Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

ลองอ่านดู แล้ว Notebook คุณจะเล่นหนัง Hi-Def ได้แบบ “เทพเรียกพ่อ”..!!

imageคุณอาจสังเกตว่า Notebook ที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่ให้พอร์ท HDMI มาด้วย ซึ่งทำให้สามารถต่อพ่วง Notebook ตัวเก่งกับอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่สนับสนุนมาตรฐาน HDMI ได้ เช่น LCD Monitor/TV, Plasma TV และ A/V Receiver เป็นต้น นอกจากนี้ ชิปประมวลผลกราฟฟิค (GPU) ที่ติดมากับ Notebook ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นชิปตระกูล Intel, Nvidia หรือ ATI ต่างก็มีความสามารถในการเร่งการแสดงผลภาพวีดีโอแบบ HD ทั้งสิ้น โดย GPU ที่มีความสามารถนี้จะรับภาระการถอดรหัส และแสดงผลวีดีโอเอาไว้ด้วยตัวเอง จึงลดบทบาทของ CPU ลงไปได้ ทำให้ CPU ของคุณมีทรัพยากรเหลือสำหรับการประมวลผลอื่นๆ มากขึ้น หากไม่อาศัยความช่วยเหลือจาก GPU แล้ว คุณอาจพบว่า CPU ของคุณทำงานเกือบ 100% และ Notebook ตัวเก่งของคุณตัวร้อนจี๋ เมื่อคุณเล่นวีดีโอคลิปแบบ HD บางคลิปเลยทีเดียว

Advertisement

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ Notebook เล่นหนังเป็นประจำ วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการตั้งค่าต่างๆ บน Notebook (หรือจะใช้ PC ก็ไม่ผิดกติกาอะไร) เพื่อให้เล่นหนังได้ลื่นไหลไม่กระตุก ภาพสวย และใช้ CPU น้อยที่สุดมาฝากครับ

สิ่งที่คุณต้องมี:

ด้าน Hardware:

1. Notebook หรือ PC ที่ใช้ GPU ที่มีตัวเร่งการแสดงผลวีดีโอแบบ HD โชคดีว่า Notebook ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจะใช้ GPU ที่มีความสามารถนี้ แต่เราแนะนำให้ใช้ GPU ที่สนับสนุน Bitstream Decoding ที่สามารถปลดแอกกระบวนการถอดรหัสออกจาก CPU ได้ 100% โดยมีข้อแม้ว่าคุณต้องเล่นไฟล์หนัง HD ที่เข้ากันได้กับตัวถอดรหัสดังกล่าว ซึ่ง GPU ที่สนับสนุน Bitstream Decoding ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันได้แก่ GPU ดังต่อไปนี้

  • Intel: GPU ตระกูล 4500MHD
  • ATI: GPU ตระกูล Radeon HD 4000 series
  • Nvidia: GPU ตระกูล Geforce 200, 8000 และ 9000 series (ยกเว้น Geforce 8800 Ultra, 8800 GTX, 8800 GTS (320/640MB))

image image

image

image

image สำหรับ GPU อื่นๆ ที่วางจำหน่ายในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา (ที่ไม่ได้อยู่ในรายการข้างบน) ก็มีตัวเร่งการเล่นหนัง HD เช่นกัน แต่จะเป็นการช่วยรับภาระการถอดรหัสหนังบางส่วนเท่านั้น และยังใช้ CPU ช่วยในกระบวนการถอดรหัสอยู่ คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถในการช่วยถอดรหัสหนังของ GPU รุ่นต่างๆ ได้จาก link ต่อไปนี้

2. Notebook หรือ PC ที่ใช้ CPU ที่มีความสามารถสูงพอ จริงอยู่ที่ GPU ที่สนับสนุน Bitstream Decoding สามารถปลดแอกกระบวนการถอดรหัสและการประมวลผลวีดีโอได้ 100% แต่ในขณะเล่นหนัง CPU ของคุณยังคงต้องทำงานต่างๆ อยู่ดี เช่นอ่านไฟล์หนังจากดิสก์, ประมวลผลคำสั่งต่างๆ จากโปรแกรมเล่นหนัง และยังต้องประมวลผล Background Process อื่นๆ ของ Windows อีกด้วย ซึ่งจุดนี้อาจเป็นอุปสรรคในการเล่นหนังได้อย่างได้อย่างลื่นไหล สำหรับ Notebook บางเครื่องที่ถึงแม้จะมี GPU ที่สนับสนุน Bitstream Decoding แต่ใช้ CPU ความเร็วไม่สูงมากนัก (เช่น CPU ตระกูล Atom, Core Solo หรือ CPU แบบ ULV บางตัว)

ฉะนั้นเมื่อคุณเปิดใช้ตัวเร่งของ GPU บนเครื่องที่ใช้ CPU ความเร็วต่ำ แล้วสังเกตเห็นว่าเครื่องยังใช้ CPU มากกว่า 70% ในการเล่นหนัง HD คุณอาจต้องทำใจว่าโอกาสที่หนังจะกระตุกในบางช่วงมีอยู่สูง เนื่องจาก CPU มี headroom (หรือเหลือทรัพยากร) สำหรับงาน multitasking บน Windows ค่อนข้างน้อย

3. สาย HDMI หรือ DVI ในกรณีที่คุณต้องการต่อ Notebook/PC ของคุณเข้ากับจอ LCD Monitor/TV, Plasma TV หรือ A/V Receiver

imageimage

4. สาย Optical หรือ Coaxial ใน กรณีที่คุณต้องการต่อ Notebook/PC เข้ากับ A/V Receiver ที่ไม่สนับสนุน HDMI หรือในกรณีที่เครื่อง Notebook/PC ของคุณไม่สนับสนุนการส่งสัญญาณเสียงผ่านสาย HDMI (คุณจะต้องใช้สาย Optical หรือ Coaxial ในกรณีที่คุณต้องการให้ A/V Receiver เป็นตัวถอดรหัสเสียงเซอร์ราวด์เท่านั้น)

imageimage

5. สาย Stereo Minijack สำหรับต่อสัญญาณเสียงไปยังลำโพง/หูฟัง ในกรณีที่คุณไม่ต้องการส่งสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล

image

ด้าน Software:

1. Windows Vista หรือ Windows 7 เทคนิคการเล่นหนังในบทความนี้ถูกทดสอบบน Windows 7 และ Windows Vista เราจึงไม่รับประกันว่าเทคนิคเดียวกันนี้จะสามารถใช้บน Windows XP ได้ 100%

2. Driver ของ GPU เวอร์ชันล่าสุดจากผู้ผลิตแต่ละค่าย คุณสามารถหาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซท์ของผู้ผลิต GPU หรือเว็บไซท์ผู้ผลิต Notebook/PC ของคุณ

3. DirectX 9 และ DirectX 10 เนื่อง จากโปรแกรมเล่นหนังที่ใช้ในบทความนี้จะดึงเอาความสามารถของ Pixel Shader จาก DirectX 9 API มาใช้ด้วย คุณจึงต้องดาวน์โหลดและติดตั้ง DirectX 9 พร้อม Update ตัวล่าสุดจากเว็บไซท์ของ Microsoft ส่วน DirectX 10 นั้นคุณไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด เพราะมันถูกบรรจุมาพร้อมกับ Windows Vista/7 อยู่แล้ว

4. โปรแกรม Media Player Classic Home Cinema (MPC) สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่ เราขอแนะนำให้คุณใช้เวอร์ชันสำหรับ Windows 32 bit (X86) ถึงแม้ว่าคุณจะใช้ Windows 64 bit (X64) ก็ตาม จริงๆ แล้วคุณมีทางเลือกที่จะใช้โปรแกรมอื่นๆ ได้ แต่เราจะใช้โปรแกรม MPC เป็นหลักในบทความนี้

5. Haali Media Splitter สำหรับเล่นไฟล์ M2TS, MP4 และ MKV สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่

6. FFDSHOW Tryouts สำหรับเล่นไฟล์หนัง format อื่นๆ ที่ MPC ไม่สนับสนุน สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่

7. Mediainfo dll สำหรับดูข้อมูลต่างๆ ของไฟล์หนัง ให้คุณดาวน์โหลดเฉพาะไฟล์ DLL ที่เป็นเวอร์ชัน X86 จากที่นี่ หลังจากนั้นให้ unzip ไฟล์ DLL ที่ดาวน์โหลดมาไปไว้ในโฟลเดอร์เดียวกับโปรแกรม Media Player Classic

เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจว่าเครื่อง Notebook/PC ของคุณมีคุณสมบัติ ด้าน Hardware และ Software ตรงกับที่ระบุไว้ข้างบน ก็มาเริ่มตั้งค่า Notebook/PC สำหรับการดูหนังกันเลยครับ

ก่อนอื่นขอ เริ่มจากการต่อพ่วง Notebook/PC ของคุณกับโทรทัศน์เสียก่อน หากคุณต้องการดูหนังด้วยจอของ Notebook/PC ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปอ่านที่หัวข้อ ?การตั้งค่า Software? ได้เลย สำหรับวิธีการต่อเชื่อม Notebook/PC กับทีวี สามารถศึกษาได้จากที่นี่

สมมติว่าคุณเชื่อมต่อ LCD/ Plasma TV ด้วยสาย HDMI เรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาถึงการปรับค่าใน Display Driver กันบ้าง เราขอแนะนำให้คุณตั้งใน Driver ให้จอ LCD/Plasma TV เป็นจอแสดงผลเพียงจอเดียว และหลีกเลี่ยงการใช้โหมด Clone หรือโหมด Dual View เพื่อลดภาระการทำงานของ GPU และหลีกเลี่ยงปัญหาภาพไม่ขึ้นบนจอเมื่อคุณเล่นหนังจากแผ่นบลูเรย์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะคุณสมบัติการป้องกันการ
ก็อปปี้ content แบบดิจิตอลของระบบ HDCP (High-bandwidth Digital Content Protection)

image

หากมีปัญหาภาพ Desktop ล้นเมื่อแสดงบนทีวี คุณอาจต้องปรับค่า Scaling บน Driver เสียก่อน แต่ถ้าทีวีของคุณมีฟังก์ชัน Screen Fit, Just Scan, Full Pixel หรือ PC Mode ที่สามารถแสดงภาพแบบ 1:1 ได้ ก็ให้เปิดฟังก์ชันนั้นบนทีวี แล้วปรับ Overscan ใน Driver ให้เป็น 0%

image

ถ้า Driver และทีวีของคุณสนับสนุน ให้เลือก Pixel format ให้เป็นแบบ RGB 4:4:4 (Full RGB) ในกรณีเล่นหนังด้วยโปรแกรม MPC แต่หากคุณเล่นหนังด้วยโปรแกรม PowerDVD ให้เลือก Pixel format ให้เป็น YCbCr 4:4:4

หากคุณเลือก RGB 4:4:4 แล้วภาพที่แสดงบนทีวีดูมืดไป ให้ไปปรับระดับสีดำ HDMI Black Level ของทีวีให้ถูกต้องเสียก่อน (ทีวีบางรุ่นสามารถปรับ HDMI Black level โดยอัตโนมัติ) แต่ถ้าหากทีวีของคุณเป็นทีวีเก่าที่ไม่สนับสนุน HDMI 1.3 เราขอแนะนำให้คุณหันมาใช้โหมด YCbCr 4:4:4 แทน

image

กำหนด Refresh rate ให้สัมพันธ์กับ frame rate ของวีดีโอที่จะแสดง ไฟล์หนังส่วนใหญ่จะมีเฟรมเรทอยู่ที่ 29.97 fps หรือพูดง่ายๆ คือ 30เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าเป็นไฟล์หนังในระบบ PAL ก็จะมีเฟรมเรทอยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที ฉะนั้น refresh rate ที่เหมาะสมควรจะเป็นดังนี้

1. หากดูหนังระบบ NTSC ให้ปรับเป็น 60 Hz

2. หากดูหนังระบบ PAL ให้ปรับเป็น 50 Hz

3. หากดูหนังที่เป็นแบบ 24 เฟรมต่อวินาที เช่นหนัง HD จากแผ่นบลูเรย์ที่สนับสนุน 24p ให้ปรับเป็น 24 Hz

4. หากไม่แน่ใจ ให้ปรับเป็น 60 Hz เพราะใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหากับทุกสถานการณ์อย่างแน่นอน

image

หากคุณมีปัญหาภาพกระตุก/กระตุกเป็นระยะ หรือเสียงไม่ตรงกับภาพเมื่อเล่นแผ่นหนัง 24p จากแผ่นบลูเรย์ หรือเล่นไฟล์ HD ที่มีต้นฉบับมาจากแผ่นบลูเรย์ ให้ปรับ refresh rate ใหม่ให้เป็น 60 Hz แทน เนื่องจาก ณ วันที่เขียนบทความนี้ GPU หลายๆ รุ่น และ Driver หลายๆ รุ่น ยังมีปัญหากับการแสดงผลแบบ 24p อยู่ คุณจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ 24p หากใช้แล้วเกิดปัญหา

ขั้นตอนถัดมาคือการปรับเสียง ถ้า Notebook/PC ของคุณสนับสนุนการส่งสัญญาณเสียงผ่าน HDMI และคุณต้องการที่จะส่งสัญญาณเสียงไปยัง TV หรือ A/V Receiver ผ่านพอร์ทดังกล่าว ให้กำหนดใน Control Panel ของ Windows โดยกำหนดให้ HDMI Output เป็น Default Audio Device

image

เมื่อคุณดับเบิ้ลคลิกที่ HDMI Audio Device คุณสามารถที่จะรีวิวความสามารถด้านเสียงของทีวี หรือ A/V Receiver ที่ไดรเวอร์ตรวจสอบไว้โดยอัตโนมัติได้ จากภาพด้านล่าง จะเห็นว่าไดร์เวอร์ตรวจสอบพบว่า A/V Receiver ที่ต่ออยู่ขณะนี้ สามารถถอดรหัสเสียงแบบ Dolby Digital, DTS และ PCM ได้สูงสุดที่ 8 แชนแนล ที่ 24 bit 192 kHz แต่ในกรณีที่ต่อกับทีวีโดยตรง ไดร์เวอร์ก็จะโชว์ว่าทีวีของคุณสนับสนุนเสียงแบบ PCM ที่ 16 bit 48 kHz

image

อย่าลืมคลิกขวาที่ HDMI Audio Device แล้วเลือก Configure Speaker เพื่อกำหนดจำนวนลำโพงที่จะใช้ฟังด้วย

image image

ในกรณีที่ A/V Receiver ของคุณไม่สนับสนุน HDMI คุณสามารถกำหนดให้ส่งสัญญาณเสียงดิจิตอลผ่านทางพอร์ท Coaxial หรือ Optical ไปยัง A/V Receiver เช่นเดียวกัน โดยคุณต้องกำหนด SPDIF Out ของการ์ดเสียงของคุณให้เป็น Default Device

image

ต่อไปจะเป็นการตั้งค่าต่างๆใน Software

<<อ่านต่อ>>

Credit: www. lcdspec.com

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก