Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Review – ASUS TUF Gaming FX705 โน๊ตบุ๊คเล่นเกมจอ 17.3″ ขอบบาง สเปก i7 + GTX 1060 ราคาถูกที่สุด

ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS TUF Gaming FX705 มาแล้ว ต่อยอดมาจาก ASUS TUF Gaming FX504 รุ่นก่อนหน้าที่ประสบความเร็จเป็นอย่างดี

ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS TUF Gaming FX705 มาแล้ว ต่อยอดมาจาก ASUS TUF Gaming FX504 รุ่นก่อนหน้าที่ประสบความเร็จเป็นอย่างดี ล่าสุดทาง #AdminPong NBS ได้มีโอกาสรีวิว ASUS TUF Gaming FX705 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกม 17.3″ ขอบหน้าจอบาง โดยไปทำการตีบวกยัดสเปคจัดเต็มแน่นเอียดในราคาสุดคุ้มเหมือนเดิม สนนราคาเริ่มต้นที่ 39,990 บาท นับว่าเป็น Gaming Notebook จอ 17.3″ ที่ไม่แพงเลย

โดย ASUS TUF Gaming FX705 รุ่นที่เราได้รับมารีวิวนั้นจะรุ่นท็อปสุด คือ ที่ใช้สเปคเป็น Intel Core i7-8750H 6 Core/12 Thread จัดเต็มอย่างแรง พร้อมการ์ดจอที่เป็น NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5), Ram 8 GB DDR4 Bus 2666 และมี SSD m. 128 GB PCIe มาให้ด้วย ส่วนหน้าจอก็ขนาด 17.3 นิ้ว Full HD 144 Hz พร้อม Windows 10 ในราคาเพียง 44,990 บาท ประกัน 2 ปี และประอุบัติเหตุในปีแรก

Advertisement

Unbox Preview

VDO Review

Specification

ASUS TUF FX705 Review 66

สเปกของ ASUS TUF Gaming FX705 แบ่งเป็น 2 รุ่นด้วยกัน โดยต่างกันเพียงการ์ดจอที่รุ่นราคา 39,990 บาทเป็น NVIDIA GeForce GTX 1050Ti (4GB) ส่วน 44,990 บาท เป็น NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ต่างกัน 5,000 บาท สเปกที่เหลือเหมือนกันหมด

คือใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-8750H (2.20 – 4.10 GHz) ทำงานแบบ 6 Core/12 Thread ประสิทธิภาพสุดแรง พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM + SSD m.2 128 GB PCIe ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2666 (รองรับการใส่เพื่ออีก 1 แถว)

ที่สำคัญ ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 17.3 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล VA การแสดง 144 Hz ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ สีสันมุมมองไม่แพ้พาเนล IPS พร้อมกับภาพที่ลื่นไหลสบายตา กล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว

ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอตัวทั้ง HDMI, 2 x USB 3.1 Type-A, 1 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อทั้งหมดจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่อง ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi 5 พร้อมระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว

ทางด้านราคาของ ASUS TUF Gaming FX705  รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้ สนนราคาอยู่ที่ 44,990 บาท การรับประกัน 2 ปี ส่งเคลม 7-11 และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS อีกด้วย อุ่นใจจัดเต็มครับ

Hardware / Design

ASUS TUF FX705 Review 2

โดยรุ่น ASUS TUF Gaming FX705 จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ Red Matter, Gold Steel โดยตัว Gold Steel ที่เราได้รับมารีวิว วัสดุตัวเครื่องฝาหลังจะเป็นอะลูมิเนียม (ส่วน Red Matter จะเป็นพลาสติก) ซึ่งจะมีลายละเอียดแตกต่างกันเรื่องของดีไซน์และลวดลาย อีกทั้งมีความพิเศษที่ ASUS TUF Gaming FX705 และ ASUS TUF Gaming FX505 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้

การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX705 เรียกได้ว่าถอดแบบรูปร่างทรวดทรงเหมือนกับรุ่นพี่รุ่นก่อนอย่างตัว FX504 กันมา แต่โดดเด่นกว่าขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร มีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน แฝงความเป็น Gaming Notebook ที่เล็กกระทัดรัด จอใหญ่ 17.3″ แต่ดูเล็กใกล้เคียงกับรุ่นจอ 15.6″ แบบก่อนๆ พร้อมความเบาเพียง 2.6 กิโลกรัม โดยรวมดูมินิมอลแบบเรียบง่าย พร้อมกับโลโก้ ASUS สีทองตรงกลางฝาหลังแถมมีไฟสวยงาม เอาไปเล่นตอนกลางคืนดูโดดเด่นสุดๆ

ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องฝาพับด้านบนผลิตจากวัสดุโลหะ แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ออกแบบเป็นลายตัว X พร้อมผิวเรียบหรู สีจะเป็นสีเงินเทา พร้อมเว้นส่วนของขอบด้านหลังตัวเครื่อง ทำให้ไม่บังลมร้อนที่เป่าออกมา ส่วนด้านในจะเป็นพลาสติกแบบมีลวดลายคล้ายโลหะปัดเสี้ยนให้สัมผัสผิวไม่เรียบ ที่นอกสายสวยงามแล้วคือเป็นลายนิ้วมือได้ยาก นับว่าเป็รอะไรที่น่าประทับใจมากๆ ทั้งภายนอกและภายใน ที่ดูแล้วลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าไปอีกขั้น

ASUS TUF FX705 Review 30

ด้านบานพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุก็เป็นพลาสติกเช่นเดียวกับบอดี้ด้านใน ลวดลายตรงบอดี้คีย์บอร์ดจะเป็นลวดลายแบบเดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเทากลมกลื่นสวยงาม ด้านบนคีย์บอร์ดก็จะมาพร้อมกับช่องดูดลมระบายอากาศ ส่วนด้านหลังตัวเครื่องออกแบบให้มีช่องระบายความร้อนสองช่องขนาดใหญ่ พร้อมฟีเจอร์ Anti-dust Cooling ช่องระบายฝุ่นออกขนาดใหญ่อีกด้วย

นอกจากนี้อีกหนึ่งความโดดเด่นของ ASUS TUF Gaming FX705 คือคีย์บอร์ดที่ออกแบบให้มีความเป็นเกมมิ่งแฝงอยู่เต็มเปี่ยม โดยทำการทำไฮไลท์สีตัวปุ่มกด WASD อีกทั้งยังมีไฟ RGB ส่องสว่างออกจากฟอนต์ช่วยให้สวยงามและมองเห็นคีย์ได้ง่ายในมี่มีแสงน้อยกับทุกปุ่ม และสามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่ม Spacebar ด้านมุมล่างซ้ายก็ทำแหว่งออกมานิดหนึ่งเพื่อให้ใช้นิ้วโป้งซ้ายกดง่ายขึ้นด้วย

ASUS TUF FX705 Review 16

ติดตั้งด้านหลังด้วยช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ 3 ช่อง 2 สองพัดลมขนาดใหญ่ ความเร็วสูงแบบ 12V (เพิ่มอัตราการไหลเวียนอากาศได้ดีขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับพัดลมแบบ 5V ปกติ) พร้อมปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบ ทั้งแบบเงียบ ปกติ และ Overboots ครีบฟินที่แดงเน้นเรียบๆ โดยสามารถทำหน้าที่ช่วยลดความอุณหภูมิจากชิปประมวลผลและกราฟิการ์ดได้อย่างน่าประทับใจ พร้อมช่องไล่ฝุ่น Anti-Dust Cooling ส่งผลให้ไม่มีความร้อนสะสมขึ้นในอนาคต

ASUS TUF FX705 Review 44

ส่วนด้านฐานของตัวเครื่องวัสดุพลาสติกผสมโพลิเมอร์ที่แข็งแกร่งกว่าปกติ พร้อมอากาศเย็นผ่าน โดยมีช่องดูดลมเย็นงใต้เครื่อง อีกทั้งยังมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดมีช่องดูดลมอีกช่องช่วยนำพาอากาศเย็นเข้าไปอีก ส่วนถ้าจะอัพเกรดก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตไม่กี่ตัวจากนั้นค่อยๆ ดึงขึ้น (รองรับการอัพเกรดแรมได้ 1 แถว, SSD M.2 และฮาร์ดดิสก์) รวมๆ แล้วต้องยอมรับว่าทาง ASUS นั้นใส่ใจในการออกแบบมาจริงๆ นอกจากที่อัพเกรดได้ไม่ยากแล้ว ยังทำความสะอาดได้สะดวกสบายอีกด้วย

สรุปโดยรวมการออกแบบดีไซน์ภายนอกและวัสดุนั้น ทำได้ดีตามมาตรฐานของ ASUS TUF Gaming ที่ทุกคนไว้ใจและมั่นใจจริงๆ ตอบโจทย์ของคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงในดีไซน์เรียบๆ แต่แอบแฝงความแรงและเรียบหรูเอาไว้ กับมาตรฐานใหม่ของ Gaming Notebook ช่วงครึ่งหลังปี 2018 ที่ไม่ใช่แค่แรง แต่ขอบจอต้องบางเฉียบด้วย

Keyboard / Touchpad

ASUS TUF FX705 Review 22

คีย์บอร์ดของ ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมไฟ RGB Auraโดยเป็นแบบ Single Zone  ที่สามารถเปลี่ยนสีได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ ได้หลากหลายรูปแบบ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของตระกูล ASUS TUF Gaming ที่คีย์บแร์ดมีไฟ RGB เหมือนกับรุ่นพี่ ROG  คีย์บอร์ดที่แฝงไว้ด้วยคาแรคเตอร์ของความเป็นเกมมิ่งด้วย 4 ปุ่ม WASD ที่เกมเมอร์คุ้นเคย

ลเสริมความโดดเด่นสวยงาม สามารถสังเกตได้ง่าย จากการที่ปุ่มมีความขาวใส โดยวางนิ้วบนปุ่มได้อย่างรวดเร็ว ตัวปุ่มกดแบบ Chiclet Switches ที่มีระยะห่างระหว่างปุ่ม 1.8 มม. ปุ่มโค้ง 0.25 มม. รองรับ N-key Rollover และแยกปุ่มลูกศรชัดเจน รวมถึง Numpad ก็มีมาให้เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้แบบแป้นพิมพ์ Full Size ด้วยเช่นกัน

ส่วนของทัชแพดที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่มเพื่อความสวยงาม และทำไฮไลท์เส้นสีแดงแบ่งโซน เข้ากับตัวเครื่องโดยรวมได้เป็นอย่างดี พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น แต่อาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายสักหน่อย ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องสีดำสวยงาม มีไฟแสดงสถานะการทำงาน

Screen / Speaker

ASUS TUF FX705 Review 5

ASUS TUF Gaming FX705 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 7.18 มิลลิเมตรทั้งขอบด้านข้างและด้านบน ขนาด 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนลเป็น VA คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 144Hz และResponse Time 3ms (G2G) ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz รวมๆ แล้ว ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2018 ทั่วไปมากทีเดียว

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS TUF Gaming FX705 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล VA ก็จริงแต่คุณภาพสูงใกล้เคียง VA จึงได้ทำการทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

s3 1

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 91% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 300 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ รวมไปถึงการทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ทำได้ดีเช่นกัน

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางจอด้านขวาเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ที่ 300 cd/m2 แต่สำหรับช่องขอบมุมด้านบนซ้ายเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 9% เท่านั้น ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 4 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite

ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง DTS® Headphone: X® ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านข้างตัวเครื่องซ้ายขวา พร้อมทำสีสันเป็นสีแดง ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้

Connector / Thin And Weight

ASUS TUF FX705 Review 68

มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS TUF Gaming FX705 กันบ้าง ซึ่งเครื่องนี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว โดยตัวพอร์ตจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่องทั้งหมด มีทั้ง USB 3.1 Type-A (Gen 1) จำนวน 2 พอร์ต, USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, Lan และ HDMI ส่วน Kensington จะอยู่ที่ด้านขวา โดยตัวเครื่องจะไม่มี SD Card Reader และ USB 3.1 Type-C

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 5 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac หรือเรียกว่ามาตราฐาน Wi-Fi 5 (2×2)ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น ขนาดของตัวเครื่อง 399.8 x 279.4 x 26.6 ~27.6 มม. โดยมีน้ำหนัก 2.6 กิโลกรัม ถือว่าไม่หนักเมื่อเทียบกับพวกหน้าจอ 17.3″ ด้วยกัน (ปกติจะอยู่ที่ 3.5 โล +) ซึ่งเมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.80 กิโลกรัม ที่ต้องบอกเลยว่าผู้ชายก็พอถือมือเดียวได้อยู่

Performance / Software

c1 1 c2 1

โดย ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Core i Gen อย่าง Intel Core i7-8750H (ว่าที่รุ่นยอดนิยมประจำปี 2018) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.20 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.10 GHz เป็นซีพียูแบบ 6 Core 12 Threads

ที่แรงเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง Intel Core i7-7700HQ พอตัว มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 แบบ 1 แถว ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ

g1 1 g2 1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ และแรงกว่า GTX 970M และแรงกว่า GTX 1050/1050Ti แบบรู้สึกได้ เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ci

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd 1

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1447MB/s และเขียนที่ 464MB/s แม้อาจจะไม่ได้เร็วมาก แต่ก็ถือว่าดีกว่ามาตรฐาน SATA 3 แบบเดิมๆ แล้ว

hdd

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็วรอบ 5400 ที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่เป็น 57.2MB/s เข้าใจว่าด้วยความเป็นไฮบริดฮาร์ดดิสก์ และสูงสุดที่ 145.4MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 112.6MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 18.9 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ SSD NVMe แล้ว การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ

pcm copy

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,822 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ และจากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกมมีการ์ดจอแยก ทำให้มีคะแนนพุ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป

gametest

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 7 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-8750H ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 รวมไปถึง SSD NVMe ก็ส่งผลช่วยด้วย

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V / COD:BO4 / FarCry 5 / Tomb Raider 3 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว

เกมออนไลน์อย่าง PUBG / Overwatch / DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 90 ขึ้นไปตลอด แต่ในส่วนของเกม PUBG อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 60 บ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ อยู่

ที่สำคัญด้วยหน้าจอ พาเนล VA แบบ 144Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย แต่นั่นก็ต้องอยู่กับตัวเกมด้วยว่าขับเฟรมเรทได้แค่ไหน ถ้าเกมกินสเปกหนักๆ 144Hz อาจไม่เห็นผลมากนักกับความลื่นไหล หรือเอาจริงๆ สำหรับเกมสไตล์ MOBA แค่ 60 FPS นิ่งๆ ก็เอาอยู่

tu1 copy

นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง TUF Aura ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB Singke Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง Fan Overboost ไว้ปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบ

tu2 copy

Battery / Heat / Noise

batt 2

แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS TUF Gaming FX705 เครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 3:30 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 17.3″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้

ttt copy final

ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS TUF Gaming FX705 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมดพัดลม Overboots ผ่านทาง Gaming Center

ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 90 – 95 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 70 – 80 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่า Gaming Notebook ในสเปกเดียวกัน สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Balance ก็สามารถทำได้

ที่สำคัญคือ แม้อุณหภูมิในการประมวลผลหนักๆ จะได้ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพ (Performance) มีความเสถียรไม่มีอาการแกว่ง นอกจากนี้ในการทำงานอุณหภูมิผิวสัมผัสบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงไม่รู้สึกร้อนมือหรือรบกวนการใช้งานเลย ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม

Conclusion / Award

ASUS TUF FX705 Review 61

จาการที่สัมผัสและใช้งานจริงๆ ของ ASUS TUF Gaming FX705 ทั้งการเล่นเกมหลากหลายเกม รวมไปถึงทำงานและความบันเทิงดูหนังฟังเพลง บอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า ASUS ทำออกมาได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบที่ล้ำหน้า ขอบจอบาง น้ำหนักเบา มีไฟคีย์บอร์ด RGB งานประกอบและวัสดุที่เยี่ยมยอด ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือชั้น รวมไปถึงระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น สเปคประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญคือได้หน้าจอพาเนล VA 144Hz และมี Windows 10 มาให้พร้อมใช้งานด้วย

ASUS TUF Gaming FX705 รุ่นที่เราได้รับมารีวิวจะเป็นสเปก Core i7-8750H พร้อมด้วยการ์ดจอ GeForce GTX 1060 และแรม DDR4 ขนาด 8GB อีกทั้งยังมี SSD แบบ M.2 NVMe ความจุ 128GB และฮาร์ดดิสก์ความจุ 1TB มาให้พร้อมใช้งาน ครบครันกับการใช้งาน สมกับเป็น Gaming Notebook มีความเป็น TUF Gaming ที่ไม่ใช่แค่สวยงามดุดัน แต่เน้นประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่าด้วย อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีชิป NVIDIA G-Sync คอยช่วยทำงาน แต่เราก็สามารถเปิด V-Sync แทนที่ได้ เพื่อทำงานร่วมกับจอ 144Hz แบบสบายๆ เพราะสเปกนั้นแรงอยู่แล้ว

ASUS TUF FX705 Review 57

เรื่องของการออกแบบที่ ASUS TUF Gaming FX705 ทำได้ดีมาก ฉีกรูปแบบเดิมๆ ออกไป ด้วยดีไซน์สไตล์ TUG Gaming ที่เป็น Gaming Notebook หน้าจอขนาด 17.3″ แต่มีมิติตัวเครื่องเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 15.6″ แบบเดิมๆ ที่ดูดุดันจริงจังเกินราคา บวกกับฟีเจอร์อย่างคีย์บอร์ดมีไฟแบบพิเศษ ด้วยปุ่ม WASD เป็นแบบโปร่งแสงโดดเด่น ​ระบบเสียงคุณภาพดี แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานกว่า 3:30 ชั่วโมง

ที่สำคัญเครื่องนี้มีระบบป้องกันฝุ่น Anti-Dust Cooling (ADC) พร้อมระบบระบายความร้อน HyperCool เหมาะกับกับ Gamer สายพันธุ์ eSport ของแท้ เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและต่อเนื่องระดับมืออาชีพ ใกล้เคียงกับตระกูล ROG เข้าไปอีกขั้น ที่แม้ว่าไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader ติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน ก็ยังเป็นอะไรที่รับได้อยู่ เพราะสามารถซื้ออุปกรณ์มาทดแทนได้ เมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อราคา

รวมไปแม้อุณหภูมิในการประมวลผลหนักๆ ของ ASUS TUF Gaming FX705 จะได้ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพ (Performance) มีความเสถียรไม่มีอาการแกว่ง นอกจากนี้ในการทำงานอุณหภูมิผิวสัมผัสบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงไม่รู้สึกร้อนมือหรือรบกวนการใช้งานเลย ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม ทำให้ไม่ต้องกังวลอะไรมากตรงจุดนี้

ASUS TUF FX705 Review 34

สรุปแล้ว ASUS TUF Gaming FX705 ถือว่าเป็น Gaming Notebook ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งก็ว่าได้ในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงทั้งด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดที่แรงเพียงพอกับทุกเกมในตลาด แทบไม่ต้องอัพเกรดอะไรแล้ว พร้อมจอพาเนล VA 144Hz ซึ่งเป็นหน้าจอที่ดีที่สุดของ Gaming Notebook ในตลาด

ที่สำคัญตัวเครื่องยังขอบจอบางน้ำหนักเบา ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคา 44,990 บาทสำหรับรุ่นการ์ดจอ GTX 1060 เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีในราคาไม่แพง หรือถ้ามีงบ 39,990 บาท จะเลือกเป็นรุ่น GTX 1050Ti ก็สามารถทำได้ เรียกว่าช่วงราคานี้ฟีเจอร์แบบนี้ หาตัวจับได้ยากทีเดียว

ASUS TUF FX705 Review 21

จุดเด่น

  • ดีไซน์การออกแบบสวยงามถูกใจตามสไตล์ TUF Gaming งานประกอบแน่นวัสดุดี
  • ขอบหน้าจอบางพิเศษ มิติเทียบเท่ารุ่น 15.6″ ตัวเครื่องเบา 2.6 กิโลกรัม
  • ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7-8750H และการ์ดจอ GTX 1060
  • ติดตั้ง SSD M.2 NVMe ความจุ 128GB + HDD ความจุ 1TB
  • ได้หน้าจอพาเนล VA คุณภาพดี พร้อมรองรับ 144Hz Response Time 3ms
  • คีย์บอร์ดมีไฟ RGB Single Zone พร้อมมีซอฟต์แวร์มาช่วยปรับแต่ง
  • ตัวเครื่องบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
  • มีความทนทานระดับ Military Grade น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้
  • มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
  • ประสบการณ์ใช้งานดีเยี่ยม ประทับใจมาก เมื่อเทียบกับราคา
  • ประกัน 2 ปี ส่งศูนย์ พร้อมฝากส่งเคลม 7-11 และมีประกันอุบติเหตุ 1 ปี

ข้อสังเกต

  • ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพมีความเสถียร
  • ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX705 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

 

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ TUF Gaming โน๊ตบุ๊คสายคุ้มค่ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS TUF Gaming FX705 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชอบเล่นเกม ที่สำคัญคือขอบจอบาง ทำให้มิติตัวเครื่องใกล้เคียงพวกจอ 15.6″ ทีเดียว

JCVSeJpA

Best Durability

ASUS TUF Gaming FX705 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ เพราะที่ผ่านมาเราจะหาความทนทานระดับ Military Grade ได้ก็พวก Ultrabook ราคาแพงเท่านั้น แต่สิ่งนี้ ASUS จัดเต็มมาให้เลย

Gw0quDcw

Best Gaming

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7-8750H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) รวมไปถึง SSD M.2 NVMe + HDD ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยการเล่นเกมจริงๆ เห็นได้ว่าเฟรมเรตนั้นเล่นทุกเกมบนโลกได้ลื่นไหลแน่นอน

Y2ZCEeGg

Best Value

ASUS TUF Gaming FX705 สเปคเป็น Intel Core i7-8750H การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) + Ram 8 GB + SSD m.2 128 GB PCIe + จอ 144 Hz + มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 44,990 บาท เรียกได้ว่าคุ้มค่าจนหาตัวจับได้อยากทีเดียว สำหรับ Gaming Notebook หน้าจอ 17.3″ แบบนี้

tGhIF2rA

Unbox Preview

VDO Review

Specification

ASUS TUF FX705 Review 66

สเปกของ ASUS TUF Gaming FX705 แบ่งเป็น 2 รุ่นด้วยกัน โดยต่างกันเพียงการ์ดจอที่รุ่นราคา 39,990 บาทเป็น NVIDIA GeForce GTX 1050Ti (4GB) ส่วน 44,990 บาท เป็น NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ต่างกัน 5,000 บาท สเปกที่เหลือเหมือนกันหมด

คือใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-8750H (2.20 – 4.10 GHz) ทำงานแบบ 6 Core/12 Thread ประสิทธิภาพสุดแรง พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM + SSD m.2 128 GB PCIe ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2666 (รองรับการใส่เพื่ออีก 1 แถว)

ที่สำคัญ ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 17.3 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล VA การแสดง 144 Hz ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ สีสันมุมมองไม่แพ้พาเนล IPS พร้อมกับภาพที่ลื่นไหลสบายตา กล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว

ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอตัวทั้ง HDMI, 2 x USB 3.1 Type-A, 1 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อทั้งหมดจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่อง ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi 5 พร้อมระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว

ทางด้านราคาของ ASUS TUF Gaming FX705  รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้ สนนราคาอยู่ที่ 44,990 บาท การรับประกัน 2 ปี ส่งเคลม 7-11 และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS อีกด้วย อุ่นใจจัดเต็มครับ

Hardware / Design

ASUS TUF FX705 Review 2

โดยรุ่น ASUS TUF Gaming FX705 จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ Red Matter, Gold Steel โดยตัว Gold Steel ที่เราได้รับมารีวิว วัสดุตัวเครื่องฝาหลังจะเป็นอะลูมิเนียม (ส่วน Red Matter จะเป็นพลาสติก) ซึ่งจะมีลายละเอียดแตกต่างกันเรื่องของดีไซน์และลวดลาย อีกทั้งมีความพิเศษที่ ASUS TUF Gaming FX705 และ ASUS TUF Gaming FX505 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้

การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX705 เรียกได้ว่าถอดแบบรูปร่างทรวดทรงเหมือนกับรุ่นพี่รุ่นก่อนอย่างตัว FX504 กันมา แต่โดดเด่นกว่าขอบจอบางเพียง 7.18 มิลลิเมตร มีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน แฝงความเป็น Gaming Notebook ที่เล็กกระทัดรัด จอใหญ่ 17.3″ แต่ดูเล็กใกล้เคียงกับรุ่นจอ 15.6″ แบบก่อนๆ พร้อมความเบาเพียง 2.6 กิโลกรัม โดยรวมดูมินิมอลแบบเรียบง่าย พร้อมกับโลโก้ ASUS สีทองตรงกลางฝาหลังแถมมีไฟสวยงาม เอาไปเล่นตอนกลางคืนดูโดดเด่นสุดๆ

ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องฝาพับด้านบนผลิตจากวัสดุโลหะ แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ออกแบบเป็นลายตัว X พร้อมผิวเรียบหรู สีจะเป็นสีเงินเทา พร้อมเว้นส่วนของขอบด้านหลังตัวเครื่อง ทำให้ไม่บังลมร้อนที่เป่าออกมา ส่วนด้านในจะเป็นพลาสติกแบบมีลวดลายคล้ายโลหะปัดเสี้ยนให้สัมผัสผิวไม่เรียบ ที่นอกสายสวยงามแล้วคือเป็นลายนิ้วมือได้ยาก นับว่าเป็รอะไรที่น่าประทับใจมากๆ ทั้งภายนอกและภายใน ที่ดูแล้วลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าไปอีกขั้น

ASUS TUF FX705 Review 30

ด้านบานพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุก็เป็นพลาสติกเช่นเดียวกับบอดี้ด้านใน ลวดลายตรงบอดี้คีย์บอร์ดจะเป็นลวดลายแบบเดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเทากลมกลื่นสวยงาม ด้านบนคีย์บอร์ดก็จะมาพร้อมกับช่องดูดลมระบายอากาศ ส่วนด้านหลังตัวเครื่องออกแบบให้มีช่องระบายความร้อนสองช่องขนาดใหญ่ พร้อมฟีเจอร์ Anti-dust Cooling ช่องระบายฝุ่นออกขนาดใหญ่อีกด้วย

นอกจากนี้อีกหนึ่งความโดดเด่นของ ASUS TUF Gaming FX705 คือคีย์บอร์ดที่ออกแบบให้มีความเป็นเกมมิ่งแฝงอยู่เต็มเปี่ยม โดยทำการทำไฮไลท์สีตัวปุ่มกด WASD อีกทั้งยังมีไฟ RGB ส่องสว่างออกจากฟอนต์ช่วยให้สวยงามและมองเห็นคีย์ได้ง่ายในมี่มีแสงน้อยกับทุกปุ่ม และสามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่ม Spacebar ด้านมุมล่างซ้ายก็ทำแหว่งออกมานิดหนึ่งเพื่อให้ใช้นิ้วโป้งซ้ายกดง่ายขึ้นด้วย

ASUS TUF FX705 Review 16

ติดตั้งด้านหลังด้วยช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ 3 ช่อง 2 สองพัดลมขนาดใหญ่ ความเร็วสูงแบบ 12V (เพิ่มอัตราการไหลเวียนอากาศได้ดีขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับพัดลมแบบ 5V ปกติ) พร้อมปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบ ทั้งแบบเงียบ ปกติ และ Overboots ครีบฟินที่แดงเน้นเรียบๆ โดยสามารถทำหน้าที่ช่วยลดความอุณหภูมิจากชิปประมวลผลและกราฟิการ์ดได้อย่างน่าประทับใจ พร้อมช่องไล่ฝุ่น Anti-Dust Cooling ส่งผลให้ไม่มีความร้อนสะสมขึ้นในอนาคต

ASUS TUF FX705 Review 44

ส่วนด้านฐานของตัวเครื่องวัสดุพลาสติกผสมโพลิเมอร์ที่แข็งแกร่งกว่าปกติ พร้อมอากาศเย็นผ่าน โดยมีช่องดูดลมเย็นงใต้เครื่อง อีกทั้งยังมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดมีช่องดูดลมอีกช่องช่วยนำพาอากาศเย็นเข้าไปอีก ส่วนถ้าจะอัพเกรดก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตไม่กี่ตัวจากนั้นค่อยๆ ดึงขึ้น (รองรับการอัพเกรดแรมได้ 1 แถว, SSD M.2 และฮาร์ดดิสก์) รวมๆ แล้วต้องยอมรับว่าทาง ASUS นั้นใส่ใจในการออกแบบมาจริงๆ นอกจากที่อัพเกรดได้ไม่ยากแล้ว ยังทำความสะอาดได้สะดวกสบายอีกด้วย

สรุปโดยรวมการออกแบบดีไซน์ภายนอกและวัสดุนั้น ทำได้ดีตามมาตรฐานของ ASUS TUF Gaming ที่ทุกคนไว้ใจและมั่นใจจริงๆ ตอบโจทย์ของคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงในดีไซน์เรียบๆ แต่แอบแฝงความแรงและเรียบหรูเอาไว้ กับมาตรฐานใหม่ของ Gaming Notebook ช่วงครึ่งหลังปี 2018 ที่ไม่ใช่แค่แรง แต่ขอบจอต้องบางเฉียบด้วย

Keyboard / Touchpad

ASUS TUF FX705 Review 22

คีย์บอร์ดของ ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมไฟ RGB Auraโดยเป็นแบบ Single Zone  ที่สามารถเปลี่ยนสีได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ ได้หลากหลายรูปแบบ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของตระกูล ASUS TUF Gaming ที่คีย์บแร์ดมีไฟ RGB เหมือนกับรุ่นพี่ ROG  คีย์บอร์ดที่แฝงไว้ด้วยคาแรคเตอร์ของความเป็นเกมมิ่งด้วย 4 ปุ่ม WASD ที่เกมเมอร์คุ้นเคย

ลเสริมความโดดเด่นสวยงาม สามารถสังเกตได้ง่าย จากการที่ปุ่มมีความขาวใส โดยวางนิ้วบนปุ่มได้อย่างรวดเร็ว ตัวปุ่มกดแบบ Chiclet Switches ที่มีระยะห่างระหว่างปุ่ม 1.8 มม. ปุ่มโค้ง 0.25 มม. รองรับ N-key Rollover และแยกปุ่มลูกศรชัดเจน รวมถึง Numpad ก็มีมาให้เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้แบบแป้นพิมพ์ Full Size ด้วยเช่นกัน

ส่วนของทัชแพดที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่มเพื่อความสวยงาม และทำไฮไลท์เส้นสีแดงแบ่งโซน เข้ากับตัวเครื่องโดยรวมได้เป็นอย่างดี พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น แต่อาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายสักหน่อย ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องสีดำสวยงาม มีไฟแสดงสถานะการทำงาน

Screen / Speaker

ASUS TUF FX705 Review 5

ASUS TUF Gaming FX705 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 7.18 มิลลิเมตรทั้งขอบด้านข้างและด้านบน ขนาด 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนลเป็น VA คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 144Hz และResponse Time 3ms (G2G) ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz รวมๆ แล้ว ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2018 ทั่วไปมากทีเดียว

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS TUF Gaming FX705 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล VA ก็จริงแต่คุณภาพสูงใกล้เคียง VA จึงได้ทำการทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

s3 1

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 91% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 300 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ รวมไปถึงการทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ทำได้ดีเช่นกัน

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางจอด้านขวาเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ที่ 300 cd/m2 แต่สำหรับช่องขอบมุมด้านบนซ้ายเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 9% เท่านั้น ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 4 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite

ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง DTS® Headphone: X® ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านข้างตัวเครื่องซ้ายขวา พร้อมทำสีสันเป็นสีแดง ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้

Connector / Thin And Weight

ASUS TUF FX705 Review 68

มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS TUF Gaming FX705 กันบ้าง ซึ่งเครื่องนี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว โดยตัวพอร์ตจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่องทั้งหมด มีทั้ง USB 3.1 Type-A (Gen 1) จำนวน 2 พอร์ต, USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, Lan และ HDMI ส่วน Kensington จะอยู่ที่ด้านขวา โดยตัวเครื่องจะไม่มี SD Card Reader และ USB 3.1 Type-C

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 5 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac หรือเรียกว่ามาตราฐาน Wi-Fi 5 (2×2)ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น ขนาดของตัวเครื่อง 399.8 x 279.4 x 26.6 ~27.6 มม. โดยมีน้ำหนัก 2.6 กิโลกรัม ถือว่าไม่หนักเมื่อเทียบกับพวกหน้าจอ 17.3″ ด้วยกัน (ปกติจะอยู่ที่ 3.5 โล +) ซึ่งเมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.80 กิโลกรัม ที่ต้องบอกเลยว่าผู้ชายก็พอถือมือเดียวได้อยู่

Performance / Software

c1 1 c2 1

โดย ASUS TUF Gaming FX705 มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Core i Gen อย่าง Intel Core i7-8750H (ว่าที่รุ่นยอดนิยมประจำปี 2018) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.20 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.10 GHz เป็นซีพียูแบบ 6 Core 12 Threads

ที่แรงเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง Intel Core i7-7700HQ พอตัว มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 แบบ 1 แถว ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ

g1 1 g2 1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ และแรงกว่า GTX 970M และแรงกว่า GTX 1050/1050Ti แบบรู้สึกได้ เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ci

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd 1

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1447MB/s และเขียนที่ 464MB/s แม้อาจจะไม่ได้เร็วมาก แต่ก็ถือว่าดีกว่ามาตรฐาน SATA 3 แบบเดิมๆ แล้ว

hdd

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็วรอบ 5400 ที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่เป็น 57.2MB/s เข้าใจว่าด้วยความเป็นไฮบริดฮาร์ดดิสก์ และสูงสุดที่ 145.4MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 112.6MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 18.9 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ SSD NVMe แล้ว การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ

pcm copy

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,822 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ และจากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกมมีการ์ดจอแยก ทำให้มีคะแนนพุ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป

gametest

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 7 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-8750H ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 รวมไปถึง SSD NVMe ก็ส่งผลช่วยด้วย

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V / COD:BO4 / FarCry 5 / Tomb Raider 3 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว

เกมออนไลน์อย่าง PUBG / Overwatch / DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 90 ขึ้นไปตลอด แต่ในส่วนของเกม PUBG อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 60 บ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ อยู่

ที่สำคัญด้วยหน้าจอ พาเนล VA แบบ 144Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย แต่นั่นก็ต้องอยู่กับตัวเกมด้วยว่าขับเฟรมเรทได้แค่ไหน ถ้าเกมกินสเปกหนักๆ 144Hz อาจไม่เห็นผลมากนักกับความลื่นไหล หรือเอาจริงๆ สำหรับเกมสไตล์ MOBA แค่ 60 FPS นิ่งๆ ก็เอาอยู่

tu1 copy

นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง TUF Aura ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB Singke Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง Fan Overboost ไว้ปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบ

tu2 copy

Battery / Heat / Noise

batt 2

แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS TUF Gaming FX705 เครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 3:30 ชั่วโมงโดยประมาณ เรียกได้ว่าน่าประทับใจทีเดียวกับการที่ Gaming Notebook จอ 17.3″ ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขนาดนี้

ttt copy final

ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS TUF Gaming FX705 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมดพัดลม Overboots ผ่านทาง Gaming Center

ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 90 – 95 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 70 – 80 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่า Gaming Notebook ในสเปกเดียวกัน สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Balance ก็สามารถทำได้

ที่สำคัญคือ แม้อุณหภูมิในการประมวลผลหนักๆ จะได้ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพ (Performance) มีความเสถียรไม่มีอาการแกว่ง นอกจากนี้ในการทำงานอุณหภูมิผิวสัมผัสบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงไม่รู้สึกร้อนมือหรือรบกวนการใช้งานเลย ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม

Conclusion / Award

ASUS TUF FX705 Review 61

จาการที่สัมผัสและใช้งานจริงๆ ของ ASUS TUF Gaming FX705 ทั้งการเล่นเกมหลากหลายเกม รวมไปถึงทำงานและความบันเทิงดูหนังฟังเพลง บอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า ASUS ทำออกมาได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบที่ล้ำหน้า ขอบจอบาง น้ำหนักเบา มีไฟคีย์บอร์ด RGB งานประกอบและวัสดุที่เยี่ยมยอด ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือชั้น รวมไปถึงระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น สเปคประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญคือได้หน้าจอพาเนล VA 144Hz และมี Windows 10 มาให้พร้อมใช้งานด้วย

ASUS TUF Gaming FX705 รุ่นที่เราได้รับมารีวิวจะเป็นสเปก Core i7-8750H พร้อมด้วยการ์ดจอ GeForce GTX 1060 และแรม DDR4 ขนาด 8GB อีกทั้งยังมี SSD แบบ M.2 NVMe ความจุ 128GB และฮาร์ดดิสก์ความจุ 1TB มาให้พร้อมใช้งาน ครบครันกับการใช้งาน สมกับเป็น Gaming Notebook มีความเป็น TUF Gaming ที่ไม่ใช่แค่สวยงามดุดัน แต่เน้นประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่าด้วย อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีชิป NVIDIA G-Sync คอยช่วยทำงาน แต่เราก็สามารถเปิด V-Sync แทนที่ได้ เพื่อทำงานร่วมกับจอ 144Hz แบบสบายๆ เพราะสเปกนั้นแรงอยู่แล้ว

ASUS TUF FX705 Review 57

เรื่องของการออกแบบที่ ASUS TUF Gaming FX705 ทำได้ดีมาก ฉีกรูปแบบเดิมๆ ออกไป ด้วยดีไซน์สไตล์ TUG Gaming ที่เป็น Gaming Notebook หน้าจอขนาด 17.3″ แต่มีมิติตัวเครื่องเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 15.6″ แบบเดิมๆ ที่ดูดุดันจริงจังเกินราคา บวกกับฟีเจอร์อย่างคีย์บอร์ดมีไฟแบบพิเศษ ด้วยปุ่ม WASD เป็นแบบโปร่งแสงโดดเด่น ​ระบบเสียงคุณภาพดี แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานกว่า 3:30 ชั่วโมง

ที่สำคัญเครื่องนี้มีระบบป้องกันฝุ่น Anti-Dust Cooling (ADC) พร้อมระบบระบายความร้อน HyperCool เหมาะกับกับ Gamer สายพันธุ์ eSport ของแท้ เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและต่อเนื่องระดับมืออาชีพ ใกล้เคียงกับตระกูล ROG เข้าไปอีกขั้น ที่แม้ว่าไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader ติดตั้งมาให้พร้อมใช้งาน ก็ยังเป็นอะไรที่รับได้อยู่ เพราะสามารถซื้ออุปกรณ์มาทดแทนได้ เมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อราคา

รวมไปแม้อุณหภูมิในการประมวลผลหนักๆ ของ ASUS TUF Gaming FX705 จะได้ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพ (Performance) มีความเสถียรไม่มีอาการแกว่ง นอกจากนี้ในการทำงานอุณหภูมิผิวสัมผัสบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงไม่รู้สึกร้อนมือหรือรบกวนการใช้งานเลย ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม ทำให้ไม่ต้องกังวลอะไรมากตรงจุดนี้

ASUS TUF FX705 Review 34

สรุปแล้ว ASUS TUF Gaming FX705 ถือว่าเป็น Gaming Notebook ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งก็ว่าได้ในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงทั้งด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดที่แรงเพียงพอกับทุกเกมในตลาด แทบไม่ต้องอัพเกรดอะไรแล้ว พร้อมจอพาเนล VA 144Hz ซึ่งเป็นหน้าจอที่ดีที่สุดของ Gaming Notebook ในตลาด

ที่สำคัญตัวเครื่องยังขอบจอบางน้ำหนักเบา ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคา 44,990 บาทสำหรับรุ่นการ์ดจอ GTX 1060 เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีในราคาไม่แพง หรือถ้ามีงบ 39,990 บาท จะเลือกเป็นรุ่น GTX 1050Ti ก็สามารถทำได้ เรียกว่าช่วงราคานี้ฟีเจอร์แบบนี้ หาตัวจับได้ยากทีเดียว

ASUS TUF FX705 Review 21

จุดเด่น

  • ดีไซน์การออกแบบสวยงามถูกใจตามสไตล์ TUF Gaming งานประกอบแน่นวัสดุดี
  • ขอบหน้าจอบางพิเศษ มิติเทียบเท่ารุ่น 15.6″ ตัวเครื่องเบา 2.6 กิโลกรัม
  • ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7-8750H และการ์ดจอ GTX 1060
  • ติดตั้ง SSD M.2 NVMe ความจุ 128GB + HDD ความจุ 1TB
  • ได้หน้าจอพาเนล VA คุณภาพดี พร้อมรองรับ 144Hz Response Time 3ms
  • คีย์บอร์ดมีไฟ RGB Single Zone พร้อมมีซอฟต์แวร์มาช่วยปรับแต่ง
  • ตัวเครื่องบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
  • มีความทนทานระดับ Military Grade น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้
  • มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
  • ประสบการณ์ใช้งานดีเยี่ยม ประทับใจมาก เมื่อเทียบกับราคา
  • ประกัน 2 ปี ส่งศูนย์ พร้อมฝากส่งเคลม 7-11 และมีประกันอุบติเหตุ 1 ปี

ข้อสังเกต

  • ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่ประสิทธิภาพมีความเสถียร
  • ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX705 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

 

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ TUF Gaming โน๊ตบุ๊คสายคุ้มค่ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS TUF Gaming FX705 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชอบเล่นเกม ที่สำคัญคือขอบจอบาง ทำให้มิติตัวเครื่องใกล้เคียงพวกจอ 15.6″ ทีเดียว

JCVSeJpA

Best Durability

ASUS TUF Gaming FX705 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ เพราะที่ผ่านมาเราจะหาความทนทานระดับ Military Grade ได้ก็พวก Ultrabook ราคาแพงเท่านั้น แต่สิ่งนี้ ASUS จัดเต็มมาให้เลย

Gw0quDcw

Best Gaming

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7-8750H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) รวมไปถึง SSD M.2 NVMe + HDD ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยการเล่นเกมจริงๆ เห็นได้ว่าเฟรมเรตนั้นเล่นทุกเกมบนโลกได้ลื่นไหลแน่นอน

Y2ZCEeGg

Best Value

ASUS TUF Gaming FX705 สเปคเป็น Intel Core i7-8750H การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) + Ram 8 GB + SSD m.2 128 GB PCIe + จอ 144 Hz + มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 44,990 บาท เรียกได้ว่าคุ้มค่าจนหาตัวจับได้อยากทีเดียว สำหรับ Gaming Notebook หน้าจอ 17.3″ แบบนี้

tGhIF2rA

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

Buyer's Guide

หน้าจอคอมในปัจจุบันเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 18.5 นิ้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน จนตอนนี้ก็มีจอคอม 32 นิ้ว ทั้งจอคอมทำงานและจอคอมเล่นเกมให้เลือกซื้อมากมายหลายรุ่น แม้บางคนอาจคิดว่ามันมีขนาดใหญ่จนเท่ากับจอทีวีรุ่นเล็กแล้วจะวางบนโต๊ะคอมก็คงใหญ่เกินไป แต่ในความเป็นจริงขนาดของมันก็ใหญ่กว่าจอ 27 นิ้ว ตรงหน้าไปอีกนิดเดียว ทำให้พื้นที่แสดงผลกว้างจนสุดขอบสายตายิ่งขึ้น ถ้าใครเล่นเกมเป็นประจำจะได้เห็นฉากหลังของเกมเต็มสายตาจนดื่มด่ำไปกับบรรยากาศได้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น กรณีจอทำงานก็มีพื้นที่แสดงผลกว้างขึ้นทั้งมองเห็นตารางและหน้าเอกสารกว้างขึ้น รวมไปถึง Timeline เวลาตัดต่อคลิปยาวกว่าเดิม ถ้าสังเกตจะเห็นว่าผู้ผลิตหน้าจอแบรนด์ต่างๆ พากันใส่ฟีเจอร์มาให้หน้าจอขนาดนี้มากขึ้นจนกลายเป็นจอพรีเมี่ยมระดับเริ่มต้นกันแล้ว ไม่ว่าจะได้พาเนลคุณภาพขอบเขตสีกว้างใช้ทำงานกราฟิคได้, มีพอร์ต USB-C...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก