Connect with us

Hi, what are you looking for?

Gaming Notebook

เอ็มเทคปลื้มซอฟต์แวร์ LCA วัดก๊าซเรือนกระจกครั้งแรกในอาเซียน

การพัฒนาระบบThaiLCD และซอฟต์แวร์ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นำร่อง 60 ผลิตภัณฑ์

image

เอ็มเทค/สวทช. พัฒนา ซอฟต์แวร์ LCA สำเร็จ ใช้วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครั้งแรกของอาเซียน พร้อมเปิดบริการตรวจประเมิน 60 ผลิตภัณฑ์ ราคาถูกผ่านคอลเซ็นเตอร์ 0 2564 8000…

Advertisement

นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หลังจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุและชาติ หรือ เอ็มเทค/สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากประเทศญี่ปุ่น ผ่าน Japan External Trade Organization (JETRO) Bangkok ได้ร่วมมือกันโครงการระบบการจัดการฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของไทย Thai Life Cycle Inventory Data Management System (ThaiLCD) ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของไทย ชื่อ Thai GHGs+ Software ขณะนี้ ระบบและซอฟต์แวร์ด้าน LCA สำเร็จแล้ว และเป็นรายแรกของประเทศและภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้การพัฒนาระบบThaiLCD และซอฟต์แวร์ดังกล่าว จะถูกนำไปใช้ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นำร่อง 60 ผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ ที่ประเทศในสหภาพยุโรปให้ความสำคัญ อาทิ อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น ทั้งนี้ ฝรั่งเศสมีกำหนดที่จะประกาศใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เป็นกฎหมาย ภายในเดือน ก.ค. 2554

สำหรับโครงการร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากช่วยวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนักและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะฉะนั้น หากผลิตภัณฑ์ของไทยมีการใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุต พริ้นท์กันอย่างแพร่หลาย จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถใน การแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
รมว. กระทรวงวิทย์ กล่าวต่อว่า เอ็มเทค พร้อมเปิดรับบริการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ กว่า 60 ผลิตภัณฑ์นำร่อง เพื่อสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้พัฒนาขึ้นตามมาตรฐานสากล และมีฐานข้อมูลของไทยกว่า 600 ฐานข้อมูล โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ต่างชาติกว่าเท่าตัว ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับการขอรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตามหลักสากลต่อไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ 0 2564 8000 หรือดูวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
ด้านนายวีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค/สวทช. กล่าวว่า การจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ และการประยุกต์ใช้ โดยเอ็มเทคได้ร่วมมือกับ 4 หน่วยงานพันธมิตรมาตั้งแต่ปี 2550 ประกอบด้วย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบ ของประเทศคู่ค้า และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้การจัดทำฐานข้อมูลครอบคลุมวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่าน Green Partnership Plan ตั้งแต่ปี 2545 รวมกว่า 8 ปี โดยมี Japan External Trade Organization (JETRO) เป็นผู้ประสานงานหลัก สนับสนุนการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาฐานข้อมูลฯ จัดสัมมนาและอบรมเชิงลึก ผ่าน 2 โครงการหลัก คือ Green Manufacturing Technical Assistance Program ในช่วงปี 2545-2550 และ โครงการ Sustainable Manufacturing for Thailand หรือ SMThai+ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคในด้านของการขยายฐานข้อมูล LCI ของประเทศ การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล LCI ในอุตสาหกรรมของไทย ตลอดจนขยายความรู้สู่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2552-2553 ที่ผ่านมา จากผลการทำงานเชิงบูรณาการทั้งในและต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีฐานข้อมูล LCI กว่า 600 ฐานข้อมูล ครอบคลุมกว่า 30 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ตามวิธีที่เป็นมาตรฐานสากล สอดคล้องกับ ISO14040 และ 14044 และอยู่ในระดับแนวหน้าของเอเชียและเป็นที่ 1 ในอาเซียน ทั้งนี้ เอ็มเทค/สวทช. ต้องการผลักดันให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมใช้ฐานข้อมูล LCI จึงได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักร ชีวิตของผลิตภัณฑ์ ชื่อ Thai GHGs+ ที่สามารถใช้รองรับการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวด ล้อม เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ โครงการกำลังพัฒนาอีก 1 ซอฟต์แวร์ ที่สามารถใช้ประเมินผลกระทบครอบคลุมทุกประเด็นตลอดวัฏจักรชีวิต สำหรับการออกแบบและพัฒนาศักยภาพทางนิเวศเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกควบคู่ไปกับการ รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีค่าได้อย่างยั่งยืน.

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก