newscientist เปิดเผยผลการศึกษาครั้งใหม่ของ “David Geary” นักจิตวิทยาจากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ มิซซูริ เขาได้ศึกษาพฤติกรรมความดุดันก้าวร้าวของเกมเมอร์ระหว่างการแข่งขันเกมกับคน รู้จักกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก พบว่าการแข่งขันเกมกับคนแปลกหน้ามีผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแสดงลักษณะเพศชายพุ่งสูง สะท้อนถึงความดุดันก้าวร้าวเมื่อเจอกับคู่แข่งที่ไม่รู้จัก
การศึกษาครั้งนี้ นักจิตวิทยา “David Geary” ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 42 คนในยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ มิซซูริ โดยทั้ง 42 คนไม่ได้รู้จักกันมาก่อน จากนั้นก็มาแบ่งออกเป็น 14 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยในแต่ละกลุ่มจะร่วมฝึกซ้อมเกมชูตติ้งมุมมองบุคคลที่หนึ่ง “Unreal Tournament 2004” จากค่าย Epic Games ในระยะเวลา 1 สัปดาห์เพื่อทำความคุ้นเคยกันภายในทีม
การแข่งขันระหว่างทีมจะแข่งกันในโหมด Onslaught matches สลับกับ capture-the-flag ในระยะเวลา 30 นาที เมื่อการแข่งขันจบลง พบว่าทีมที่ชนะจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยระดับฮอร์โมนนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นพิเศษกับผู้เล่นที่มีส่วนสำคัญในชัย ชนะของทีม ในทางกลับกันเมื่อเล่นในโหมด Death Match ที่ผู้เล่นทีมเดียวกันต้องแข่งขันกันเอง พบว่าผู้ชนะได้อันดับดีที่สุดมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างเห็นได้ ชัด
“Geary” ให้ความเห็นจากการศึกษาครั้งนี้ว่า การแข่งขันกับผู้เล่นคนอื่นจะเป็นเรื่องจริงจัง ที่ผู้เล่นจะพยายามฆ่าศัตรูทุกคนเพื่อเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุด ผู้เล่นจะพยายามไม่สร้างความบาดหมางใจในทีมเดียวกัน เพราะว่ายังต้องการความช่วยเหลือเพื่อแข่งกับทีมอื่น นอกจากนั้นการศึกษาครั้งนี้ยังได้ระบุว่าการเล่นเกมมัลติเพลเยอร์ ก็เหมือนกับสัญชาตญาณในการทำสงคราม ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีความดุดันก้าวร้าวมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
gamespot.com
gamasutra.com
Thank you manager.co.th