หลังจากที่ Lenovo ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงสำหรับเล่นเกมอย่าง Lenovo Y50 ที่ติดตั้งการ์ดจออย่าง GTX860M และ GTX960M ในช่วงปี 2014 – 2015 เป็นอย่างมาก ทาง Lenovo เองก็ไม่ได้นิ่งเฉยแต่ได้พัฒนาโปรดักส์โน๊ตบุ๊คในสายนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องจนถือกำเนิดล่าสุดออกมาเป็น Lenovo Y700 โน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงสำหรับเล่นเกมที่เรียกได้อย่างเต็มปากว่า “Gaming Notebook”
ซึ่ง Lenovo Y700 หลังจากที่มีข่าวลือ ข่าวหลุด จนมาถึงการเปิดตัวออกมาต่างก็มีกระแสพูดถึง และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการมาครั้งนี้ของ Lenovo Y700 ได้กำจัดจุดอ่อนของ Lenovo Y50 Series รวมถึง Y500 Series ในรุ่นพี่ออกไปเกือบหมดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหน้าจอห่วย ในเรื่องของความร้อน รวมไปถึงในเรื่องของที่เก็บข้อมูล และได้เพิ่มศักยภาพพร้อมเพิ่มเติมความสดใหม่ให้กับ Lenovo Y700 ด้วยชิป Intel Core i7-6700HQ “Skylake” และเมมโมรี่แบบ DDR4 เอาไว้ด้วย และในบทความนี้เองทางทีมงานก็จะรีวิวให้เห็นทุกองค์ประกอบเลยละครับว่าสรุปแล้ว Lenovo Y700 ที่จะดีเหมือนที่กล่าวไปหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ราคาคุย…
VDO Introduce
Specification
สำหรับ Lenovo Y700 ที่ทางเว็บไซด์ NotebookSPEC ได้มาทดสอบจะเป็นตัวท็อปสุดในซีรีย์ ติดตั้งชิปประมวลผล Intel Core i7-6700HQ (2.60 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 3.50 GHz) ประสิทธิภาพสูง พร้อมกราฟิกการ์ดเกมมิ่งอย่าง NVIDIA GeForce GTX 960M (4GB GDDR5) พร้อมเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วผ่าน M.2 SSD ความจุ 128GB บนที่เก็บข้อมูล 1 TB 5400 RPM พร้อมด้วยเมมโมรี่หรือแรมมาตรฐานใหม่อย่าง DDR4 บัส 2133MHz ขนาด 16GB บนระบบปฏิบัติการอย่าง Windows 10 ที่ต่อกรกับการเล่นเกมและการทำงานหนักๆ ได้ในทุกรูปแบบ
หน้าจอแสดงผล Lenovo Y700 แก้ไขข้อติติงขอ Y50 ในอดีตด้วยการใส่จอแสดงผลแบบด้านพาเนล IPS ความคมชัดสูงบนขนาด 15.6 นิ้ว บนความละเอียด UltraHD 4K (3840x2160px) มาให้ ไม่รู้ว่างานนี้ประชดหรือเปล่า พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD 720p และไมค์ดิจิตอล 2 x Internal Digital Array Microphone ให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นยังติดตั้งลำโพงแบบ 2.1 บน 2 x 2W JBL Speakers with Chamber พร้อม 3.0 W Subwoofer และมีซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater ให้ด้วยการันตีได้เลยว่าดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมได้ถึงใจถึงอารมณ์แน่นอน
อย่างไรก็ตามในส่วนการเชื่อมต่อมาพร้อมด้วยพอร์ต 2 x USB 3.0, 1 x USB 2.0 + Always-on, 2-in-1 Audio Combo Jack, 1 x HDMI, 1 x 4-in-1 Media Card Reader (SD, SDHC, SDXC, MMC) รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อ LAN 1000 M และการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 2 x 2 a/c + Bluetooth 4.0 อีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการเชื่อมต่อแบบ USB 3.1 Typc C มาให้
มิติของตัวเครื่องจะมีดีไซน์ออกไปทางเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คบางเบา บนมิติตัวเครื่อง 387 x 277 x 25.95 มิลลิเมตร บนน้ำหนักตัวที่จัดว่าหนักพอตัวเหมือนกันอยู่ที่ราว 2.6 กิโลกรัมด้วยกัน ส่วนราคาจะอยู่ที่ 56,900 บาทพร้อมการรับประกันสินค้าเป็นเวลา 2 ปีจากทาง Lenovo Thailand พร้อมยังมีรุ่นย่อยให้เลือกซื้ออีก 3 รุ่นดังนี้
Using Experience
กับในเรื่องของประสบการณ์ใช้งาน แรกเห็นบอกได้เลยละครับว่า Lenovo Y700 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ดูดีมีชาติตะกูลมาก ยิ่งได้สัมผัสตัวเป็นๆ จะยิ่งสัมผัสเห็นความเนี๊ยบและแน่นหนาในงานประกอบที่มีมากขึ้นกว่า Lenovo Y50 อยู่มากมายทีเดียว ถึงแม้ในภาพรวม Lenovo Y700 ยังคงได้รับแรงบรรดาลใจมากจาก Y50 อยู่ก็ตามที โดยวัสดุเนื้องานหลักๆ ภายนอกของเครื่องทั้งด้านฝาบนครื่องและด้านฝาล่างของตัวเครื่องยังคงใช้อลูมิเนียมขัดเงามีเท็กเจอร์แนวเฉียงที่แน่นอนว่าก็ยังเป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายอยู่เช่นเคย แต่ในส่วนตรงสิ่งที่แตกต่างออกไปคือโลโก้ของ Lenovo เองที่เป็นโลโก้รูปแบบใหม่ และในส่วนของขอบตัวเครื่องที่ลูบแล้วฟินๆ มากเพราะบางและงานเนียนสุดๆ เลยละครับ
และเมื่อเปิดฝาเครื่องเพื่อใช้งานสิ่งแรกที่จะพบเลยก็คือในส่วนของบานพับและลำโพงที่ออกแบบใหม่ดูดุๆ แปลกตาดี รวมไปถึงจะเจอหน้าจอแสดงผลที่ตะลึงตึงตึงเลยละครับ ไม่รู้ว่าพี่แกประชดหรือเปล่าเพราะอย่างที่บอกไปในตัว Lenovo Y700 ใส่จอ IPS ความคมชัดสูงขนาด 15.6 นิ้ว บนความละเอียด UltraHD 4K (3840x2160px) มาให้เลยทีเดียว ส่งผลให้การใช้งานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นงานในด้านของความบันเทิงเช่นดูหนัง Blu-ray , ดูคลิป Youtube แบบ 4K ได้แบบน่าประทับใจมากๆ ไม่ว่าจะนอนเล่น ยืนเล่น นั่งเล่นมุมไหนก็ให้ภาพที่ไม่มีเพี้ยนเลยโดนใจมากๆครับ หรือถ้าจะใช้งานจอ 4K ที่ติดตั้งมาก็ให้พื้นที่ในการแสดงผลได้เยอะมาก ยิ่งถ้าเป็นงานพวกงานภาพ งานวิดีโอที่ต้องใช้จอคมๆ จอละเอียดๆ ละเอียด Lenovo Y700 ตัวนี้ใช่เลย
ในแง่ของเสียงเองลำโพงขับเสียงออกมาได้ประทับใจผู้เขียนเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในเรื่องของระดับความดังจะดังสู้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหลายๆ ตัวไม่ได้แต่ในเรื่องของรายละเอียด และมิติของเสียงนั้น Y700 ทำได้ยอดเยี่ยมมากที่ต้องขอบคุณและยกผลประโยชน์ให้ลำโพงแบบ 2.1 บน 2 x 2W JBL Speakers with Chamber พร้อม 3.0 W Subwoofer และมีซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater นั่นเอง บอกได้เลยว่าฟังเพลง ดูหนัง หรือเล่นเกมได้ประสบการณ์ที่ดีจนน่าเหลือเชื่อเลยละครับ
เบื่อกับการดูหนัง ฟังเพลงกันแล้วอยากปรับโหมดมาเป็น Gamer Enthusiast ก็ทำได้แบบชิวๆ เพราะพี่แกติดอาวุธทรงประสิทธิภาพมาให้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชิป Intei Core i7-6700HQ , แรม DDR4 16GB และการ์ดจอ GTX960M GDD5 4GB ที่สามารถเล่นเกมออนไลน์แบบ 4K Ultra HD ได้สบายๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเกมอย่าง CS:GO หรือ Dota 2 ก็เล่นได้ลื่นๆ ส่วนเกมใหม่ๆ อย่าง Fallout 4 หรือ GTA 5 เครื่องนี้สามารถเล่นได้ลื่นเหมือนกันแต่แนะนำให้ปรับลดความละเอียดภาพมาที่ FullHD จะเล่นได้สมบูรณ์แบบที่สุดครับ
ส่วนประสบการณ์ในการเล่นเกมต่างๆ บอกได้เลยว่าหายห่วงเพราะการโหลดฉากในเกมรวดเร็วมาก เพราะพี่แกติด SSD M.2 มาให้ด้วยเรียกได้ว่าข้ามฉากไปข้ามฉากมาได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องรอนานเลย เช่นกันกับการใช้งานคีย์บอร์ดที่ติดตั้งมาใน Y700 ก็ทำได้ดีมากตามแบบฉบับของ คีย์บอร์ด AccuType ที่โดดเด่นกว่าคีย์บอร์ดทั่วไปอยู่เยอะทีเดียว เพราะมีแป้นพิมพ์ที่สูงกว่าชาวบ้านชาวเมืองเขา ทำให้เล่นเกม และพิมพ์งานได้สัมผัสที่ดีมาก แต่เห็นแป้นสูงแบบนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าหน้าจอจะเป็นรอยเพราะแป้นไปโดนนะ เพราะคีย์บอร์ด Lenovo Y700 ตัวนี้ออกแบบฐานรองแป้นพิมพ์ให้แน่นๆไม่มีอาการยวบยาบและเป็นแอ่งรับกับตัวเครื่องอยู่แล้ว เข้าใจออกแบบดีจริงๆ เลย แถมยังเล่นกลางคืนได้อย่างชิวๆ เพราะโน๊ตบุ๊คตัวนี้มาพร้อมไฟคีย์บอร์ด 2 ระดับ แถมเน้นแดงตรงปุ่ม WASD ซะด้วยลุคเกมเมอร์ดีจริงๆ
ส่วนถ้าอยากปรับเปลี่ยนโหมดมาทำงานกับตัวเลขและงานออฟฟิศแบบ Expert ทาง Lenovo Y700 ยังมี Numpad และ Touch Pad ที่รองรับการใช้งาน Guester Contol ควบคู่กับ Windows 10 ให้การใช้งานเอกสาร เข้าใช้เว็บไซด์ หรือตอบอีเมล์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเลยละ แต่อย่างไรก็ตามในบริเวณคีย์บอร์ดนี้เองมีจุดสังเกตเล็กน้อยตรงในส่วนของที่พักมือรอบๆ แป้นพิมพ์และรอบๆ ทัชแพดใช้วัสดุเป็นแบบ Softtouch ผิวดำด้านที่ดูสวยงาม และให้สัมผัสในการใช้งานที่ละมุนข้อมือดีนะ แต่เป็นรอยนิ้วมือได้อยู่ แต่ก็ไม่มากเท่า Lenovo Y50 ตัวก่อนนะ เพราะใช้วัสดุซอฟทัชคนละตัวเป็นรอยนิ้วมือได้ยากกว่าเดิม(แต่ก็ยังเป็นอยู่ดี) แต่กระนั้นแล้วก็ทำความสะอาดได้ไม่ยากเย็น และไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งานเลยยกเว้นความสวยที่ลดลงไปนิดนึง
ในเรื่องของความร้อนเองจัดได้ว่า Lenovo Y700 ตัวนี้มาถูกทางแล้ว เพราะติดตั้งระบบระบายความร้อนแบบ 2 ชุด 2 ไปป์ 2 พัดลมแยกส่วนต่างหากระหว่างการ์ดจอ และซีพียู ซึ่งสามารถจัดการกับความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งานพื้นๆ อย่างงานเอกสาร ไปจนถึงจัดการกับความร้อนในการใช้งานหนักๆ อย่างแปลงไฟล์ หรือการเล่นเกมที่กินสเปคสูงๆ ได้ดีพอตัว แถมยังออกแบบช่องดูดลมเย็นให้มีที่กรองฝุ่น และช่องไล่ลมร้อนให้อยู่ข้างหลังเครื่องถือว่ามาได้ถูกทางจริงๆ เช่นกันกับความร้อนหน้าสัมผัสบนคีย์บอร์ดที่ให้ความรู้สึกแค่เพียงอุ่นๆ ขณะใช่งานทั้งทั่วไปและเล่นเกม
การเชื่อมต่อต่างๆ เองบน Lenovo Y700 ยังถือว่าทำได้ตามาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากมายนัก เพราะมีพอร์ตที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้อย่างครบถ้วนทั้ง HDMI , USB 3 , RJ-45 รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายมาตรฐานใหม่อย่าง WirelessAC และ Bluetooth 4.0 แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ขาดในส่วนของการเชื่อมต่อมาตรฐานใหม่อย่าง USB 3.1 Type C ที่นอกจะส่งผ่านข้อมูลได้แล้วยังขยายจอภาพได้ด้วย แต่ในภาพรวมขาดพอร์ตนี้ไปก็ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งานโดดตรงครับ ยังอยู่เกณฑ์ที่รับได้
การอัพเกรดก็ก็นับว่าทำได้พอสมควรครับ โดยการถอดตัวเครื่องนั้นก็สามารถทำได้แต่ค่อนข้างยากและระมัดระวังพอสมควรทีเดียวละครับ โดยเพื่อนๆ สามารถรับชมได้ที่นี่ และในส่วนของการพกพาเองบน Lenovo Y700 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานบนน้ำหนักตัวที่เบาพอที่จะพกพาไปไหนมาไหนได้อยู่แต่อาจจะต้องหากระเป๋าเป้ดีๆ มาใช้สักใบนะครับไม่งั้นอาจปวดบ่า ปวดหลังได้เพราะเป็นโน๊ตบุ๊ค 15 นิ้วที่หนักพอตัวเลยละ
Performance / Software
ผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบจาก Lenovo Y700 จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ระบุเอาได้อย่างครบถ้วน
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนตามประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ
ผลทดสอบตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ HDD ความจุ 1TB ก็อยู่ในระดับที่ที่น่าพอใจ
ผลทดสอบตัวเก็บข้อมูลของระบบอย่าง SSD M.2 ถือว่ามีความเร็วค่อนไปทางต่ำ ตัวที่วางขายจริงน่าจะมีความเร็วสูงกว่านี้
การตั้งค่า : CS:GO – All High // DotA 2 – Best looking // PES2016 – All High
// GTA 5– All High // Mortal Kombat X – All High// Killing Floor 2 – All High
// Tomb Raider – All High // MGSVPP – All High
ผลคะแนนและเฟรมเรมที่ทำออกมาน่าสนใจมากๆ เลยละครับ แต่ละเกมมีเฟรมเรทที่ทำได้ลื่นไหลพพอตัวเลย ซึ่งโดยเฉลี่ยของ FPS จากทั้ง 8 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 40FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่ค่อนข้างจะลื่นไหลได้เป็นอย่างดีเลยละ ที่ต้องขอบคุณหน่วยประมวลผล Intel Core i7-6700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 950M ออกมาได้อย่างเต็มที่ละครับ
โปรแกรม Benchmark หรือทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบ 3D Mark สำหรับเพื่อนๆที่อยากเห็นคะแนน จัดว่าแรงทีเดียว
ลองใช้งานผ่านแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เคลมว่าสามารถใช้งานได้ 7 ชั่วโมงที่ติดตั้งมาบนตัวเครื่อง ก็แสดงผลขณะเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป และใช้ค่า Balance มีระยะเวลาใช้งานได้อยู่ที่ราวๆ 4 ชั่วโมง แต่ถ้านำมาใช้เล่นเน็ตจริงๆ ตัวอายุการใช้งานบนแบตเตอรี่ก็จะแปรผันตามความหนักหน่วยของการใช้งานและน่าจะอยู่ที่ 5 ชั่วโมง ส่วนถ้าดูหนัง HD ก็จะได้ราวๆ 3 ชั่วโมงประมาณ 2 เรื่อง ส่วนถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1.30-2 ชั่วโมง
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเล่นเกมและการใช้งาน Benchmark ในแต่ละเกมต่อเนื่องกันบนเครื่อง HP Pavilion Gaming 15 และจับค่าความร้อนผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อถือได้อย่าง HWmonitor และ GPU-Z ในห้องแอร์ที่ปรับความเย็นไว้ราวๆ 25 องศาที่จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของตัวซีพียูอยู่ที่ราวๆ 37 องศา แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนของซีพียูจะไปสูงสุดอยู่ที่ระดับไม่เกิน 80 องศาครับ แต่ถ้าเกิดนำไปใช้เรนเดอร์แบบ Full-Load 100% ความร้อนจะพุ่งไปถึง ที่ระดับ 89 องศา ซึ่งถือว่าร้อนพอสมควรเลยละครับ แต่กระนั้นแล้วทาง HP เองก็มีเทคโนโลยีอย่าง HP Cool Sense เพิ่มเข้ามาครับ ซึ่งก็สามารถใช้ควบคุมความร้อนให้ไม่สูงเกินจนเกิดอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตามผมขอแนะนำให้เพื่อนหา Cooling Pad ใช้เวลาใช้งานหนักๆ ด้วยจะดีที่สุดครับถือเป็นการถนอมโน๊ตบุ๊ค ยังเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ด้วย
ในส่วนของความร้อนการ์ดจอนั้นขณะใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ราวๆ 45-50 องศาครับผม แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนจะพุ่งอยู่ที่ไม่เกิน 79 องศาซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานและใช้งานเล่นเกมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดีครับผม นอกเหนือจากนี้ความร้อนในส่วนของหน้าสัมผัสก็ถือว่าอุ่นๆ เท่านั้นเอง ที่ต้องขอบคุณชุดระบายความร้อนแบบสองฮีตไปป์ที่คุมความร้อนได้ตามมาตรฐาน
Conclusion / Award
ผ่านพ้นการทดสอบและประสบการณ์การใช้งานในส่วนต่างๆ ในเวลาที่ค่อนข้างจะจำกัดกับ Lenovo Y700 ไปแล้ว ซึ่งบอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า Lenovo Y700 เป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มของ “Gaming Notebook” จริงๆ แต่ยังคงเป็นได้แค่ “Gaming Notebook” ระดับกลางๆ เท่านั้น แค่จุดที่เจ้านี่สมควรจะอยู่ก็คือ “Multimedia Notebook” แบบไฮคลาส เพราะ Lenovo Y700 มีทุกอย่างที่ “Multimedie Notebook” ควรจะมีไม่ว่าจะเป็นหน้าจอแสดงผลที่ละเอียดคมชัด สเปคที่แรง ที่เก็บข้อมูลที่เร็ว พอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน และที่สำคัญคือระบบเสียงที่ดีที่ขอย้ำอีกทีว่าเป็นจุดเด่นมากๆ กับโน๊ตบุ๊คตัวนี้
ซึ่งถ้ามองกลับไปในมุมของ “Gaming Notebook” ที่บอกว่าเป็นได้แค่ “Gaming Notebook” ระดับกลางๆ ก็เพราะว่าสเปคของ Y700 ตัวนี้มาตันที่การ์ดจอนั่นเองละครับ ถึงแม้สเปคด้านอื่นจะทันสมัยแค่ไหนแต่ด้วย GTX960M ก็จะสามารถขับเคลื่อนเกมใหม่ๆ ให้ได้เหมาะสมตัวที่สุดก็จะอยู่ในระดับ Full-HD การที่เลือกติดตั้งจอแสดงผล 4K UltraHD มาให้นั้นถามว่าเล่นเกมได้มั้ยก็สามารถเล่นที่ความละเอียดนี้ได้ก็จริง แต่ประสบการณ์ที่ได้ไม่สมบูรณ์แบบมากนักเพราะเบอร์การ์ดจอยังอยู่ในระดับกลางๆ เท่านั้น
กระนั้นแล้วถ้ามอง Lenovo Y700 ให้เป็น “Multimedia Notebook” แบบไฮคลาส ที่ครบเครื่องแล้วละก็มันใช่เลยละครับ เพราะมันเองตอบโจทย์ได้ในทุกแง่มุม ทั้งดูหนัง ฟังเพลง หรือจะเล่นเกมทั่วๆไป ก็ทำได้ดี ยิ่งกับดีไซน์ใหม่ที่ทาง Lenovo พัฒนาต่อยอดมาใหม่นั้นถือว่าเข้าตาทางทีมงานเป็นอย่างมาก เพราะทำได้อย่างลงตัวทั้งในแง่ของความสวย ความบาง และความเนี๊ยบของงานประกอบที่แน่นอนแข็งแรงมาก ติดอยู่อย่างเดียวที่แลจะหนักไปหน่อยแต่ก็ไม่เป็นปัญหา บอกสั้นๆได้เลยว่า “คุ้มราคา” ครับ สำหรับคนที่อยากได้โน๊ตบุ๊คครบเครื่องสักหนึ่งตัว เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถสอบถามจากตัวแทนจำหน่าย Lenovo ชั้นนำทั่วไปประเทศไทยกันได้เลยนะครับ ส่วนรีวิวตัวรอง ถ้าได้เครื่องมาเมื่อไรจะรีบรีวิวให้เพื่อนๆ ได้ชมกันต่อไปครับ
และอย่างไรก็ตามเพื่อนๆ ที่เป็นสาวก Lenovo Y50 และอยากจะอัพเกรดเปลี่ยนมาใช้ Lenovo Y700 ผมขอเรียนตามตรงเลยว่าประสิทธิภาพแทบไม่แตกต่างกันเลย จะมีแตกต่างกันในเรื่องการออกแบบ ชุดระบายความร้อน และหน้าจอแสดงผลที่ดีขึ้น ซึ่งเพื่อนๆ ที่มีเงินเหลือๆ หรือมองหาโน๊ตบุ๊คครบเครื่องสักตัวอยู่ ผมมองว่าคุ้มที่จะเปลี่ยนครับ แต่ถ้าเพื่อนๆ ที่มีงบไม่มากผมแนะนำให้ใช้ Lenovo Y50 ตัวเดิมต่อไปจะดีกว่าและหาจอ IPS ดีสักตัวมาพ่วงจะช่วยเซฟเงินได้มากที่สุดครับ
ข้อดี
- ดีไซน์สวยงาม วัสดุดี งานประกอบยอดเยี่ยม แข็งแรงทนทาน
- หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้ว แบบ 4K UltraHD ให้พื้นที่ใช้งานกว้างกว่า
- จอแสดงผลใช้พาเนล IPS หายห่วงได้เลย เพราะคมชัดสมจริง
- ลำโพง JBL แบบ 2.1 และซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater เสียงดีมาก
- คีย์บอร์ดแบบ AccTypre ใช้งานเล่นเกมดี พิมพ์งานสะดวก แถมมีไฟคีย์บอร์ดสองระดับใช้งานกลางคืนได้
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 และ HDMI
- สเปคเครื่องค่อนข้างสูง และสดใหม่ทั้ง DDR 4 , Core i7 “Skylake” และ M.2 SSD
ข้อสังเกต
- เป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย
- ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type C
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook Gaming ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo Y700 ที่เราได้ Review ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ลำโพง JBL และซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater เสียงดี หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้วความละเอียด 4K และสเปคของระบบภายในตัวเครื่อง Lenovo Y700 ที่ครบครันทั้งหน่วยประมวลผลกลาง Core i7-6700HQ , แรม DDR4 และการ์ดจอ GeForece GTX960M ตอบสนองความบันเทิงได้อย่างเป็นเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมก็รองรับได้เป็นอย่างดี
VDO Introduce
Specification
สำหรับ Lenovo Y700 ที่ทางเว็บไซด์ NotebookSPEC ได้มาทดสอบจะเป็นตัวท็อปสุดในซีรีย์ ติดตั้งชิปประมวลผล Intel Core i7-6700HQ (2.60 GHz, 6 MB L3 Cache, up to 3.50 GHz) ประสิทธิภาพสูง พร้อมกราฟิกการ์ดเกมมิ่งอย่าง NVIDIA GeForce GTX 960M (4GB GDDR5) พร้อมเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วผ่าน M.2 SSD ความจุ 128GB บนที่เก็บข้อมูล 1 TB 5400 RPM พร้อมด้วยเมมโมรี่หรือแรมมาตรฐานใหม่อย่าง DDR4 บัส 2133MHz ขนาด 16GB บนระบบปฏิบัติการอย่าง Windows 10 ที่ต่อกรกับการเล่นเกมและการทำงานหนักๆ ได้ในทุกรูปแบบ
หน้าจอแสดงผล Lenovo Y700 แก้ไขข้อติติงขอ Y50 ในอดีตด้วยการใส่จอแสดงผลแบบด้านพาเนล IPS ความคมชัดสูงบนขนาด 15.6 นิ้ว บนความละเอียด UltraHD 4K (3840x2160px) มาให้ ไม่รู้ว่างานนี้ประชดหรือเปล่า พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD 720p และไมค์ดิจิตอล 2 x Internal Digital Array Microphone ให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นยังติดตั้งลำโพงแบบ 2.1 บน 2 x 2W JBL Speakers with Chamber พร้อม 3.0 W Subwoofer และมีซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater ให้ด้วยการันตีได้เลยว่าดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมได้ถึงใจถึงอารมณ์แน่นอน
อย่างไรก็ตามในส่วนการเชื่อมต่อมาพร้อมด้วยพอร์ต 2 x USB 3.0, 1 x USB 2.0 + Always-on, 2-in-1 Audio Combo Jack, 1 x HDMI, 1 x 4-in-1 Media Card Reader (SD, SDHC, SDXC, MMC) รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อ LAN 1000 M และการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 2 x 2 a/c + Bluetooth 4.0 อีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการเชื่อมต่อแบบ USB 3.1 Typc C มาให้
มิติของตัวเครื่องจะมีดีไซน์ออกไปทางเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คบางเบา บนมิติตัวเครื่อง 387 x 277 x 25.95 มิลลิเมตร บนน้ำหนักตัวที่จัดว่าหนักพอตัวเหมือนกันอยู่ที่ราว 2.6 กิโลกรัมด้วยกัน ส่วนราคาจะอยู่ที่ 56,900 บาทพร้อมการรับประกันสินค้าเป็นเวลา 2 ปีจากทาง Lenovo Thailand พร้อมยังมีรุ่นย่อยให้เลือกซื้ออีก 3 รุ่นดังนี้
Using Experience
กับในเรื่องของประสบการณ์ใช้งาน แรกเห็นบอกได้เลยละครับว่า Lenovo Y700 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ดูดีมีชาติตะกูลมาก ยิ่งได้สัมผัสตัวเป็นๆ จะยิ่งสัมผัสเห็นความเนี๊ยบและแน่นหนาในงานประกอบที่มีมากขึ้นกว่า Lenovo Y50 อยู่มากมายทีเดียว ถึงแม้ในภาพรวม Lenovo Y700 ยังคงได้รับแรงบรรดาลใจมากจาก Y50 อยู่ก็ตามที โดยวัสดุเนื้องานหลักๆ ภายนอกของเครื่องทั้งด้านฝาบนครื่องและด้านฝาล่างของตัวเครื่องยังคงใช้อลูมิเนียมขัดเงามีเท็กเจอร์แนวเฉียงที่แน่นอนว่าก็ยังเป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายอยู่เช่นเคย แต่ในส่วนตรงสิ่งที่แตกต่างออกไปคือโลโก้ของ Lenovo เองที่เป็นโลโก้รูปแบบใหม่ และในส่วนของขอบตัวเครื่องที่ลูบแล้วฟินๆ มากเพราะบางและงานเนียนสุดๆ เลยละครับ
และเมื่อเปิดฝาเครื่องเพื่อใช้งานสิ่งแรกที่จะพบเลยก็คือในส่วนของบานพับและลำโพงที่ออกแบบใหม่ดูดุๆ แปลกตาดี รวมไปถึงจะเจอหน้าจอแสดงผลที่ตะลึงตึงตึงเลยละครับ ไม่รู้ว่าพี่แกประชดหรือเปล่าเพราะอย่างที่บอกไปในตัว Lenovo Y700 ใส่จอ IPS ความคมชัดสูงขนาด 15.6 นิ้ว บนความละเอียด UltraHD 4K (3840x2160px) มาให้เลยทีเดียว ส่งผลให้การใช้งานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นงานในด้านของความบันเทิงเช่นดูหนัง Blu-ray , ดูคลิป Youtube แบบ 4K ได้แบบน่าประทับใจมากๆ ไม่ว่าจะนอนเล่น ยืนเล่น นั่งเล่นมุมไหนก็ให้ภาพที่ไม่มีเพี้ยนเลยโดนใจมากๆครับ หรือถ้าจะใช้งานจอ 4K ที่ติดตั้งมาก็ให้พื้นที่ในการแสดงผลได้เยอะมาก ยิ่งถ้าเป็นงานพวกงานภาพ งานวิดีโอที่ต้องใช้จอคมๆ จอละเอียดๆ ละเอียด Lenovo Y700 ตัวนี้ใช่เลย
ในแง่ของเสียงเองลำโพงขับเสียงออกมาได้ประทับใจผู้เขียนเป็นอย่างมาก ถึงแม้ในเรื่องของระดับความดังจะดังสู้เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหลายๆ ตัวไม่ได้แต่ในเรื่องของรายละเอียด และมิติของเสียงนั้น Y700 ทำได้ยอดเยี่ยมมากที่ต้องขอบคุณและยกผลประโยชน์ให้ลำโพงแบบ 2.1 บน 2 x 2W JBL Speakers with Chamber พร้อม 3.0 W Subwoofer และมีซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater นั่นเอง บอกได้เลยว่าฟังเพลง ดูหนัง หรือเล่นเกมได้ประสบการณ์ที่ดีจนน่าเหลือเชื่อเลยละครับ
เบื่อกับการดูหนัง ฟังเพลงกันแล้วอยากปรับโหมดมาเป็น Gamer Enthusiast ก็ทำได้แบบชิวๆ เพราะพี่แกติดอาวุธทรงประสิทธิภาพมาให้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชิป Intei Core i7-6700HQ , แรม DDR4 16GB และการ์ดจอ GTX960M GDD5 4GB ที่สามารถเล่นเกมออนไลน์แบบ 4K Ultra HD ได้สบายๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเกมอย่าง CS:GO หรือ Dota 2 ก็เล่นได้ลื่นๆ ส่วนเกมใหม่ๆ อย่าง Fallout 4 หรือ GTA 5 เครื่องนี้สามารถเล่นได้ลื่นเหมือนกันแต่แนะนำให้ปรับลดความละเอียดภาพมาที่ FullHD จะเล่นได้สมบูรณ์แบบที่สุดครับ
ส่วนประสบการณ์ในการเล่นเกมต่างๆ บอกได้เลยว่าหายห่วงเพราะการโหลดฉากในเกมรวดเร็วมาก เพราะพี่แกติด SSD M.2 มาให้ด้วยเรียกได้ว่าข้ามฉากไปข้ามฉากมาได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องรอนานเลย เช่นกันกับการใช้งานคีย์บอร์ดที่ติดตั้งมาใน Y700 ก็ทำได้ดีมากตามแบบฉบับของ คีย์บอร์ด AccuType ที่โดดเด่นกว่าคีย์บอร์ดทั่วไปอยู่เยอะทีเดียว เพราะมีแป้นพิมพ์ที่สูงกว่าชาวบ้านชาวเมืองเขา ทำให้เล่นเกม และพิมพ์งานได้สัมผัสที่ดีมาก แต่เห็นแป้นสูงแบบนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าหน้าจอจะเป็นรอยเพราะแป้นไปโดนนะ เพราะคีย์บอร์ด Lenovo Y700 ตัวนี้ออกแบบฐานรองแป้นพิมพ์ให้แน่นๆไม่มีอาการยวบยาบและเป็นแอ่งรับกับตัวเครื่องอยู่แล้ว เข้าใจออกแบบดีจริงๆ เลย แถมยังเล่นกลางคืนได้อย่างชิวๆ เพราะโน๊ตบุ๊คตัวนี้มาพร้อมไฟคีย์บอร์ด 2 ระดับ แถมเน้นแดงตรงปุ่ม WASD ซะด้วยลุคเกมเมอร์ดีจริงๆ
ส่วนถ้าอยากปรับเปลี่ยนโหมดมาทำงานกับตัวเลขและงานออฟฟิศแบบ Expert ทาง Lenovo Y700 ยังมี Numpad และ Touch Pad ที่รองรับการใช้งาน Guester Contol ควบคู่กับ Windows 10 ให้การใช้งานเอกสาร เข้าใช้เว็บไซด์ หรือตอบอีเมล์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเลยละ แต่อย่างไรก็ตามในบริเวณคีย์บอร์ดนี้เองมีจุดสังเกตเล็กน้อยตรงในส่วนของที่พักมือรอบๆ แป้นพิมพ์และรอบๆ ทัชแพดใช้วัสดุเป็นแบบ Softtouch ผิวดำด้านที่ดูสวยงาม และให้สัมผัสในการใช้งานที่ละมุนข้อมือดีนะ แต่เป็นรอยนิ้วมือได้อยู่ แต่ก็ไม่มากเท่า Lenovo Y50 ตัวก่อนนะ เพราะใช้วัสดุซอฟทัชคนละตัวเป็นรอยนิ้วมือได้ยากกว่าเดิม(แต่ก็ยังเป็นอยู่ดี) แต่กระนั้นแล้วก็ทำความสะอาดได้ไม่ยากเย็น และไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งานเลยยกเว้นความสวยที่ลดลงไปนิดนึง
ในเรื่องของความร้อนเองจัดได้ว่า Lenovo Y700 ตัวนี้มาถูกทางแล้ว เพราะติดตั้งระบบระบายความร้อนแบบ 2 ชุด 2 ไปป์ 2 พัดลมแยกส่วนต่างหากระหว่างการ์ดจอ และซีพียู ซึ่งสามารถจัดการกับความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งานพื้นๆ อย่างงานเอกสาร ไปจนถึงจัดการกับความร้อนในการใช้งานหนักๆ อย่างแปลงไฟล์ หรือการเล่นเกมที่กินสเปคสูงๆ ได้ดีพอตัว แถมยังออกแบบช่องดูดลมเย็นให้มีที่กรองฝุ่น และช่องไล่ลมร้อนให้อยู่ข้างหลังเครื่องถือว่ามาได้ถูกทางจริงๆ เช่นกันกับความร้อนหน้าสัมผัสบนคีย์บอร์ดที่ให้ความรู้สึกแค่เพียงอุ่นๆ ขณะใช่งานทั้งทั่วไปและเล่นเกม
การเชื่อมต่อต่างๆ เองบน Lenovo Y700 ยังถือว่าทำได้ตามาตรฐานที่ควรจะเป็น แต่ก็ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากมายนัก เพราะมีพอร์ตที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้อย่างครบถ้วนทั้ง HDMI , USB 3 , RJ-45 รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายมาตรฐานใหม่อย่าง WirelessAC และ Bluetooth 4.0 แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ขาดในส่วนของการเชื่อมต่อมาตรฐานใหม่อย่าง USB 3.1 Type C ที่นอกจะส่งผ่านข้อมูลได้แล้วยังขยายจอภาพได้ด้วย แต่ในภาพรวมขาดพอร์ตนี้ไปก็ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งานโดดตรงครับ ยังอยู่เกณฑ์ที่รับได้
การอัพเกรดก็ก็นับว่าทำได้พอสมควรครับ โดยการถอดตัวเครื่องนั้นก็สามารถทำได้แต่ค่อนข้างยากและระมัดระวังพอสมควรทีเดียวละครับ โดยเพื่อนๆ สามารถรับชมได้ที่นี่ และในส่วนของการพกพาเองบน Lenovo Y700 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานบนน้ำหนักตัวที่เบาพอที่จะพกพาไปไหนมาไหนได้อยู่แต่อาจจะต้องหากระเป๋าเป้ดีๆ มาใช้สักใบนะครับไม่งั้นอาจปวดบ่า ปวดหลังได้เพราะเป็นโน๊ตบุ๊ค 15 นิ้วที่หนักพอตัวเลยละ
Performance / Software
ผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบจาก Lenovo Y700 จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ระบุเอาได้อย่างครบถ้วน
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนตามประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ
ผลทดสอบตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ HDD ความจุ 1TB ก็อยู่ในระดับที่ที่น่าพอใจ
ผลทดสอบตัวเก็บข้อมูลของระบบอย่าง SSD M.2 ถือว่ามีความเร็วค่อนไปทางต่ำ ตัวที่วางขายจริงน่าจะมีความเร็วสูงกว่านี้
การตั้งค่า : CS:GO – All High // DotA 2 – Best looking // PES2016 – All High
// GTA 5– All High // Mortal Kombat X – All High// Killing Floor 2 – All High
// Tomb Raider – All High // MGSVPP – All High
ผลคะแนนและเฟรมเรมที่ทำออกมาน่าสนใจมากๆ เลยละครับ แต่ละเกมมีเฟรมเรทที่ทำได้ลื่นไหลพพอตัวเลย ซึ่งโดยเฉลี่ยของ FPS จากทั้ง 8 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 40FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่ค่อนข้างจะลื่นไหลได้เป็นอย่างดีเลยละ ที่ต้องขอบคุณหน่วยประมวลผล Intel Core i7-6700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 950M ออกมาได้อย่างเต็มที่ละครับ
โปรแกรม Benchmark หรือทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบ 3D Mark สำหรับเพื่อนๆที่อยากเห็นคะแนน จัดว่าแรงทีเดียว
ลองใช้งานผ่านแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เคลมว่าสามารถใช้งานได้ 7 ชั่วโมงที่ติดตั้งมาบนตัวเครื่อง ก็แสดงผลขณะเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป และใช้ค่า Balance มีระยะเวลาใช้งานได้อยู่ที่ราวๆ 4 ชั่วโมง แต่ถ้านำมาใช้เล่นเน็ตจริงๆ ตัวอายุการใช้งานบนแบตเตอรี่ก็จะแปรผันตามความหนักหน่วยของการใช้งานและน่าจะอยู่ที่ 5 ชั่วโมง ส่วนถ้าดูหนัง HD ก็จะได้ราวๆ 3 ชั่วโมงประมาณ 2 เรื่อง ส่วนถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1.30-2 ชั่วโมง
สำหรับในการทดสอบเรื่องของความร้อนนั้นทางทีมงานทดสอบกับการเล่นเกมและการใช้งาน Benchmark ในแต่ละเกมต่อเนื่องกันบนเครื่อง HP Pavilion Gaming 15 และจับค่าความร้อนผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อถือได้อย่าง HWmonitor และ GPU-Z ในห้องแอร์ที่ปรับความเย็นไว้ราวๆ 25 องศาที่จะเห็นได้ว่าความร้อนโดยรวมขณะใช้งานทั่วไปของตัวซีพียูอยู่ที่ราวๆ 37 องศา แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนของซีพียูจะไปสูงสุดอยู่ที่ระดับไม่เกิน 80 องศาครับ แต่ถ้าเกิดนำไปใช้เรนเดอร์แบบ Full-Load 100% ความร้อนจะพุ่งไปถึง ที่ระดับ 89 องศา ซึ่งถือว่าร้อนพอสมควรเลยละครับ แต่กระนั้นแล้วทาง HP เองก็มีเทคโนโลยีอย่าง HP Cool Sense เพิ่มเข้ามาครับ ซึ่งก็สามารถใช้ควบคุมความร้อนให้ไม่สูงเกินจนเกิดอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตามผมขอแนะนำให้เพื่อนหา Cooling Pad ใช้เวลาใช้งานหนักๆ ด้วยจะดีที่สุดครับถือเป็นการถนอมโน๊ตบุ๊ค ยังเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ด้วย
ในส่วนของความร้อนการ์ดจอนั้นขณะใช้งานปกติทั่วไปจะอยู่ที่ราวๆ 45-50 องศาครับผม แต่ถ้าเล่นเกมความร้อนจะพุ่งอยู่ที่ไม่เกิน 79 องศาซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานและใช้งานเล่นเกมต่อเนื่องได้เป็นอย่างดีครับผม นอกเหนือจากนี้ความร้อนในส่วนของหน้าสัมผัสก็ถือว่าอุ่นๆ เท่านั้นเอง ที่ต้องขอบคุณชุดระบายความร้อนแบบสองฮีตไปป์ที่คุมความร้อนได้ตามมาตรฐาน
Conclusion / Award
ผ่านพ้นการทดสอบและประสบการณ์การใช้งานในส่วนต่างๆ ในเวลาที่ค่อนข้างจะจำกัดกับ Lenovo Y700 ไปแล้ว ซึ่งบอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า Lenovo Y700 เป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มของ “Gaming Notebook” จริงๆ แต่ยังคงเป็นได้แค่ “Gaming Notebook” ระดับกลางๆ เท่านั้น แค่จุดที่เจ้านี่สมควรจะอยู่ก็คือ “Multimedia Notebook” แบบไฮคลาส เพราะ Lenovo Y700 มีทุกอย่างที่ “Multimedie Notebook” ควรจะมีไม่ว่าจะเป็นหน้าจอแสดงผลที่ละเอียดคมชัด สเปคที่แรง ที่เก็บข้อมูลที่เร็ว พอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน และที่สำคัญคือระบบเสียงที่ดีที่ขอย้ำอีกทีว่าเป็นจุดเด่นมากๆ กับโน๊ตบุ๊คตัวนี้
ซึ่งถ้ามองกลับไปในมุมของ “Gaming Notebook” ที่บอกว่าเป็นได้แค่ “Gaming Notebook” ระดับกลางๆ ก็เพราะว่าสเปคของ Y700 ตัวนี้มาตันที่การ์ดจอนั่นเองละครับ ถึงแม้สเปคด้านอื่นจะทันสมัยแค่ไหนแต่ด้วย GTX960M ก็จะสามารถขับเคลื่อนเกมใหม่ๆ ให้ได้เหมาะสมตัวที่สุดก็จะอยู่ในระดับ Full-HD การที่เลือกติดตั้งจอแสดงผล 4K UltraHD มาให้นั้นถามว่าเล่นเกมได้มั้ยก็สามารถเล่นที่ความละเอียดนี้ได้ก็จริง แต่ประสบการณ์ที่ได้ไม่สมบูรณ์แบบมากนักเพราะเบอร์การ์ดจอยังอยู่ในระดับกลางๆ เท่านั้น
กระนั้นแล้วถ้ามอง Lenovo Y700 ให้เป็น “Multimedia Notebook” แบบไฮคลาส ที่ครบเครื่องแล้วละก็มันใช่เลยละครับ เพราะมันเองตอบโจทย์ได้ในทุกแง่มุม ทั้งดูหนัง ฟังเพลง หรือจะเล่นเกมทั่วๆไป ก็ทำได้ดี ยิ่งกับดีไซน์ใหม่ที่ทาง Lenovo พัฒนาต่อยอดมาใหม่นั้นถือว่าเข้าตาทางทีมงานเป็นอย่างมาก เพราะทำได้อย่างลงตัวทั้งในแง่ของความสวย ความบาง และความเนี๊ยบของงานประกอบที่แน่นอนแข็งแรงมาก ติดอยู่อย่างเดียวที่แลจะหนักไปหน่อยแต่ก็ไม่เป็นปัญหา บอกสั้นๆได้เลยว่า “คุ้มราคา” ครับ สำหรับคนที่อยากได้โน๊ตบุ๊คครบเครื่องสักหนึ่งตัว เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถสอบถามจากตัวแทนจำหน่าย Lenovo ชั้นนำทั่วไปประเทศไทยกันได้เลยนะครับ ส่วนรีวิวตัวรอง ถ้าได้เครื่องมาเมื่อไรจะรีบรีวิวให้เพื่อนๆ ได้ชมกันต่อไปครับ
และอย่างไรก็ตามเพื่อนๆ ที่เป็นสาวก Lenovo Y50 และอยากจะอัพเกรดเปลี่ยนมาใช้ Lenovo Y700 ผมขอเรียนตามตรงเลยว่าประสิทธิภาพแทบไม่แตกต่างกันเลย จะมีแตกต่างกันในเรื่องการออกแบบ ชุดระบายความร้อน และหน้าจอแสดงผลที่ดีขึ้น ซึ่งเพื่อนๆ ที่มีเงินเหลือๆ หรือมองหาโน๊ตบุ๊คครบเครื่องสักตัวอยู่ ผมมองว่าคุ้มที่จะเปลี่ยนครับ แต่ถ้าเพื่อนๆ ที่มีงบไม่มากผมแนะนำให้ใช้ Lenovo Y50 ตัวเดิมต่อไปจะดีกว่าและหาจอ IPS ดีสักตัวมาพ่วงจะช่วยเซฟเงินได้มากที่สุดครับ
ข้อดี
- ดีไซน์สวยงาม วัสดุดี งานประกอบยอดเยี่ยม แข็งแรงทนทาน
- หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้ว แบบ 4K UltraHD ให้พื้นที่ใช้งานกว้างกว่า
- จอแสดงผลใช้พาเนล IPS หายห่วงได้เลย เพราะคมชัดสมจริง
- ลำโพง JBL แบบ 2.1 และซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater เสียงดีมาก
- คีย์บอร์ดแบบ AccTypre ใช้งานเล่นเกมดี พิมพ์งานสะดวก แถมมีไฟคีย์บอร์ดสองระดับใช้งานกลางคืนได้
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 และ HDMI
- สเปคเครื่องค่อนข้างสูง และสดใหม่ทั้ง DDR 4 , Core i7 “Skylake” และ M.2 SSD
ข้อสังเกต
- เป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย
- ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type C
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook Gaming ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo Y700 ที่เราได้ Review ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ลำโพง JBL และซอฟแวร์เสียง Dolby Home Theater เสียงดี หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้วความละเอียด 4K และสเปคของระบบภายในตัวเครื่อง Lenovo Y700 ที่ครบครันทั้งหน่วยประมวลผลกลาง Core i7-6700HQ , แรม DDR4 และการ์ดจอ GeForece GTX960M ตอบสนองความบันเทิงได้อย่างเป็นเยี่ยมไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมก็รองรับได้เป็นอย่างดี