สวัสดีครับผู้อ่านทกๆท่าน ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวเองก่อนนะครับ กระผม ZeroSystem เป็นนักเขียนคนใหม่ของ N4G นะครับ ก็ได้เขียนรีวิว เขียนข่าวมาระยะหนึงแล้ว แต่ยังไม่ได้แนะนำตัวเองซักที ก็ขออาศัยตรงนี้เลยละกัน ถ้ามีข้อติชมอะไร ก็บอกกันได้นะครับ ผมจะได้นำไปปรับปรุงการเขียนให้ดียิ่งขึ้น โดยบทความนี้จะเขียนเป็นบทความรายสัปดาห์นะครับ ผมจะพยายามเขียนทุกสัปดาห์นะครับ ถ้าไม่ติดสอบหรือธุระร้ายแรงอะไรนะครับ
สำหรับเนื้อหาของบทความนี้ ก็จะเป็นการนำคำที่กำลังได้รับความนิยมในสังคมขณะนี้ที่เกี่ยวกับทางด้าน IT หรือเป็นคำที่คนมักจะเข้าใจกันผิด มาเขียนและอธิบายในแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แนวของบทความก็จะเป็นในแบบสบายๆ ชิวๆครับ เพราะไม่อยากให้ผู้อ่านเครียดมากไป ไหนๆก็สุดสัปดาห์ทั้งทีนี่นะ เอาละ พล่ามมายาวละ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
สังคมปัจจุบันนี่ก็เป็นสังคมแห่ง Social Network กันแล้วนะครับ ผู้คนสามารถติดต่อกันได้ง่ายขึ้นมาก ดังนั้น Twitter จึงเกิดมาเพื่อให้คนใช้ ?แบ่งปันข่าวสาร? และ ?บ่น? ถึงจะดูตลก แต่ก็จริงครับ ผมเห็นคนใช้บ่นกันเยอะพอสมควร(รวมถึงผมด้วยในบางเวลา) ส่วนสาเหตุที่ผมเลือกคำนี้ขึ้นมา ก็เพราะผมเคยเจอบางคน โดยเฉพาะสื่อบางแห่ง ออกเสียงคำนี้เป็น ทวิสเตอร์ ซึ่งแปลว่าพายุหมุน (twister) อันที่จริงแล้ว มันจะต้องอ่านว่า ทวิตเตอร์ นะครับ ถึงจะถูกต้อง
ส่วนใครที่อยากตามฟังผมบ่น หรืออะไรๆที่ไม่ค่อยมีสาระเท่าไร ก็ follow ได้นะครับ @Zero_Origin อิอิ อย่ามาหาสาระกับผมนะครับ ^^
Overclock
คำนี้ หลายๆท่านคงเคยได้ยินบ่อยนะครับ แต่อาจจะไม่เข้าใจมากเท่าไร ว่าเอ๊ะ มันหมายถึงอะไร บางทีก็ได้ยินคนข้างตัวบอกว่าจะซื้อของใหม่เอามา overclock ก็งงๆ และสงสัย วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ครับ
เริ่มที่พวกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น หน่วยประมวลผลต่างๆ จะมีความเร็วของมันใช่หรือเปล่าครับ ตัวความเร็วเนี่ย เราสามารถอนุมานได้ว่ามันคือค่า clock ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นนั่นเอง ดังนั้นการ overclock ก็คือ การทำให้อุปกรณ์นั้นมีความเร็วที่สูงขึ้น ถ้าจะเปรียบง่ายๆนะครับ
ถ้าเราทำอาหารโดยใช้เตาที่ความร้อนระดับ 2 อาหารจะสุกในเวลา 10 นาที แต่ถ้าเราเร่งความร้อนขึ้นเป็นระดับ 4 โดยใช้เตาเดิม อาหารก็จะสุกเร็วขึ้นใช่ไหมครับ การเร่งความร้อนนั่นละครับ คือการ overclock
แต่ใช่ว่าการ overclock จะมีแต่ผลดีนะครับ ผลข้างเคียงของมันก็มีเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าจะทำ ก็ทำแต่พอดีๆนะครับ เป็นการรักษาอุปกรณ์และรักษาเงินในกระเป๋าไปด้วยในตัว ^^
สำหรับหน่วยความจำที่มีการพูดถึงมากในปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้น SSD อย่างแน่นอนครับ ดังนั้นผมขออธิบายละกัน ว่ามันคืออะไร
จะว่าไป SSD มันก็คือ harddisk ที่เราใช้ในปัจจุบันนี่ละครับ เพัยงแต่มันเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปอย่างมาก เนื่องจาก harddisk ที่เราใช้แพร่หลายในปัจจุบันเนี่ย จะใช้จานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้มีการเข้าถึงและบันทึกข้อมูลที่ช้า อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับการกระทบกระเทือนอีกต่างหาก ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นหน่วยความจำแบบใหม่ขึ้นมานั่นคือ SSD (Solid State Disk) ที่มีการเก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำแบบ Flash ง่ายๆเลยก็คือ เหมือนใน flashdrive หรือ thumbdrive ที่เราๆท่านๆใช้กันนี่ละครับ ซึ่งมีความเร็วที่สูง และยังมีราคาที่สูงอีกด้วย แต่คงไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ เพราะถ้ายังไม่มีความจำเป็นก็ยังไม่ต้องรีบหามาใช้ก็ได้ รอให้ราคาต่อความจุลดลงกว่านี้ก่อนแล้วค่อยซื้อหามาใช้จะดีกว่าครับ
คำนี้ หลายๆท่านโดยเฉพาะเซียนบิททอร์เรนท์ จะต้องเคยได้ยินหรือเห็นบ่อยแน่ๆครับ หรือถ้าบางท่านนึกไม่ออก คำนี้ก็คือคำที่พูดๆกันว่า ?เรโช? นั่นเองครับ ซึ่งตามความหมายจากภาษาอังกฤษก็แปลว่าอัตราส่วน นั่นเอง ซึ่งในแง่ของบิททอร์เรนท์ก็คือ อัตราส่วนของปริมาณข้อมูลที่อัพโหลดต่อปริมาณข้อมูลที่ดาวน์โหลด หรือแบบสั้นๆ คือ upload / download นั่นเอง
ถ้าจะถามว่า ratio นั้นสำคัญไฉน ถ้าตามเว็บบิทในเมืองไทย ส่วนใหญ่ก็จะนำค่า ratio ไปใช้ในการจัดลำดับขั้น ใช้ทำการแบ่งว่าสามารถโหลดไฟล์ข้อมูลประเภทใดได้บ้างหรือบางเว็บ ถ้าค่า ratio ต่ำกว่า 1 คุณอาจจะไม่สามารถทำการดาวน์โหลดไฟล์อื่นได้เลยก็เป็นได้ สาเหตุที่ต้องใช้ค่า ratio ก็คือ เป็นการวัดว่าคุณได้ทำการให้สังคมมากกว่าให้ตัวเองหรือไม่ เท่านั้นละครับ
ดังนั้นจึงได้มีการเตือนกันบ่อยๆว่า ?โหลดเสร็จแล้ว ช่วยปล่อยต่อด้วยนะ? ยังไงละครับ
คำสุดท้ายของสัปดาห์นี้นะครับ นั่นคือ Cloud Computing แปลเป็นไทยแบบเว้าๆซื่อๆเลยก็คือ การประมวลผลแบบก้อนเมฆ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เฮ้ย!! มันประมวลผลแบบเบาๆเหรอ?.ไม่ใช่ครับ หลายๆท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า Web Hosting, File Hosting ใช่หรือเปล่าครับ ตัว Cloud Computing ก็มีหน้าที่คล้ายๆกันเลยครับ คือสามารถรองรับการทำงานได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยมี 3 สิ่งหลักๆ ดังนี้ครับ
Requirement – ความต้องการของผู้ใช้งาน ว่าต้องการจะให้ Cloud Computing ทำอะไรให้ เช่นต้องการพื้นที่เก็บข้อมูล ต้องการให้ประมวลผลงานชิ้นหนึ่ง เป็นตันครับ
Resource ? ทรัพยากร ก็คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น CPU, Harddisk, ข้อมูลต่างๆ
Service ? บริการที่ระบบสามารถทำให้ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ซึ่งหลักการทำงานก็คือ ผู้ใช้โยน requirement ไปให้ระบบ จากนั้น service จะทำหน้าที่จัดการ resource และทำการแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ทราบด้วย แค่นั้นเองครับ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับระบบหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใดเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สมัยนี้อะไรๆก็เป็นเงินเป็นทองทั้งนั้นใช่มั้ยครับ ดังนั้นจำนวน resource หรือ service ที่สามารถใช้งานได้ก็อาจถูกจำกัดได้ด้วยจำนวนเงินครับ ต้องเลือกใช้ให้ดีๆ ซึ่ง Cloud Computing จะเหมาะกับงานที่ต้องใช้การประมวลผลมากและงานที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมุลมากครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ 5 คำที่ผมนำเสนอไป มีใครสงสัยตรงไหนมั้ยครับ ยกมือถามได้นะครับ ^.^ ถ้าท่านผู้อ่านมีตรงไหนสงสัย อยากจะร่วมสนทนากันเกี่ยวกับคำที่ผมได้นำเสนอไปหรืออยากจะเสนอแนะคำไหนให้ผมไปหาข้อมูลมาเขียนบทความก็สามารถเสนอแนะมาได้นะครับ ยินดีรับฟังทุกข้อคิดเห็น บทความยาวไป สั้นไป ก็บอกได้ครับ
สุดท้ายผมก็ต้องขอลาละครับ เอาไว้พบกันใหม่สัปดาห์หน้านะครับ สวัสดีครับ? -/\-