Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Review – HP ZBook Studio x360 G5 Mobile Workstation ประสิทธิภาพเยี่ยม Xeon E-2186M + Quadro P1000 รองรับทุกการใช้งาน

ในปี 2018 นี้นอกจากโน้ตบุ้คที่ใช้งานกันทั่วๆไปไม่ว่าจะเล่นเกมหรือทำงานพื้นฐานทั่วๆไปที่มีการปรับเปลี่ยนสเปคในการใช้งานให้ดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ ในตลาดโน้ตบุ้คแบบ Mobile Workstation

ในปี 2018 นี้นอกจากโน้ตบุ้คที่ใช้งานกันทั่วๆ ไปไม่ว่าจะเล่นเกมหรือทำงานพื้นฐานที่มีการปรับเปลี่ยนสเปคในการใช้งานให้ดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ ในตลาดโน้ตบุ้คแบบ Mobile Workstation ก็มีการปรับเปลี่ยนขึ้นด้วยเช่นกัน ในวันนี้ก็มีอีกหนึ่งเครื่องที่เข้ามาในสายงานของ Mobile Workstation ที่สามารถกางได้ 360 องศากับ HP ZBook Studio x360 G5

ซึ่งจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลที่ใช้ในการทำงานโดยเฉพาะอย่าง Intel Xeon E-2186M ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ถูกจำกัดด้วยตัวโปรแกรมอีกต่อไป พร้อมกับแรมที่มีมาให้มากถึง 32 GB เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องและไม่หมดไปง่ายๆ เอาใจคนที่ต้องใช้งานพื้นที่จำนวนมากด้วย SSD ขนาด 1 TB เพียบพร้อมในทุกการใช้งาน

Advertisement

Specification

สำหรับ HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ที่มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full-HD ในส่วนของพาเนลจอที่ใช้งานจะเป็นแบบ IPS ทำให้การทำงานเรื่องภาพต่างๆหมดห่วงไปได้เลย ส่วนตัวกระจกที่ใช้งานก็จะเป็น Corning Gorilla ที่ทำให้คุณสามารถพกพาไปทำงานได้ไม่ว่าจะโหมดไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องรอยขีดข่วน

ส่วนสเปคภายในตัวนี้จะมาพร้อมกับซีพียู Intel Xeon E-2186M ที่มีความเร็วพื้นฐาน 2.9 GHz และขึ้นไปสูงสุดที่ 4.6 GHz พร้อมคอร์ที่ให้มา 6 Core 12 Threads ในส่วนของ L3 ก็ให้มาที่ 12 MB โดยที่แรมจะให้มาทั้งหมด 32 GB แบบ DDR4 Bus 2667 MHz ซึ่งจะเป็นแรมประภท ECC ป้องกันการสูญหายของข้อมูล ในเรื่องของกราฟฟิคออนบอร์ดจะเป็น Intel UHD Graphics P630 ส่วนการ์ดแยกจะเป็น Nvidia Quadro P1000

ในส่วนของกล้องก็จะมีมาให้ด้วยเช่นกันโดยจะมีความละเอียดแบบ HD 720p ซึ่งรองรับการใช้งานกับ Windows Helllo ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับพอร์ตการใช้งานมีมาให้ครบครันทั้ง USB 3.0 และ USB Type-C ที่รองรับการใช้ Thunderbolt โดยรวมแล้ว HP ZBook Studio x360 G5 ก็ถือว่าให้ในทุกๆอย่างมาครบ

สเปคเต็มๆของ HP ZBook Studio x360 G5 <<<

Hardware / Design

HP ZBook X360 12

HP ZBook Studio x360 G5 เป็น Mobile Workstation ที่ถูกออกแบบมาให้ดูสมบุกสมบัน โดยตัวเครื่องจะใช้สีออกน้ำตาลๆแบบด้านรอบตัวเครื่อง ทำให้ดูแล้วเหมาะแก้การนำไปใช้งานในที่ต่างๆ แบบไม่ต้องกลัวว่าจะแตกหักง่ายกันเลย ในส่วนของฝาหลังจะผลิตจาก Aluminum ด้านหลังจะมีโลโก้แบบใหม่ที่จะแสดงถึงความไฮเอนด์ของทาง HP ที่เลือกใช้งาน

สำหรับขอบของตัวเครื่องในส่วนของขอบด้านบนจะมีการตัดมุมออก ส่วนอีกสองที่เหลือจะมีมุมตามปกติ สำหรับตัวเครื่องที่มีหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ก็ต้องบอกว่าน้ำหนักอาจจะไม่ได้เบามากโดยน้ำหนักจะอยู่ที่ 2.26 กิโลกรัม โดยความบางถือว่าทำออกมาได้ดีไม่ได้ดูหนาเกินไปด้วยความบาง 20.4 มิลลิเมตร

HP ZBook X360 10

ในส่วนของคีย์บอร์ดจะมีขนาดที่เป็นไปตามมาตรฐานของโน้ตบุ้คทั่วๆไป ส่วนลำโพงจะมีอยู่ทั้งหมด 3 จุดคือเหนือคีย์บอร์ดและด้านล่างของเครื่องข้างละ 2 ตัว ส่วนพอร์ตการใช้งานที่มีมาให้ก็นับว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 หรือ USB Type-C ส่วนปุ่ม Power จะย้ายมาอยู่ด้านซ้ายของเครื่อง พร้อมกับจุดสำหรับการใช้งาน Fingerprint

Keyboard / Touchpad

HP ZBook X360 21

สำหรับคีย์บอร์ดที่นำมาใช้งานบนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับการใช้งานคีย์บอร์ดขนาดมาตรฐานที่บนโน้ตบุ้คมีใช้งานกัน โดยระยะห่างระหว่างปุ่มแต่ละตัวจะมีการเว้นระยะห่างออกมาอย่างพอดีทำให้การใช้งานพิมพ์สิ่งต่างๆไม่มีความผิดพลาดให้เห็น ส่วนล่างของแต่ละปุ่มจะมีไฟ LED Backlit ให้สามารถใช้งานได้ในทุกๆที่ได้อย่างไม่ลำบาก

ในส่วนของการใช้งานปุ่ม Function ต่างๆก็สามารถกดเพื่อใช้งานได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่ม FN ก่อนเพื่อที่จะใช้งาน ส่วนหากถ้าต้องการกดปุ่มจำพวก F ต่างๆก็ต้องกด FN ก่อนเพื่อที่จะใช้งาน ส่วนของ Touchpad ก็ถือว่าถูกแบบมาให้เหมือนๆกับตัว HP รุ่นอื่นๆคือจะมาเป็นแผ่นเดียว โดยไม่มีการแบ่งเส้นหรือสัญลักษณ์กั้นระหว่างซ้ายและขวา โดยการใช้งานก็ถือว่าทำออกมาได้ดีสมกับเป็น Mobile Workstation ขณะเดียวกันด้านขวาบนของตัว Touchpad ก็รองรับการใช้งาน NFC เพื่อส่งข้อมูลระหว่างสมาร์โฟนได้

Screen / Speaker

HP ZBook X360 23

ตัว HP ZBook Studio x360 G5 มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920 x1080 พิกเซล Full-HD ใหญ่เต็มจอพร้อมความชัดที่สามารถมองเห็นได้ทุกมุมด้วยพาเนล IPS ส่วนเรื่องของกระจกหน้าจอก็ใช้งาน Corning Gorilla ทำให้เรื่องรอยขีดข่วนเกิดได้ยากมาก พร้อมกับ Refresh Rate สูงถึง 120 Hz ทำให้รองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการใช้งานกล้องของตัวเครื่องก็อยู่ในระดับที่ใช้งานได้โดยมาพร้อมกับกล้องความละเอียด 720p ความชัดระดับ HD โดยมีอัตราส่วนของภาพอยู่ที่ 16:9 ซึ่งการใช้งานในส่วนของการทำ Video Conference สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องภาพอยู่ในระดับพอใช้งานได้

HP ZBook X360 52

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของหน้าจอด้วยโปรแกรม Spyder 5 Elite บนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 สำหรับค่าขอบเขตความกว้างของสีจะอยู่ที่ sRGB 85 % ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆไม่ได้สูงที่สุดในส่วนของความสว่างของหน้าจอจะอยู่ที่ 400 cd/m2 โดยสำหรับค่าที่ได้ออกมาก็ถือว่าอยู่ในมาตรฐานระดับนี้ทั่วๆไป ในส่วนของเรื่องความเพี้ยนสูงสุดจะอยู่ที่ 16 % ซึ่งอยู่ในส่วนล่างขวาของหน้าจอ โดยคะแนนโดยรวมจะอยู่ที่ 3.5 เต็ม 5

ในเรื่องการใช้งานในส่วนของลำโพงและเสียงที่ได้เนื่องจากได้ Bang & Olufsen ระดับเสียงออกมาในโทนที่นุ่มใช้ได้เลย ให้ความรู้สึกแตกต่างจาก HP ตัวอื่นๆที่ได้ลองมาที่จะออกไปทุ้มๆเสียหน่อย โดยสำหรับตำแหน่งของลำโพงจะมีวางอยู่ 3 จุดนั้นคือส่วนบนของคีย์บอร์ดและ 2 ตัวด้านล่างของเครื่องฝั่งละตัว

Connector / Thin And Weight

HP ZBook X360 8

สำหรับพอร์ตการเชื่อมต่อบนตัว HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่อที่ครบครัน ด้านซ้ายประกอบไปด้วยพอร์ต USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต ด้านขวาของตัวเครื่องประกอบไปด้วย USB 3.1 Type-C ที่รองรับการใช้งาน Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต HDMI 2.0 ให้มา 1 พอร์ตและรูสำหรับใช้งาน Audio Jack Combo 1 ช่อง และช่องสำหรับใช้งาน SD Card จำนวน 1 ช่อง

ในเรื่องของน้ำหนักและความบางของตัวเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับน้ำหนัก 2.26 กิโลกรัม ในเรื่องของความบางจะอยู่ที่ 20.4 มิลลิเมตร ซึ่งสำหรับภาพรวมหากให้พูดแล้วก็ถือว่าเป็น Mobile Workstaion อีกหนึ่งตัวที่ทำน้ำหนักออกมาตามมาตรฐานของเครื่องที่มีขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว และใช้งานกับที่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในเรื่องการพกพาไปใช้งานในสถานที่อื่นๆก็ถือว่าทำออกมาได้ไม่เลว เนื่องจากตัวเครื่องมีการกระจายน้ำหนักออกมาได้ดีทำให้ไม่รู้สึกว่าหนักจนเกินไป

Performance / Software

HP ZBook X360 47

สำหรับสเปคที่ใช้งานบนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 รุ่นที่ได้มาจะใช้งาน Intel Xeon E-2186M ความเร็วสูงสุด 4.6 GHz มีจำนวนคอร์ทั้งหมด 6 Core 12 Threads ส่วนแรมจะมีขนาด 32 GB DDR4 Bus 2667 MHz โดยจะเป็นแรมประเภท ECC ป้องกันการสูญหายของข้อมูล

HP ZBook X360 43

ในส่วนของการ์ดจอนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่เป็นออนบอร์ดที่จะใช้งานเป็น Intel UHD Graphics P630 ส่วนการ์ดจอแยกที่ใส่มาในเครื่องนี้จะเป็นตัว Nvidia Quadro P1000 ที่มี VRAM 4 GB แบบ GDDR5

HP ZBook X360 44

ในเรื่องของการทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ต้องบอกว่าจากสเปคที่ให้มาก็ถือว่าหายห่วงทั้งในเรื่องของการประมวลผลที่ทำออกมาได้ดี รวมไปถึงการเรนเดอร์ด้วย OpenGL ก็ทำออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

HP ZBook X360 45

ในส่วนของการทดสอบโปรแกรมอย่าง 3DMark Firestrike ที่จะรีดประสิทธิภาพจากการ์ดจอออกมาให้ได้มากที่สุดซึ่งก็ถือว่าทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียว

HP ZBook X360 48

ถัดมาเป็นการทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark 10 ที่จะจำลองการใช้งานของผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะได้พบเจอไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Video Conference การเข้าเว็บ การแต่งภาพ เปิดโปรแกรม งานเอกสาร ก็ถือว่าหมดห่วงไปได้เลยสำหรับเครื่องนี้

HP ZBook X360 51

ส่วนต่อมาเป็นเรื่องของการทดสอบความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลบน disk ซึ่งที่ใส่ลงมาบนเครื่องนี้จะเป็น SSD ขนาด 1 TB แบบ M.2 NVMe ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าน่าพอใจเป็นอย่างมากด้วยค่า Read 3092 MB/s และค่า Write 2235 MB/s

HP ZBook X360 46

การทดสอบเล่นเกมด้วย Nvidia Quadro P1000 ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีอาจจะไม่ได้แรงมากเท่ากับการ์ดจอสายเล่นเกมปกติก็ตาม แต่ก็ถือว่าสอบผ่าน และเฟรมเรทที่เห็นน้อยๆแต่เวลาเล่นจริงนั้นก็พอว่ามันลื่นดีเลยทีเดียวครับ

HP ZBook X360 55

สำหรับทาง HP ก็มี Software สำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ซื้อเครื่องไปแล้วไม่รู้ว่าเวลาเกิดปัญหาจะทำยังไง จึงได้มีการติดตั้ง HP Support Assistant ติดมากับตัวเครื่องด้วยเลย โดยภายในโปรแกรมจะสามารถเช็คการอัพเดทไดรเวอร์ของเครื่อง ดูแนวทางการแก้ปัญหา เช็คสเปค ดูประกัน เรียกได้ว่าครอบจักรวาลของผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ทางเทคนิคมากนัก อีกทั้งยังมี Software ตัวอื่นๆที่น่าสนใจอย่าง HP PhonWise ที่จะช่วยให้เราใช้งานมือถือที่เราเชื่อมต่อกับเครื่องได้บนตัวเครื่องเลย

HP ZBook X360 49

Battery / Heat / Noise

ในส่วนของแบตเตอรี่ผมไม่ได้ทำการทดสอบเนื่องด้วยมันเป็น Mobile Workstation การใช้งานโดยไม่ได้เสียบสายก็ดูจะขัดกับความจริงไปเสียหน่อย แต่จากที่ได้ลองใช้งานถ้าไม่ได้ใช้โปรแกรมหนักๆ ก็ถือว่าใกล้เคียงกับ โน้ตบุ้คทั่วๆไปอยู่ครับ

ในส่วนของอุณหภูมิระหว่างการใช้งานนับว่าไม่ถึงกับเย็นมากแต่ก็ไม่ได้ร้อนจนเกินไป แต่หากใช้งานในโปรแกรมหนักๆอุณหภูมิสูงสุดจะขึ้นไปอยู่ที่ 94 องศา ก็แนะนำให้วางไว้กับที่สักที่เพื่อใช้งานมากกว่าจะเอามาวางบนตักแล้วใช้ ส่วนเรื่องของเสียงต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะดังใช้ได้เลยเวลาที่ใช้โปรแกรมหนักๆ

HP ZBook X360 54

Conclusion / Award

HP ZBook X360 39

จากที่ได้ลองใช้งาน HP ZBook Studio x360 G5 ก็ต้องบอกว่าเป็น Mobile Workstation ที่ทำออกมาได้ดีและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงเอาเรื่องเลย จากการที่ลองใช้งาน Adobe Lightroom หรือ Adobe Premier Pro ก็ถือว่าตอบสนองได้แบบเรียลไทม์ และตัดต่อได้อย่างรวดเร็วใช้ได้เลย เหมาะเป็นอย่างมากในการใช้งานด้านนี้

HP ZBook X360 32

สำหรับวัสดุภายนอกของตัวเครื่องก็ทำออกมาได้แข็งแรง และทาง HP ก็ได้ทำการทดสอบด้วยการปล่อยเครื่องจากความสูง 36 นิ้ว ก็ไม่เป็นปัญหา เรื่องของรอยขีดข่วนและการป้องกันฝุ่นต่างๆ ในส่วนของหน้าจอที่ใส่มาด้วยความที่มีขนาด 15.6 นิ้ว และใช้งานพาเนล IPS ทำให้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่เต็มตาและชัดเจนทุกมุมมอง

ในเรื่องของการทำงานโดยภาพรวมของ Software ถือว่าทำออกมาได้อย่างไม่ติดขัด ในส่วนของจุดที่น่าจะเป็นข้อสังเกตเดียวเลยที่ผมสามารถเห็นได้นั้นคือเรื่องของเสียงพัดลมระบาย ที่จัดว่าเสียงดังเอาเรื่องหากเอาไปใช้งานนอกสถานที่ที่มีคนอยู่มาก ก็อาจจะรบกวนได้ ส่วนใครที่สนใจอยากจะได้รุ่นนี้และต้องการทราบข้อมูลในส่วนราคาที่แน่ชัดก็สามารถติดต่อไปทาง HP ได้โดยตรงเลย หรือ Line ID: hpbiz

ข้อดี

  • หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ้เต็มตาในทุกๆมุมมอง
  • ความละเอียดระดับ Full-HD พร้อมพาเนล IPS
  • พับได้ 360 องศา ได้ทุกโหมดการใช้งานไม่ว่าจะ Tablet หรือ Notebook
  • ชิปประมวลผล Intel Xeon E-2186M รองรับทุกๆการใช้งาน
  • แรม 32 GB จัดเต็มพร้อมกับความจุ SSD 1 TB
  • พอร์ตการใช้งานครบครัน
  • ปกป้องเครื่องคุณด้วย Fingerprint และ Windows Hello
  • คีย์บอร์ดพร้อมไฟ LED Backlit
  • วัสดุที่ใช้งานกับตัวเครื่องมีความทนทานสูง
  • Software Built-in ของทาง HP ที่ใช้งานได้จริง
  • ซื้อแล้วพร้อมใช้งานด้วย Windows 10 Pro
  • ประกัน 3 ปี On-site Service มีบริการดูแลถึงที่

ข้อสังเกต

  • เสียงพัดลมที่ค่อนข้างดัง
  • การพับในบางช่วงไม่ได้คงสถาพในองศานั้นๆทุกองศา

Specification

สำหรับ HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ที่มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full-HD ในส่วนของพาเนลจอที่ใช้งานจะเป็นแบบ IPS ทำให้การทำงานเรื่องภาพต่างๆหมดห่วงไปได้เลย ส่วนตัวกระจกที่ใช้งานก็จะเป็น Corning Gorilla ที่ทำให้คุณสามารถพกพาไปทำงานได้ไม่ว่าจะโหมดไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องรอยขีดข่วน

ส่วนสเปคภายในตัวนี้จะมาพร้อมกับซีพียู Intel Xeon E-2186M ที่มีความเร็วพื้นฐาน 2.9 GHz และขึ้นไปสูงสุดที่ 4.6 GHz พร้อมคอร์ที่ให้มา 6 Core 12 Threads ในส่วนของ L3 ก็ให้มาที่ 12 MB โดยที่แรมจะให้มาทั้งหมด 32 GB แบบ DDR4 Bus 2667 MHz ซึ่งจะเป็นแรมประภท ECC ป้องกันการสูญหายของข้อมูล ในเรื่องของกราฟฟิคออนบอร์ดจะเป็น Intel UHD Graphics P630 ส่วนการ์ดแยกจะเป็น Nvidia Quadro P1000

ในส่วนของกล้องก็จะมีมาให้ด้วยเช่นกันโดยจะมีความละเอียดแบบ HD 720p ซึ่งรองรับการใช้งานกับ Windows Helllo ด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับพอร์ตการใช้งานมีมาให้ครบครันทั้ง USB 3.0 และ USB Type-C ที่รองรับการใช้ Thunderbolt โดยรวมแล้ว HP ZBook Studio x360 G5 ก็ถือว่าให้ในทุกๆอย่างมาครบ

สเปคเต็มๆของ HP ZBook Studio x360 G5 <<<

Hardware / Design

HP ZBook X360 12

HP ZBook Studio x360 G5 เป็น Mobile Workstation ที่ถูกออกแบบมาให้ดูสมบุกสมบัน โดยตัวเครื่องจะใช้สีออกน้ำตาลๆแบบด้านรอบตัวเครื่อง ทำให้ดูแล้วเหมาะแก้การนำไปใช้งานในที่ต่างๆ แบบไม่ต้องกลัวว่าจะแตกหักง่ายกันเลย ในส่วนของฝาหลังจะผลิตจาก Aluminum ด้านหลังจะมีโลโก้แบบใหม่ที่จะแสดงถึงความไฮเอนด์ของทาง HP ที่เลือกใช้งาน

สำหรับขอบของตัวเครื่องในส่วนของขอบด้านบนจะมีการตัดมุมออก ส่วนอีกสองที่เหลือจะมีมุมตามปกติ สำหรับตัวเครื่องที่มีหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ก็ต้องบอกว่าน้ำหนักอาจจะไม่ได้เบามากโดยน้ำหนักจะอยู่ที่ 2.26 กิโลกรัม โดยความบางถือว่าทำออกมาได้ดีไม่ได้ดูหนาเกินไปด้วยความบาง 20.4 มิลลิเมตร

HP ZBook X360 10

ในส่วนของคีย์บอร์ดจะมีขนาดที่เป็นไปตามมาตรฐานของโน้ตบุ้คทั่วๆไป ส่วนลำโพงจะมีอยู่ทั้งหมด 3 จุดคือเหนือคีย์บอร์ดและด้านล่างของเครื่องข้างละ 2 ตัว ส่วนพอร์ตการใช้งานที่มีมาให้ก็นับว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 หรือ USB Type-C ส่วนปุ่ม Power จะย้ายมาอยู่ด้านซ้ายของเครื่อง พร้อมกับจุดสำหรับการใช้งาน Fingerprint

Keyboard / Touchpad

HP ZBook X360 21

สำหรับคีย์บอร์ดที่นำมาใช้งานบนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับการใช้งานคีย์บอร์ดขนาดมาตรฐานที่บนโน้ตบุ้คมีใช้งานกัน โดยระยะห่างระหว่างปุ่มแต่ละตัวจะมีการเว้นระยะห่างออกมาอย่างพอดีทำให้การใช้งานพิมพ์สิ่งต่างๆไม่มีความผิดพลาดให้เห็น ส่วนล่างของแต่ละปุ่มจะมีไฟ LED Backlit ให้สามารถใช้งานได้ในทุกๆที่ได้อย่างไม่ลำบาก

ในส่วนของการใช้งานปุ่ม Function ต่างๆก็สามารถกดเพื่อใช้งานได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่ม FN ก่อนเพื่อที่จะใช้งาน ส่วนหากถ้าต้องการกดปุ่มจำพวก F ต่างๆก็ต้องกด FN ก่อนเพื่อที่จะใช้งาน ส่วนของ Touchpad ก็ถือว่าถูกแบบมาให้เหมือนๆกับตัว HP รุ่นอื่นๆคือจะมาเป็นแผ่นเดียว โดยไม่มีการแบ่งเส้นหรือสัญลักษณ์กั้นระหว่างซ้ายและขวา โดยการใช้งานก็ถือว่าทำออกมาได้ดีสมกับเป็น Mobile Workstation ขณะเดียวกันด้านขวาบนของตัว Touchpad ก็รองรับการใช้งาน NFC เพื่อส่งข้อมูลระหว่างสมาร์โฟนได้

Screen / Speaker

HP ZBook X360 23

ตัว HP ZBook Studio x360 G5 มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920 x1080 พิกเซล Full-HD ใหญ่เต็มจอพร้อมความชัดที่สามารถมองเห็นได้ทุกมุมด้วยพาเนล IPS ส่วนเรื่องของกระจกหน้าจอก็ใช้งาน Corning Gorilla ทำให้เรื่องรอยขีดข่วนเกิดได้ยากมาก พร้อมกับ Refresh Rate สูงถึง 120 Hz ทำให้รองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการใช้งานกล้องของตัวเครื่องก็อยู่ในระดับที่ใช้งานได้โดยมาพร้อมกับกล้องความละเอียด 720p ความชัดระดับ HD โดยมีอัตราส่วนของภาพอยู่ที่ 16:9 ซึ่งการใช้งานในส่วนของการทำ Video Conference สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องภาพอยู่ในระดับพอใช้งานได้

HP ZBook X360 52

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของหน้าจอด้วยโปรแกรม Spyder 5 Elite บนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 สำหรับค่าขอบเขตความกว้างของสีจะอยู่ที่ sRGB 85 % ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆไม่ได้สูงที่สุดในส่วนของความสว่างของหน้าจอจะอยู่ที่ 400 cd/m2 โดยสำหรับค่าที่ได้ออกมาก็ถือว่าอยู่ในมาตรฐานระดับนี้ทั่วๆไป ในส่วนของเรื่องความเพี้ยนสูงสุดจะอยู่ที่ 16 % ซึ่งอยู่ในส่วนล่างขวาของหน้าจอ โดยคะแนนโดยรวมจะอยู่ที่ 3.5 เต็ม 5

ในเรื่องการใช้งานในส่วนของลำโพงและเสียงที่ได้เนื่องจากได้ Bang & Olufsen ระดับเสียงออกมาในโทนที่นุ่มใช้ได้เลย ให้ความรู้สึกแตกต่างจาก HP ตัวอื่นๆที่ได้ลองมาที่จะออกไปทุ้มๆเสียหน่อย โดยสำหรับตำแหน่งของลำโพงจะมีวางอยู่ 3 จุดนั้นคือส่วนบนของคีย์บอร์ดและ 2 ตัวด้านล่างของเครื่องฝั่งละตัว

Connector / Thin And Weight

HP ZBook X360 8

สำหรับพอร์ตการเชื่อมต่อบนตัว HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับพอร์ตการเชื่อมต่อที่ครบครัน ด้านซ้ายประกอบไปด้วยพอร์ต USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต ด้านขวาของตัวเครื่องประกอบไปด้วย USB 3.1 Type-C ที่รองรับการใช้งาน Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต HDMI 2.0 ให้มา 1 พอร์ตและรูสำหรับใช้งาน Audio Jack Combo 1 ช่อง และช่องสำหรับใช้งาน SD Card จำนวน 1 ช่อง

ในเรื่องของน้ำหนักและความบางของตัวเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 จะมาพร้อมกับน้ำหนัก 2.26 กิโลกรัม ในเรื่องของความบางจะอยู่ที่ 20.4 มิลลิเมตร ซึ่งสำหรับภาพรวมหากให้พูดแล้วก็ถือว่าเป็น Mobile Workstaion อีกหนึ่งตัวที่ทำน้ำหนักออกมาตามมาตรฐานของเครื่องที่มีขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว และใช้งานกับที่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในเรื่องการพกพาไปใช้งานในสถานที่อื่นๆก็ถือว่าทำออกมาได้ไม่เลว เนื่องจากตัวเครื่องมีการกระจายน้ำหนักออกมาได้ดีทำให้ไม่รู้สึกว่าหนักจนเกินไป

Performance / Software

HP ZBook X360 47

สำหรับสเปคที่ใช้งานบนเครื่อง HP ZBook Studio x360 G5 รุ่นที่ได้มาจะใช้งาน Intel Xeon E-2186M ความเร็วสูงสุด 4.6 GHz มีจำนวนคอร์ทั้งหมด 6 Core 12 Threads ส่วนแรมจะมีขนาด 32 GB DDR4 Bus 2667 MHz โดยจะเป็นแรมประเภท ECC ป้องกันการสูญหายของข้อมูล

HP ZBook X360 43

ในส่วนของการ์ดจอนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่เป็นออนบอร์ดที่จะใช้งานเป็น Intel UHD Graphics P630 ส่วนการ์ดจอแยกที่ใส่มาในเครื่องนี้จะเป็นตัว Nvidia Quadro P1000 ที่มี VRAM 4 GB แบบ GDDR5

HP ZBook X360 44

ในเรื่องของการทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ต้องบอกว่าจากสเปคที่ให้มาก็ถือว่าหายห่วงทั้งในเรื่องของการประมวลผลที่ทำออกมาได้ดี รวมไปถึงการเรนเดอร์ด้วย OpenGL ก็ทำออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

HP ZBook X360 45

ในส่วนของการทดสอบโปรแกรมอย่าง 3DMark Firestrike ที่จะรีดประสิทธิภาพจากการ์ดจอออกมาให้ได้มากที่สุดซึ่งก็ถือว่าทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียว

HP ZBook X360 48

ถัดมาเป็นการทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark 10 ที่จะจำลองการใช้งานของผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะได้พบเจอไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Video Conference การเข้าเว็บ การแต่งภาพ เปิดโปรแกรม งานเอกสาร ก็ถือว่าหมดห่วงไปได้เลยสำหรับเครื่องนี้

HP ZBook X360 51

ส่วนต่อมาเป็นเรื่องของการทดสอบความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลบน disk ซึ่งที่ใส่ลงมาบนเครื่องนี้จะเป็น SSD ขนาด 1 TB แบบ M.2 NVMe ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าน่าพอใจเป็นอย่างมากด้วยค่า Read 3092 MB/s และค่า Write 2235 MB/s

HP ZBook X360 46

การทดสอบเล่นเกมด้วย Nvidia Quadro P1000 ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีอาจจะไม่ได้แรงมากเท่ากับการ์ดจอสายเล่นเกมปกติก็ตาม แต่ก็ถือว่าสอบผ่าน และเฟรมเรทที่เห็นน้อยๆแต่เวลาเล่นจริงนั้นก็พอว่ามันลื่นดีเลยทีเดียวครับ

HP ZBook X360 55

สำหรับทาง HP ก็มี Software สำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ซื้อเครื่องไปแล้วไม่รู้ว่าเวลาเกิดปัญหาจะทำยังไง จึงได้มีการติดตั้ง HP Support Assistant ติดมากับตัวเครื่องด้วยเลย โดยภายในโปรแกรมจะสามารถเช็คการอัพเดทไดรเวอร์ของเครื่อง ดูแนวทางการแก้ปัญหา เช็คสเปค ดูประกัน เรียกได้ว่าครอบจักรวาลของผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ทางเทคนิคมากนัก อีกทั้งยังมี Software ตัวอื่นๆที่น่าสนใจอย่าง HP PhonWise ที่จะช่วยให้เราใช้งานมือถือที่เราเชื่อมต่อกับเครื่องได้บนตัวเครื่องเลย

HP ZBook X360 49

Battery / Heat / Noise

ในส่วนของแบตเตอรี่ผมไม่ได้ทำการทดสอบเนื่องด้วยมันเป็น Mobile Workstation การใช้งานโดยไม่ได้เสียบสายก็ดูจะขัดกับความจริงไปเสียหน่อย แต่จากที่ได้ลองใช้งานถ้าไม่ได้ใช้โปรแกรมหนักๆ ก็ถือว่าใกล้เคียงกับ โน้ตบุ้คทั่วๆไปอยู่ครับ

ในส่วนของอุณหภูมิระหว่างการใช้งานนับว่าไม่ถึงกับเย็นมากแต่ก็ไม่ได้ร้อนจนเกินไป แต่หากใช้งานในโปรแกรมหนักๆอุณหภูมิสูงสุดจะขึ้นไปอยู่ที่ 94 องศา ก็แนะนำให้วางไว้กับที่สักที่เพื่อใช้งานมากกว่าจะเอามาวางบนตักแล้วใช้ ส่วนเรื่องของเสียงต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะดังใช้ได้เลยเวลาที่ใช้โปรแกรมหนักๆ

HP ZBook X360 54

Conclusion / Award

HP ZBook X360 39

จากที่ได้ลองใช้งาน HP ZBook Studio x360 G5 ก็ต้องบอกว่าเป็น Mobile Workstation ที่ทำออกมาได้ดีและมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงเอาเรื่องเลย จากการที่ลองใช้งาน Adobe Lightroom หรือ Adobe Premier Pro ก็ถือว่าตอบสนองได้แบบเรียลไทม์ และตัดต่อได้อย่างรวดเร็วใช้ได้เลย เหมาะเป็นอย่างมากในการใช้งานด้านนี้

HP ZBook X360 32

สำหรับวัสดุภายนอกของตัวเครื่องก็ทำออกมาได้แข็งแรง และทาง HP ก็ได้ทำการทดสอบด้วยการปล่อยเครื่องจากความสูง 36 นิ้ว ก็ไม่เป็นปัญหา เรื่องของรอยขีดข่วนและการป้องกันฝุ่นต่างๆ ในส่วนของหน้าจอที่ใส่มาด้วยความที่มีขนาด 15.6 นิ้ว และใช้งานพาเนล IPS ทำให้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่เต็มตาและชัดเจนทุกมุมมอง

ในเรื่องของการทำงานโดยภาพรวมของ Software ถือว่าทำออกมาได้อย่างไม่ติดขัด ในส่วนของจุดที่น่าจะเป็นข้อสังเกตเดียวเลยที่ผมสามารถเห็นได้นั้นคือเรื่องของเสียงพัดลมระบาย ที่จัดว่าเสียงดังเอาเรื่องหากเอาไปใช้งานนอกสถานที่ที่มีคนอยู่มาก ก็อาจจะรบกวนได้ ส่วนใครที่สนใจอยากจะได้รุ่นนี้และต้องการทราบข้อมูลในส่วนราคาที่แน่ชัดก็สามารถติดต่อไปทาง HP ได้โดยตรงเลย หรือ Line ID: hpbiz

ข้อดี

  • หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ้เต็มตาในทุกๆมุมมอง
  • ความละเอียดระดับ Full-HD พร้อมพาเนล IPS
  • พับได้ 360 องศา ได้ทุกโหมดการใช้งานไม่ว่าจะ Tablet หรือ Notebook
  • ชิปประมวลผล Intel Xeon E-2186M รองรับทุกๆการใช้งาน
  • แรม 32 GB จัดเต็มพร้อมกับความจุ SSD 1 TB
  • พอร์ตการใช้งานครบครัน
  • ปกป้องเครื่องคุณด้วย Fingerprint และ Windows Hello
  • คีย์บอร์ดพร้อมไฟ LED Backlit
  • วัสดุที่ใช้งานกับตัวเครื่องมีความทนทานสูง
  • Software Built-in ของทาง HP ที่ใช้งานได้จริง
  • ซื้อแล้วพร้อมใช้งานด้วย Windows 10 Pro
  • ประกัน 3 ปี On-site Service มีบริการดูแลถึงที่

ข้อสังเกต

  • เสียงพัดลมที่ค่อนข้างดัง
  • การพับในบางช่วงไม่ได้คงสถาพในองศานั้นๆทุกองศา
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

CONTENT

ในบทความก่อนหน้านี้จะเป็นการแนะนำโน้ตบุ๊ก AMD น้ำหนักเบาที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมตอบโจทย์การทำงานที่ต้องเน้นการพกพาเครื่องบ่อย ๆ โดยที่ยังได้พลังในการทำงานที่ดีอยู่ ส่วนในบทความนี้เราจะมาดูโน้ตบุ๊ก AMD การ์ดจอแรง แต่มาพร้อมกับน้ำหนักที่เบากันบ้าง เผื่อในกรณีของท่านที่ต้องการซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ซักเครื่อง แล้วอยากได้แพลตฟอร์มของค่ายแดงมาไว้ใช้ทำงาน เล่นเกม แต่ก็ยังอยากพกง่าย ๆ อยู่ด้วยในเครื่องเดียว

Buyer's Guide

หนึ่งในคุณสมบัติที่หลายคนมองหาเวลาเลือกซื้อโน้ตบุ๊กก็คือน้ำหนักเครื่องที่เบา ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกเวลาที่ต้องการ แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือประสิทธิภาพที่สูง เพื่อให้สามารถรองรับงานได้หลากหลาย ตั้งแต่นำไปใช้ทำงานเอกสารเบา ๆ จนถึงใช้งานด้านภาพ วิดีโอ และในการเล่นเกมที่ต้องการฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งในปี 2024 ก็มีตัวเลือกในตลาดหลากหลายรุ่นทีเดียว แต่ในบทความนี้เราจะมาดูโน้ตบุ๊ก AMD น้ำหนักเบาที่น่าสนใจด้วยกัน 5 รุ่นกันครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก