หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เรียนสายคอมพิวเตอร์หรือติดตามเรื่องราวการพัฒนาของคอมพิวเตอร์อยู่แล้วหล่ะก็คงต้องเคยรู้จักกับกฎของมัวร์มาก่อนแน่นอนครับ เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมานั้นพึ่งจะครบรอบ 50 ปี ของกฎของมัวร์ตั้งแต่ทำการประกาศมาครับ โดยจะว่าไปแล้วนั้นกฎของมัวร์ก็มีความสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ในหลายๆ สายมากไม่ได้เจาะจงที่เพียงการทำนายการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างเดียวครับ
Gondon Moore
กฎของมัวร์นั้นอธบิายถึงปริมาณการเพิ่มขึ้นของทรานซิสเตอร์ที่ใช้ในการคำนวนบนวงจรรวม(integrated circuits) จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2 เท่าในทุกๆ 2 ปี(โดยประมาณ) ซึ่งกฎนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องมาอย่างยาวนานครับว่ามีความถูกต้องและเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนการพัฒนาวงจรรวมของเครื่องคอมพิวเตอร์(โดยเฉพาะหน่วยประมวลผล)
นอกเหนือไปจากหน่วยประมวลผลแล้วกฎของมัวร์ยังไปตรงกับความจุของหน่วยความจำ(Ram), เซ็นเซอร์ต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งจำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัลครับ สิ่งที่หน้าเหลือเชื่อก็คือการที่กฎของมัวร์นั้นมีความถูกต้องและสร้างแรงขับดันในกับวงการการพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากถึง 50 ปีเลยทีเดียวครับ ทว่าจากข้อมูลนั้นพบว่ากฎของมัวร์อาจจะเป็นจริงต่อไปอีกแค่ไม่กี่ปีต่อจากนี้เท่านั้นครับ
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากว่าหลังจากที่กระบวนการผลิตของวงจรรวมอย่างหน่วยประมวลผลลดลงไปอยู่ที่ระดับ 14 nm(Intel Broadwell เป็นต้นครับ) อุตสาหกรรมจะเข้าสู่จุดที่ไม่สามารถจะไปต่อได้ทางด้านกายภาพครับ วงจรรวมที่กระบวนการผลิตระดับนี้จะมีขนาดที่เล็กมากจนถึงขั้นทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นเวลาใช้งานไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
ถึงแม้ว่ากฎของมัวร์อาจจะอยู่ต่อไปหลังจากหน่วยประมวลผล Broadwell อีก 2 – 3 รุ่น แต่ทางผู้ผลิตน่าจะทำการพัฒนาทางด้านอื่นแทนอย่างเช่นการหาวัสดุในการสร้างใหม่หรือใช้เทคนิค exotic data-transmission(เช่น quantum tunneling) เพื่อที่จะยังคงทำให้กฎของมัวร์ยังคงเป็นจริงอยู่ต่อไปได้ครับ ดังนั้นแล้วประโยชน์ต่างๆ ก็คงอยู่กับผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ที่จะยังคงได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ ปีหรือสองปีกันต่อไปครับ
หมายเหตุ – Gondon Moore นั้นเป็นอดีต CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Intel ซึ่งได้ทำการเขียนกฎของมัวร์ในรายงานของเขาเองมาตั้งแต่ในปี 1965 ครับ
ที่มา : engadget