HP Sprout เป็นพีซีในแบบ All-in-One ที่เปิดตัวไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเครื่องเดสก์ทอปสำหรับใช้งานในบ้านหรือสำนักงาน โดยหัวใจหลักอยู่ที่หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 23 นิ้วความละเอียด Full-HD รองรับการทัชสกรีนและรันบน Windows 8.1 พร้อมรองรับการอัพเกรดเป็น Windows 10 ในเร็วๆ นี้
แต่รูปลักษณ์นั้นแน่นอนว่าไม่ได้ออกมาโค้งบางเหมือนกับบางค่าย โดยเน้นไปที่ความสปอร์ตและการเชื่อมต่อที่อยู่ทางด้านข้างของหน้าจอและซ่อนอยู่ด้านหลังของฐาน โดยมีทั้งพอร์ต USB 3.0, HDMI และ SD Card Reader ขุมพลังมาจาก Intel Core i7 Gen 4 และ nVIDIA GeForce GT 745A พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1TB และแรม 8GB อัพเกรดได้ถึง 16GB เรียกว่าเหมาะกับการใช้งานกับพีซี All-in-One เช่นนี้
รองรับ Dual Touchscreen
โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ HP Sprout อยู่ที่การออกแบบนวัตกรรม Touch mat ที่อยู่ด้านหน้าของหน้าจอ ที่เชื่อมเข้ากับ Dock ด้วยสัญญาณแม่เหล็ก ทำหน้าที่เป็นพื้นผิวที่ใช้สำหรับการสัมผัสเหมือนกับการทัชสกรีนหน้าจอ ซึ่งต้องยกความดีให้กับโปรเจคต์เตอร์ DLP ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าจอของเครื่องและฉายภาพลงบน Touch mat นี้ ด้วยเทคโนโลยี Capacitive ที่ทำให้การสัมผัสเป็นไปอย่างแม่นยำ อีกทั้งรองรับระบบมัลติทัชแบบ 20 จุดเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสนับสนุน QWERTY เต็มรูปแบบ ซึ่งเปิดใช้งานได้จาก Dock แต่ถ้าไม่สะดวกในการใช้งาน ก็สามารถเลือกใช้เมาส์ คีย์บอร์ดจริงได้ถ้าต้องการ เพียงแต่ระบบมัลติทัชนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นแฟชั่นที่มากขึ้น
ประโยชน์ของทัชสกรีนแบบคู่นี้ นอกจากจะให้อิสระในการใช้งานได้ทั้ง 2 อินเทอร์เฟสนี้แล้ว ยังช่วยให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การใช้เป็นคีย์ของเปียโนที่เคลื่อนไหวไปตาม Mat และมาแผ่นโน๊ตเพลงปรากฏอยู่บนหน้าจอ ทำให้รู้สึกเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนี่งช่องทางในการเรียนรู้เรื่องของการเล่นดนตีได้อย่างดี
ระบบสแกน 3 มิติ
แต่ไฮไลต์อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เครื่องมือในการสแกนเนอร์แบบ 3 มิติ ที่ยื่นออกมาจากจอแสดงผลหลักของ Sprout โดยมีเซ็นเซอร์สำหรับตรวจเช็ค ความลึกและกล้องพร้อมกับโปรเจคเตอร์ที่มีเซ็นเซอร์ถึง 14.6 ล้านพิกเซล ใช้สแกนความละเอียดของวัตถุบน Touch mat ได้ด้วยการแตะที่ไอคอนรูปกล้องบนหน้าจอหลัก และ Swipe ตัวสแกนไปมาบน Mat โดยใช้เวลาประมาณ 5-6 วินาที เพื่อสแกนวัตถุและสามารถย้ายหรือซูม รวมถึงเลือกพื้นที่เฉพาะจุดที่ต้องการสแกนได้ ด้วยการใช้งานร่วมกับแอพ HP Sprout
นอกจากนี้ยังสามารถสแกนวัตถุในแบบ 2D ลงไปในแอพที่ต้องการเช่น Word, PowerPoint หรือ Photoshop ก็ตาม แต่ทำได้เฉพาะบนหน้าจอหลัก นั่นก็เพราะต้องใช้กับแอพ ที่รองรับกับระบบทัชสกรีนบนวินโดวส์โดยเฉพาะ รวมถึงสแกนเนอร์ยังทำงานในรูปแบบที่เพิ่มข้อความลงในหน้าสแกนเหล่านั้นได้ด้วย รวมถึงการแก้ไขข้อความใน Word
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ HP Sprout นี้ก็คือ การรวมเอากล้อง Intel Real Sense ที่เป็นกล้อง 3 มิติ ที่มีความสามารถตรวจจับความลึกของวัตถุ นั่นก็หมายถึงการสแกนวัตถุในแบบ 3 มิติได้จริง ซึ่งใช้เวลาเพียง 20-30 วินาทีในการสแกน แต่ทาง HP ก็พยายามที่จะลดเวลาที่ใช้ในการสแกนนี้ให้ใกล้กับการสแกนแบบ 2 มิติ อีกทั้งนำเอาความสามารถในการถ่ายแบบ 3 มิติมาใช้บน 2 มิติได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน สี พื้นผ้วหรือการผนวกกันระหว่างเครื่องสแกนแบบ 2 มิติเข้ากับเครื่องปรินต์ 3 มิติ โดยให้พิมพ์ออกมาเป็นแบบ 3 มิติได้อีกด้วย
หนึ่งในคุณสมบัติที่ดีที่สุดและเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ Sprout นี้ก็คือ การใช้กล้อง 1 ล้านพิกเซลบนความละเอียด 720p กดกล้องหน้าในแบบ HD ลงไปยัง Touch mat ก็สามารถใช้งานในแบบ Interactive ทำหน้าที่เหมือนกับ Canvas สำหรับตกแต่งภาพหรือใช้ในงานออกแบบได้อีกด้วย นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการที่มีกล้องที่ส่องไปข้างหน้าและกล้องที่กดลงที่พื้นได้พร้อมกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานบน Touch mat และใช้ในการสื่อสารหรือสนทนากับผู้อื่นไปในเวลาเดียวกัน เช่น เล่นเปียโนไปขณะที่มีคนสอนคอยมองดูปุ่มที่กดไปในเวลาเดียวกัน
โดยแอพที่รองรับการใช้งานนั้นค่อนข้างจะมีบทบาทสำคัญทีเดียว เพราะเวลามีเพียง 10-15 แอพ สำหรับใช้งานบน Windows 8 ที่ทำงานได้บน Touch mat เท่านั้น แม้จะเป็นการผสมผสานระหว่าง First party และ Third-party แต่ก็มีศักยภาพมากพอในการทำงานร่วมกับ Spout ได้ดีทีเดียว เช่นเดียวกับ Virtual DJ ที่คุณมีการสื่อสารร่วมกันระหว่าง Deck และ Mat โดยจะเป็นการเปลี่ยนแทร็คจะหน้าจอหลัก โดยที่ทาง Cyberlink เพิ่มการทำงานของ Sprout ด้วยการรองรับซอฟต์แวร์ตัดต่อวีดีโอ PowerDirector เข้าไปด้วย รวมถึงยังมีซอฟต์แวร์ของ Dreamwork ที่เรียกว่า StoryProducer ที่ช่วยในการออกแบบควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนได้อีกด้วย
ภาพรวม
คงต้องบอกว่าคนที่จะได้รับประโยชน์จาก HP Sprout คงหนีไม่พ้นกลุ่มของิวศวกรหรือนักออกแบบ ซึ่งต้องใช้ระยะอีกสักระยะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยความโดดเด่นในด้านการสแกนแบบ 3 มิติ ก็ช่วยให้ใช้ร่วมกับงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการเป็นหนึ่งในสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม ในด้านของความบันเทิงนั้น การเป็นอินเทอร์เฟสแบบทัชสกรีน 2 หน้าจอ น่าจะเป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย
แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ หากเกิดความเสียหายขึ้นกับ Touch mat ที่เรียกว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ Sprout ที่มีโอกาสเกิดรอบขีดข่วนหรือเสียหายจากการเล่นของเด็กๆ ในบ้าน ถึงจะมีการเคลือบป้องกันอย่างดีและรับประกันหนึ่งปีก็ตาม แต่หลังจากนั้นค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้น้อยเลย เป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดีด้วยฟีเจอร์พิเศษต่างๆ เหล่านี้และแนวโน้มการพัฒนาให้ระบบสามารถทำงานร่วมกับแอพต่างๆ ในปัจจุบันได้มากขึ้น HP Sprout ก็น่าจะเป็นพีซีในอีกรูปแบบหนึ่งที่ครองใจผู้ใช้หลายๆ กลุ่มได้ในไม่ช้านี้
ที่มา : trustedreviews