อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของ Mobile Workstation ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ 3 มิติ งานตัดต่อวีดีโอ งานโปรเซสภาพ หรืองานอื่นๆ อย่างการสร้างเกมหรือเขียนโปรแกรมขั้นสูง โดยที่ผ่านมา HP ก็นำเสนอในส่วนของ Mobile Workstation มาโดยตลอด
ซึ่งล่าสุด HP ได้เปิดตัวสุดยอดโน๊ตบุ๊คสำหรับมืออาชีพรุ่นล่าสุดจากทาง HP อย่างในรุ่น ZBook 15u G3 จัดว่าเป็น Mobile Workstation หน้าจอ 4K Ultra HD ในรูปแบบของ Ultrabook 15″ วัสดุแม็กนีเซียมอัลลอยด์ หนักเพียง 1.92 กิโลกรัมเท่านั้น มีพอร์ตครบครัน รวมไปถึงยังมีรุ่นพี่อย่าง HP ZBook 15 และ HP ZBook 17 ที่มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า (แต่ก็หนาและหนักกว่าด้วยเช่นกัน) สนนราคาเริ่มต้นที่ประมาณห้าหมื่นบาทถึงแสนกว่าบาท
ZBook G3 Series
สำหรับ HP ซึ่งเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก โดยเปิดตัวโน๊ตบุ๊ค Workstation ซีรีส์ ZBook เป็นครั้งแรกในปี 2013 ที่ถือว่าเป็นรุ่น G1 (Gen 1) โดยล่าสุด HP ก็ได้นำเสนอโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ ZBook G3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการเปิดตัวเมื่อช่วงปลายปี 2015 ซึ่งในตอนนี้ทาง HP Thailand ก็พร้อมที่จะจัดจำหน่ายแล้ว แบ่งออกเป็น 3 รุ่นหลักๆ ดังนี้
- ZBook 15 G3 โน๊ตบุ๊คตัวมาตรฐาน จอ 15″ สเปกจัดเต็มอัพได้สูงสุดเป็น Intel Xeon
- ZBook 17 G3 โน๊ตบุ๊คตัวมาตรฐาน จอ 17″ สเปกจัดเต็มอัพได้สูงสุดเป็น Intel Xeon
- ZBook 15u G3 โน๊ตบุ๊คบางเบา Ultrabook จอ 15″ หน้าจอ Ultra HD 4K (รุ่นที่รีวิวคือตัวนี้)
- ZBook Studio โน๊ตบุ๊คบางเบา Ultrabook จอ 15″ สวยงาม สเปกแรงสุด Intel Xeon
ความแตกต่างของ HP ZBook 15u กับ HP ZBook Studio โดยหลักๆ แล้วอยู่ที่ ดีไซน์ที่บางเบากว่า และภายในสเปก รวมไปถึงราคาค่าตัว ซึ่ง HP ZBook 15u ติดตั้งชิปประมวลผลได้สูงสุดคือ Core i7 รหัส U ส่วน HP ZBook Studio จะเลือกติดตั้งชิปประมวลผลได้สูงสุดเป็น Xeon E3 สนนราคาก็แพงกว่าด้วยเช่นกัน
Specification
HP ZBook 15u G3 นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ซึ่งมีความบางเบามากๆ เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไป จัดว่าอยู่ในกลุ่มของ Ultrabook ได้เลย โดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-6600U หน่วยประมวลผลใน Generation 6 หรือ Skylake นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 2 คอร์ 4 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.6 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.4 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 32GB (16GB x 2) ในรูปแบบของ DDR4L บัส 2133 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 256GB
สำหรับการ์ดจอนั้นทาง HP ZBook 15u G3 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ AMD Radeon M350 แม้ว่าไม่ได้ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอตัวนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด ตัวจอมีความละเอียดแบบ 4K Ultra HD 3,840 x 2,160 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ HP ZBook 15u G3 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Bang & Olufsen และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, USB 2.0, LAN, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, DisplayPort, D-Sub, Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader สนนราคาก็ตั้งแต่ประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป ตามแต่สเปก
Hardware / Design
ดีไซน์และการออกแบบโดยรวมของตัวเครื่อง HP ZBook 15u G3 นั้นได้มีการพัฒนาในเรื่องของความบางเบา กับน้ำหนัก 1.92 กิโลกรัม แต่มีความหนาเพียง 24 มิลลิเมตรเท่านั้นรวมไปถึงวัสดุก็ใช้เป็นคุณภาพสูงอย่างแม็กนีเซียมอัลลอยด์ผสานกับอลูมิเนียม เน้นไปโทนสีดำและสีเทาที่สื่อถึงความจริงจังและความเป็นมืออาชีพ เรียกได้ว่าเมื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ก็ดูลงตัว ประสิทธิภาพจากสเปกภายในให้การทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ Workstation เลยทีเดียว โดยบริเวณของฝาหลังนั้นจะเป็นวัสดุอลูมิเนียมที่แซมด้วยวัสดุพลาสติกเนื้อนิ่มคล้ายยางทำให้เวลาจับไม่ลื่นมือ ส่วนบริเวณที่พักมือและแป้นพิมพ์นั้นจะใช้วัสดุอลูเนียมตลอดทั้งตัว
ด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็ยังคงออกแบบด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน โดยใช้วัสดุพลาสติกสีเทาเข้มตลอดทั้งตัว โดยมีการเจาะช่องระบายความร้อนของเครื่องด้วยกันสองจุดที่มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยมีการสกรีนโลโก้ของ HP รวมถึงชื่อรุ่นเอาไว้บริเวณด้านหลังเครื่องที่ก็สามารถมองเห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ก็ยังมียางรองขาตัวเครื่อง ซึ่งสามารถซับแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องขณะเปิดใช้งานได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าในการออกแบบรวมๆ นั้น ทำออกมาได้ค่อนข้างแน่นหนา และคำนึงถึงการใช้งานจริงได้ดีทีเดียว รวมไปถึงมีความบางเบาระดับ Ultrabook หน้าจอ 15.6 นิ้วอีกด้วย
Keyboard / Touchpad
ส่วนของ HP ZBook 15u G3 คีย์บอร์ดนั้นตัวปุ่มเป็นแบบโค้งเว้าเข้ากับนิ้ว โดยสกรีนตัวอักษรเป็นสีขาว ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ให้การตอบสนองเด้งรับที่ดี ในส่วนของไฟ LED Backlit ก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว มาตรฐานแบบ Full Size โดยมีแป้นตัวเลข Numpad และ Point stick สำหรับผู้ใช้มืออาชีพที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้งานโดยตัวแป้นนั้นจะเป็นแป้นที่ไม่ยวบยาบ เวลาพิมพ์ใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยทำให้ไม่เมื่อยล้าง่ายในการพิมพ์เป็นเวลานานๆ แถมยังเป็นคีย์บอ์ดแบบแบบกันน้ำ และระบายน้ำในตัวได้
สำหรับทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง โดยแยกปุ่มคลิกซ้าย-ขวาออกมา ที่สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ตัวทัชแพดรองรับฟีเจอร์ Smart Gesture ใช้งานควบคู่กับ Windows 10 ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังมี Point stick และปุ่มคลิกซ้าย-ขวาด้านบนทัชแพด ไว้รองรับอีกด้วย นอกจากนี้ตัวทัชแพดเองเมื่อใช้งานจริงแล้วก็สามารถใช้งานได้ลิ่นไหนดีเยี่ยมแถมรองรับการใช้งานแบบหลายนิ้วมือพร้อมกันได้เป็นอย่างดี
Screen / Speaker
HP ZBook 15u G3 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดมหึมาถึง 15.6 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด 4K Ultra HD ที่ 3,840 x 2,160 พิกเซล พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ DreamColor Display และตัวขอบจอของเครื่องนั้นจะสังเกตเห็นว่ามีขอบจอด้านข้างที่ค่อนข้างบาง และอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากทีเดียว แต่บริเวณขอบจอด้านบนนั้นจะค่อนข้างหนาพอสมควรควรซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้วของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน เลื่อนลงมาที่ขอบจอด้านล่างก็จะพบกับโลโก้ HP สีขาวอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์สกรีนอยู่
นอกเหนือจากนี้ตัวเครื่อง HP ZBook 15u G3 ก็ยังมาพร้อมระบบเสียง Bang & Olufsen พร้อมเทคโนโลยี Noise Reduction ช่วยให้การทำ Video Conference มีเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งมีพลังเสียงโดยรวมที่มีความแหลม ใส โดดเด่นมาแต่ไกล พร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดีครับ และในบริเวณใกล้กับลำโพงก็จะพบกับปุ่มเปิด-ปิด ที่เมื่อใช้งานจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และด้านบนขวาก็จะเจอกับปุ่มกดเปิด-ปิด WiFi และปุ่มเปิด-ปิดเสียง โดยเมื่อกดเปิดนั้นจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และเมื่อปิดจะมีไฟสถานะสีส้ม ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือนั่นเอง
Connector / Thin And Weight
HP ZBook 15u G3 นำเอาพอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) มาเป็นตัวชูโรง รวมถึง DisplayPort เพื่อการแสดงผลความละเอียดสูงและ VGA ไว้เชื่อมต่อไปยังจอนอกแบบความละเอียดปกติ รวมไปถึงมี Ethernet LAN ตัวเต็มและพอร์ต USB 3.0 อีกสองพอร์ต อีกทั้งยังรองรับ Smart Card (อาทิ บัตรพนักงาน) แน่นอนว่าพวกช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและ Card Reader ก็ติดตั้งมาด้วย ที่สำคัญมีระบบรักษาความปลอดภัยเข้าใช้งานด้วย Finger Print ต้องบอกว่าแม้ตัวเครื่องจะไม่ใหญ่หนาแบบ Mobile Workstation ทั่วไป แต่ก็ให้พอร์ตสำหรับการใช้งานมาครบครันจริงๆ ที่สำคัญยังสามารถใส่ซิมเพื่อใช้งาน 4G ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ในส่วนด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็จะมีช่องเชื่อมต่อหม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ และบริเวณด้านหน้าของเครื่องนั้นก็จะมีไฟแสดงสถานะอยู่ด้านหน้าทางซ้ายครับ ที่จะสามารถแสดงผลได้ 4 ส่วนคือสถานะ Wi-Fi , สถานะเปิดเครื่อง , สถานะเสียบชาร์จไฟ และสถานะฮาร์ดดิสก์
ส่วนในเรื่องของความบางของตัวเครื่อง ต้องบอกว่า HP ZBook 15u G3 สมกับเป็น Mobile Workstation สมัยใหม่จริงๆ ด้วยความที่เป็น Ultrabook จอ 15.6 นิ้ว กับความบางที่ 24 มิลลิเมตร เทียบกับโน๊ตบุ๊คทั่วไปก็มีความบางที่เหนือกว่าเสียด้วย ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องกันบ้าง แน่นอนว่า HP ZBook 15u G3 เป็นเครื่อง Mobile Workstation ก็จริง แต่ก็มีน้ำหนักเพียง 1.92 กิโลกรัม นับได้ว่ามัน้ำหนักน้อยกว่าโน๊ตบุ๊ค 14 นิ้วทั่วไปซะอีก ส่วนเมื่อช่างรวมอะแดปเตอร์หรือหม้อแปลงแล้วก็จะไปอยู่ที 2.5 กิโลกรัม สรุปแล้วแม้ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คระดับ Mobile Workstation ก็ยังมีความบางความเบาที่เหนือชั้นสุดๆ อีกทั้งพอร์ตการใช้งานก็ครบเครื่องสุดๆ
Performance / Software
ชิปประมวลผล HP ZBook 15u G3 เลือกใช้เป็น Intel Core i7-6600U ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.6 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.4 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 2 Core 4 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 25W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 32GB DDR4 Bus 2133MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว (รองรับสูงสุด 64GB)
ด้านของหน่วยประมวลผลกราฟิกก็จะเป็น AMD Radeon R7 M350 ที่มีหน่วยความจำแรมภายในตัวขนาด 2GB แบบ DDR5 (จัดว่าเป็นกราฟิกการ์ดตัวหนึ่งในระดับกลางๆ) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนความละเอียดหน้าจอระดับ 3,840 x 2,160 พิกเซล บน HP ZBook 15u G3 ที่จากการตรวจสอบ รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 520 ตามแต่ลักษณะการใช้หรือการปรับแต่งของเรา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นประหยัดพลังงาน และการ์ดจอระดับกลางๆ ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 256GB แบบ PCIe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตอยู่ว่าในการเขียนนั้นมีผลเทสที่น้อยไปหน่อย แต่อ่านได้เร็วสูงๆ ไปเลย
ตัวอย่างการทำงานที่โดยส่วนตัวใช้เป็นประจำก็คือการโปรเซสภาพถ่ายด้วยโปรแกรม Lightroom ที่เมื่อทำงานบน HP ZBook 15u G3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ทำออกมารองรับการแสดงภาพแบบ 4K Ultra HD ได้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าเป็นตัวอักษร หรือภาพถ่ายก็มีความคมชัด ซึ่งกรณีที่ขยายภาพก็ยังมีความคมชัดอยู่ แน่นอนว่าด้านการประมวลผลตัวโปรแกรมเองก็ได้ดึงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่องอย่างเต็มที่เช่นกัน ที่ดูจากภาพจะเห็นถึงการใช้งานแรมไปจนเกือบหมด จากที่ตัวเครื่องมีอยู่ 32GB ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานของโปรแกรมและระปฏิบัติการว่าสามารถดึงความสามารถจากสเปกที่มีมาให้อย่างเต็มที่ เพื่อการทำงานให้รวดเร็วสุงสุด ทั้งการโปรเซสและ Export
Battery / Heat / Noise
โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ HP ZBook 15u G3 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion 4-cell ความจุแบตเตอรี่ประมาณ 4000 mAh เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราว 2.30 – 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตเตอรี่ไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตเตอรี่มาใช้ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจจะถือว่าทำได้ดีทีเดียว สำหรับ Ultrabook หน้าจอ 15.6 นิ้ว
อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 32 – 45 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 82 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ HP ZBook 15u G3 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่า Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก HP ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง
Conclusion / Award
HP ZBook 15u G3 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ HP เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-6600U “Skylake” ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงแต่ประหยัดพลังงาน มีแรม DDR4 บัส 2133 ที่ใส่มาให้ถึง 32GB (16GB x 2) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี Z Turbo Drive ความจุ 256GB รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง AMD Radeon M350 ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง
พร้อมกันนี้ HP ZBook 15u G3 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ HP ZBook 15u G3 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ
เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า HP ZBook 15u G3 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย HP ZBook 15u G3 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว สนนราคาก็ตั้งแต่ประมาณห้าหมื่นบาทไปจนถึงเจ็ดหมื่นบาท ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ
จุดเด่น
- ตัวเครื่องหนาเพียง 24 มิลลิเมตร 1.92 กิโลกรัม
- ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD
- พาเนลจอ DreamColor Display สวยงามเป็นธรรมชาติ
- ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่อยู่ในระดับสูง
- แข็งแรง ทนทน ด้วยวัสดุและการออกแบบที่ใส่ใจ
- ระบบระบายความร้อนทำได้ดี
- มาพร้อม Finger Print Reader
- พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader และ DisplayPort
- ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
- รองรับการใช้งานทั้ง Windows 7 และ Windows 10
ข้อสังเกต
- ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง HP ZBook 15u G3 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คตระกูล ZBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 24 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.92 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2 กิโลกรัมนิดๆ เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ
Best Technology
ความละเอียดจอก็มาในระดับที่สูงยังมาเป็นแบบ Ultra HD 4K ที่เป็นพาเนลจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง DreamColor Display กับความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังเรียบเนียนตาแบบที่โน๊ตบุ๊ครุ่นทั่วไปไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในการแสดงผลจริงๆ ทำให้รองรับงานกราฟิก วีดีโอ หรือโปรเซสภาพได้อย่างดีเยี่ยม รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C)
Best Performance
ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7 ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่างAMD Radeon M350 ขนาด 2GB DDR5 รวมไปถึง SSD คาวมเร็วสูงด้วย PCIe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย
ZBook G3 Series
สำหรับ HP ซึ่งเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก โดยเปิดตัวโน๊ตบุ๊ค Workstation ซีรีส์ ZBook เป็นครั้งแรกในปี 2013 ที่ถือว่าเป็นรุ่น G1 (Gen 1) โดยล่าสุด HP ก็ได้นำเสนอโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ ZBook G3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการเปิดตัวเมื่อช่วงปลายปี 2015 ซึ่งในตอนนี้ทาง HP Thailand ก็พร้อมที่จะจัดจำหน่ายแล้ว แบ่งออกเป็น 3 รุ่นหลักๆ ดังนี้
- ZBook 15 G3 โน๊ตบุ๊คตัวมาตรฐาน จอ 15″ สเปกจัดเต็มอัพได้สูงสุดเป็น Intel Xeon
- ZBook 17 G3 โน๊ตบุ๊คตัวมาตรฐาน จอ 17″ สเปกจัดเต็มอัพได้สูงสุดเป็น Intel Xeon
- ZBook 15u G3 โน๊ตบุ๊คบางเบา Ultrabook จอ 15″ หน้าจอ Ultra HD 4K (รุ่นที่รีวิวคือตัวนี้)
- ZBook Studio โน๊ตบุ๊คบางเบา Ultrabook จอ 15″ สวยงาม สเปกแรงสุด Intel Xeon
ความแตกต่างของ HP ZBook 15u กับ HP ZBook Studio โดยหลักๆ แล้วอยู่ที่ ดีไซน์ที่บางเบากว่า และภายในสเปก รวมไปถึงราคาค่าตัว ซึ่ง HP ZBook 15u ติดตั้งชิปประมวลผลได้สูงสุดคือ Core i7 รหัส U ส่วน HP ZBook Studio จะเลือกติดตั้งชิปประมวลผลได้สูงสุดเป็น Xeon E3 สนนราคาก็แพงกว่าด้วยเช่นกัน
Specification
HP ZBook 15u G3 นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ซึ่งมีความบางเบามากๆ เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไป จัดว่าอยู่ในกลุ่มของ Ultrabook ได้เลย โดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-6600U หน่วยประมวลผลใน Generation 6 หรือ Skylake นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 2 คอร์ 4 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.6 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.4 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 32GB (16GB x 2) ในรูปแบบของ DDR4L บัส 2133 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 256GB
สำหรับการ์ดจอนั้นทาง HP ZBook 15u G3 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ AMD Radeon M350 แม้ว่าไม่ได้ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอตัวนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด ตัวจอมีความละเอียดแบบ 4K Ultra HD 3,840 x 2,160 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ HP ZBook 15u G3 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Bang & Olufsen และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, USB 2.0, LAN, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, DisplayPort, D-Sub, Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader สนนราคาก็ตั้งแต่ประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป ตามแต่สเปก
Hardware / Design
ดีไซน์และการออกแบบโดยรวมของตัวเครื่อง HP ZBook 15u G3 นั้นได้มีการพัฒนาในเรื่องของความบางเบา กับน้ำหนัก 1.92 กิโลกรัม แต่มีความหนาเพียง 24 มิลลิเมตรเท่านั้นรวมไปถึงวัสดุก็ใช้เป็นคุณภาพสูงอย่างแม็กนีเซียมอัลลอยด์ผสานกับอลูมิเนียม เน้นไปโทนสีดำและสีเทาที่สื่อถึงความจริงจังและความเป็นมืออาชีพ เรียกได้ว่าเมื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ก็ดูลงตัว ประสิทธิภาพจากสเปกภายในให้การทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ Workstation เลยทีเดียว โดยบริเวณของฝาหลังนั้นจะเป็นวัสดุอลูมิเนียมที่แซมด้วยวัสดุพลาสติกเนื้อนิ่มคล้ายยางทำให้เวลาจับไม่ลื่นมือ ส่วนบริเวณที่พักมือและแป้นพิมพ์นั้นจะใช้วัสดุอลูเนียมตลอดทั้งตัว
ด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็ยังคงออกแบบด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน โดยใช้วัสดุพลาสติกสีเทาเข้มตลอดทั้งตัว โดยมีการเจาะช่องระบายความร้อนของเครื่องด้วยกันสองจุดที่มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยมีการสกรีนโลโก้ของ HP รวมถึงชื่อรุ่นเอาไว้บริเวณด้านหลังเครื่องที่ก็สามารถมองเห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ก็ยังมียางรองขาตัวเครื่อง ซึ่งสามารถซับแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องขณะเปิดใช้งานได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าในการออกแบบรวมๆ นั้น ทำออกมาได้ค่อนข้างแน่นหนา และคำนึงถึงการใช้งานจริงได้ดีทีเดียว รวมไปถึงมีความบางเบาระดับ Ultrabook หน้าจอ 15.6 นิ้วอีกด้วย
Keyboard / Touchpad
ส่วนของ HP ZBook 15u G3 คีย์บอร์ดนั้นตัวปุ่มเป็นแบบโค้งเว้าเข้ากับนิ้ว โดยสกรีนตัวอักษรเป็นสีขาว ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ให้การตอบสนองเด้งรับที่ดี ในส่วนของไฟ LED Backlit ก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว มาตรฐานแบบ Full Size โดยมีแป้นตัวเลข Numpad และ Point stick สำหรับผู้ใช้มืออาชีพที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้งานโดยตัวแป้นนั้นจะเป็นแป้นที่ไม่ยวบยาบ เวลาพิมพ์ใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยทำให้ไม่เมื่อยล้าง่ายในการพิมพ์เป็นเวลานานๆ แถมยังเป็นคีย์บอ์ดแบบแบบกันน้ำ และระบายน้ำในตัวได้
สำหรับทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง โดยแยกปุ่มคลิกซ้าย-ขวาออกมา ที่สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ตัวทัชแพดรองรับฟีเจอร์ Smart Gesture ใช้งานควบคู่กับ Windows 10 ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังมี Point stick และปุ่มคลิกซ้าย-ขวาด้านบนทัชแพด ไว้รองรับอีกด้วย นอกจากนี้ตัวทัชแพดเองเมื่อใช้งานจริงแล้วก็สามารถใช้งานได้ลิ่นไหนดีเยี่ยมแถมรองรับการใช้งานแบบหลายนิ้วมือพร้อมกันได้เป็นอย่างดี
Screen / Speaker
HP ZBook 15u G3 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดมหึมาถึง 15.6 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด 4K Ultra HD ที่ 3,840 x 2,160 พิกเซล พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ DreamColor Display และตัวขอบจอของเครื่องนั้นจะสังเกตเห็นว่ามีขอบจอด้านข้างที่ค่อนข้างบาง และอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากทีเดียว แต่บริเวณขอบจอด้านบนนั้นจะค่อนข้างหนาพอสมควรควรซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้วของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน เลื่อนลงมาที่ขอบจอด้านล่างก็จะพบกับโลโก้ HP สีขาวอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์สกรีนอยู่
นอกเหนือจากนี้ตัวเครื่อง HP ZBook 15u G3 ก็ยังมาพร้อมระบบเสียง Bang & Olufsen พร้อมเทคโนโลยี Noise Reduction ช่วยให้การทำ Video Conference มีเสียงชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งมีพลังเสียงโดยรวมที่มีความแหลม ใส โดดเด่นมาแต่ไกล พร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดีครับ และในบริเวณใกล้กับลำโพงก็จะพบกับปุ่มเปิด-ปิด ที่เมื่อใช้งานจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และด้านบนขวาก็จะเจอกับปุ่มกดเปิด-ปิด WiFi และปุ่มเปิด-ปิดเสียง โดยเมื่อกดเปิดนั้นจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และเมื่อปิดจะมีไฟสถานะสีส้ม ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือนั่นเอง
Connector / Thin And Weight
HP ZBook 15u G3 นำเอาพอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) มาเป็นตัวชูโรง รวมถึง DisplayPort เพื่อการแสดงผลความละเอียดสูงและ VGA ไว้เชื่อมต่อไปยังจอนอกแบบความละเอียดปกติ รวมไปถึงมี Ethernet LAN ตัวเต็มและพอร์ต USB 3.0 อีกสองพอร์ต อีกทั้งยังรองรับ Smart Card (อาทิ บัตรพนักงาน) แน่นอนว่าพวกช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรและ Card Reader ก็ติดตั้งมาด้วย ที่สำคัญมีระบบรักษาความปลอดภัยเข้าใช้งานด้วย Finger Print ต้องบอกว่าแม้ตัวเครื่องจะไม่ใหญ่หนาแบบ Mobile Workstation ทั่วไป แต่ก็ให้พอร์ตสำหรับการใช้งานมาครบครันจริงๆ ที่สำคัญยังสามารถใส่ซิมเพื่อใช้งาน 4G ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ในส่วนด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็จะมีช่องเชื่อมต่อหม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ และบริเวณด้านหน้าของเครื่องนั้นก็จะมีไฟแสดงสถานะอยู่ด้านหน้าทางซ้ายครับ ที่จะสามารถแสดงผลได้ 4 ส่วนคือสถานะ Wi-Fi , สถานะเปิดเครื่อง , สถานะเสียบชาร์จไฟ และสถานะฮาร์ดดิสก์
ส่วนในเรื่องของความบางของตัวเครื่อง ต้องบอกว่า HP ZBook 15u G3 สมกับเป็น Mobile Workstation สมัยใหม่จริงๆ ด้วยความที่เป็น Ultrabook จอ 15.6 นิ้ว กับความบางที่ 24 มิลลิเมตร เทียบกับโน๊ตบุ๊คทั่วไปก็มีความบางที่เหนือกว่าเสียด้วย ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องกันบ้าง แน่นอนว่า HP ZBook 15u G3 เป็นเครื่อง Mobile Workstation ก็จริง แต่ก็มีน้ำหนักเพียง 1.92 กิโลกรัม นับได้ว่ามัน้ำหนักน้อยกว่าโน๊ตบุ๊ค 14 นิ้วทั่วไปซะอีก ส่วนเมื่อช่างรวมอะแดปเตอร์หรือหม้อแปลงแล้วก็จะไปอยู่ที 2.5 กิโลกรัม สรุปแล้วแม้ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คระดับ Mobile Workstation ก็ยังมีความบางความเบาที่เหนือชั้นสุดๆ อีกทั้งพอร์ตการใช้งานก็ครบเครื่องสุดๆ
Performance / Software
ชิปประมวลผล HP ZBook 15u G3 เลือกใช้เป็น Intel Core i7-6600U ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.6 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.4 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 2 Core 4 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 25W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 32GB DDR4 Bus 2133MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว (รองรับสูงสุด 64GB)
ด้านของหน่วยประมวลผลกราฟิกก็จะเป็น AMD Radeon R7 M350 ที่มีหน่วยความจำแรมภายในตัวขนาด 2GB แบบ DDR5 (จัดว่าเป็นกราฟิกการ์ดตัวหนึ่งในระดับกลางๆ) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนความละเอียดหน้าจอระดับ 3,840 x 2,160 พิกเซล บน HP ZBook 15u G3 ที่จากการตรวจสอบ รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 520 ตามแต่ลักษณะการใช้หรือการปรับแต่งของเรา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นประหยัดพลังงาน และการ์ดจอระดับกลางๆ ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 256GB แบบ PCIe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตอยู่ว่าในการเขียนนั้นมีผลเทสที่น้อยไปหน่อย แต่อ่านได้เร็วสูงๆ ไปเลย
ตัวอย่างการทำงานที่โดยส่วนตัวใช้เป็นประจำก็คือการโปรเซสภาพถ่ายด้วยโปรแกรม Lightroom ที่เมื่อทำงานบน HP ZBook 15u G3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ทำออกมารองรับการแสดงภาพแบบ 4K Ultra HD ได้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าเป็นตัวอักษร หรือภาพถ่ายก็มีความคมชัด ซึ่งกรณีที่ขยายภาพก็ยังมีความคมชัดอยู่ แน่นอนว่าด้านการประมวลผลตัวโปรแกรมเองก็ได้ดึงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่องอย่างเต็มที่เช่นกัน ที่ดูจากภาพจะเห็นถึงการใช้งานแรมไปจนเกือบหมด จากที่ตัวเครื่องมีอยู่ 32GB ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานของโปรแกรมและระปฏิบัติการว่าสามารถดึงความสามารถจากสเปกที่มีมาให้อย่างเต็มที่ เพื่อการทำงานให้รวดเร็วสุงสุด ทั้งการโปรเซสและ Export
Battery / Heat / Noise
โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ HP ZBook 15u G3 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion 4-cell ความจุแบตเตอรี่ประมาณ 4000 mAh เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราว 2.30 – 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตเตอรี่ไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตเตอรี่มาใช้ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจจะถือว่าทำได้ดีทีเดียว สำหรับ Ultrabook หน้าจอ 15.6 นิ้ว
อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 32 – 45 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 82 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ HP ZBook 15u G3 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่า Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก HP ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง
Conclusion / Award
HP ZBook 15u G3 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ HP เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-6600U “Skylake” ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงแต่ประหยัดพลังงาน มีแรม DDR4 บัส 2133 ที่ใส่มาให้ถึง 32GB (16GB x 2) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี Z Turbo Drive ความจุ 256GB รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง AMD Radeon M350 ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง
พร้อมกันนี้ HP ZBook 15u G3 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ HP ZBook 15u G3 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ
เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า HP ZBook 15u G3 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย HP ZBook 15u G3 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว สนนราคาก็ตั้งแต่ประมาณห้าหมื่นบาทไปจนถึงเจ็ดหมื่นบาท ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ
จุดเด่น
- ตัวเครื่องหนาเพียง 24 มิลลิเมตร 1.92 กิโลกรัม
- ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD
- พาเนลจอ DreamColor Display สวยงามเป็นธรรมชาติ
- ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่อยู่ในระดับสูง
- แข็งแรง ทนทน ด้วยวัสดุและการออกแบบที่ใส่ใจ
- ระบบระบายความร้อนทำได้ดี
- มาพร้อม Finger Print Reader
- พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader และ DisplayPort
- ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
- รองรับการใช้งานทั้ง Windows 7 และ Windows 10
ข้อสังเกต
- ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง HP ZBook 15u G3 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คตระกูล ZBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 24 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.92 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2 กิโลกรัมนิดๆ เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ
Best Technology
ความละเอียดจอก็มาในระดับที่สูงยังมาเป็นแบบ Ultra HD 4K ที่เป็นพาเนลจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง DreamColor Display กับความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังเรียบเนียนตาแบบที่โน๊ตบุ๊ครุ่นทั่วไปไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในการแสดงผลจริงๆ ทำให้รองรับงานกราฟิก วีดีโอ หรือโปรเซสภาพได้อย่างดีเยี่ยม รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C)
Best Performance
ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7 ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่างAMD Radeon M350 ขนาด 2GB DDR5 รวมไปถึง SSD คาวมเร็วสูงด้วย PCIe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย