ความเปลี่ยนแปลงของโน๊ตบุ๊คมีแนวโน้มในการใช้งานผันแปรไปตามสภาพการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้และในบางกรณีที่ผู้ใช้เอง เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้โน๊ตบุ๊คมากกว่าตัว
เดียวมากขึ้น โดยมีโน๊ตบุ๊คหรือเครื่องพีซีเป็นพื้นฐาน แล้วเพิ่มโน๊ตบุ๊คขนาดเล็ก บาง เพื่อใช้สำหรับการเล่น ดู หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับใช้ในวันว่างๆ หรือการใช้งานเพื่อความ
บันเทิงทั่วไป ไม่ได้เน้นหนักไปทางประมวลผล ซึ่งในเวลานี้ก็มีโน๊ตบุ๊คหลายรุ่นออกมาให้กับผู้ใช้ได้สัมผัสกันเยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของ Ultrabook, Chromebook หรือชื่ออื่นๆ ที่เห็นกัน
มากมายในท้องตลาด จุดเด่นของโน๊ตบุ๊คเหล่านี้อยู่ที่ ประหยัดไฟ รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายตลอดเวลา ราคาไม่แพง
เช่นเดียวกับ HP ที่มองเห็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในสังคมกับการใช้งานโน๊ตบุ๊คในรูปแบบของการเชื่อมต่อมากขึ้น ไม่ได้หยุดอยู่ที่การประมวลผลหรือจัดเก็บข้อมูลภายใน
ตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเชื่อมโยงเข้ากับในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการออนไลน์ผ่านทางสัญญาณ WiFi เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจต้องการรองรับการ
เชื่อมต่อสัญญาณในแบบอื่นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการเปิดตัว HP Stream ออกมารองรับผู้ใช้ที่นิยมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่สามารถทำงาน ธุรกรรมออ
นไลน์ และกิจกรรมอีกมากมายบนอินเทอร์เน็ต
Specification
สเปกของ HP Stream 11 นั้น หัวใจหลักอยู่ที่หน่วยประมวลผล Intel Celeron N2840 ?Haswell? (2 Cores/ 2 Threads, 2.16GHz, 2.58 Burst, L2-cache 1MB, TDP 7.5 W) มาพร้อมกับ Intel HD Graphic และหน่วยความจำ DDR3 2GB และฮาร์ดไดรฟ์ที่มาบนเมนบอร์ดสำหรับจัดเก็บข้อมูลขนาด 32GB (eMMC) ซึ่งแบ่งออกเป็นไฟล์ระบบ EFI System 260MB, ระบบปฏิบัติการ Windows 21.68 GB และไดรฟ์สำหรับ Recovery 7GB โดยประมาณ ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล HP จัดพื้นที่ให้เก็บข้อมูลจากทาง Microsoft OneDrive ที่ให้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1TB เป็นเวลา 1 ปี มาในบันเดิลนี้ด้วย ให้การแสดงผลบนหน้าจอ 11.6″ ความละเอียด 1366×768 Pixels ในแบบ Diagonal HD anti-glare WLED-backlit หรือที่เรียกติดปากว่า “จอด้าน” นั่นเอง
ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจติดตั้งมาใน HP Stream 11 นี้ด้วย ทั้งลำโพงคู่ด้านใต้เครื่องและระบบเสียง dts Studio Sound ที่ให้คุณภาพเสียงสำหรับความบันเทิงในแบบต่างๆ ด้วยพลังเสียงที่จะตอบโจทย์การใช้งานได้สนุกยิ่งขึ้น กล้องเว็บแคม HP TrueVision HD และไมโครโฟน ปุ่มคีย์บอร์ดขนาดใหญ่สีขาวสำหรับการพิมพ์ที่แม่นยำ โดยมีทัชแพดรองรับการทำงานในแบบ Multi-touch guesture รวมปุ่มกดซ้าย-ขวาในตัว
รองรับการเชื่อมต่อได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น USB port ที่มีทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงพอร์ตแสดงผลยอดนิยม HDMI รวมถึงช่องต่อไมโครโฟนและหูฟังที่มาในชุด นอกจากนี้ยังมีสล็อตสำหรับ Multi-format SD media card reader และช่องใส่ Slot SIM Card ที่รองรับ 3G Quad-band มาให้อีกด้วย ซึ่งดูเหมือนว่า HP ก็ไม่ได้ถอดบรรดาพอร์ตต่างๆ ออกไปมาก เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้พอสมควร ส่วนในแง่ของการเชื่อมต่อไร้สาย มีให้เลือกทั้ง Wireless LAN 802.11b/g/n และ Bluetooth บนแบตเตอรี่ Li-ion polymer ขนาด 3-cell 37 Wh
น้ำหนักโดยรวมของ HP Stream 11 อยู่ที่ประมาณ 1.28Kg มิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อยู่ที่ 19.7 x 300 x 206 mm (H x W x D) ซึ่งอาจไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เบาหรือบางที่สุด แต่ก็ออกแบบโครงสร้างที่หยิบจับได้ง่าย ยกได้ด้วยมือเดียว ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและพื้นผิวที่ไม่ลื่นไหล
Using Experience
จากการได้สัมผัสและใช้งานบน HP Stream 11 ความรู้สึกแรกนั้นเหมือนได้สัมผัสอะไรที่ใหม่และดูไม่คุ้นเคยนัก ทั้งรูปลักษณ์ สีสันและวัสดุ ที่ดูเหมือนจะขยับไปทางแฟชั่นมากขึ้น ความจัดจ้านของสีและลายกราฟฟิกต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั้งบอดี้ด้านนอก ด้านในถูกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกับ Stream 11 นี้ ส่วนหนึ่งทำให้รู้สึกลืมเรื่องหนักๆ หรือดูเป็นทางการของโน๊ตบุ๊คในอุดมคติของหลายๆ คนไปได้เลย นอกจากนี้สัมผัสที่แตะ จับ ถือค่อนข้างจะหยิบติดมือได้ง่าย ด้วยวัสดุที่มีพื้นผิวเข้ามาเป็นบอดี้ภายนอก ใครที่ต้องเคลื่อนย้ายหรือต้องถือเดินไปมาในออฟฟิศหรือในบ้านน่าจะอุ่นใจได้มากกว่า เรียกว่าไม่ใส่เคสก็ถือได้สบาย
ภายในเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น ไม่เรื่องมาก ตามสไตล์ของ SSD ที่มีอยู่ในเครื่องบูตได้ปุ๊บปั๊บ เรียกว่าแทบจะไม่ต้องปิดเครื่องเลยก็ได้ ตั้งแต่ Sleep ไว้ แล้วปลุกในภายหลังก็ยังเร็ว เอาง่ายๆ คือ พับฝาจากโต๊ะทำงานที่บ้าน จะไปเปิดใช้งานบนรถหรือถึงออฟฟิศแล้วเปิดใช้ ก็แทบจะพร้อมทำงานได้ทันที เรียกว่าถ้างานด่วนๆ คุณก็ตั้งหน้าตั้งตาทำต่อได้เลย ไม่ต้องไปชงกาแฟหรือเข้าห้องน้ำ เหมือนกับที่เคยเจอกับโน๊ตบุ๊คตัวเก่าที่เคยใช้ แบบนี้จะไปแอบอู้ยังไงล่ะเนี่ย? แต่นั่นล่ะครับ มีข้อดี ก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน เพราะพื้นที่ที่คุณจะได้ไว้ใช้งาน อาจจะลดลงไปพอสมควรกับการที่ต้องแบ่งพื้นที่สำหรับ ไฟล์ระบบ + ติดตั้งวินโดวส์ + Recovery file คงเหลือพื้นที่ให้ใช้งานประมาณ 10GB ++ เท่านั้น แต่ตามนัยยะ HP ที่ออกแบบ Stream 11 รุ่นนี้ มีทางเลือกในการใช้งานเอาไว้แล้ว ตามแนวคิดในการออกแบบ ด้วยการให้คุณเข้าไปใช้พื้นที่บน Cloud ผ่านทาง Microsoft OneDrive ที่จัดสรรพื้นที่ให้คุณสูงสุด 1TB โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 1 ปี ถามว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจหรือไม่ คงต้องบอกว่าหากมองกันที่ความสามารถการเชื่อมต่อในวันนี้ หลายคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ 24 ชั่วโมง แต่ความจริงแล้ว เราจะเซฟข้อมูลกันตลอด 24 มั้ยคงไม่ใช่ คำตอบของการใช้งาน Cloud Storage ที่มีทั้งพื้นที่ฟรี ปลอดภัย อีกทั้งโน๊ตบุ๊คที่เน้นการเล่นอินเทอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ทุกอย่างอยู่บนนั้นครบครัน ก็น่าจะถูกต้องและได้เวลาในการใช้งานแล้วในวันนี้
เรื่องการแสดงผลก็น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะอยู่ด้วยกันวันๆ หนึ่งหลายชั่วโมง ด้วยความที่เป็นจอขนาด 11.6″ พูดง่ายๆ คือเล็ก ได้ความละเอียด 1366 x 768 pixels เข้าไปดูจะทำให้ไม่ว่าจะฟอนต์หรือไอคอนต่างๆ เล็กลงไปบ้าง แต่ทั้งนี้ไม่ได้เป็นประเด็น เนื่องจากเราสามารถปรับขนาดฟอนต์ได้ตามใจ จะมีเพียงเรื่องของความกว้างของมุมมอง ที่เหมาะกับการใช้ส่วนตัว อาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองมาตรฐาน ใช้งานได้แบบมองหน้าตรง ในมุมมองด้านข้างค่อนข้างชัด คนนั่งด้านข้างยังมองเห็นภาพและฟอนต์ได้ชัด แต่มุมมองจากด้านบนและมุมเงยได้ไม่มาก ภาพจะเริ่มมีสีขาวและเทามากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
คีย์แพดและทัชแพดดูเป็นกันเองมากทีเดียว ไม่ใช่ว่าคีย์หรือปุ่มเรืองแสงหรือมีอะไรเป็นพิเศษครับ แต่การที่ปุ่มมีขนาดใหญ่กดง่าย ไม่บีบกันจนเกินไป เท่านี้่ก็ใช้งานได้สะดวกแล้ว ปุ่มไม่ต้องกดลึกมาก ตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่ง ที่สำคัญเสียงไม่ดังจนน่ารำคาญ ช่วยให้คนที่พิมพ์แรงๆ หนักๆ หรือใช้ในห้องนอน ก็ไม่รบกวนคนอื่นอีกด้วย ทัชแพดหรือ Imagepad ขนาดกำลังเหมาะ ที่ซ่อมปุ่มคลิกซ้าย ขวาไปด้วยในตัว รองรับการ Multi-touch gesture ใช้งานได้สนุกมือ ชนิดที่ว่าไม่ต้องต่อเมาส์ให้เกะกะ
อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องยกให้เลย คือในเรื่องของคุณภาพเสียงที่เอาอกเอาใจคนที่ชอบความตู้มๆ ได้ดี เพราะเสียงที่ได้จาก HP Stream 11 นี้ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ความอิ่มของเสียงกับความคมชัดเวลาที่เล่นเพลงหรือมิวสิควีดีโอ ให้น้ำหนักออกมาได้ดีเกินกว่าที่คาดไว้ ด้วยลำโพง 2 ชุดด้านใต้โน๊ตบุ๊ค ให้ทิศทางของเสียงมายังด้านหน้าอย่างชัดเจน แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงทั้งหมด เหมือนกับลำโพงระดับไฮเอนด์ก็ตาม แต่เชื่อว่าหากได้ฟังจะชื่นชอบไม่น้อย เพราะเสียงแหลม กลาง เก็บได้เกือบหมด รวมถึงเสียงเอฟเฟกต์ของเกม ก็พอช่วยให้สนุกได้แบบเพลินๆ
อย่างที่ได้บอกไปว่าการจัดเก็บข้อมูลเป็นเพียงเรื่องเดียวที่ผู้ใช้จะเป็นคนมองหาทางเลือกเพิ่มได้ นอกจาก OneDrive ที่เป็น Cloud Storage แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องสนใจมากนัก กรณีที่คุณใช้เป็นเพียงโน๊ตบุ๊คในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเปิดไฟล์ธรรมดา ใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าคิดว่าหากมองทางออกอื่น เพื่อให้มีพื้นที่ในการสำรองมากขึ้น ก็สามารถมองหาทางเลือกอื่นๆ ได้มากมาย เพราะมีอีกหลายผู้ให้บริการที่เปิดให้ใช้พื้นที่แบบฟรีๆ เลือกใช้ได้ตามอัธยาศัย ส่วนการเชื่อมต่อกับ Wireless ก็กลายเป็นเรื่องพื้นฐานไป แต่ที่สะดุดตาและน่าใช้ก็คือ การรองรับ SIM Card สำหรับเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทางสัญญาณโทรศัพท์ได้ แต่ต้องบอกว่าเป็นทางเลือก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Data ที่เปิดขึ้นบนฟอร์แมตของพีซีคอมพิวเตอร์ เป็นตัวสิ้นเปลืองในการทำให้เน็ต 3G ของคุณติด FUP ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากไม่ได้เลือกแพ็คเกจที่แกร่งพอ แต่อย่างไรก็คงต้องบอกว่าเป็นสิ่งจำเป็นหากบ้านเรา WiFi ยังไม่ทั่วถึง
Performance / Software
CPUz รายงานสเปคของซีพียูออกมาเป็น Intel Celeron N2840 ความเร็ว 2.16GHz พร้อมแคชระดับสอง 1MB รวมไปถึงแรม DDR1333 2GB ที่มีมาให้
GPUz บอกถึงระบบกราฟฟิก Intel HD 4000 ทำงานร่วมกับ DDR3 ของระบบ
แปลงไฟล์ ISO 4.34GB เป็น MP4 ด้วยโปรแกรม Format Factory ใช้เวลาประมาณ 33.12 นาที ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาด เพราะกับระบบที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานทั่วไป แต่ยังสามารถประมวลผลบนทรัพยากรที่จำกัดนี้ได้ ก็ต้องยกนิ้วให้เลย
Temp – CPUID Hardware Monitor ในด้านซ้ายมือ เป็นการทดสอบ idle mode โดยทิ้งให้วินโดวส์รันตามปกติไปนิ่งๆ อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ Full load กับการทดสอบแปลงไฟล์วีดีโอ ด้วยโหลดของซีพียูระดับ 99% ความร้อนเพิ่มขึ้นมาเป็น 52? องศาเซลเซียสโดยประมาณ แต่ถ้าถามว่าร้อนมั้ย คงบอกว่าเท่านี้สบายๆ เพราะเท่าที่เช็คอุณหภูมิทั่วๆ บอดี้ของ HP Stream 11 นี้ ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่คีย์บอร์ดหรือด้านข้าง โดยรอบตัวโน๊ตบุ๊คก็ตาม
BatteryMon ท้ายสุดนี้ก็คงเป็นเรื่องของความอึดทนของแบตเตอรี่ที่รุ่นนี้ติดตั้งมาภายใน เป็นแบบ?3 cell 37 Wh อาจจะไม่ได้มากหากเทียบกับแบตฯ ที่ใช้กันบนโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่ถ้าดูจากรูปแบบการใช้งานและสเปคที่ปรากฏบน Stream 11 รุ่นนี้ บอกได้ว่าตัวเลขที่ได้จากการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 7-8 Hours นั้นอาจไม่ได้ทิ้งไปจากการใช้งานจริงมากนัก การแตะอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมงกับการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน เล่นดินเทอร์เน็ต ก็เป็นไปได้สูง ส่วนถ้าเปิดการทำงานของสัญญาณโทรศัพท์หรือการใช้ 3G อาจตกลงมาบ้างอีกเล็กน้อย
Conclusion / Award
เชื่อว่าไม่ว่าใครที่ได้ลองสัมผัสกับ HP Stream 11 รุ่นนี้ในครั้งแรก แบบที่ไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน อาจจะให้ความรู้สึกในการใช้งานเป็นโน๊ตบุ๊คหลัก เพราะไม่ว่าจะเป็นวัสดุ การออกแบบหรือรูปลักษณ์ที่ปรากฏนั้น แทบไม่ได้ต่างไปจากโน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แถมยังเป็นอารมณ์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นเล็ก น้ำหนักเบา แค่หนึ่งกิโลกรัมเศษๆ ยกมือเดียวและถือไปใช้งานได้สบาย แทบไม่ต้องกังวลเรื่องริ้วรอยมากนัก
ที่สำคัญยังเปิดเข้าใช้งานวินโดวส์ได้รวดเร็ว ตามธรรมชาติของ SSD อีกด้วย แม้จะให้ความจุมาไม่มาก แต่ถ้าวันนี้คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่และไม่ได้เป็นข้อจำกัดของคุณกับพื้นที่บน OneDrive ที่ได้มา 1TB จากบริการของ HP ประเด็นของไม่มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลก็คงปล่อยผ่านไปได้ อีกทางหนึ่งในกรณีที่แย่สุด คือ บริเวณนั้นไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้เลย แฟลชไดรฟ์และมีเดียการ์ดคือทางเลือกที่ง่ายสุด ที่คุณสามารถทำได้และยังรวดเร็วอีกด้วย เพราะมี USB 3.0 ไว้ให้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้กันอยู่จนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
ส่วนหน้าจอที่ขนาด 11.6″ นั้น คงต้องยกให้ว่าเป็นจอแบบ Anti-Glare ที่ให้ความคมชัดได้ดีทีเดียว แม้จะไม่ได้ให้ภาพที่สีสดจัดเหมือนกับจอกระจกก็ตาม แต่การที่ได้นั่งอ่านข้อมูล ดูอินเทอร์เน็ตและอะไรก็ตามที่ต้องจ้องหน้าจออยู่นานๆ แล้วไม่มีสิ่งมารบกวน ช่วยสร้างสมาธิได้ใช้งานได้นานขึ้นและน่าจะเข้ากับแนวคิดของ Stream 11 นี้ได้อย่างดี รวมถึงการนำไปใช้กับสภาวะแสงนอกบ้าน บางอารมณ์ไปเจอแสงจัดจ้ามากๆ ก็เริ่มที่มองได้ยากเหมือนกัน แต่จะมีใครบ้างที่ยอมออกไปเจอกับสภาวะดังกล่าวบ่อยๆ เรียกว่าแดดจัดจอแบบไหนก็คงเอาไม่อยู่ อีกส่วนหนึ่งต้องยกให้เรื่องของคีย์บอร์ดที่ตอบสนองได้ดีจริงๆ กับการพิมพ์ที่นุ่มนวลและเสียงกระทบแป้นเบาๆ ช่วยให้ใช้งานในห้องนอนหรือเวลาไม่อยากให้รบกวนคนอื่นได้ดีทีเดียว
แต่สำหรับใครที่อยากจะอึกทึกครึกโครม ต้องลำโพงที่มีมาให้บน Stream 11 นี้ เพราะให้ อารมณ์ในการฟังน่าประทับใจ ไม่ใช่แค่เรื่องของเสียงมีค่อนข้างมีพลังขับได้ดี การวางตำแหน่งและเสียงออกมาเอาใจในความบันเทิงทั้งเพลงหรือดูหนังได้สนุก เพราะปรับระดับเสียงได้มากและเสียงออกมาในทิศที่ให้ความคมขัดสำหรับคนนั่งฟังด้านหน้าแบบเต็มๆ แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงได้ทุกเม็ด แต่คุณภาพต้องบอกว่ามาเต็มสมคำร่ำลือกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มที่เน้นความเรียบง่ายเช่นนี้ ฉะนั้นใครที่ชอบท่องเว็บ ดูยูทูปหรือชอบดูหนังออนไลน์ ระบบเสียง dts Studio Sound และชุดลำโพงจาก HP นี้ตอบความต้องการได้แน่นอน
ถ้าจะนิยามคำสั้นๆ เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ของ HP Stream 11 น่าจะเป็นแบบ ถือง่าย ย้ายสะดวก เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เชื่อมต่อ (WiFi) ฉับไว พร้อมโอนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต เติมสูตรสำเร็จกับบันเดิลที่เป็นซอฟต์แวร์อีกมากมาย เรียกว่าเปิดเครื่องขึ้นมาก็พร้อมใช้ทันที อาจจะดูยาวไปบ้าง แต่ก็บอกถึงการใช้งานในภาพรวมของ Stream 11 นี้ได้อย่างครอบคลุมทีเดียว
จุดเด่น
-ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ดีไซน์สวย
-พอร์ตการเชื่อมต่อครบครัน
-ระบบเสียง dts Studio Sound ให้คุณภาพเสียงได้ดีน่าประทับใจ ลำโพงให้เสียงที่คมชัด
-ปุ่มคีย์บอร์ดใหญ่ นุ่มนวล ตอบสนองดี
-เปิดเครื่อง บูทระบบได้ไวในไม่กี่วินาที
-มาพร้อมซอฟต์แวร์บันเดิลน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Windows 8.1, Office 365 และบริการ OneDrive 1TB
-SIM?3G เครือข่าย 365 ฟรี 3 เดือน เล่นได้ไม่จำกัด 2GB/FUP 128KB
ข้อสังเกต
-พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ 32GB ถูกแบ่งออกหลายส่วน เหลือพื้นที่จริงบนระบบไม่มากนัก
-ทางเลือกในการเก็บข้อมูลบน OneDrive ต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
-คีย์บอร์ดสีขาวอาจเปื้อนง่าย อาจต้องดูแลรักษามากขึ้น
ราคา : 11,900 บาท
Specification
สเปกของ HP Stream 11 นั้น หัวใจหลักอยู่ที่หน่วยประมวลผล Intel Celeron N2840 ?Haswell? (2 Cores/ 2 Threads, 2.16GHz, 2.58 Burst, L2-cache 1MB, TDP 7.5 W) มาพร้อมกับ Intel HD Graphic และหน่วยความจำ DDR3 2GB และฮาร์ดไดรฟ์ที่มาบนเมนบอร์ดสำหรับจัดเก็บข้อมูลขนาด 32GB (eMMC) ซึ่งแบ่งออกเป็นไฟล์ระบบ EFI System 260MB, ระบบปฏิบัติการ Windows 21.68 GB และไดรฟ์สำหรับ Recovery 7GB โดยประมาณ ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล HP จัดพื้นที่ให้เก็บข้อมูลจากทาง Microsoft OneDrive ที่ให้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1TB เป็นเวลา 1 ปี มาในบันเดิลนี้ด้วย ให้การแสดงผลบนหน้าจอ 11.6″ ความละเอียด 1366×768 Pixels ในแบบ Diagonal HD anti-glare WLED-backlit หรือที่เรียกติดปากว่า “จอด้าน” นั่นเอง
ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจติดตั้งมาใน HP Stream 11 นี้ด้วย ทั้งลำโพงคู่ด้านใต้เครื่องและระบบเสียง dts Studio Sound ที่ให้คุณภาพเสียงสำหรับความบันเทิงในแบบต่างๆ ด้วยพลังเสียงที่จะตอบโจทย์การใช้งานได้สนุกยิ่งขึ้น กล้องเว็บแคม HP TrueVision HD และไมโครโฟน ปุ่มคีย์บอร์ดขนาดใหญ่สีขาวสำหรับการพิมพ์ที่แม่นยำ โดยมีทัชแพดรองรับการทำงานในแบบ Multi-touch guesture รวมปุ่มกดซ้าย-ขวาในตัว
รองรับการเชื่อมต่อได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น USB port ที่มีทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงพอร์ตแสดงผลยอดนิยม HDMI รวมถึงช่องต่อไมโครโฟนและหูฟังที่มาในชุด นอกจากนี้ยังมีสล็อตสำหรับ Multi-format SD media card reader และช่องใส่ Slot SIM Card ที่รองรับ 3G Quad-band มาให้อีกด้วย ซึ่งดูเหมือนว่า HP ก็ไม่ได้ถอดบรรดาพอร์ตต่างๆ ออกไปมาก เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้พอสมควร ส่วนในแง่ของการเชื่อมต่อไร้สาย มีให้เลือกทั้ง Wireless LAN 802.11b/g/n และ Bluetooth บนแบตเตอรี่ Li-ion polymer ขนาด 3-cell 37 Wh
น้ำหนักโดยรวมของ HP Stream 11 อยู่ที่ประมาณ 1.28Kg มิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อยู่ที่ 19.7 x 300 x 206 mm (H x W x D) ซึ่งอาจไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เบาหรือบางที่สุด แต่ก็ออกแบบโครงสร้างที่หยิบจับได้ง่าย ยกได้ด้วยมือเดียว ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและพื้นผิวที่ไม่ลื่นไหล
Using Experience
จากการได้สัมผัสและใช้งานบน HP Stream 11 ความรู้สึกแรกนั้นเหมือนได้สัมผัสอะไรที่ใหม่และดูไม่คุ้นเคยนัก ทั้งรูปลักษณ์ สีสันและวัสดุ ที่ดูเหมือนจะขยับไปทางแฟชั่นมากขึ้น ความจัดจ้านของสีและลายกราฟฟิกต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั้งบอดี้ด้านนอก ด้านในถูกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกับ Stream 11 นี้ ส่วนหนึ่งทำให้รู้สึกลืมเรื่องหนักๆ หรือดูเป็นทางการของโน๊ตบุ๊คในอุดมคติของหลายๆ คนไปได้เลย นอกจากนี้สัมผัสที่แตะ จับ ถือค่อนข้างจะหยิบติดมือได้ง่าย ด้วยวัสดุที่มีพื้นผิวเข้ามาเป็นบอดี้ภายนอก ใครที่ต้องเคลื่อนย้ายหรือต้องถือเดินไปมาในออฟฟิศหรือในบ้านน่าจะอุ่นใจได้มากกว่า เรียกว่าไม่ใส่เคสก็ถือได้สบาย
ภายในเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น ไม่เรื่องมาก ตามสไตล์ของ SSD ที่มีอยู่ในเครื่องบูตได้ปุ๊บปั๊บ เรียกว่าแทบจะไม่ต้องปิดเครื่องเลยก็ได้ ตั้งแต่ Sleep ไว้ แล้วปลุกในภายหลังก็ยังเร็ว เอาง่ายๆ คือ พับฝาจากโต๊ะทำงานที่บ้าน จะไปเปิดใช้งานบนรถหรือถึงออฟฟิศแล้วเปิดใช้ ก็แทบจะพร้อมทำงานได้ทันที เรียกว่าถ้างานด่วนๆ คุณก็ตั้งหน้าตั้งตาทำต่อได้เลย ไม่ต้องไปชงกาแฟหรือเข้าห้องน้ำ เหมือนกับที่เคยเจอกับโน๊ตบุ๊คตัวเก่าที่เคยใช้ แบบนี้จะไปแอบอู้ยังไงล่ะเนี่ย? แต่นั่นล่ะครับ มีข้อดี ก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน เพราะพื้นที่ที่คุณจะได้ไว้ใช้งาน อาจจะลดลงไปพอสมควรกับการที่ต้องแบ่งพื้นที่สำหรับ ไฟล์ระบบ + ติดตั้งวินโดวส์ + Recovery file คงเหลือพื้นที่ให้ใช้งานประมาณ 10GB ++ เท่านั้น แต่ตามนัยยะ HP ที่ออกแบบ Stream 11 รุ่นนี้ มีทางเลือกในการใช้งานเอาไว้แล้ว ตามแนวคิดในการออกแบบ ด้วยการให้คุณเข้าไปใช้พื้นที่บน Cloud ผ่านทาง Microsoft OneDrive ที่จัดสรรพื้นที่ให้คุณสูงสุด 1TB โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 1 ปี ถามว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจหรือไม่ คงต้องบอกว่าหากมองกันที่ความสามารถการเชื่อมต่อในวันนี้ หลายคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ 24 ชั่วโมง แต่ความจริงแล้ว เราจะเซฟข้อมูลกันตลอด 24 มั้ยคงไม่ใช่ คำตอบของการใช้งาน Cloud Storage ที่มีทั้งพื้นที่ฟรี ปลอดภัย อีกทั้งโน๊ตบุ๊คที่เน้นการเล่นอินเทอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ทุกอย่างอยู่บนนั้นครบครัน ก็น่าจะถูกต้องและได้เวลาในการใช้งานแล้วในวันนี้
เรื่องการแสดงผลก็น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะอยู่ด้วยกันวันๆ หนึ่งหลายชั่วโมง ด้วยความที่เป็นจอขนาด 11.6″ พูดง่ายๆ คือเล็ก ได้ความละเอียด 1366 x 768 pixels เข้าไปดูจะทำให้ไม่ว่าจะฟอนต์หรือไอคอนต่างๆ เล็กลงไปบ้าง แต่ทั้งนี้ไม่ได้เป็นประเด็น เนื่องจากเราสามารถปรับขนาดฟอนต์ได้ตามใจ จะมีเพียงเรื่องของความกว้างของมุมมอง ที่เหมาะกับการใช้ส่วนตัว อาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองมาตรฐาน ใช้งานได้แบบมองหน้าตรง ในมุมมองด้านข้างค่อนข้างชัด คนนั่งด้านข้างยังมองเห็นภาพและฟอนต์ได้ชัด แต่มุมมองจากด้านบนและมุมเงยได้ไม่มาก ภาพจะเริ่มมีสีขาวและเทามากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
คีย์แพดและทัชแพดดูเป็นกันเองมากทีเดียว ไม่ใช่ว่าคีย์หรือปุ่มเรืองแสงหรือมีอะไรเป็นพิเศษครับ แต่การที่ปุ่มมีขนาดใหญ่กดง่าย ไม่บีบกันจนเกินไป เท่านี้่ก็ใช้งานได้สะดวกแล้ว ปุ่มไม่ต้องกดลึกมาก ตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่ง ที่สำคัญเสียงไม่ดังจนน่ารำคาญ ช่วยให้คนที่พิมพ์แรงๆ หนักๆ หรือใช้ในห้องนอน ก็ไม่รบกวนคนอื่นอีกด้วย ทัชแพดหรือ Imagepad ขนาดกำลังเหมาะ ที่ซ่อมปุ่มคลิกซ้าย ขวาไปด้วยในตัว รองรับการ Multi-touch gesture ใช้งานได้สนุกมือ ชนิดที่ว่าไม่ต้องต่อเมาส์ให้เกะกะ
อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องยกให้เลย คือในเรื่องของคุณภาพเสียงที่เอาอกเอาใจคนที่ชอบความตู้มๆ ได้ดี เพราะเสียงที่ได้จาก HP Stream 11 นี้ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ความอิ่มของเสียงกับความคมชัดเวลาที่เล่นเพลงหรือมิวสิควีดีโอ ให้น้ำหนักออกมาได้ดีเกินกว่าที่คาดไว้ ด้วยลำโพง 2 ชุดด้านใต้โน๊ตบุ๊ค ให้ทิศทางของเสียงมายังด้านหน้าอย่างชัดเจน แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงทั้งหมด เหมือนกับลำโพงระดับไฮเอนด์ก็ตาม แต่เชื่อว่าหากได้ฟังจะชื่นชอบไม่น้อย เพราะเสียงแหลม กลาง เก็บได้เกือบหมด รวมถึงเสียงเอฟเฟกต์ของเกม ก็พอช่วยให้สนุกได้แบบเพลินๆ
อย่างที่ได้บอกไปว่าการจัดเก็บข้อมูลเป็นเพียงเรื่องเดียวที่ผู้ใช้จะเป็นคนมองหาทางเลือกเพิ่มได้ นอกจาก OneDrive ที่เป็น Cloud Storage แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องสนใจมากนัก กรณีที่คุณใช้เป็นเพียงโน๊ตบุ๊คในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเปิดไฟล์ธรรมดา ใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าคิดว่าหากมองทางออกอื่น เพื่อให้มีพื้นที่ในการสำรองมากขึ้น ก็สามารถมองหาทางเลือกอื่นๆ ได้มากมาย เพราะมีอีกหลายผู้ให้บริการที่เปิดให้ใช้พื้นที่แบบฟรีๆ เลือกใช้ได้ตามอัธยาศัย ส่วนการเชื่อมต่อกับ Wireless ก็กลายเป็นเรื่องพื้นฐานไป แต่ที่สะดุดตาและน่าใช้ก็คือ การรองรับ SIM Card สำหรับเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทางสัญญาณโทรศัพท์ได้ แต่ต้องบอกว่าเป็นทางเลือก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Data ที่เปิดขึ้นบนฟอร์แมตของพีซีคอมพิวเตอร์ เป็นตัวสิ้นเปลืองในการทำให้เน็ต 3G ของคุณติด FUP ได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากไม่ได้เลือกแพ็คเกจที่แกร่งพอ แต่อย่างไรก็คงต้องบอกว่าเป็นสิ่งจำเป็นหากบ้านเรา WiFi ยังไม่ทั่วถึง
Performance / Software
CPUz รายงานสเปคของซีพียูออกมาเป็น Intel Celeron N2840 ความเร็ว 2.16GHz พร้อมแคชระดับสอง 1MB รวมไปถึงแรม DDR1333 2GB ที่มีมาให้
GPUz บอกถึงระบบกราฟฟิก Intel HD 4000 ทำงานร่วมกับ DDR3 ของระบบ
แปลงไฟล์ ISO 4.34GB เป็น MP4 ด้วยโปรแกรม Format Factory ใช้เวลาประมาณ 33.12 นาที ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาด เพราะกับระบบที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานทั่วไป แต่ยังสามารถประมวลผลบนทรัพยากรที่จำกัดนี้ได้ ก็ต้องยกนิ้วให้เลย
Temp – CPUID Hardware Monitor ในด้านซ้ายมือ เป็นการทดสอบ idle mode โดยทิ้งให้วินโดวส์รันตามปกติไปนิ่งๆ อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ Full load กับการทดสอบแปลงไฟล์วีดีโอ ด้วยโหลดของซีพียูระดับ 99% ความร้อนเพิ่มขึ้นมาเป็น 52? องศาเซลเซียสโดยประมาณ แต่ถ้าถามว่าร้อนมั้ย คงบอกว่าเท่านี้สบายๆ เพราะเท่าที่เช็คอุณหภูมิทั่วๆ บอดี้ของ HP Stream 11 นี้ ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่คีย์บอร์ดหรือด้านข้าง โดยรอบตัวโน๊ตบุ๊คก็ตาม
BatteryMon ท้ายสุดนี้ก็คงเป็นเรื่องของความอึดทนของแบตเตอรี่ที่รุ่นนี้ติดตั้งมาภายใน เป็นแบบ?3 cell 37 Wh อาจจะไม่ได้มากหากเทียบกับแบตฯ ที่ใช้กันบนโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่ถ้าดูจากรูปแบบการใช้งานและสเปคที่ปรากฏบน Stream 11 รุ่นนี้ บอกได้ว่าตัวเลขที่ได้จากการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 7-8 Hours นั้นอาจไม่ได้ทิ้งไปจากการใช้งานจริงมากนัก การแตะอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมงกับการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน เล่นดินเทอร์เน็ต ก็เป็นไปได้สูง ส่วนถ้าเปิดการทำงานของสัญญาณโทรศัพท์หรือการใช้ 3G อาจตกลงมาบ้างอีกเล็กน้อย
Conclusion / Award
เชื่อว่าไม่ว่าใครที่ได้ลองสัมผัสกับ HP Stream 11 รุ่นนี้ในครั้งแรก แบบที่ไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อน อาจจะให้ความรู้สึกในการใช้งานเป็นโน๊ตบุ๊คหลัก เพราะไม่ว่าจะเป็นวัสดุ การออกแบบหรือรูปลักษณ์ที่ปรากฏนั้น แทบไม่ได้ต่างไปจากโน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แถมยังเป็นอารมณ์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นเล็ก น้ำหนักเบา แค่หนึ่งกิโลกรัมเศษๆ ยกมือเดียวและถือไปใช้งานได้สบาย แทบไม่ต้องกังวลเรื่องริ้วรอยมากนัก
ที่สำคัญยังเปิดเข้าใช้งานวินโดวส์ได้รวดเร็ว ตามธรรมชาติของ SSD อีกด้วย แม้จะให้ความจุมาไม่มาก แต่ถ้าวันนี้คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่และไม่ได้เป็นข้อจำกัดของคุณกับพื้นที่บน OneDrive ที่ได้มา 1TB จากบริการของ HP ประเด็นของไม่มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลก็คงปล่อยผ่านไปได้ อีกทางหนึ่งในกรณีที่แย่สุด คือ บริเวณนั้นไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้เลย แฟลชไดรฟ์และมีเดียการ์ดคือทางเลือกที่ง่ายสุด ที่คุณสามารถทำได้และยังรวดเร็วอีกด้วย เพราะมี USB 3.0 ไว้ให้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้กันอยู่จนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
ส่วนหน้าจอที่ขนาด 11.6″ นั้น คงต้องยกให้ว่าเป็นจอแบบ Anti-Glare ที่ให้ความคมชัดได้ดีทีเดียว แม้จะไม่ได้ให้ภาพที่สีสดจัดเหมือนกับจอกระจกก็ตาม แต่การที่ได้นั่งอ่านข้อมูล ดูอินเทอร์เน็ตและอะไรก็ตามที่ต้องจ้องหน้าจออยู่นานๆ แล้วไม่มีสิ่งมารบกวน ช่วยสร้างสมาธิได้ใช้งานได้นานขึ้นและน่าจะเข้ากับแนวคิดของ Stream 11 นี้ได้อย่างดี รวมถึงการนำไปใช้กับสภาวะแสงนอกบ้าน บางอารมณ์ไปเจอแสงจัดจ้ามากๆ ก็เริ่มที่มองได้ยากเหมือนกัน แต่จะมีใครบ้างที่ยอมออกไปเจอกับสภาวะดังกล่าวบ่อยๆ เรียกว่าแดดจัดจอแบบไหนก็คงเอาไม่อยู่ อีกส่วนหนึ่งต้องยกให้เรื่องของคีย์บอร์ดที่ตอบสนองได้ดีจริงๆ กับการพิมพ์ที่นุ่มนวลและเสียงกระทบแป้นเบาๆ ช่วยให้ใช้งานในห้องนอนหรือเวลาไม่อยากให้รบกวนคนอื่นได้ดีทีเดียว
แต่สำหรับใครที่อยากจะอึกทึกครึกโครม ต้องลำโพงที่มีมาให้บน Stream 11 นี้ เพราะให้ อารมณ์ในการฟังน่าประทับใจ ไม่ใช่แค่เรื่องของเสียงมีค่อนข้างมีพลังขับได้ดี การวางตำแหน่งและเสียงออกมาเอาใจในความบันเทิงทั้งเพลงหรือดูหนังได้สนุก เพราะปรับระดับเสียงได้มากและเสียงออกมาในทิศที่ให้ความคมขัดสำหรับคนนั่งฟังด้านหน้าแบบเต็มๆ แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงได้ทุกเม็ด แต่คุณภาพต้องบอกว่ามาเต็มสมคำร่ำลือกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มที่เน้นความเรียบง่ายเช่นนี้ ฉะนั้นใครที่ชอบท่องเว็บ ดูยูทูปหรือชอบดูหนังออนไลน์ ระบบเสียง dts Studio Sound และชุดลำโพงจาก HP นี้ตอบความต้องการได้แน่นอน
ถ้าจะนิยามคำสั้นๆ เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ของ HP Stream 11 น่าจะเป็นแบบ ถือง่าย ย้ายสะดวก เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เชื่อมต่อ (WiFi) ฉับไว พร้อมโอนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต เติมสูตรสำเร็จกับบันเดิลที่เป็นซอฟต์แวร์อีกมากมาย เรียกว่าเปิดเครื่องขึ้นมาก็พร้อมใช้ทันที อาจจะดูยาวไปบ้าง แต่ก็บอกถึงการใช้งานในภาพรวมของ Stream 11 นี้ได้อย่างครอบคลุมทีเดียว
จุดเด่น
-ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ดีไซน์สวย
-พอร์ตการเชื่อมต่อครบครัน
-ระบบเสียง dts Studio Sound ให้คุณภาพเสียงได้ดีน่าประทับใจ ลำโพงให้เสียงที่คมชัด
-ปุ่มคีย์บอร์ดใหญ่ นุ่มนวล ตอบสนองดี
-เปิดเครื่อง บูทระบบได้ไวในไม่กี่วินาที
-มาพร้อมซอฟต์แวร์บันเดิลน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Windows 8.1, Office 365 และบริการ OneDrive 1TB
-SIM?3G เครือข่าย 365 ฟรี 3 เดือน เล่นได้ไม่จำกัด 2GB/FUP 128KB
ข้อสังเกต
-พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ 32GB ถูกแบ่งออกหลายส่วน เหลือพื้นที่จริงบนระบบไม่มากนัก
-ทางเลือกในการเก็บข้อมูลบน OneDrive ต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
-คีย์บอร์ดสีขาวอาจเปื้อนง่าย อาจต้องดูแลรักษามากขึ้น
ราคา : 11,900 บาท