Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review [จอทัชพับ 360 ํ]

โยคะนั้น เป็นชื่อของการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่เป็นกระแสนิยมในตอนนี้ที่คุณผู้หญิงทั้งหลายชื่นชอบ ซึ่งจะเกี่ยวกับ Lenovo

โยคะนั้น เป็นชื่อของการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่เป็นกระแสนิยมในตอนนี้ที่คุณผู้หญิงทั้งหลายชื่นชอบ ซึ่งจะเกี่ยวกับ Lenovo ในเรื่องของชื่อที่นำมาตั้งเป็นชื่อของ Ultrabook รุ่นใหม่สายตระกูล IdeaPad นั่นเอง โดยชื่อเต็มๆ ของน้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์รุ่นนี้คือ Lenovo IdeaPad Yoga 13 ที่ได้ลักษณะของ “โยคะ” มาเต็มๆ

อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมต้องชื่อว่า Yoga แล้วทำไมต้อง 13 นั่นเพราะว่า IdeaPad รุ่นใหม่นี้สามารถพับจอกลับหลังได้ถึง 360 องศาเหมือนกับท่าโยคะหรือว่าจะตั้งเหมือนกับกรอบรูปเป็นท่าโยคะท่าหนึ่งก็ได้ เลข 13 เป็นขนาดหน้าจอที่เครื่องรุ่นนี้ติดตั้งมาให้ที่ 13.3 นิ้ว และถ้าใครติดตามโน๊ตบุ๊คของ Lenovo มานาน จะสังเกตเห็นว่าหน้าตาของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 นี้จะเป็นเหมือนกับ U Series เพราะว่าทาง Lenovo แยกไลน์การผลิตอออกมาจากลุ่ม Ultrabook ด้วย

Advertisement

VDO Product Tour

ก่อนที่จะเข้าสู่รีวิวนั้น ต้องขอกล่าวถึงก่อนว่าความโดดเด่นของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 มีความโดดเด่นที่การพับจอกลับได้ถึง 360 องศา ซึ่งความโดดเด่นนี้หลายๆ ท่าน อาจจะได้เห็นมาก่อนแล้ว แต่ทว่าหากใครยังไม่ได้รู้ว่าเป็นแบบใด ก็เชิญชมวิดีโอนี้ก่อนได้เลย

Specification

สเปกของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ ในส่วนของฮาร์ดแวร์ภายในติดตั้งซีพียู Intel Core i5-3317U ทำความเร็วที่ 1.70 GHz และสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงานได้สูงสุด 2.60 GHz รวมทั้งมี L3 Cache อยู่ที่ 3 MB กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphic 4000 เพื่อช่วยในการประมวลผลการทำงานทั่วไป ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD ความจุ 128 GB พร้อมกับแรม 4 GB แบบ DDR3 เน้นไปทางความเร็วในการเปิดเครื่องและเข้าถึงข้อมูลเป็นหลักด้วย SSD และจะมีอีกรุ่นที่ติดตั้งซีพียูเป็น Intel Core i7-3517U มาให้ด้วย

หน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว มีความละเอียดอยู่ที่ 1600 x 900 พิกเซล ให้ความคมชัดสูงเมื่อใช้งาน เป็นจอกระจกชิ้นเดียวไร้ขอบ ส่วนจอเป็นแบบ?IPS ให้สีสันคมชัดเหมือนจริง รองรับการใช้งานระบบสัมผัสสูงสุด 10 จุดพร้อมกัน ติดตั้งกล้อง Webcam ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล ความคมชัดระดับ 720p มาให้ที่ด้านบนของจอ เพื่อรองรับการทำ Video Call?

การเชื่อมต่อรองรับ USB 2.0 และ USB 3.0 อย่างละ 1 ช่อง สามารถต่อแสดงผลภาพออกไปที่หน้าจอแยกที่สองได้ด้วยสาย HDMI อ่าน Card Reader แบบ SD และ MMC มีติดตั้งระบบ Wifi และ Bluetooth แต่ไม่ติดตั้งระบบ LAN มาให้ ภายในตัวเครื่องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 แบบ 64-bit มาให้ มีน้ำหนัก 1.60 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นน้ำหนักที่ไม่หนักและเบาเกินไปที่จะนำออกไปใช้งานนอกสถานที่

Hardware / Design

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 005

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo IdeaPad Yoga 13 แตกไลน์การผลิตจากซีรี่ย์ U ที่เป็นซีรี่ย์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกัน แต่มีอีกหลายจุดที่ทาง Lenovo ได้ปรับปรุงให้รุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ วัสดุของตัวเครื่องนั้น ภายนอกตัวเครื่องจะเป็นวัสดุซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ?

ส่วนของตัวเครื่องนั้นจะบางน่าใช้เพราะเป็น Ultrabook เน้นการพกพาออกไปใช้ทำงานนอกสถานที่ ดังนั้นต้องบางได้ระดับและน้ำหนักไม่มากเกินไป ทำให้ตัวเครื่องของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 นี้ดูบางเบาเซ็กซี่ไปแบบหนึ่ง และต้องขอบคุณสำหรับการออกแบบตัวแท่นขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับกลับ 360 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน

สำหรับการออกแบบฐานขารองรับจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกเนเซี่ยมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างแชซซีส์ของตัว Lenovo ThinkPad Series ด้วย โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ซึ่งจากการทดลองใช้ฟีเจอร์พับจอกลับ 360 องศานี้แล้ว ต้องกล่าวว่าเป็นฐานขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่น และรองรับการพับจอกลับไปมาได้หลากหลาย แต่แลกกับขนาดขาตั้งจอที่ใหญ่ขึ้น

ด้านใต้ของตัวเครื่องก็จะเป็นวัสดุซอฟท์ทัช ออกแบบมาให้ตรงกลางเรียบไม่มีการเจาะช่องหรือร้อยน็อตเอาไว้แม้แต่ตัวเดียว โดยน็อตยึดทั้งหมดถูกออกแบบให้ไปติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องและสังเกตว่าเป็น Ultrabook รุ่นหนึ่งที่ไม่มีการเจาะช่องสำหรับให้อากาศเย็นเข้าด้านใต้เหมือนรุ่นอื่นๆ ทำให้การออกแบบดูเรียบสนิทสวยงาม น็อตที่ร้อยเอาไว้รอบเครื่องมี 10 ดอกและเป็นหัวแบบพิเศษ ดังนั้นหากว่าใครต้องการเปิดฝาเครื่องต้องหาไขควงหัวแบบพิเศษมาไขเท่านั้น ซึ่งหากมองอีกมุมหนึ่ง คือทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ผู้ใช้เปิดเครื่องออกมานอกจากช่างที่มีอุปกรณ์เฉพาะเท่านั้น

Screen / Speaker

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 018

หน้าจอของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้เป็นจอแบบ IPS ให้ความละเอียด 1,600 x 900 พิกเซล ขนาด 13.3 นิ้ว พร้อมรองรับการทำงานแบบมัลติทัชได้พร้อมกันมากสุดที่ 10 จุดพร้อมกัน ด้วยว่าเป็นจอแบบ IPS ทำให้การแสดงผลภาพออกมาคมชัดสวยงามดี ทว่าสำหรับการทำงานในที่แสงน้อยอาจจะต้องเพิ่มความสว่างของหน้าจออีกเล็กน้อยเพื่อเสริมบ้าง เพราะสีของหน้าจอที่เปิดในที่แสงน้อยอาจหมองลงไประดับหนึ่งจนต้องพึ่งความสว่างช่วย สำหรับความเร็วในการใช้งานระบบจอสัมผัสนั้นอยู่ในระดับไวติดมือไม่มีปัญหากวนใจเช่นทัชแล้วไม่ไปหรือเพี้ยนแน่ สำหรับคนที่คุ้นชินกับแท็บเล็ตรุ่นอื่นๆ มาก่อน ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 ได้ง่ายเช่นกัน แค่หน้าตาการเรียกใช้แอพพลิเคชั่นแตกต่างไปเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านบนของขอบจอจะติดตั้งกล้อง Webcam ความละเอียด 720p แบบ HD มาให้ มีความละเอียด 1 ล้านพิกเซลเพื่อเสริมตอนการทำงาน Video Call ให้การทำงานที่ดี ส่วนของฐานจอนั้น Lenovo เลือกใช้โลหะแมกเนเซี่ยมในการประกอบเพื่อเสริมความแข็งแรงเมื่อผู้ใช้ต้องการหมุนพับจอกลับในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแท็บเล็ตหรือแบบต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปได้ เพราะวัสดุแข็งแรงสูงนี่เอง ทำให้เมื่อพับจอกลับไปมารู้สึกมั่นคงแข็งแรงน่าพอใจอีกด้วย ไม่ต้องห่วงว่าใช้งานไปจะเสียหายได้ง่ายๆ รวมทั้งติดตั้งปุ่ม Windows มาให้อีกหนึ่งปุ่มเพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบของแท็บเล็ตได้อีก

สำหรับลำโพงและเสียงของตัวเครื่องนั้น อยู่ในระดับค่อนข้างดี มิติเสียงครบถ้วน แต่ว่าอาจจะไม่ได้ดังมาก เพราะว่าตัวลำโพงอยู่ด้านใต้คีย์บอร์ด และเมื่อใช้งานเพื่อดูหนังฟังเพลงแล้วถือว่าทำออกมาได้น่าพอใจ ทว่าสำหรับผู้ชื่นชอบการฟังเพลงมากและต้องการได้มิติเสียงที่ดีกว่านี้ ขอแนะนำให้พึ่งพาชุดเครื่องเสียงต่อแยกอีกส่วนหนึ่งจะดีกว่า

Screen Flip

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 007

สำหรับฟีเจอร์โดดเด่นสำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ที่จะลืมกล่าวถึงเสียไม่ได้ก็คือการพับหน้าจอของตัวเครื่องนั่นเอง ซึ่งทาง Lenovo ยกเป็นจุดเด่นของรุ่นนี้เพราะสามารถพับจอให้อยู่หลากหลายองศาเพื่อให้เกิดการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยแบบแรกในภาพด้านบนนั้นเป็น Laptop Mode ที่เป็นรูปแบบธรรมดาทั่วไป เน้นสำหรับการใช้งานทั่วไปหรือพิมพ์เอกสาร

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 012

ในแบบที่สองนี้เรียกว่า Stand Mode คือเน้นใช้งานที่ระบบจอสัมผัสของตัวเครื่องอย่างเดียวและวางไว้บนพื้นที่ราบเช่นโต๊ะหรือเก้าอี้โซฟา (ที่ไม่มีส่วนโค้ง) เพื่อใช้งาน ซึ่งสำหรับรูปแบบนี้จะเน้นไปทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นของ Windows 8 เอง หรือเน้นไปทางการดู Youtube หรือดูภาพยนตร์เป็นหลัก เพราะเวลาดังกล่าวนั้น คีย์บอร์ดมักช้ากว่าการสัมผัสเข้าที่หน้าจอโดยตรง

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 015

แบบที่สามเป็นรูปแบบเต็นท์ (Tent Mode) ค่อนข้างจะคล้ายกับ Stand Mode ก่อนหน้านี้เช่นกัน ทว่าสำหรับ Tent Mode จะอยู่ในรูปทรงตั้งเครื่องเอาไว้ ใช้ในการดูหนังเช่นกัน ทว่าสามารถปรับการใช้งานกับสิ่งรอบตัวได้ดีกว่าแบบ Stand Mode?

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 019

และสำหรับรูปแบบสุดท้ายอย่าง Tablet Mode นั้นก็เหมือนกับแท็บเล็ตราคาแพงทั่วๆ ไปอย่างนั้นเลย ทว่าติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 มาให้ใช้งานเท่านั้น และแบบแท็บเล็ตนี้ทำให้การใช้งานเทียบเคียงกับแท็บเล็ต ทว่าน้ำหนักจะมากกว่าพอสมควร เหมือนกับถือหนังสือเล่มใหญ่ๆ ติดตัวไปไหนมาไหน และสำหรับการตั้งจอเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะ User Interface จะปรับให้เป็นแนวตั้งหรือนอนตามที่ตัวเครื่องถูกจับตั้งไว้

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 020

?ซึ่งสามารถใช้งานเป็นรูปแบบแท็บเล็ตแบบทั่วไปในแนวนอนตามแนวของหน้าตา Metro UI ก็ทำได้

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 022

หรือจะเป็นแนวตั้งเพื่อใช้อ่าน e-book ก็ไม่เลวเช่นกัน หรือจะใช้เล่น Facebook เพื่อให้เห็นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดเป็นจำนวนมากๆ ก็ทำได้สบายๆ?

Keyboard / Touchpad

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 023

ส่วนของคีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ?ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ทว่ากลับไม่มีระบบ Backlit ติดตั้งมาให้เหมือนกับที่หลายๆ ค่ายติดตั้งมาให้แล้ว

สำหรับคีย์บอร์ดรุ่นนี้ระยะพิมพ์จะไม่ถึง 2 มิลลิเมตรดีเหมือนกับ AccuType ใน ThinkPad เพราะว่าเป็น Ultrabook ดังนั้นจึงต้องบีบเนื้อที่ระยะกดของคีย์บอร์ดให้ระยะปุ่มเตี้ยลงไปพอสมควร ทำให้เมื่อพิมพ์แล้ว ระยะเด้งคืนตัวนั้นจะไม่มีมากนัก ทำให้ตอนพิมพ์ใช้งานปกติจะไม่สบายนิ้วเท่ากับ AccuType ที่มีระยะพิมพ์อยู่ที่ 2 มิลลิเมตรจริงๆ แต่อัตราตอบสนองยังอยู่ในระดับน่าพอใจ

สิ่งที่น่าสังเกตนั้น คือการใช้งานปุ่มฟังก์ชั่น (Fn) นั้นจะไม่ใช่การคุมการเพิ่มลดเสียง แต่เป็นการกดปุ่ม F1-12 แทน ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วถือว่าทำมาได้ดี แต่ในเวลาที่ต้องการใช้ปุ่มอื่นนอกจาก F5 (ที่เป็นปุ่ม Refresh ที่ Lenovo ตั้งมาให้แล้ว) อาจจะแปลกใจที่ไปกดปุ่มนั้นแล้วไม่ทำงานอย่างที่เคย เพราะต้องกดควบคู่กับปุ่ม Fn นั่นเอง และสำหรับสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนอาจจะชอบและเกลียดก็ได้ คือปุ่ม F4 นั้นเป็นปุ่มสำหรับปิดโปรแกรมนั้นๆ ในทันที ถ้ากดพลาดอาจทำให้หน้างานนั้นๆ ถูกปิดไป ขอให้ระวังเมื่อใช้งานด้วยก็จะดี

ทัชแพดที่ติดตั้งมาให้สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ออกแบบให้เป็นเนื้อเดียวไปกับตัวเครื่องเลย และมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อดูจากตัวเครื่องแล้ว จะเห็นว่ากินพื้นที่กว้างจนเกือบติดกับมือทั้งสองข้างที่ใช้พิมพ์งานทีเดียว ทว่าเมื่อใช้งานจริงแล้วอาจจะมีโอกาสสัมผัสถูกได้บ้าง ทว่าไม่ได้เป็นบ่อยอย่างที่ควรจะเกิดกับโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งทัชแพดขนาดใหญ่มาให้ ทว่าสำหรับการตอบสนองอาจจะไม่เร็วมากนัก อาจต้องรอไดรฟ์เวอร์อัพเดทจากทาง Lenovo มาแก้ไขต่อไป หรืออาจจะปรับไปใช้งานระบบจอสัมผัสอย่างเต็มตัวเลยก็ไม่เลว

Connector / Thin And Weight

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 064

?สำหรับเรื่องของความหนาของตัวเครื่องนั้นนับว่าบางแน่นอน เพราะว่า Ultrabook จะเป็นโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางและน้ำหนักเบาเป็นหลัก ดังนั้นความบางจึงเป็นจุดขายหลักของ Ultrabook โดยมิติของตัวเครื่องอยู่ที่ 333 x 226 x 17 มิลลิเมตร ซึ่งความหนาระดับนี้ไม่นับว่าหนา แต่บางกำลังดีน่าใช้งานทีเดียว และสำหรับขนาดของตัวเครื่อง 13 นิ้ว จะไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 054

?สำหรับส่วนการเชื่อมต่อของตัวเครื่อง ด้านซ้ายจากซ้ายมือจะติดตั้ง HDMI, USB 3.0, Jack 3.5 มิลลิเมตร, ช่องไมค์หนึ่งช่องและ Volume Rokr สำหรับเพิ่มลดเสียงของตัวเครื่องติดตั้งเอาไว้ นับว่าแตกต่างไม่เหมือนใครสุดๆ สำหรับการติดตั้ง Volume Rokr ไว้ที่ตรงนี้ นับว่าทั้งแปลกใหม่ทั้งน่าสนใจใช้ได้

ในส่วนด้านหน้าของตัวเครื่องจะติดตั้งปุ่ม One Key Recovery ของ Lenovo เอาไว้เพื่อย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา, ปุ่ม Power On/Off ที่ติดตั้งเอาไว้ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องและปุ่มแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องที่ติดตั้งเอาไว้ที่ด้านหน้านี้ ซึ่งนับแล้วว่าเป็นการออกแบบที่แตกต่างอย่างน่าสนใจ ทำให้โอกาสจะกดพลาดเปิดเครื่องขึ้นมาเมื่อทำความสะอาดตัวเครื่องน้อยลงไปมาก

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 057

ฝั่งขวามือของตัวเครื่องจะติดตั้ง Card Reader ที่รองรับการอ่านการ์ดแบบ SD/MMC, USB 2.0 และสายอะแดปเตอร์ที่ช่องสีเหลือง สำหรับการออกแบบของช่องอะแดปเตอร์นี้ขอชื่นชมในการออกแบบไม่เหมือนใครอีกครั้งหนึ่งด้วยความแตกต่างไม่เหมือนใครและดีที่แม้จะเป็นแบบสี่เหลี่ยมเหมือนกับ USB 2.0 ก็ตามที แต่ว่าการเชื่อมต่อนั้น เมื่อหยิบสายมาได้ก็สามารถเชื่อมต่อได้ทันที ไม่ต้องคอยดูเหมือนกับ USB Port ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อทำได้ง่ายมาก

ในเรื่องของน้ำหนักของตัวเครื่องที่เป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของ Ultrabook เพื่อให้พกพาออกนอกสถานที่ได้ง่าย โดยน้ำหนักของตัวเครื่องเพียงอย่างเดียวจะหนัก 1.5 กิโลกรัม เมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ของเครื่องแล้วจะหนัก 1.8 กิโลกรัม ถือว่าไม่หนักมากนัก และตัวอะแดปเตอร์จะค่อนข้างบางและเล็ก นำใส่กระเป๋าออกไปใช้งานนอกสถานที่ได้ง่าย

Performance / Software

CPUZ1

?ซีพียูของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 ที่ทางผู้เขียนได้รับมาทดสอบนั้นเป็นรุ่นที่ติดตั้งซีพียู Intel Core i5-3317U สถาปัตยกรรม Ivy Bridge เป็นซีพียูแบบ 2 Cores 4 Threads สำหรับความเร็วพื้นฐานของซีพียูอยู่ที่ 1.70 GHz และมี L3 Cache อยู่ที่ 3 MB เพื่อรองรับการทำงาน สามารถเร่งความเร็วในการทำงานไปได้สูงสุดที่ 2.6 GHz ในเวลาที่ต้องใช้งานประสิทธิภาพสูงมาก

GPUZ2

?กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ด รุ่น Intel HD Graphic 4000 เพื่อเน้นการทำงานพื้นฐานเช่นดูหนัง, Youtube และการทำงานที่ไม่พึ่งพาการทำงานกราฟิกสูงๆ กราฟิกการ์ดออนบอร์ดรุ่นนี้ก็เพียงพอสำหรับการทำงานแล้ว แต่สำหรับเกมเก่าๆ บางเกมก็สามารถเล่นได้หากว่าปรับกราฟิกอยู่ในระดับต่ำหน่อย?

ssd benchmark

?ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้เป็น SSD จาก Samsung ความจุ 128 GB นับว่าความจุจะอยู่ในระดับทั่วไป และให้ความเร็วในการอ่านเขียนค่อนข้างน่าพอใจและเสถียรมาก สังเกตที่ความเร็วอ่านอยู่ที่ 253 MB/Sec ส่วนความเร็วในการเขียนอยู่ที่ 235 MB/Sec สำหรับค่าความแตกต่างในหลักสิบนับว่ามีความเสถียรน่าพอใจ

 

hyper pi1

?Hyper PI ทำความเร็วได้ 1 นาที 33 วินาที

 

cinebench

?ได้คะแนนของ CINEBENCH 11.5 สำหรับซีพียูอยู่ที่ 2.13 คะแนน และ OpenGL ที่ 6.37 fps?

ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวไว้ ณ ตรงนี้ว่า หลายรุ่นที่มีซีพียูเหมือนกัน ทว่ากลับได้คะแนนแตกต่างกันนั้น เป็นเพราะความแตกต่างทางด้านไดรฟ์เวอร์และระบบปฏิบัติการภายใน คะแนนที่แตกต่างไปนั้น ขอให้เข้าใจว่าอาจจะเกิดจากการที่ไดรฟ์เวอร์และระบบปฏิบัติการมีความสมบูรณ์ของระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันได้

 

3DMark06

?สำหรับคะแนนของ 3DMark06 ได้อยู่ที่ 2,329 คะแนน

 

StreetFighterIV Benchmark 2013 01 16 16 05 36 43

?พอทดสอบกับ Street Fighter Benchmark แล้วได้ 52.21 fps อยู่ในระดับที่เล่นได้ไม่มีปัญหา

 

RE5 Benchmark

Resident Evil Benchmark ได้ 30.8 fps

Battery / Heat / Noise

batt mon

แบตเตอรี่ของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 จะเป็นแบตเตอรี่แบบฝังอยู่ในตัวเครื่อง ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อเปลี่ยนในภายหลังได้ ดังนั้นเมื่อใช้งานแล้วแบตเตอรี่ใกล้หมดก็ไม่สามารถหาแบตเตอรี่สำรองมาเปลี่ยนได้ ไม่ตั้งให้เป็น Sleep Mode, ดับเครื่อง ก็ต้องหาที่สำหรับเสียบปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่อย่างเดียว ทว่าสำหรับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องแบบใช้งานจริง สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง ในการทำงานแบบปกติ คือดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตและก็ดู Youtube ได้

ส่วนของความร้อนในการทำงานนั้น หากว่าไม่ได้ใช้งานแบบรีดประสิทธิภาพเครื่องสูงจริงๆ ก็จะไม่ส่งผลถึงด้านความร้อนมากนัก และยังให้อุณหภูมิสูงสุดที่ด้านหลังของตัวเครื่องที่ 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าไม่สูงหากว่าใช้งานแบบปกติ และสำหรับระบบระบายความร้อนก็ทำออกมาได้ดี เพราะเมื่อใช้งานจริงแล้ว ความร้อนไม่พุ่งขึ้นมาถึงมือของผู้เขียนเลย ตรงนี้นับว่าระบบระบายความร้อนทำออกมาใช้ได้ แม้ว่าพัดลมระบายความร้อนด้านหลังจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก

ด้านของเสียงระบบระบายความร้อนที่ส่งออกมานั้น ไม่นับว่าดัง และแทบไม่ได้ยินหากว่าไม่เงี่ยหูฟังเป็นเรื่องเป็นราว เพราะเสียงทำงานเบามากทีเดียวแม้ว่าด้านล่างของตัวเครื่องจะไม่มีการเจาะช่องระบายอากาศเอาไว้แม้แต่ช่องเดียว แต่การจัดการระบบระบายความร้อนและการออกแบบทำออกมาได้ดี ตรงนี้เป็นส่วนที่น่าชื่นชมว่าแม้จะไม่มีช่องอากาศเย็นเข้า แต่กลับเย็นใกล้เคียงกับหลายๆ รุ่นที่เจาะช่องระบายความร้อนมาให้

Conclusion / Award

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 006

นับแล้ว Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ได้ที่ความคุ้มค่านำมาก่อนเป็นอย่างแรกด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่ติดตั้งมาให้ ซีพียูที่ติดตั้งมาอย่างต่ำเป็น Intel Core i5 สถาปัตยกรรม Ivy Bridge และยังได้ SSD 128 GB มาเสริมการทำงาน รวมทั้งการออกแบบให้พับหน้าจอกลับได้ 360 องศา ทำให้เกิดความแปลกใหม่เพื่อปรับใช้งานได้หลากหลาย เหมือนซื้อ Ultrabook แถมแท็บเล็ตมาให้ เพราะหน้าจอสมารถพับไป 360 องศาให้เหลือแต่หน้าจอได้ด้วย อีกทั้งการออกแบบนั้นเป็นการแยกไลน์การผลิตจาก U Series ออกมาเป็นไลน์ Ultrabook อีกรุ่นหนึ่ง?ที่สำคัญงาน CES 2013 ที่ผ่านมา ยังได้รับรางวัล The Best of CES จากสื่อต่างประเทศอีกด้วย

เป้าหมายหลักที่ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้เกิดมานั้น เพื่อใช้งานเอกสารและอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ในรุ่น Intel Core i5 นั้นไม่เป็นราคาที่แพงเกินไป อีกทั้งราคายังเพียง 39,900 บาทเท่านั้น ได้รูปลักษณ์ที่ดี สลับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ เป็นสี่แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode และ Tablet Mode ซึ่งถ้านักศึกษาหญิงชายได้ใช้ก็ดูดีไม่น้อย หรือจะเป็นฝ่ายการตลาดหรือ Account?Exclusive (AE) ก็เหมาะกับมันอย่างไม่น่าเคอะเขินเลยสักนิดเดียว เพราะการนำออกไปนำเสนองานนอกสถานที่ แบบเป็นกลุ่มก็สามารถเชื่อมต่อ HDMI ออกที่หน้าจอใหญ่ได้ หรือถ้าเป็นกลุ่มเล็ก ไม่เกินห้าคน ก็ใช้งาน Stand Mode นำเสนองานไปอย่างง่ายดาย และยังดูดีด้วย

สำหรับการเปรียบเทียบกันเองในรุ่นนั้นย่อมมีแน่นอน เพราะว่า Lenovo IdeaPad Yoga 13 ติดตั้งซีพียูมาให้ทั้ง Intel Core i5 และ i7 ดังนั้นหากว่าจะเลือกซื้อนั้น ผู้เขียนเห็นว่าซีพียู i5 ที่เป็นรุ่นสุดคุ้มกับราคา 39,990 บาท เป็นรุ่นสุดคุ้มสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสกับ Ultrabook รุ่นนี้ได้อย่างสบายกระเป๋า สำหรับรุ่นที่ติดตั้งซีพียู i7 เองก็เป็นอีกรุ่นที่ดีด้วยสเปกที่อยู่ในระดับสูงสุดในสายการผลิตกับราคาที่สมเหตุผลกับสเปกของเครื่องด้วยราคา 42,990 บาท เท่านั้น และถ้าหากใช้งานค่อนข้างมากก็ขอแนะนำให้เพิ่ม 3,000 บาทไปใช้งานรุ่นที่ติดตั้งซีพียู i7 เลยก็เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าใช้งานแบบทั่วไปไม่หนักหน่วงมากนัก ซีพียู i5 กับเงิน 39,990 บาท ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กัน

 

ข้อดี

  • หน้าจอของตัวเครื่องพับได้มากสุดถึง 360 องศา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
    ทั้ง Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode, Tablet Mode
  • การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
  • อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย หัวปลั๊กทรงสี่เหลี่ยมไม่เหมือนใคร
  • ปุ่ม Power On/Off ติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องใต้ข้อมือ ป้องกันการบังเอิญถูกแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
  • AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น

ข้อสังเกต

  • คีย์บอร์ดไม่ได้ติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
  • ควรติดตั้ง USB 3.0 มาให้ทั้ง 2 ช่อง เพราะตอนนี้เทคโนโลยีรองรับการทำงานกับ USB 3.0 ค่อนข้างพร้อมแล้ว
  • แบตเตอรี่ใช้งานต่อเนื่องได้เพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งที่ควรจะทำได้ถึง 6 ชั่วโมง

 

Award

สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ได้รางวัลดังนี้

 

11 png

เนื่องด้วยการใช้วัสดุนำมาประกอบที่ดีเหมาะสมกับราคา น้ำหนักที่เบา ตัวเครื่องที่บาง ทำให้เครื่องนี้เป็นรุ่นที่น่าใช้อีกรุ่น ซึ่งอาจจะดีกว่าบางรุ่นที่ใช้เพียงอะลูมิเนียมทำเป็นบอดี้อย่างเดียว โดยการออกแบบใช้วัสดุผสมผสานระหว่างซอฟท์ทัชที่ภายนอกของตัวเครื่องกับวัสดุทำจากพลาสติกเหนียวคล้ายหนังที่บุเอาไว้ที่แท่นรองข้อมือ ทำให้เครื่องนี้ได้รางวัล Best Ultrabook ไปได้โดยง่ายอีกรุ่น

 

41

เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook ตระกูล U Series ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟน Lenovo คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน?

 

61

เทคโนโลยีต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูรุ่นสูงของ Intel หรือจะเป็นระบบเสียง?2.0 Dolby Home Theatre V4 รวมไปถึงการเน้นให้ได้รับประสบการณ์หลากหลาย ปรับรูปร่างได้ถึง 4 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Stand Mode, Tent Mode และ Tablet Mode ทำให้ปรับใช้ได้หลากหลายเข้ากับสถานการณ์ อีกทั้งการออกแบบฐานจอที่ให้ความแข็งแรงและกลับจอได้ 360 องศาได้ด้วย เรียกได้ว่าแปลกใหม่กว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปในปัจจุบัน

VDO Product Tour

ก่อนที่จะเข้าสู่รีวิวนั้น ต้องขอกล่าวถึงก่อนว่าความโดดเด่นของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 มีความโดดเด่นที่การพับจอกลับได้ถึง 360 องศา ซึ่งความโดดเด่นนี้หลายๆ ท่าน อาจจะได้เห็นมาก่อนแล้ว แต่ทว่าหากใครยังไม่ได้รู้ว่าเป็นแบบใด ก็เชิญชมวิดีโอนี้ก่อนได้เลย

Specification

สเปกของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ ในส่วนของฮาร์ดแวร์ภายในติดตั้งซีพียู Intel Core i5-3317U ทำความเร็วที่ 1.70 GHz และสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงานได้สูงสุด 2.60 GHz รวมทั้งมี L3 Cache อยู่ที่ 3 MB กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphic 4000 เพื่อช่วยในการประมวลผลการทำงานทั่วไป ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD ความจุ 128 GB พร้อมกับแรม 4 GB แบบ DDR3 เน้นไปทางความเร็วในการเปิดเครื่องและเข้าถึงข้อมูลเป็นหลักด้วย SSD และจะมีอีกรุ่นที่ติดตั้งซีพียูเป็น Intel Core i7-3517U มาให้ด้วย

หน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว มีความละเอียดอยู่ที่ 1600 x 900 พิกเซล ให้ความคมชัดสูงเมื่อใช้งาน เป็นจอกระจกชิ้นเดียวไร้ขอบ ส่วนจอเป็นแบบ?IPS ให้สีสันคมชัดเหมือนจริง รองรับการใช้งานระบบสัมผัสสูงสุด 10 จุดพร้อมกัน ติดตั้งกล้อง Webcam ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล ความคมชัดระดับ 720p มาให้ที่ด้านบนของจอ เพื่อรองรับการทำ Video Call?

การเชื่อมต่อรองรับ USB 2.0 และ USB 3.0 อย่างละ 1 ช่อง สามารถต่อแสดงผลภาพออกไปที่หน้าจอแยกที่สองได้ด้วยสาย HDMI อ่าน Card Reader แบบ SD และ MMC มีติดตั้งระบบ Wifi และ Bluetooth แต่ไม่ติดตั้งระบบ LAN มาให้ ภายในตัวเครื่องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 แบบ 64-bit มาให้ มีน้ำหนัก 1.60 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นน้ำหนักที่ไม่หนักและเบาเกินไปที่จะนำออกไปใช้งานนอกสถานที่

Hardware / Design

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 005

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo IdeaPad Yoga 13 แตกไลน์การผลิตจากซีรี่ย์ U ที่เป็นซีรี่ย์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกัน แต่มีอีกหลายจุดที่ทาง Lenovo ได้ปรับปรุงให้รุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ วัสดุของตัวเครื่องนั้น ภายนอกตัวเครื่องจะเป็นวัสดุซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ?

ส่วนของตัวเครื่องนั้นจะบางน่าใช้เพราะเป็น Ultrabook เน้นการพกพาออกไปใช้ทำงานนอกสถานที่ ดังนั้นต้องบางได้ระดับและน้ำหนักไม่มากเกินไป ทำให้ตัวเครื่องของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 นี้ดูบางเบาเซ็กซี่ไปแบบหนึ่ง และต้องขอบคุณสำหรับการออกแบบตัวแท่นขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับกลับ 360 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน

สำหรับการออกแบบฐานขารองรับจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกเนเซี่ยมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างแชซซีส์ของตัว Lenovo ThinkPad Series ด้วย โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ซึ่งจากการทดลองใช้ฟีเจอร์พับจอกลับ 360 องศานี้แล้ว ต้องกล่าวว่าเป็นฐานขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่น และรองรับการพับจอกลับไปมาได้หลากหลาย แต่แลกกับขนาดขาตั้งจอที่ใหญ่ขึ้น

ด้านใต้ของตัวเครื่องก็จะเป็นวัสดุซอฟท์ทัช ออกแบบมาให้ตรงกลางเรียบไม่มีการเจาะช่องหรือร้อยน็อตเอาไว้แม้แต่ตัวเดียว โดยน็อตยึดทั้งหมดถูกออกแบบให้ไปติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องและสังเกตว่าเป็น Ultrabook รุ่นหนึ่งที่ไม่มีการเจาะช่องสำหรับให้อากาศเย็นเข้าด้านใต้เหมือนรุ่นอื่นๆ ทำให้การออกแบบดูเรียบสนิทสวยงาม น็อตที่ร้อยเอาไว้รอบเครื่องมี 10 ดอกและเป็นหัวแบบพิเศษ ดังนั้นหากว่าใครต้องการเปิดฝาเครื่องต้องหาไขควงหัวแบบพิเศษมาไขเท่านั้น ซึ่งหากมองอีกมุมหนึ่ง คือทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ผู้ใช้เปิดเครื่องออกมานอกจากช่างที่มีอุปกรณ์เฉพาะเท่านั้น

Screen / Speaker

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 018

หน้าจอของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้เป็นจอแบบ IPS ให้ความละเอียด 1,600 x 900 พิกเซล ขนาด 13.3 นิ้ว พร้อมรองรับการทำงานแบบมัลติทัชได้พร้อมกันมากสุดที่ 10 จุดพร้อมกัน ด้วยว่าเป็นจอแบบ IPS ทำให้การแสดงผลภาพออกมาคมชัดสวยงามดี ทว่าสำหรับการทำงานในที่แสงน้อยอาจจะต้องเพิ่มความสว่างของหน้าจออีกเล็กน้อยเพื่อเสริมบ้าง เพราะสีของหน้าจอที่เปิดในที่แสงน้อยอาจหมองลงไประดับหนึ่งจนต้องพึ่งความสว่างช่วย สำหรับความเร็วในการใช้งานระบบจอสัมผัสนั้นอยู่ในระดับไวติดมือไม่มีปัญหากวนใจเช่นทัชแล้วไม่ไปหรือเพี้ยนแน่ สำหรับคนที่คุ้นชินกับแท็บเล็ตรุ่นอื่นๆ มาก่อน ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 ได้ง่ายเช่นกัน แค่หน้าตาการเรียกใช้แอพพลิเคชั่นแตกต่างไปเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านบนของขอบจอจะติดตั้งกล้อง Webcam ความละเอียด 720p แบบ HD มาให้ มีความละเอียด 1 ล้านพิกเซลเพื่อเสริมตอนการทำงาน Video Call ให้การทำงานที่ดี ส่วนของฐานจอนั้น Lenovo เลือกใช้โลหะแมกเนเซี่ยมในการประกอบเพื่อเสริมความแข็งแรงเมื่อผู้ใช้ต้องการหมุนพับจอกลับในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแท็บเล็ตหรือแบบต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปได้ เพราะวัสดุแข็งแรงสูงนี่เอง ทำให้เมื่อพับจอกลับไปมารู้สึกมั่นคงแข็งแรงน่าพอใจอีกด้วย ไม่ต้องห่วงว่าใช้งานไปจะเสียหายได้ง่ายๆ รวมทั้งติดตั้งปุ่ม Windows มาให้อีกหนึ่งปุ่มเพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบของแท็บเล็ตได้อีก

สำหรับลำโพงและเสียงของตัวเครื่องนั้น อยู่ในระดับค่อนข้างดี มิติเสียงครบถ้วน แต่ว่าอาจจะไม่ได้ดังมาก เพราะว่าตัวลำโพงอยู่ด้านใต้คีย์บอร์ด และเมื่อใช้งานเพื่อดูหนังฟังเพลงแล้วถือว่าทำออกมาได้น่าพอใจ ทว่าสำหรับผู้ชื่นชอบการฟังเพลงมากและต้องการได้มิติเสียงที่ดีกว่านี้ ขอแนะนำให้พึ่งพาชุดเครื่องเสียงต่อแยกอีกส่วนหนึ่งจะดีกว่า

Screen Flip

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 007

สำหรับฟีเจอร์โดดเด่นสำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ที่จะลืมกล่าวถึงเสียไม่ได้ก็คือการพับหน้าจอของตัวเครื่องนั่นเอง ซึ่งทาง Lenovo ยกเป็นจุดเด่นของรุ่นนี้เพราะสามารถพับจอให้อยู่หลากหลายองศาเพื่อให้เกิดการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยแบบแรกในภาพด้านบนนั้นเป็น Laptop Mode ที่เป็นรูปแบบธรรมดาทั่วไป เน้นสำหรับการใช้งานทั่วไปหรือพิมพ์เอกสาร

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 012

ในแบบที่สองนี้เรียกว่า Stand Mode คือเน้นใช้งานที่ระบบจอสัมผัสของตัวเครื่องอย่างเดียวและวางไว้บนพื้นที่ราบเช่นโต๊ะหรือเก้าอี้โซฟา (ที่ไม่มีส่วนโค้ง) เพื่อใช้งาน ซึ่งสำหรับรูปแบบนี้จะเน้นไปทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นของ Windows 8 เอง หรือเน้นไปทางการดู Youtube หรือดูภาพยนตร์เป็นหลัก เพราะเวลาดังกล่าวนั้น คีย์บอร์ดมักช้ากว่าการสัมผัสเข้าที่หน้าจอโดยตรง

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 015

แบบที่สามเป็นรูปแบบเต็นท์ (Tent Mode) ค่อนข้างจะคล้ายกับ Stand Mode ก่อนหน้านี้เช่นกัน ทว่าสำหรับ Tent Mode จะอยู่ในรูปทรงตั้งเครื่องเอาไว้ ใช้ในการดูหนังเช่นกัน ทว่าสามารถปรับการใช้งานกับสิ่งรอบตัวได้ดีกว่าแบบ Stand Mode?

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 019

และสำหรับรูปแบบสุดท้ายอย่าง Tablet Mode นั้นก็เหมือนกับแท็บเล็ตราคาแพงทั่วๆ ไปอย่างนั้นเลย ทว่าติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 มาให้ใช้งานเท่านั้น และแบบแท็บเล็ตนี้ทำให้การใช้งานเทียบเคียงกับแท็บเล็ต ทว่าน้ำหนักจะมากกว่าพอสมควร เหมือนกับถือหนังสือเล่มใหญ่ๆ ติดตัวไปไหนมาไหน และสำหรับการตั้งจอเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะ User Interface จะปรับให้เป็นแนวตั้งหรือนอนตามที่ตัวเครื่องถูกจับตั้งไว้

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 020

?ซึ่งสามารถใช้งานเป็นรูปแบบแท็บเล็ตแบบทั่วไปในแนวนอนตามแนวของหน้าตา Metro UI ก็ทำได้

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 022

หรือจะเป็นแนวตั้งเพื่อใช้อ่าน e-book ก็ไม่เลวเช่นกัน หรือจะใช้เล่น Facebook เพื่อให้เห็นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดเป็นจำนวนมากๆ ก็ทำได้สบายๆ?

Keyboard / Touchpad

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 023

ส่วนของคีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ?ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ทว่ากลับไม่มีระบบ Backlit ติดตั้งมาให้เหมือนกับที่หลายๆ ค่ายติดตั้งมาให้แล้ว

สำหรับคีย์บอร์ดรุ่นนี้ระยะพิมพ์จะไม่ถึง 2 มิลลิเมตรดีเหมือนกับ AccuType ใน ThinkPad เพราะว่าเป็น Ultrabook ดังนั้นจึงต้องบีบเนื้อที่ระยะกดของคีย์บอร์ดให้ระยะปุ่มเตี้ยลงไปพอสมควร ทำให้เมื่อพิมพ์แล้ว ระยะเด้งคืนตัวนั้นจะไม่มีมากนัก ทำให้ตอนพิมพ์ใช้งานปกติจะไม่สบายนิ้วเท่ากับ AccuType ที่มีระยะพิมพ์อยู่ที่ 2 มิลลิเมตรจริงๆ แต่อัตราตอบสนองยังอยู่ในระดับน่าพอใจ

สิ่งที่น่าสังเกตนั้น คือการใช้งานปุ่มฟังก์ชั่น (Fn) นั้นจะไม่ใช่การคุมการเพิ่มลดเสียง แต่เป็นการกดปุ่ม F1-12 แทน ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วถือว่าทำมาได้ดี แต่ในเวลาที่ต้องการใช้ปุ่มอื่นนอกจาก F5 (ที่เป็นปุ่ม Refresh ที่ Lenovo ตั้งมาให้แล้ว) อาจจะแปลกใจที่ไปกดปุ่มนั้นแล้วไม่ทำงานอย่างที่เคย เพราะต้องกดควบคู่กับปุ่ม Fn นั่นเอง และสำหรับสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนอาจจะชอบและเกลียดก็ได้ คือปุ่ม F4 นั้นเป็นปุ่มสำหรับปิดโปรแกรมนั้นๆ ในทันที ถ้ากดพลาดอาจทำให้หน้างานนั้นๆ ถูกปิดไป ขอให้ระวังเมื่อใช้งานด้วยก็จะดี

ทัชแพดที่ติดตั้งมาให้สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ออกแบบให้เป็นเนื้อเดียวไปกับตัวเครื่องเลย และมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อดูจากตัวเครื่องแล้ว จะเห็นว่ากินพื้นที่กว้างจนเกือบติดกับมือทั้งสองข้างที่ใช้พิมพ์งานทีเดียว ทว่าเมื่อใช้งานจริงแล้วอาจจะมีโอกาสสัมผัสถูกได้บ้าง ทว่าไม่ได้เป็นบ่อยอย่างที่ควรจะเกิดกับโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งทัชแพดขนาดใหญ่มาให้ ทว่าสำหรับการตอบสนองอาจจะไม่เร็วมากนัก อาจต้องรอไดรฟ์เวอร์อัพเดทจากทาง Lenovo มาแก้ไขต่อไป หรืออาจจะปรับไปใช้งานระบบจอสัมผัสอย่างเต็มตัวเลยก็ไม่เลว

Connector / Thin And Weight

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 064

?สำหรับเรื่องของความหนาของตัวเครื่องนั้นนับว่าบางแน่นอน เพราะว่า Ultrabook จะเป็นโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางและน้ำหนักเบาเป็นหลัก ดังนั้นความบางจึงเป็นจุดขายหลักของ Ultrabook โดยมิติของตัวเครื่องอยู่ที่ 333 x 226 x 17 มิลลิเมตร ซึ่งความหนาระดับนี้ไม่นับว่าหนา แต่บางกำลังดีน่าใช้งานทีเดียว และสำหรับขนาดของตัวเครื่อง 13 นิ้ว จะไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 054

?สำหรับส่วนการเชื่อมต่อของตัวเครื่อง ด้านซ้ายจากซ้ายมือจะติดตั้ง HDMI, USB 3.0, Jack 3.5 มิลลิเมตร, ช่องไมค์หนึ่งช่องและ Volume Rokr สำหรับเพิ่มลดเสียงของตัวเครื่องติดตั้งเอาไว้ นับว่าแตกต่างไม่เหมือนใครสุดๆ สำหรับการติดตั้ง Volume Rokr ไว้ที่ตรงนี้ นับว่าทั้งแปลกใหม่ทั้งน่าสนใจใช้ได้

ในส่วนด้านหน้าของตัวเครื่องจะติดตั้งปุ่ม One Key Recovery ของ Lenovo เอาไว้เพื่อย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา, ปุ่ม Power On/Off ที่ติดตั้งเอาไว้ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องและปุ่มแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องที่ติดตั้งเอาไว้ที่ด้านหน้านี้ ซึ่งนับแล้วว่าเป็นการออกแบบที่แตกต่างอย่างน่าสนใจ ทำให้โอกาสจะกดพลาดเปิดเครื่องขึ้นมาเมื่อทำความสะอาดตัวเครื่องน้อยลงไปมาก

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 057

ฝั่งขวามือของตัวเครื่องจะติดตั้ง Card Reader ที่รองรับการอ่านการ์ดแบบ SD/MMC, USB 2.0 และสายอะแดปเตอร์ที่ช่องสีเหลือง สำหรับการออกแบบของช่องอะแดปเตอร์นี้ขอชื่นชมในการออกแบบไม่เหมือนใครอีกครั้งหนึ่งด้วยความแตกต่างไม่เหมือนใครและดีที่แม้จะเป็นแบบสี่เหลี่ยมเหมือนกับ USB 2.0 ก็ตามที แต่ว่าการเชื่อมต่อนั้น เมื่อหยิบสายมาได้ก็สามารถเชื่อมต่อได้ทันที ไม่ต้องคอยดูเหมือนกับ USB Port ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อทำได้ง่ายมาก

ในเรื่องของน้ำหนักของตัวเครื่องที่เป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของ Ultrabook เพื่อให้พกพาออกนอกสถานที่ได้ง่าย โดยน้ำหนักของตัวเครื่องเพียงอย่างเดียวจะหนัก 1.5 กิโลกรัม เมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ของเครื่องแล้วจะหนัก 1.8 กิโลกรัม ถือว่าไม่หนักมากนัก และตัวอะแดปเตอร์จะค่อนข้างบางและเล็ก นำใส่กระเป๋าออกไปใช้งานนอกสถานที่ได้ง่าย

Performance / Software

CPUZ1

?ซีพียูของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 ที่ทางผู้เขียนได้รับมาทดสอบนั้นเป็นรุ่นที่ติดตั้งซีพียู Intel Core i5-3317U สถาปัตยกรรม Ivy Bridge เป็นซีพียูแบบ 2 Cores 4 Threads สำหรับความเร็วพื้นฐานของซีพียูอยู่ที่ 1.70 GHz และมี L3 Cache อยู่ที่ 3 MB เพื่อรองรับการทำงาน สามารถเร่งความเร็วในการทำงานไปได้สูงสุดที่ 2.6 GHz ในเวลาที่ต้องใช้งานประสิทธิภาพสูงมาก

GPUZ2

?กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ด รุ่น Intel HD Graphic 4000 เพื่อเน้นการทำงานพื้นฐานเช่นดูหนัง, Youtube และการทำงานที่ไม่พึ่งพาการทำงานกราฟิกสูงๆ กราฟิกการ์ดออนบอร์ดรุ่นนี้ก็เพียงพอสำหรับการทำงานแล้ว แต่สำหรับเกมเก่าๆ บางเกมก็สามารถเล่นได้หากว่าปรับกราฟิกอยู่ในระดับต่ำหน่อย?

ssd benchmark

?ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้เป็น SSD จาก Samsung ความจุ 128 GB นับว่าความจุจะอยู่ในระดับทั่วไป และให้ความเร็วในการอ่านเขียนค่อนข้างน่าพอใจและเสถียรมาก สังเกตที่ความเร็วอ่านอยู่ที่ 253 MB/Sec ส่วนความเร็วในการเขียนอยู่ที่ 235 MB/Sec สำหรับค่าความแตกต่างในหลักสิบนับว่ามีความเสถียรน่าพอใจ

 

hyper pi1

?Hyper PI ทำความเร็วได้ 1 นาที 33 วินาที

 

cinebench

?ได้คะแนนของ CINEBENCH 11.5 สำหรับซีพียูอยู่ที่ 2.13 คะแนน และ OpenGL ที่ 6.37 fps?

ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวไว้ ณ ตรงนี้ว่า หลายรุ่นที่มีซีพียูเหมือนกัน ทว่ากลับได้คะแนนแตกต่างกันนั้น เป็นเพราะความแตกต่างทางด้านไดรฟ์เวอร์และระบบปฏิบัติการภายใน คะแนนที่แตกต่างไปนั้น ขอให้เข้าใจว่าอาจจะเกิดจากการที่ไดรฟ์เวอร์และระบบปฏิบัติการมีความสมบูรณ์ของระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันได้

 

3DMark06

?สำหรับคะแนนของ 3DMark06 ได้อยู่ที่ 2,329 คะแนน

 

StreetFighterIV Benchmark 2013 01 16 16 05 36 43

?พอทดสอบกับ Street Fighter Benchmark แล้วได้ 52.21 fps อยู่ในระดับที่เล่นได้ไม่มีปัญหา

 

RE5 Benchmark

Resident Evil Benchmark ได้ 30.8 fps

Battery / Heat / Noise

batt mon

แบตเตอรี่ของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 จะเป็นแบตเตอรี่แบบฝังอยู่ในตัวเครื่อง ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อเปลี่ยนในภายหลังได้ ดังนั้นเมื่อใช้งานแล้วแบตเตอรี่ใกล้หมดก็ไม่สามารถหาแบตเตอรี่สำรองมาเปลี่ยนได้ ไม่ตั้งให้เป็น Sleep Mode, ดับเครื่อง ก็ต้องหาที่สำหรับเสียบปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่อย่างเดียว ทว่าสำหรับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องแบบใช้งานจริง สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 4 ชั่วโมง ในการทำงานแบบปกติ คือดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตและก็ดู Youtube ได้

ส่วนของความร้อนในการทำงานนั้น หากว่าไม่ได้ใช้งานแบบรีดประสิทธิภาพเครื่องสูงจริงๆ ก็จะไม่ส่งผลถึงด้านความร้อนมากนัก และยังให้อุณหภูมิสูงสุดที่ด้านหลังของตัวเครื่องที่ 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าไม่สูงหากว่าใช้งานแบบปกติ และสำหรับระบบระบายความร้อนก็ทำออกมาได้ดี เพราะเมื่อใช้งานจริงแล้ว ความร้อนไม่พุ่งขึ้นมาถึงมือของผู้เขียนเลย ตรงนี้นับว่าระบบระบายความร้อนทำออกมาใช้ได้ แม้ว่าพัดลมระบายความร้อนด้านหลังจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก

ด้านของเสียงระบบระบายความร้อนที่ส่งออกมานั้น ไม่นับว่าดัง และแทบไม่ได้ยินหากว่าไม่เงี่ยหูฟังเป็นเรื่องเป็นราว เพราะเสียงทำงานเบามากทีเดียวแม้ว่าด้านล่างของตัวเครื่องจะไม่มีการเจาะช่องระบายอากาศเอาไว้แม้แต่ช่องเดียว แต่การจัดการระบบระบายความร้อนและการออกแบบทำออกมาได้ดี ตรงนี้เป็นส่วนที่น่าชื่นชมว่าแม้จะไม่มีช่องอากาศเย็นเข้า แต่กลับเย็นใกล้เคียงกับหลายๆ รุ่นที่เจาะช่องระบายความร้อนมาให้

Conclusion / Award

Lenovo IdeaPad Yoga 13 Review 006

นับแล้ว Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ได้ที่ความคุ้มค่านำมาก่อนเป็นอย่างแรกด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่ติดตั้งมาให้ ซีพียูที่ติดตั้งมาอย่างต่ำเป็น Intel Core i5 สถาปัตยกรรม Ivy Bridge และยังได้ SSD 128 GB มาเสริมการทำงาน รวมทั้งการออกแบบให้พับหน้าจอกลับได้ 360 องศา ทำให้เกิดความแปลกใหม่เพื่อปรับใช้งานได้หลากหลาย เหมือนซื้อ Ultrabook แถมแท็บเล็ตมาให้ เพราะหน้าจอสมารถพับไป 360 องศาให้เหลือแต่หน้าจอได้ด้วย อีกทั้งการออกแบบนั้นเป็นการแยกไลน์การผลิตจาก U Series ออกมาเป็นไลน์ Ultrabook อีกรุ่นหนึ่ง?ที่สำคัญงาน CES 2013 ที่ผ่านมา ยังได้รับรางวัล The Best of CES จากสื่อต่างประเทศอีกด้วย

เป้าหมายหลักที่ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้เกิดมานั้น เพื่อใช้งานเอกสารและอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ในรุ่น Intel Core i5 นั้นไม่เป็นราคาที่แพงเกินไป อีกทั้งราคายังเพียง 39,900 บาทเท่านั้น ได้รูปลักษณ์ที่ดี สลับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ เป็นสี่แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode และ Tablet Mode ซึ่งถ้านักศึกษาหญิงชายได้ใช้ก็ดูดีไม่น้อย หรือจะเป็นฝ่ายการตลาดหรือ Account?Exclusive (AE) ก็เหมาะกับมันอย่างไม่น่าเคอะเขินเลยสักนิดเดียว เพราะการนำออกไปนำเสนองานนอกสถานที่ แบบเป็นกลุ่มก็สามารถเชื่อมต่อ HDMI ออกที่หน้าจอใหญ่ได้ หรือถ้าเป็นกลุ่มเล็ก ไม่เกินห้าคน ก็ใช้งาน Stand Mode นำเสนองานไปอย่างง่ายดาย และยังดูดีด้วย

สำหรับการเปรียบเทียบกันเองในรุ่นนั้นย่อมมีแน่นอน เพราะว่า Lenovo IdeaPad Yoga 13 ติดตั้งซีพียูมาให้ทั้ง Intel Core i5 และ i7 ดังนั้นหากว่าจะเลือกซื้อนั้น ผู้เขียนเห็นว่าซีพียู i5 ที่เป็นรุ่นสุดคุ้มกับราคา 39,990 บาท เป็นรุ่นสุดคุ้มสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสกับ Ultrabook รุ่นนี้ได้อย่างสบายกระเป๋า สำหรับรุ่นที่ติดตั้งซีพียู i7 เองก็เป็นอีกรุ่นที่ดีด้วยสเปกที่อยู่ในระดับสูงสุดในสายการผลิตกับราคาที่สมเหตุผลกับสเปกของเครื่องด้วยราคา 42,990 บาท เท่านั้น และถ้าหากใช้งานค่อนข้างมากก็ขอแนะนำให้เพิ่ม 3,000 บาทไปใช้งานรุ่นที่ติดตั้งซีพียู i7 เลยก็เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าใช้งานแบบทั่วไปไม่หนักหน่วงมากนัก ซีพียู i5 กับเงิน 39,990 บาท ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กัน

 

ข้อดี

  • หน้าจอของตัวเครื่องพับได้มากสุดถึง 360 องศา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
    ทั้ง Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode, Tablet Mode
  • การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
  • อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย หัวปลั๊กทรงสี่เหลี่ยมไม่เหมือนใคร
  • ปุ่ม Power On/Off ติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องใต้ข้อมือ ป้องกันการบังเอิญถูกแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
  • AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น

ข้อสังเกต

  • คีย์บอร์ดไม่ได้ติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
  • ควรติดตั้ง USB 3.0 มาให้ทั้ง 2 ช่อง เพราะตอนนี้เทคโนโลยีรองรับการทำงานกับ USB 3.0 ค่อนข้างพร้อมแล้ว
  • แบตเตอรี่ใช้งานต่อเนื่องได้เพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งที่ควรจะทำได้ถึง 6 ชั่วโมง

 

Award

สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 13 เครื่องนี้ได้รางวัลดังนี้

 

11 png

เนื่องด้วยการใช้วัสดุนำมาประกอบที่ดีเหมาะสมกับราคา น้ำหนักที่เบา ตัวเครื่องที่บาง ทำให้เครื่องนี้เป็นรุ่นที่น่าใช้อีกรุ่น ซึ่งอาจจะดีกว่าบางรุ่นที่ใช้เพียงอะลูมิเนียมทำเป็นบอดี้อย่างเดียว โดยการออกแบบใช้วัสดุผสมผสานระหว่างซอฟท์ทัชที่ภายนอกของตัวเครื่องกับวัสดุทำจากพลาสติกเหนียวคล้ายหนังที่บุเอาไว้ที่แท่นรองข้อมือ ทำให้เครื่องนี้ได้รางวัล Best Ultrabook ไปได้โดยง่ายอีกรุ่น

 

41

เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo IdeaPad Yoga 13 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook ตระกูล U Series ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟน Lenovo คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน?

 

61

เทคโนโลยีต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูรุ่นสูงของ Intel หรือจะเป็นระบบเสียง?2.0 Dolby Home Theatre V4 รวมไปถึงการเน้นให้ได้รับประสบการณ์หลากหลาย ปรับรูปร่างได้ถึง 4 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Stand Mode, Tent Mode และ Tablet Mode ทำให้ปรับใช้ได้หลากหลายเข้ากับสถานการณ์ อีกทั้งการออกแบบฐานจอที่ให้ความแข็งแรงและกลับจอได้ 360 องศาได้ด้วย เรียกได้ว่าแปลกใหม่กว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปในปัจจุบัน

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ถ้าเรื่องน้ำหนักและดีไซน์เกมมิ่งไม่เป็นปัญหาและพร้อมลงทุนกับโน๊ตบุ๊คดีๆ สักเครื่อง ก็อยากแนะนำให้มาเลือกดูโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 เอาไว้ใช้เป็นคอมส่วนตัวสักเครื่อง เพราะนอกจากมันจะเล่นเกมได้ดีสมหน้าที่แล้ว ทางผู้ผลิตเองก็ติดตั้งซีพียู, จีพียูแยกพร้อมชุดระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงมาให้ ทำให้ทำงานได้ทุกแบบตั้งแต่งานออฟฟิศทั่วไปจนงานระดับครีเอเตอร์อย่างตัดต่อภาพกับวิดีโอได้ดีมาก ถ้าห่วงเรื่องดีไซน์ว่ามันจะดึงดูดสายตาคนอื่นเกินไป ก็มีตัวเลือกเป็นรุ่นพรีเมี่ยมหน้าตาเรียบหรูให้เลือกซื้อ นอกจากนี้ข้อดีของการซื้โน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากของแถมและส่วนลดแล้ว การได้เลือกดูสินค้าไอทีจากหน้าร้าน ได้จับตัวจริงเช็คว่าสินค้าไม่มีปัญหาก่อนรับเครื่องได้ไม่พอ ยังหาซื้อหน่วยความจำมาอัปเกรดเพิ่มก่อนกลับบ้านและรับของสมนาคุณได้อีกหลายชิ้นอีกด้วยAdvertisement จะซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 ต้องดูเรื่องอะไรบ้าง? ข้อดีของการซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากมีตัวเลือกเยอะแล้ว ยังสั่งอัปเกรด...

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก