Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Lenovo ThinkCentre Q190 Review [Mini PC ดีไซน์บางเฉียบ ราคาไม่ถึงหมื่น]

Lenovo ThinkCentre Q190 มีขนาดมิติตัวเครื่องที่เล็กจิ๋วมากๆ ซึ่งมีความบางเพียง 22 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนราคาก็ไม่สูงจนเกินไป เพราะสเปกภายในของตัวเครื่องที่ใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Celeron และ Core i3

Intel ได้แนะนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ ในชื่อว่า Next Unit of Computing (NUC) หรือจำง่ายๆ คือ Mini PC  ซึ่งเป็น PC แบบตั้งโต๊ะที่มีการย่อขนาดให้เล็กที่สุด เพื่อการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ในขนาดตัวกล่องแบบเรียบง่ายเดิมๆ หลักๆ คือเป็นการสร้างมาตรฐาน Mini PC ซึ่งก็มีในส่วนของบรรดาผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ดังก็ลงมือทำด้วย โดยในบทความนี้จะเป็นฝั่งของ Lenovo ที่ทางทีมงานนำมารีวิวให้ได้ชมกัน อย่างในรุ่น ThinkCentre Q190

Lenovo ThinkCentre Q190 มีขนาดมิติตัวเครื่องที่เล็กจิ๋วมากๆ ซึ่งมีความบางเพียง 22 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนราคาก็ไม่สูงจนเกินไป เพราะสเปกภายในของตัวเครื่องที่ใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Celeron และ Core i3 ตามแต่รุ่น โดยจัดได้ว่ามีความเร็วและประสิทธิภาพที่พอตัว รองรับสำหรับการทำงานประจำวันทั่วๆ ไปได้แน่นอน แต่ในการใช้งานเล่นเกมหรือระดับการประมวลผลหนักๆ ก็คงยังไม่ตอบโจทย์ สนนราคาก็ 8,990 และ 9,990 บาทตามลำดับ

Advertisement

Specification

สเปกของ Lenovo ThinkCentre Q190 ก็คือสเปกคล้ายโน๊ตบุ๊คนั่นเอง ซึ่งล่าสุดได้ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 3 (Broadwell) โดยรุ่นที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะเป็นชิปประมวลผล Intel Core i3-3217U ซึ่งเป็นรหัส U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.8 GHz มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 4000 โดยเป็นแบบฝังมากับบอร์ดของตัวเครื่องเลย เรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกันกับที่เราสามารถพบเจอได้ในเครื่องโน๊ตบุ๊คเมื่อหลายปีก่อน Lenovo ThinkCentre Q190 ใช้แรมมาตรฐานเดียวกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป โดยมีขนาดมาตรฐานที่ให้มาคือ 4GB ที่เราเพิ่มเติมได้ในภายหลังสูงสุดที่ 8GB (มีแถวเดียว) ทำให้เหมาะกับใครหลายๆ คนที่คิดจะเอาไปอัพเกรดในอนาคต

ในส่วนของฮาร์ดดิสก์บนจะเป็นแบบปกติขนาด 2.5 นิ้ว ที่มีความจุ 500GB โดยยังสามารถเพิ่มเติมเป็น SSD ได้ นอกจากนี้ในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังมีมาให้หลากหลาย ทั้ง USB 3.0, LAN และช่องต่อหน้าจอ VGA, HDMI เป็นต้น สำหรับภายในนั้นก็มีการติดตั้งระบบเสาสัญญาณไร้สายมาให้แล้วอย่า WiFi (ขาด Bluetooth) ซึ่งถ้าใครต้องการสเปกที่สูงกว่านี้ก็สามารถดูรุ่นอื่นๆ ได้ สนนราคาก็ตั้งแต่ 8,990 บาทสำหรับรุ่น Celeron และ 9,990 บาท ในรุ่น Core i3

สเปกเต็มๆ ของ Lenovo ThinkCentre Q190

Hardware / Design

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-25

Lenovo ThinkCentre Q190 ได้พยายามสร้างรูปแบบใหม่สไตล์ของ Intel NUC สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ใช้งานทั่วไปภายในบ้าน ด้วยเครื่องมาตรฐานพีซีที่ได้รับการออกแบบให้เล็กที่สุด ให้มีการใช้งานทุกอย่างอย่างจำเป็นที่สุด อะไรที่เกินกว่าความจำเป็น ก็ทำการตัดออกไป จนได้กล่องเล็กๆ สำหรับการทำงานทั่วไป (ขนาดเพียงฝ่ามือเดียวเท่านั้น) หรือการใช้งานด้านความบันเทิงอย่างดูหนังฟังเพลงออกมา ตัวเครื่องทำงานได้รวดเร็วมากพอกับงานที่มันควรทำได้ทั้งหมด และมีการทำงานที่ไม่มีเสียงรบกวนเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ๆ เลย ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากได้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดบ้านเอาไว้สักตัว หรือสำหรับเชื่อมต่อกับทีวีเพื่อให้กลายเป็นสมาร์ททีวีก็ได้

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-6

สำหรับ Lenovo ThinkCentre Q190 มีการออกแบบที่บางเบาและดูโฉบเฉียว อีกทั้งตัวเครื่องยังมีขนาดเล็ก พร้อมโทนสีเงินตัดดำ ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นกล่องรับสัญญาณทีวี ความบางประมาณ 22 มิลลิเมตร พร้อมรองรับการใช้งานชุดคิท VESA ที่ใช้สำหรับติด Lenovo ThinkCentre Q190 หรือจะวางกับฐานเพื่อตั้งก็เข้ากับหน้าจอมอนิเตอร์แสดงผลได้เป็นอย่างดร ดีไซน์ค่อนข้างจะสร้างความประทับใจด้วยคุณภาพที่ให้ความรู้สึกทนทาน ดูหรูหรา อีกทั้งมีฝาเปิดด้านหน้าที่มีพอร์ต USB 3.0, Card Reader และช่องหูฟัง แต่วัสดุพลาสติกที่มีลักษณะมันวาว อาจเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างที่อาจจะบางไปเล็กน้อย ในส่วนของด้านบนจะเป็นช่องระบายความร้อน

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-15

ที่แม้จะมีขนาดที่เล็ก แต่ก็สามารถจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้ดี อย่างพอร์ตที่บริเวณด้านหน้า ส่วนด้านหลังมีพอร์ต USB 2.0 สี่พอร์ตและพอร์ต VGA รวมถึง HDMI และ LAN พร้อมรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WiFi) 802.11ac, Bluetooth 4.0 ส่วนอแดปเตอร์ก็จัดได้ว่ามีขนาดเล็กกระทัดรัดที่พอเพียงการจ่ายไฟให้กับ Mini PC จาก Lenovo เครื่องนี้

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-33

คีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkCentre Q190 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ขนาด Full-Size เหมือนของพีซีทั่วไป มาพร้อมจุดเด่นที่คีย์บอร์ดออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี ทั้งสัมผัสและการเด้งรับเวลากด ส่วนเมาส์ก็เป็นเมาส์จากทาง Lenovo ปกติ อันนี้ไม่ได้มีความพิเศษอะไรแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริงนั้น พบว่าแม้ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดวางติดตั้ง แต่เมื่อเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ดูรกรุงรังไม่แพ้กันกับพีซีปกติ ในกรณีที่เราเชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแบบมีสาย (ของที่บันเดิลมา) ยังไงถ้าอยากให้สายดูน้อยกว่านี้หน่อย ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้เมาส์และคีย์บอร์ดแบบไร้สายน่าจะดูลงตัวกว่า เพราะจะเหลือสายเชื่อมต่อไว้เพียงจอแสดงผลและอแดปเตอร์จ่ายไฟเท่านั้น ตามภาพตัวอย่างที่ทางทีมงานได้เชื่อมต่อกับทีวีผ่านทาง HDMI แล้วเลือกใช้เมาส์และคีย์บอร์ดไร้สาย แทนที่แบบมีสายเดิมๆ

Performance / Software

Lenovo ThinkCentre Q190 จัดว่าสเปคอยู่ในระดับที่ค่อนข้างกลางๆ พอใช้งานทั่วไปหรือชมภาพยนตร์ Full HD ได้ ด้วยเครื่องนี้อาจจะไม่ได้เน้นประสิทธิภาพที่แรงมากด้วยความที่เป็นชิปประมวลผลแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งทางทีมงานก็ลองติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 ดูแล้ว ก็สามารถรองรับได้เป็นอย่างดีในเบื้องต้น

win10

 

ตรวจสอบด้วยโปรแกรม CPU-Z จะพบว่ามาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-3217U ซึ่งเป็นซีพียูใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.8 GHz เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้ในระดับนึง แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i3 ตัวปกติไม่ได้

cpuz

ด้านของการ์ดจอที่ติดตั้งมาให้จะมีสองตัวด้วยกัน คือการ์ดจอออนบอร์ดเป็น Intel HD Graphic 4000 สำหรับประมวลผลทั่วไปเช่นดูหนังหรือฟังเพลง โดยความละเอียดที่เลือกใช้เป็นขนาด Full HD ก็ยังมีความลื่นไหลอยู่

gpuz

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังประมวลผลซีพียู คะแนนก็อยู่ในระดับกลางๆ ค่อนล่าง เปรียบเทียบกับซีพียูที่เป็นรหัส U ด้วยกันแล้ว รวมถึงคะแนนของ OpenGL ก็ถือว่าตามมาตรฐาน เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับพีซีตัวเต็มๆ ช่วงราคาที่เท่ากันแล้ว ก็ยังห่างชั้นอยู่

cine

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 500GB ที่ติดตั้งมาให้ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 46.6 MB/s และสูงสุดที่ 111.7 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 82.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 17.8 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปเล็กน้อย

hdd

Street Fighter IV Benchmark นั้นได้คะแนนอยู่ที่ 9196 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทที่ 50.94 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank B นับว่าถ้าจะนำไปเล่นเกมจริงๆ คงไม่ไหว แต่ถ้างานการแสดงผลทั่วไปหรือเกมที่ไม่ใช่ 3 มิติหนักๆ ล่ะก็รองรับได้อย่างสบายๆ

StreetFighterIV_Benchmark 2015-08-06 01-09-28-23

สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 49 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส และเสียงพัดลมก็ไม่ได้ดังรบกวนมากนัก

temp

Conclusion / Award

Lenovo Q190 Review-2

Lenovo ThinkCentre Q190 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กก็จริง แต่ติดตั้งสเปกภายในเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ปกติ ไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล Intel Core i3, หน่วยความจำแรมขนาด 4GB และฮาร์ดดิสก์ความจุ 500GB (สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง) ฉะนั้นไม่ต้องกังวลในเรื่องของประสบการณ์ใช้งานเลย เพราะมีความลื่นไหลอย่างแน่นอน รวมไปถึงสนับสนุนการเล่นไฟล์วีดีโอต่างๆ อย่างภาพยนตร์ Full HD ได้อย่างสบายๆ โดยให้ความคมชัดสมจริง หรือถ้าจะเล่นเกมอย่างที่มีในคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน

Lenovo Q190 Review-3

ที่สำคัญ Lenovo ThinkCentre Q190 เปรียบเสมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่มีขนาดหน้าจอที่ใหญ่โตตามแต่ทีวีที่บ้าน รองรับมัลติมีเดียได้หลากหลายแบบที่แตกต่างจากสมาร์ททีวีทั่วไป ด้วยโปรแกรมต่างๆ เท่าที่ระบบปฏิบัติการ Windows จะรองรับ ซึ่งไม่แปลกใจเลยถ้าทีวีที่เชื่อมต่อกับ Lenovo ThinkCentre Q190 จะกลายเป็นศูนย์รวมความบันเทิงของบ้านและครอบครัว

Lenovo ThinkCentre Q190 มีพอร์ตการเชื่อมต่อที่ครบครันเหมือนอย่างที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรมี ไม่ว่าจะเป็น HDMI และ VGA ที่นอกเหนือจากจะเชื่อมต่อกับทีวีเพื่อเปลี่ยนเป็นสมาร์ททีวีได้แล้ว ก็ยังสามารถนำไปเชื่อมต่อกับมอนิเตอร์ทั่วไปได้เช่นกัน ส่วนพอร์ตอื่นๆ อย่างช่อง USB ก็ให้มามากถึง 6 ช่อง โดยด้านหน้ามี 2 ช่อง เพื่อให้สะดวกกับการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟหรือฮา์ดดิสก์ภายนอก เพื่อไว้เปิดไฟล์วีดีโอหรือภาพยนตร์ต่างๆ และด้านหลังอีก 4 ช่อง ไว้ใช้งานเชื่อมต่อที่หลากหลาย

สำหรับใครที่ต้องการทีวีที่สมาร์ทยิ่งกว่าสมาร์ททีวีทั่วไปล่ะก็ Lenovo ThinkCentre Q190 สามารถเป็นตัวช่วยคุณได้ ที่ต้องบอกว่าคุ้มค่ามากๆ จากการเปลี่ยนทีวีแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์จอยักษ์ ไว้ชมภาพยนตร์กับครอบครัวภายในบ้านรวมไปถึงกรณีต้องการ Mini PC ไว้ใช้งานเบาๆ ก็ตอบสนองได้แน่นอน ด้วยราคาไม่ถึงหมื่นบาท ทำให้เราเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก

ข้อดีของ Lenovo ThinkCentre Q190

  • ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกระทัดรัด เพียงฝ่ามือเท่านั้น
  • เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระชับพื้นที่การใช้งาน
  • ประสิทธิภาพรองรับการทำงานการทำงานทั่วไปหรือความบันเทิง
  • มีราคาสเปกตัวเริ่มต้นที่ไม่สูงจนเกินไป
  • มีเมาส์และคีย์บอร์ดเป็นชุดบันเดิลมาให้เลย
  • สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง
  • เปลี่ยนทีวีเดิมๆ ให้กลายเป็นสมาร์ททีวีได้

ข้อสังเกตุของ Lenovo ThinkCentre Q190

  • มีราคาที่สูงกว่าพีซีแบบปกติในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
  • สเปกของชิปประมวลผลดูไม่ค่อยทันสมัยเท่าไหร่
  • เมาส์และคีย์บอร์ดน่าจะเป็นแบบไร้สาย
  • แรมรองรับแถวเดียว และไม่มี Bluetooth ในตัว
  • ไม่มีระบบปฏิบัติการ Windows มาให้

Specification

สเปกของ Lenovo ThinkCentre Q190 ก็คือสเปกคล้ายโน๊ตบุ๊คนั่นเอง ซึ่งล่าสุดได้ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 3 (Broadwell) โดยรุ่นที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะเป็นชิปประมวลผล Intel Core i3-3217U ซึ่งเป็นรหัส U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.8 GHz มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 4000 โดยเป็นแบบฝังมากับบอร์ดของตัวเครื่องเลย เรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกันกับที่เราสามารถพบเจอได้ในเครื่องโน๊ตบุ๊คเมื่อหลายปีก่อน Lenovo ThinkCentre Q190 ใช้แรมมาตรฐานเดียวกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป โดยมีขนาดมาตรฐานที่ให้มาคือ 4GB ที่เราเพิ่มเติมได้ในภายหลังสูงสุดที่ 8GB (มีแถวเดียว) ทำให้เหมาะกับใครหลายๆ คนที่คิดจะเอาไปอัพเกรดในอนาคต

ในส่วนของฮาร์ดดิสก์บนจะเป็นแบบปกติขนาด 2.5 นิ้ว ที่มีความจุ 500GB โดยยังสามารถเพิ่มเติมเป็น SSD ได้ นอกจากนี้ในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังมีมาให้หลากหลาย ทั้ง USB 3.0, LAN และช่องต่อหน้าจอ VGA, HDMI เป็นต้น สำหรับภายในนั้นก็มีการติดตั้งระบบเสาสัญญาณไร้สายมาให้แล้วอย่า WiFi (ขาด Bluetooth) ซึ่งถ้าใครต้องการสเปกที่สูงกว่านี้ก็สามารถดูรุ่นอื่นๆ ได้ สนนราคาก็ตั้งแต่ 8,990 บาทสำหรับรุ่น Celeron และ 9,990 บาท ในรุ่น Core i3

สเปกเต็มๆ ของ Lenovo ThinkCentre Q190

Hardware / Design

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-25

Lenovo ThinkCentre Q190 ได้พยายามสร้างรูปแบบใหม่สไตล์ของ Intel NUC สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ใช้งานทั่วไปภายในบ้าน ด้วยเครื่องมาตรฐานพีซีที่ได้รับการออกแบบให้เล็กที่สุด ให้มีการใช้งานทุกอย่างอย่างจำเป็นที่สุด อะไรที่เกินกว่าความจำเป็น ก็ทำการตัดออกไป จนได้กล่องเล็กๆ สำหรับการทำงานทั่วไป (ขนาดเพียงฝ่ามือเดียวเท่านั้น) หรือการใช้งานด้านความบันเทิงอย่างดูหนังฟังเพลงออกมา ตัวเครื่องทำงานได้รวดเร็วมากพอกับงานที่มันควรทำได้ทั้งหมด และมีการทำงานที่ไม่มีเสียงรบกวนเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ๆ เลย ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากได้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดบ้านเอาไว้สักตัว หรือสำหรับเชื่อมต่อกับทีวีเพื่อให้กลายเป็นสมาร์ททีวีก็ได้

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-6

สำหรับ Lenovo ThinkCentre Q190 มีการออกแบบที่บางเบาและดูโฉบเฉียว อีกทั้งตัวเครื่องยังมีขนาดเล็ก พร้อมโทนสีเงินตัดดำ ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นกล่องรับสัญญาณทีวี ความบางประมาณ 22 มิลลิเมตร พร้อมรองรับการใช้งานชุดคิท VESA ที่ใช้สำหรับติด Lenovo ThinkCentre Q190 หรือจะวางกับฐานเพื่อตั้งก็เข้ากับหน้าจอมอนิเตอร์แสดงผลได้เป็นอย่างดร ดีไซน์ค่อนข้างจะสร้างความประทับใจด้วยคุณภาพที่ให้ความรู้สึกทนทาน ดูหรูหรา อีกทั้งมีฝาเปิดด้านหน้าที่มีพอร์ต USB 3.0, Card Reader และช่องหูฟัง แต่วัสดุพลาสติกที่มีลักษณะมันวาว อาจเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างที่อาจจะบางไปเล็กน้อย ในส่วนของด้านบนจะเป็นช่องระบายความร้อน

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-15

ที่แม้จะมีขนาดที่เล็ก แต่ก็สามารถจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้ดี อย่างพอร์ตที่บริเวณด้านหน้า ส่วนด้านหลังมีพอร์ต USB 2.0 สี่พอร์ตและพอร์ต VGA รวมถึง HDMI และ LAN พร้อมรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WiFi) 802.11ac, Bluetooth 4.0 ส่วนอแดปเตอร์ก็จัดได้ว่ามีขนาดเล็กกระทัดรัดที่พอเพียงการจ่ายไฟให้กับ Mini PC จาก Lenovo เครื่องนี้

Lenovo ThinkCentre Q190 Review-33

คีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkCentre Q190 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ขนาด Full-Size เหมือนของพีซีทั่วไป มาพร้อมจุดเด่นที่คีย์บอร์ดออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี ทั้งสัมผัสและการเด้งรับเวลากด ส่วนเมาส์ก็เป็นเมาส์จากทาง Lenovo ปกติ อันนี้ไม่ได้มีความพิเศษอะไรแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริงนั้น พบว่าแม้ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดวางติดตั้ง แต่เมื่อเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ดูรกรุงรังไม่แพ้กันกับพีซีปกติ ในกรณีที่เราเชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแบบมีสาย (ของที่บันเดิลมา) ยังไงถ้าอยากให้สายดูน้อยกว่านี้หน่อย ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้เมาส์และคีย์บอร์ดแบบไร้สายน่าจะดูลงตัวกว่า เพราะจะเหลือสายเชื่อมต่อไว้เพียงจอแสดงผลและอแดปเตอร์จ่ายไฟเท่านั้น ตามภาพตัวอย่างที่ทางทีมงานได้เชื่อมต่อกับทีวีผ่านทาง HDMI แล้วเลือกใช้เมาส์และคีย์บอร์ดไร้สาย แทนที่แบบมีสายเดิมๆ

Performance / Software

Lenovo ThinkCentre Q190 จัดว่าสเปคอยู่ในระดับที่ค่อนข้างกลางๆ พอใช้งานทั่วไปหรือชมภาพยนตร์ Full HD ได้ ด้วยเครื่องนี้อาจจะไม่ได้เน้นประสิทธิภาพที่แรงมากด้วยความที่เป็นชิปประมวลผลแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งทางทีมงานก็ลองติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 ดูแล้ว ก็สามารถรองรับได้เป็นอย่างดีในเบื้องต้น

win10

 

ตรวจสอบด้วยโปรแกรม CPU-Z จะพบว่ามาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-3217U ซึ่งเป็นซีพียูใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.8 GHz เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้ในระดับนึง แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i3 ตัวปกติไม่ได้

cpuz

ด้านของการ์ดจอที่ติดตั้งมาให้จะมีสองตัวด้วยกัน คือการ์ดจอออนบอร์ดเป็น Intel HD Graphic 4000 สำหรับประมวลผลทั่วไปเช่นดูหนังหรือฟังเพลง โดยความละเอียดที่เลือกใช้เป็นขนาด Full HD ก็ยังมีความลื่นไหลอยู่

gpuz

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังประมวลผลซีพียู คะแนนก็อยู่ในระดับกลางๆ ค่อนล่าง เปรียบเทียบกับซีพียูที่เป็นรหัส U ด้วยกันแล้ว รวมถึงคะแนนของ OpenGL ก็ถือว่าตามมาตรฐาน เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับพีซีตัวเต็มๆ ช่วงราคาที่เท่ากันแล้ว ก็ยังห่างชั้นอยู่

cine

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 500GB ที่ติดตั้งมาให้ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 46.6 MB/s และสูงสุดที่ 111.7 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 82.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 17.8 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปเล็กน้อย

hdd

Street Fighter IV Benchmark นั้นได้คะแนนอยู่ที่ 9196 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทที่ 50.94 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank B นับว่าถ้าจะนำไปเล่นเกมจริงๆ คงไม่ไหว แต่ถ้างานการแสดงผลทั่วไปหรือเกมที่ไม่ใช่ 3 มิติหนักๆ ล่ะก็รองรับได้อย่างสบายๆ

StreetFighterIV_Benchmark 2015-08-06 01-09-28-23

สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 49 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส และเสียงพัดลมก็ไม่ได้ดังรบกวนมากนัก

temp

Conclusion / Award

Lenovo Q190 Review-2

Lenovo ThinkCentre Q190 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กก็จริง แต่ติดตั้งสเปกภายในเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ปกติ ไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล Intel Core i3, หน่วยความจำแรมขนาด 4GB และฮาร์ดดิสก์ความจุ 500GB (สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง) ฉะนั้นไม่ต้องกังวลในเรื่องของประสบการณ์ใช้งานเลย เพราะมีความลื่นไหลอย่างแน่นอน รวมไปถึงสนับสนุนการเล่นไฟล์วีดีโอต่างๆ อย่างภาพยนตร์ Full HD ได้อย่างสบายๆ โดยให้ความคมชัดสมจริง หรือถ้าจะเล่นเกมอย่างที่มีในคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน

Lenovo Q190 Review-3

ที่สำคัญ Lenovo ThinkCentre Q190 เปรียบเสมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่มีขนาดหน้าจอที่ใหญ่โตตามแต่ทีวีที่บ้าน รองรับมัลติมีเดียได้หลากหลายแบบที่แตกต่างจากสมาร์ททีวีทั่วไป ด้วยโปรแกรมต่างๆ เท่าที่ระบบปฏิบัติการ Windows จะรองรับ ซึ่งไม่แปลกใจเลยถ้าทีวีที่เชื่อมต่อกับ Lenovo ThinkCentre Q190 จะกลายเป็นศูนย์รวมความบันเทิงของบ้านและครอบครัว

Lenovo ThinkCentre Q190 มีพอร์ตการเชื่อมต่อที่ครบครันเหมือนอย่างที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรมี ไม่ว่าจะเป็น HDMI และ VGA ที่นอกเหนือจากจะเชื่อมต่อกับทีวีเพื่อเปลี่ยนเป็นสมาร์ททีวีได้แล้ว ก็ยังสามารถนำไปเชื่อมต่อกับมอนิเตอร์ทั่วไปได้เช่นกัน ส่วนพอร์ตอื่นๆ อย่างช่อง USB ก็ให้มามากถึง 6 ช่อง โดยด้านหน้ามี 2 ช่อง เพื่อให้สะดวกกับการเชื่อมต่อแฟลชไดร์ฟหรือฮา์ดดิสก์ภายนอก เพื่อไว้เปิดไฟล์วีดีโอหรือภาพยนตร์ต่างๆ และด้านหลังอีก 4 ช่อง ไว้ใช้งานเชื่อมต่อที่หลากหลาย

สำหรับใครที่ต้องการทีวีที่สมาร์ทยิ่งกว่าสมาร์ททีวีทั่วไปล่ะก็ Lenovo ThinkCentre Q190 สามารถเป็นตัวช่วยคุณได้ ที่ต้องบอกว่าคุ้มค่ามากๆ จากการเปลี่ยนทีวีแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์จอยักษ์ ไว้ชมภาพยนตร์กับครอบครัวภายในบ้านรวมไปถึงกรณีต้องการ Mini PC ไว้ใช้งานเบาๆ ก็ตอบสนองได้แน่นอน ด้วยราคาไม่ถึงหมื่นบาท ทำให้เราเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก

ข้อดีของ Lenovo ThinkCentre Q190

  • ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกระทัดรัด เพียงฝ่ามือเท่านั้น
  • เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระชับพื้นที่การใช้งาน
  • ประสิทธิภาพรองรับการทำงานการทำงานทั่วไปหรือความบันเทิง
  • มีราคาสเปกตัวเริ่มต้นที่ไม่สูงจนเกินไป
  • มีเมาส์และคีย์บอร์ดเป็นชุดบันเดิลมาให้เลย
  • สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง
  • เปลี่ยนทีวีเดิมๆ ให้กลายเป็นสมาร์ททีวีได้

ข้อสังเกตุของ Lenovo ThinkCentre Q190

  • มีราคาที่สูงกว่าพีซีแบบปกติในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
  • สเปกของชิปประมวลผลดูไม่ค่อยทันสมัยเท่าไหร่
  • เมาส์และคีย์บอร์ดน่าจะเป็นแบบไร้สาย
  • แรมรองรับแถวเดียว และไม่มี Bluetooth ในตัว
  • ไม่มีระบบปฏิบัติการ Windows มาให้
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก