เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันในปัจจุบันนั้นจะเห็นได้ว่าหัวใจสำคัญเลยในการประมวลผลนั้นจะใช้หน่วยประมวลผลหรือ CPU เป็นหลักครับ ทว่าทาง HP นั้นเคยประกาศวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไปในเรื่องนี้คือทาง HP นั้นมีความมุ่งมั่นกับคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนประมวลผลด้วยหน่วยความจำเป็นหลักหรือ Memory-Driven Computing architecture ซึ่งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ทาง HP ได้ออกมาเปิดเผยว่าทางบริษัท Hewlett Packard Enterprise ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เน้นหน่วยความจำในการประมวลผลแล้วครับ
Memory-Driven Computing architecture นั้นให้ความสำคัญกับหน่วยความจำในการทำงานงานต่างๆ นั้นเสร็จสิ้นได้แทนเป็นหลัก(จากเดิมที่เราใช้หน่วยประมวลผลเป็นหลัก) โดยในการทดสอบของ HP นั้นต้องบอกก่อนนะครับว่าเป็นเครื่องรุ่นต้นแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะใช้ในการพิสูจน์ว่าแนวคิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หน่วยความจำในการประมวลผลงานแทนนั้นสามารถที่จะทำงานได้จริงๆ เท่านั้น ซึ่งผลก็อย่างที่บอกไปครับว่าเครื่องต้นแบบนี้สามารถที่จะทำงานได้จริง
โดยตามหลักการนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้รวมไปถึงซอฟต์แวร์ก็ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบใหม่ครับ ในเริ่มต้นโหนดการคำนวณนั้นจะแชร์ข้อมูลไปยังหน่วยความจำถาวรได้ด้วยความเร็วเพราะใช้การเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลผ่านทาง photonics-based ที่มีความรวดเร็ว จากนั้นการประมวลผลในหน่วยความจำหลักก็จะเกิดขึ้นซึ่งทั้งหมดนั้นจะต้องทำผ่านซอฟต์แวร์ที่ถูกปรับแต่งมาใหม่ตามที่ได้บอกไปครับ
ทาง HPE ได้บอกเอาไว้ว่าระบบคอมพิวเตอร์ตัวต้นแบบนั้นสามารถที่จะทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไปมากถึง 8,000 เท่าตัวถึงแม้ว่าจะได้รับคำสั่งเพื่อที่จะต้องนำไปประมวลผลจำนวนมากต่อการสั่งการหนึ่งครั้งก็ตาม อย่างไรก็ตามแต่ความเร็วที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นจะเกิดขึ้นในเฉพาะบางกรณีเท่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาเสมอไป อย่างไรก็ตามทาง HP ตั้งใจจะพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบนี้ต่อไปเพื่อใช้งานในการผลิตเครื่อง Server ต่อไปครับ
หมายเหตุ – Hewlett Packard Enterprise หรือ HPE เป็นบริษัทแยกของทาง HP ที่แยกออกจากกันในตอนที่ปรับโครงสร้างก่อนหน้านี้โดยจะเน้นผลิตภัณฑ์ทางด้านองค์กร
หมายเหตุ 2 – ทาง HP ได้บอกเอาไว้ว่าหลักการของ Memory-Driven Computing architecture สามารถที่จะย่อขนาดไปใช้งานได้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างเช่น Internet of Things devices ด้วยครับ
ที่มา : engadget