มากันอีกแล้ว กับเครื่อง Ultrabook ตัวใหม่อีกตัวจากแบรนด์ Lenovo ที่พักหลังมานี้ครองใจใครหลายๆ คนกันไปแล้ว เพราะว่าคุณภาพเครื่องที่ไม่ยิ่งหย่อน พร้อมราคาที่สมน้ำสมเนื้อ เอื้อให้ใครหลายคนได้จับจองเป็นเจ้าของกันได้แบบกระเป๋าไม่แบน แฟนยังไม่ทิ้งไปไหน
แต่กับชื่อ U300 ก็คงไม่ใช่ตัวใหม่สดซิงอะไรนัก แต่นี่คือรุ่นที่เคยเปิดตัวมาแล้ว นำเอากลับมาจัดทำสเป็กใหม่ ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคที่ไม่ได้ต้องการเครื่องสุดจี๊ดอะไรมากมายนัก โดยหลักๆถ้าเห็นจากรูปแล้ว มันก็คือ U300s ตัวเก่าที่เราเคยได้รู้จักกันไปแล้วนั่นเอง แต่เรื่องราคาค่าตัวของเจ้า U300e นั้นคาดว่าจะต้องต่ำกว่าเครื่องรุ่นก่อนหน้าอย่าง U300s อย่างแน่นอน
ด้านสเป็กนั้นอย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าราคาเครื่องรุ่นนี้จะเป็นการทำให้ถูกลง แม้ว่าตอนนี้เราจะยังไม่ทราบราคาที่จะเปิดตัวออกขายมาอย่างแน่ชัด แต่ก็คาดว่าราคาจะต้องต่ำกว่าตัวที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
ด้านสเป็กนั้นอย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าราคาเครื่องรุ่นนี้จะเป็นการทำให้ถูกลง เพราะอย่างที่เห็นว่าได้เปลี่ยนเอาฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดที่มีการผสม SSD เข้าไปด้วยเล็กน้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ปกติให้ดีขึ้น มาใช้ทดแทนที่รุ่นก่อนหน้าที่เป็น SSD เพียวๆ เลย
รูปร่างของตัวเครื่อง
ตัวเครื่องนั้น มันก็คือ U300 ตัวเดิมนั่นเอง เพียงแต่แค่เปลี่ยนสเปคภายในใหม่ และมีสีตัวเครื่องที่ไม่เหมือนเดิมเท่านั้น แต่วัสดุ และการออกแบบยังคงเหมือนเดิมกับรุ่นก่อน ไม่มีผิดเพี้ยน ซึ่งก็คือผิวอลูมิเนียมที่ด้านนอกก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม เรียบ สวย หรู และมีความแข็งแกร่งพอสมควร ส่วนขนาดก็เป็น 13.3 นิ้ว ขนาดมาตรฐานสำหรับความคล่องตัว ใครสนใจอ่านเเบบละเอียดๆ อีกมุมหนึ่งลองอ่านได้ที่รีวิวของ Lenovo U300s ตัวเก่าได้
หน้าจอแบบ LED ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซลที่ให้สีสันที่สวยคม เอาไว้ดูหนังได้แบบสบายๆ มีการใส่ยางรองกันกระแทกระหว่างตัวหน้าจอ กับตัวเครื่องล้อมรอบขอบจอ ให้ความสวยงาม ที่สามารถใช้งานได้จริง ส่วนด้านบนสุดนั้นก็เป็นตำแหน่งของกล้องเว็บแคมที่ขาดไม่ได้นั่นเอง พร้อมกับปุ่มเปิดเครื่องที่อยู่ถัดลงมาใต้หน้าจอ ตรงบริเวณมูมซ้ายบน ใต้ชื่อรุ่นเครื่องพอดี
คีย์บอร์ดก็มาในแบบยกตัวหรือชิคเล็ตตามยุคสมัย และมีความห่างที่ช่วยให้พิมพ์ง่าย ในชื่อเทคโนโลยีเฉพาะของ Lenovo ว่า AccuType นอกจากนั้นปุ่มแต่ละปุ่มจะมีช่องให้ลมสามารถเข้าได้ เพื่อเป็นทางเข้าในการถ่ายเทความร้อนของตัวเครื่องไปในตัวอีกด้วย ส่วนทัชแพดที่อยู่ต่ำลงมานั้น ก็ยังเป็นแบบกระจก พร้อมรองรับมัลติทัช สามารถสั่งงานในแบบ 2,3 และ 4 นิ้วได้
ด้านซ้ายของเครื่องก็จะเป็นช่องระบายความร้อนออก ที่เข้ามาจากทางคีย์บอร์ดด้านบนนั่นเอง พร้อมกับปุ่มสำหรับทำการรีสโตร์เครื่องให้กลับไปยังจุดที่เราได้ทำการสำรองข้อมูลเอาไว้ หรือว่าให้เหมือนใหม่ตอนที่แกะกล่องเลยก็ได้ พร้อมกับช่อง USB 2.0 และช่องเสียบหูฟังถัดมา
ส่วนทางด้านขวาก็จะเป็นช่องต่ออื่นเพิ่มเติม เพิ่มตั้งแต่ USB 2.0 อีกหนึ่ง และ USB 3.0 ที่จะเห็นเป็นสีฟ้าข้างๆกัน และก็ช่องต่อ HDMI สำหรับการต่อออกจอภายนอกแบบ Full HD ตามมาด้วยช่องต่อ Ethernet หรือสาย LAN และช่องสำหรับเสียบกับสาย Power Adapter เพื่อจ่ายไฟเข้าเครื่องนั่นเอง
ตามมาด้วยด้านหลังตรงบริเวณข้อพับ ที่เวลากางออกมาแล้วอาจจะไม่ได้แน่นมากสักเท่าไหร่ เพราะว่าด้วยความบางตัวเครื่อง และตัวจอ ทำให้เวลาใช้งาน การกระเทือนเล็กน้อยก็พอจะทำให้จอสั่นไหวบ้าง
ด้านใต้ตัวเครื่องนั้นจะไม่มีช่องใดๆ ให้เห็นเลย เป็นแผ่นปิดสนิทเรียบ ดังนั้นการใช้งานบนพื้นผิวที่นุ่ม อย่างรองบนหมอน บนเตียง หรือใช้ซองซอฟท์เคสรองตัวเครื่องเอาไว้ก็ทำได้ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องห่วงเรื่องการไปอุดช่องลมระบายความร้อนแต่อย่างใด พร้อมกับตัวอเเดปเตอร์ ที่ให้มาด้วยนั้น มีขนาดบาง และเบา ช่วยในการพกพาไปไหนต่อไหนได้สบายมาก น้ำหนักโดยรวมถือว่าหนักกว่ารุ่นเก่าเล็กน้อยคือ 1.58 กิโลกรัม (เทียบกับ U300s ที่หนัก 1.3 กิโลกรัม)
ผลการทดสอบ
Windows Experience Index
ทำคะแนนเฉลี่ยจากระบบ Windows 7 ออกมาได้ที่ 4.7 คะแนน ก็ไม่ได้เป็นคะแนนที่สูงอะไรมากมายนัก แต่กับเครื่องที่เป็นอัลตร้าบุ๊ก และมีคะแนนเท่านี้ ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีแล้ว ตัวที่ฉุดรั้งคะแนนก็คงหนีไม่พ้นประสิทธิภาพด้านกราฟฟิกของระบบ Windows เเละในส่วนของฮาร์ดดิสก์ที่เป็นเเบบจานหมุนอยู่
CPU-Z
CPU ที่ใช้ก็จะเป็นตัวเดียวกันกับ U300s ที่เป็นรุ่น Core i5 รหัส 2467M ความเร็วอยู่ที่ 1.60GHz นั่นเอง พร้อมเร่งในโหมดเทอร์โบขึ้นไปได้สูงสุดที่ 2.30GHz กันเลย
GPU-Z
ชิปกราฟฟิกก็ยังคงเป็นตัวเดิม ไม่หนีไปไหน HD 3000 จาก Intel
3DMark 06
คะแนนก็คงไม่สามารถจะหวือหวาอะไรมากมายได้ แต่ก็เพียงพอกับการเล่นเกมระดับทั่วๆไปครับ
PCMark 7
คะแนนทำออกมาได้ไม่ค่อยเยอะสักเท่าไหร่ ด้วยฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้แรงจี๊ดจ๊าดเหมือนรุ่นก่อนหน้า แต่สำหรับการใช้งานจริง ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร
Hyper PI
HD Tune
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เป็นแบบไฮบริด นอกจากจะมีตัวหลักที่ความจุ 500GB แล้ว ก็ยังมี SSD 32GB เข้ามาช่วยในการบูตระบบด้วย เพื่อให้ได้ความเร็วในการใช้งานในส่วนที่เราเรียกข้อมูลบ่อยๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
Wireless Lan
Intel Centrino N1030 ที่จับสัญญาณได้ค่อนข้างนิ่ง ถือว่าสามารถจับสัญญาฯ Wi-Fi ได้ค่อนข้างเสถียรดีครับ
Temperature
สภาวะปกติ
Full Load
อุณภูมิหลังการใช้งานแบบเต็มที่ ก็เรียกได้ว่าทำออกมาได้ดีมากทีเดียว อยู่แค่ที่ระดับราวๆ 70 องศาเท่านั้นเอง เทียบกับเครื่องอื่นๆถือว่าทำได้ดีกว่าพอสมควร
Battery
แบตเตอรี่ที่ใช้ก็จะเป็น Lithium Ion ขนาด 7132 mAh ถือว่าเยอะกว่าเครื่องโน๊ตบุ๊คทั่วๆมาประมาณพันกว่า mAh
ตรวจจับเวลาการใช้งาน ก็จะสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้ประมาณเกือบๆ 6 ชั่วโมงครึ่ง