โน๊ตบุ๊คซีรีย์ใหม่จาก Sony VAIO เดินทางมาถึง NBS แล้วครับกับ Sony VAIO VPCCW16FS
Sony VAIO VPCCW16FS โดยใน CW Series นี้จะเป็นซีรีย์ที่เข้ามาแทน CS Series เดิม ที่จะอยู่ในกลุ่มโน๊ตบุ๊คระดับกลางของ Sony ซึ่งเน้นจุดขายไปที่เรื่องของความสวยงามและประสิทธิภาพระดับกลางๆในราคาที่สามารถจับต้องได้ โดยจะอัพเกรทสเปกขึ้นมาให้ให้ทรงประสิทธิภาพและโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ด้วยยังคงแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 ด้วยซีพียูรุ่นใหม่ Intel Core2Duo P8700 ตัวแรงของแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 ประสิทธิภาพนั้นแรงหายห่วงแน่นอนครับ แรมขนาด 4 GB แบบเกือบเต็ม max แบบ DDR3 ที่มีความเร็วสูงมาก ใช้งานหนักๆได้สบายๆ จอภาพขนาด 14 นิ้ว ที่ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้จอภาพแบบ 16:9 ซึ่งสามารถรองรับการชมภาพยนตร์ได้ดีกว่าจอภาพแบบเก่า อีกทั้งยังเป็น การ์ด Wireless รุ่นใหม่อย่าง Intel? WiFi Link 5100 ออกมาเพื่อให้รับกับแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 ส่วนในเรื่องความสวยงาม และจุดเด่นอีกจุดที่ไม่พูดถึงเสียมิได้ก็คือการ์ดจอจาก nVidia ในรุ่น GT 230M ดูหนัง HD ความละเอียดสูงได้สบาย เล่นเกมส์ก็ได้ดีพอตัว พร้อมหน้าตาสวยงามที่ได้รับการปรับปรุงมาใหม่ รวมถึงระบบปฏิบัติการตัวใหม่อย่าง Windows? 7 Home Premium โดดเด่นตามสไตล์ Sony VAIO
ส่วนแรกจะเป็นภาพภายนอกเวลาที่เราเห็นเครื่องจะเป็นส่วนที่สะดุดตาที่สุด
Sony VAIO VPCCW16FS เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป (แต่จะออกหนาไปสักหน่อย) มีการออกแบบที่สวยงามตามสไตล์ Sony โดยเครื่องที่ NBS ได้มาทดสอบนี้จะเป็นสีขวาครีม โดยจะมีที่พักมือแยกส่วนออกมาเป็นสีเงิน นอกจากสีขาวในรีวิวนี้แล้วยังมีสีอื่อให้เลือกซื้อด้วย และด้วยความหนาและขนาดใหญ่ตามสไตล์จอภาพ 14 นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักพอสมควร
VAIO CW Series มีสีสันต์หลากหลายให้เลือกกันสไตล์สดใสในแบบฉบับ VAIO
วัสดุมีความแข็งแรงดี พร้อมเคลือบเงามันซึ่งแน่นอนครับว่ามีความสวยงาม แต่ก็แลกมาด้วยที่เป็นรอยขีดข่วนได้ง่ายหากใช้งานไม่ระวัง
บริเวณที่พักมือจะเป็นสีออกเงินๆ ยกสูงขึ้นมาเป็นคนละส่วนกับตัวเครื่องปรกติ ซึ่งช่วยในการรองรับข้อมือได้ดี ช่วยให้พิมพ์และใช้งานได้สะดวก
Sony VAIO VPCCW16FS มีแกนบานพับที่ต่างไปจาก VAIO รุ่นอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ไม่นาน เพราะใช้แกนพับแบบเดิมแทนที่จะเป็นรูปทรงกระบอก แต่ก็ยังมีความแข็งแรง ไม่รู้สึกว่าลื่นหรือพับลงมาเองได้ง่ายๆ
จอภาพปิดลงสนิทพอสมควรโดยจะมียางรองที่แข็งแรงรับแรงกดได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ด้วยที่วางมือเป็นคนละพื้นผิวทำให้ดูจอภาพปิดลงไม่สนิททั้งหมด เห็นเป็ช่องว่างอยู่บ้าง ซึ่งบริเวณ panel ด้านหน้าจะเป็นลักษณะเนินเว้าลงไปเพื่อให้สามารถเปิดจอภาพขึ้นมาได้สะดวก
จอภาพของ Sony VAIO VPCCW16FS มีขนาดอยู่ที่ 14 นิ้วแบบอัตราส่วน 16:9 ตามสมัยนิยม ที่ให้ความละเอียดระดับ HD 1366 x 768 อีกทั้งยังเป็นจอภาพแบบกระจกที่มีความคมชัดสูงที่มีให้เห็นในเครื่องจาก VAIO เท่านั้น
ความหนาของจอ Sony VAIO VPCCW16FS
จอภาพกางได้จนสุดราวๆ 135 องศา
ขนาดของโน๊ตบุ๊ค เมื่อเทียบกับหนังสือขนาด A4
หน้ากว่ากล่อง CD อยู่พอสมควรในบริเวณด้านหลังเครื่อง
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
ด้านใต้เครื่องจะมีฝาปิดอยู่ 2 ส่วนที่สามารถเปิดเองได้คือ แรม กับ ฮาร์ดดิสค์ เมื่อดูจากรูปแล้ว จะเห็นว่ามีช่องระบายความร้อนอยู่ด้วยกันหลายตำแหน่งโดยเฉพาะส่วนที่มีความร้อนแผ่ออกมา เช่นตัวแรมหรือฮาร์ดดิสค์
ช่องระบายความร้อนซีพียูมีใหญ่มากเลยทีเดียว ลมแรงพอสมควรพัดลมเสียงไม่ดังมากนัก
ส่วนนี้ถ้าหากเราสามารถจะเปิดฝาปิดเครื่องภายในได้ก็จะเปิดให้ดูครับว่าไส้ในเป็นยังไง มีระบบหรืออุปกรณ์อะไรมั่งครับ
เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาแล้วจะเห็นอุปกรณ์ภายในได้แก่แรม และฮาร์ดดิสค์
แรมขนาดแถวละ 4 GB จำนวน 2 แถว เป็นแบบ DDR3 ความเร็วสูงอีกทั้งยังตามสเปกยังสามารถอัพเกรทได้สูงสุดถึง 8 GB (4 GB x 2 แถว)
.
คีย์บอร์ดของ Sony VAIO VPCCW16FS มีสีขาวเช่นเดียวกับตัวเครื่องตัดกับตัวหนังสือสีดำทำให้สามารถสังเกตได้ง่ายและดูสบายตา อีกทั้งเป็นคีย์บอร์ดแบบยกตัว ซึ่งปุ่มจะแยกออกจากกันและยกขึ้นสูง ทำให้พิมพ์ได้ง่ายขึ้น ช่วยลดปัญหาเรื่องของการพิมพ์ผิดพิมพ์ถูกได้อย่างดี ทั้งคีย์บอร์ดและตัวปุ่มเองก็มีขนาดที่เหมาะสมใช้งานได้สะดวก
ปุ่ม FN พื้นฐานก็ยังครบครัน
ปุ่มเปิดเครื่องที่อยู่บริเวณข้างๆบานพับทางด้านขวา และข้างๆกันจะเป็นปุ่มออปชั่นเสริม ทั้งปุ่ม ?WEB? สำหรับเปิดโปรแกรม web browser ,?Display Off? สำหรับปิดจอภาพ และ ?VAIO? สำหรับเปิดโปรแกรมพิเศษจาก VAIO
Touchpad จะมีขอบบอกระยะชัดเจนอีกทั้งผิวเองก็มีลักษณะเป็นปุ่มเล็ก ให้รู้สึกถึงการสัมผัส มีขนาดใหญ่พอสมควร ใช้งานได้ง่ายและตอบสนองได้อย่างเที่ยงตรง ปุ่มเม้าส์ขนาดใหญ่ที่ออกจะแข็งไปสักนิด แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้ปรกติ
สติ๊กเกอร์บอกเทคโนโลยีต่างๆในเครื่อง
สติ๊กเกอร์ข้อบ่งใช้ต่างๆ ซึ่งในเครื่อง demo จะมีสเปกบอกมาให้ด้วย
Panel ด้านหน้ามี Card reader, ไฟแสดงสถานะ และ ปุ่มเปิด/ปิดWireless
ด้านซ้ายเริ่มจากด้านในสุด ช่องระบายความร้อน, พอร์ต D-SUB ,HDMI , พอร์ต IEEE 1394 และ USB 2 พอร์ต
ทางด้านขวาเริ่มด้วย PC Card Slot (Express Card), ไดร์ฟ DVD-RW, ช่องเสียบหูฟัง ไมค์และ USB อีก 1 พอร์ต
ด้านหลังมี ช่องเสียบ Adapter, แบตเตอรี่, LAN และสายล๊อกเครื่อง
คุณภาพของ Web cam และระบบเสียง
กล้อง Web Cam ของ Sony VAIO VPCCW16FS
ลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณใต้จอภาพ แม้ขนาดของลำโพงอาจจะดูไม่ใหญ่มาก แต่คุณภาพของเสียงนั้นเรียกได้ว่าดีมาก เสียงกังวาลใส มีมิติของเสียงที่ดีพอสมควร
แบตเตอรี่ของ Sony VAIO VPCCW16FS มีสเปกคือ 11.1 V — 3600 mAh
Sony VAIO VPCCW16FS ในเครื่องทดสอบนี้มาพร้อม Windows 7 Ultimate
คะแนนที่ได้จาก Windows Experience ครับ อยู่ในระดับสูงพอสมควรเลยทีเดียว
เริ่มในส่วนของทดสอบเครื่องด้วยสเปกซีพียูของ Sony VAIO VPCCW16FS ที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 ด้วยซีพียูตัวใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพอย่าง Intel P8700 ที่มีความเร็วสูงถึง 2.53 GHz และ L2 3 MB ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีไม่น้อยเหนือกว่าซีพียูเทพๆในสมัยก่อนบางตัวเลยด้วยซ้ำ ชิปเซตก็เป็นรุ่นใหม่อย่าง PM45 ที่รองรับอุปกรณ์ได้สมบูรณ์แบบ
แรมความจุ 4 GB ที่สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 8 GB ตามสเปกชองชิปเซ็ต แบบ DDR3 ความเร็วสูงถึง 1066 MHz (PC3-8500F)
โปรแกรม CPU-Z เวอร์ชั่นล่าสุดสามารถแสดงสเปกการ์ดจอได้ด้วย ซึ่งสามารถแสดงสเปกการ์ดจอมาได้อย่างถูกต้อง GT 230M ซึ่งในโปรแกรมอื่นกลับแสดงเป็น 8400M GS ซะงั้น
การ์ดจอจากฝั่ง จากค่ายเขียว NVIDIA ถูกต้องครับ แต่แสดงรุ่นกลับผิดเพี้ยนเป็น 8400M GS ซึ่งในความเป็นจริงต้องเป็น GT 230M ส่วนสเปกอื่นๆเช่นความเร็วของ GPU และ แรม สามารถแสดงได้ถูกต้อง คงต้องรอเวอร์ชั่นใหม่ออกมาจึงจะรองรับการ์ดแสดงสเปกที่ถูกต้อง (โปรแกรมทดสอบอื่นก็แสดงผิดเพี้ยนเช่นกัน แต่คะแนนที่ออกมานั้นกลับเป็นคนละเรื่องกับชื่อรุ่นที่แสดงออกมาเลย)
ฟังก์ชั่นไดรฟ์ครบตามมาตรฐาน ไดร์ฟ DVD-RW ทั่วไป
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า web ได้ขนาดไหน
Sony VAIO VPCCW16FS ได้ปรับเปลี่ยนจอภาพเป็น 16:9 ที่นิยมใช้ในจอภาพโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน ที่ความละเอียดระดับ 1366 x 768
โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้น เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้นเมื่อ Loop มันเป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณค่าได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณค่าที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณค่าที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณค่าได้น้อยลง
ซีพียู Intel Core 2 Duo รุ่นใหม่อย่าง P8700 ของ Sony VAIO VPCCW16FS สามารถทำเวลาไปได้ 20.296 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M
อ้างอิงจาก : www.notebookcheck.com
ซีพียูของ Sony VAIO VPCCW16FS มีประสิทธิภาที่เรียกได้ว่าดีมากเลย ใช้เวลาในการคำนวนที่น้อยมาก
ซีพียูที่มีความเร็วสูงอีกทั้งยังมี FSB ที่มาก ย่อมสามารถทำงานด้าน 3D ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงดังคะแนนที่ออกมาครับ
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นขนาด 250 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 61.5 Mb ต่อ วินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 18.6 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
ฮาร์ดดิสค์ของ Sony VAIO VPCCW16FS มีประสิทธิภาพที่ดีพอสมควรใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลกำลังดี
ทดสอบภาครับส่งของการ์ด Wireless
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร และโอนถ่ายข้อมูลจาก PC อีกเครื่องที่อยู่ในวงแลนเดียวกัน
การ์ด Wireless ในรุ่นใหม่ที่เป็นแพลตฟอร์มเซนทริโน 2 นั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพได้อย่างดีมีความนิ่งของสัญญาณที่ดีมาก ช่วยให้เราสามารถใช้งานเล่นเน็ตได้ลื่นไหลไม่มีหลุดแน่นอนครับ
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
อ้างอิงจาก : www.notebookspec.com
Sony VAIO VPCCW16FS สามารถทำคะแนนในโปรแกรม PC Mark ไปได้ดีพอสมควร
PCMark Vantage
คะแนนออกมาอย่างเยอะเยี่ยมเลยทีเดียว
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
อ้างอิงจาก : www.notebookspec.com
Sony VAIO VGN-CS16S ทำคะแนนไปได้พอสมควรตามสเปกของการ์ดจอ
เป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบเครื่องได้หลายๆส่วนเช่น ซีพียู ฮาร์ดดิสต์ และอื่นๆอีกหลายอย่าง อีกทั้งสามารถเลือกซีพียูรุ่นอื่นๆมาเปรียบเทียบได้ด้วย
โดยจะแบ่งเป็น 4 แบบคือ
1. Processor Arithmetic ทดสอบซีพียู
ซีพียูรุ่นใหม่อย่าง P8700 แรงเทียบได้กับซีพียูรุ่นเก่าแรงๆได้อย่าง T9300 เลยครับ
2. Memory Bandwidth ทดสอบ Bandwidth ของ Memory ในส่วนของชิบเซตและแรม
แรม DDR3 แรงไม่ใช่น้อย
3. Physical Disks ทดสอบความเร็วในการทำงานของ ฮาร์ดดิสต์
อาจจะช้ากว่าบ้างแต่ก็ไม่รู้สึกเท่าไร
4. Performance Index ทดสอบ Performance รวมของระบบว่ามีจุดเด่นด้านไหน
ประสิทธิภาพรวมถือทำได้ดี
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 34 ~ 35 องศาC
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เล่นเน็ตพิมพ์งาน
อุณหภูมิที่ออกมาไม่สูงมากด้วยช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม ORTHOS รัน ซีพียู ให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
หลังจาก Burn แล้วอุณหภูมิขึ้นมาพอสมควรแต่ก็ไม่สูงมากจนน่าตกใจ อยู่ในระดับมาตรฐานทั่วไป
ทดสอบเวลาในการใช้งาน แบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานทั่วๆไปพิมพ์งาน เล่นอินเตอร์เน็ตผ่าน Wireless โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดจนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 6%
แม้จะมีการ์ดจอแยก แรมเต็มที่ 2 แถว ซีพียูประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้กว่า 2 ชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว
แบบที่ 2 ใช้งานหนักๆ
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานหนักๆโดยการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดและเปิดลำโพงในระดับสูงสุด จนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 5%
ได้ประมาณชั่วโมงนิดๆก็อยู่ในระดับพอรับได้
เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์ตแบตเตอรี่พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 12% จนถึง 100%
ใช้เวลา 2.40 ชั่วโมง ใช้เวลาในการชาร์ตถือว่าไม่มากจนน่าเป็นห่วง
กราฟสรุปการใช้พลังงานแบตเตอรี่ของ Sony VAIO VPCCW16FS
Sony VAIO VPCCW16FS นอกจากความสวยงามที่น่าจับจองด้วยการออกแบบและวัสดุที่นำมาผลิตตัวเครื่องในระดับพรีเมียม ซึ่งเป็นจุดเด่นของโน๊ตบุ๊คจาก Sony VAIO อยู่แล้ว อีกทั้งยังมาพร้อมสเปกที่เรียกได้ว่าแรงจัดจ้าน ในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไปทั้งซีพียูตัวแรงจาก Intel อย่าง P8700 การ์ดจอแยกที่มีประสิทธิภาพพอตัวอย่า GT 230M และแรม 4 GB DDR3 ทั้งความจุเต็มที่และมีความเร็วสูง ใครว่าโน๊ตบุ๊ค Sony VAIO ดีแต่สวยคงต้องต้องเปลี่ยนคำพูดใหม่แล้ว ยิ่งถ้าใครสนใจโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงที่มาพร้อมความสวยงามที่น่าจับจองแล้วละก็ต้อง Sony VAIO VPCCW16FS เลยครับ
?Sony VAIO VPCCW16FS สวยด้วย แรงได้ใจ?
Sony VAIO Link : http://www.sony.co.th/product/vpccw16fs
NBS เราได้มีการมอบรางวัลให้โน๊ตบุ๊คที่ผ่านการประเมินคะแนนในด้านต่างๆเพื่อมอบ เป็นรางวัลให้แก่โน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นๆที่เราได้ทดสอบไป
โดยจะตัดสินจาก 6 หัวข้อหลักได้แก่
- Design
- ความคุ้มค่า (Value)
- Performance
- ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- Gaming
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด
โดยระดับคะแนนที่ได้รางวัลต่างๆได้แก่
25 คะแนนขึ้นไป
20 คะแนนขึ้นไป
15 คะแนนขึ้นไป
โดย Sony VAIO VPCCW16FS/R สามารถผ่านการทดสอบมาได้อย่างดี ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 5/5 ?Design
- 3/5 ?ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 ?Performance
- 3/5 ?ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 3/5 ?ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 3/5 ?Gaming
รวม 20 คะแนน
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Gold แก่ Sony VAIO VPCCW16FS สวยไม่ใช่น้อย แรงไม่ใช่เล่น