายถึงอะไร แล้วทำไมต้องแบ่งไม่เหมือนกันด้วย โดยพาร์ทิชันต่างๆ นั้น ล้วนมีความหมายดังนี้

Partition Boot 1

Advertisement
1
Primary partition เป็นพาร์ทิชันหลักที่ใช้สำหรับการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือใช้บูตเครื่องเข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่เป็นไดรฟ์ C: โดยฮาร์ดดิสก์หนึ่งลูกจะแบ่งพาร์ทิชันในลักษณะนี้ได้ไม่เกิน 4 พาร์ทิชัน ยกเว้นว่าไดรฟ์นั้นมี Extended partition อยู่ด้วย ก็จะสร้างได้เพียง 3 พาร์ทิชันเท่านั้น

Partition Boot 2

2
Extended partition เป็นพาร์ทิชันในส่วนต่อขยาย เพื่อลดข้อจำกัดของ Primary partition โดยพื้นที่ภายในของ Extended partition นี้จะประกอบไปด้วยพาร์ทิชันย่อยที่เรียกว่า Logical partition หรือ Logical DOS drive นั่นเอง

Partition Boot 3

3
Logical partition เป็นพาร์ทิชันที่มีอยู่ใน Extended partition ทำหน้าที่หลักในการจัดเก็บข้อมูล สำรองไฟล์หรืออาจจะนำไปใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติมได้

โดยการทำ Dual Boot นั้น ก็สามารถแบ่งพาร์ทิชันในแบบ Primary partition บนไดรฟ์หลักออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ต้องการลงบนฮาร์ดไดรฟ์ลูกดังกล่าวนี้ได้ทันที ซึ่งข้อดีของการแบ่งพาร์ทิชันก็คือ การแยกระบบออกอย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกยิ่งกว่า ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากระบบปฏิบัติการเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งก็ยังมีช่องทางในการสำรองข้อมูลที่สะดวกยิ่งขึ้น

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Mac Corner

ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ไม่ว่าจะ Windows หรือ MacBook ทุกคนย่อมกดคีย์ลัดสั่งการให้คอมของตัวเองทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแน่นอน ถ้าใช้คอมมานานแล้ว คีย์ลัด Mac ก็ยังใช้วิธีกดปุ่มคำสั่ง 2-3 ปุ่มรวมกัน แค่เปลี่ยนชื่อกับภาพไอคอนปุ่มคำสั่ง (Modifier) บางปุ่มให้เป็นตามแบบฉบับของ Apple เอง คนที่ย้ายจาก Windows มาใช้ macOS ก็ใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้คีย์ลัดสักระยะก็ใช้งานได้ถนัดอย่างแน่นอน ก่อนจะเริ่มใช้งานคีย์ลัด Mac...

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

รีวิว Asus

ASUS Vivobook S 15 S5507QA ความหวังใหม่ของคนทำงานด้วยพลัง Snapdragon X Elite และฟีเจอร์ครบเครื่อง! ถ้าพูดถึง Qualcomm ทุกคนย่อมคิดถึงชิปเซ็ตในสมาร์ทโฟนก่อน จนกระทั่งยักษ์แห่งวงการสมาร์ทโฟนจับมือกับเหล่ายักษ์แห่งวงการคอม ก็ได้เป็น ASUS Vivobook S 15 S5507QA โน๊ตบุ๊ค Copilot+ PC รุ่นแรกรับยุคแห่ง...

How to

พอใช้คอมพิวเตอร์มาสักพักแล้ว เป็นใครก็อยากล้างเครื่องรีเซ็ตคอมให้กลับไปเหมือนวันแรกที่ซื้อเครื่องมาทั้งนั้น จะได้จัดการปัญหาร้อยแปดที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุได้แบบหมดจดในทีเดียว ถ้าเป็นในอดีตก็คงจะหาแฟลชไดรฟ์โหลดระบบปฏิบัติการ Windows มาลบลงใหม่กัน แต่เหมือน Microsoft ก็เข้าใจว่าจะมาคอยลบลงใหม่แบบนี้ก็จะเสียเวลานาน ตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการกันใหม่แล้วไหนจะโปรแกรมและเซ็ตอัพการตั้งค่าใดๆ อีกมากมาย กว่างานจะกลับมาเดินได้ดังเดิมก็เป็นอันชะงักไปหมด ดังนั้นจึงมีวิธีการล้างเครื่องรีเซ็ตคอมใหม่โดยไม่ต้องลบข้อมูลทิ้งให้เลือกทำได้ แถมไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานมากนักแล้วงานก็ไม่ชะงักเกินไป อันที่จริง Microsoft ก็ทำวิธีรีเซ็ตคอมให้ใช้งานตั้งแต่ Windows 7 เป็นต้นมาแล้วอย่าง Restore Point แต่ซ่อนอยู่ใน Control...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก