การที่ Steve Jobs เป็นบุคคลที่อยู่ในวงการเทคโนโลยี และเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลก(ในยุคสมัยที่เขายังมีชีวิตอยู่) นั่นไม่ได้หมายความว่าชีวิตจริงของเขาจะเต็มไปด้วยสิ่งของไฮเทคโนโลยีอยู่รอบตัวไปหมดครับ เขาเองถึงแม้จะทำงานหนัก แต่ทว่าก็มีเวลาให้ลูกๆ ในช่วงวันหยุดหรือหลังเลือกงานครับ วิธีการเลี้ยงลูกของ Jobs นั้นก็ถือว่าธรรมดาสุดๆ และที่น่าจะทำให้หลายคนแปลกใจก็คือการเป็นผู้นำทางโลกไอทีของเขานั้น ไม่ได้ทำให้ลูกๆ ของเขาต้องใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพราะมีพ่อเป็นพ่อมดแห่งวงการไอทีครับ บ้านของ Jobs นั้นก็ดูธรรมดาทั่วไม่ ไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคเหมือนในหนังที่เราเคยเห็นกัน แม้กระทั่ง iPhone และ iPad นั้น Jobs ยังไม่ให้ลูกเขาใช้เลยครับ โดย Jobs บอกว่าเขาควบคุมเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีของลูกๆ เขาครับ
นอกเหนือไปจาก Jobs แล้วยังคงมี CEO ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอีกหลายๆ คนที่เลี้ยงลูกด้วยจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีของลูกๆ ไว้ครับ โดยวิธีการที่พวกเขาใช้ส่วนใหญ่นั้นก็คือ จำกัดว่าลูกๆ ของพวกเขานั้นจะสามารถใช้อุปกรณ์อะไรได้บ้าง มีการแบ่งเวลาให้ถูกต้องว่าแต่ละอุปกรณ์นั้นจะสามารถใช้งานได้ครั้งละกี่ชั่วโมง วันใดที่ต้องนอนหลับเพื่อตื่นขึ้นมาไปโรงเรียน วันนั้นการเข้าถึงอุปกรณ์ก็จะน้อยลงกว่าปกติ หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นหลัง 2 ทุ่มไป ไม่ให้นำอุปกรณ์ขึ้นมาใช้งาน ต้องมีเวลาที่ใช้ร่วมกับครอบครัวไม่แยกไปอยู่กับอุปกรณ์มากจนเกินไป ฯลฯ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการเป็นผู้นำทัพของบริษัทเทคโนโลยีนั้นไม่ได้หมายความว่าชีวิตเขาต้องจมอยู่กับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาครับ
ถ้าถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ต้องไปลองฟังคำตอบของ?Chris Anderson อดีตบรรณาธิการ Wired และตอนนี้เป็น CEO ของบริษัท?3D Robotics ได้ตอบไว้อย่างน่าสนใจครับ เขากล่าวว่าการที่เขาไม่ให้ลูกๆ ของพวกเขาใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีมากจนเกินไปนั้นเนื่องมาจากว่าเขารู้ถึงอันตรายของอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นอย่างดีครับ อันตรายของเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านั้นก็อย่างเช่น ความสามารถในการเข้าถึงสิ่งที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เช่นเว็บโป้ หรือเกมที่มีความรุนแรง, การที่เด็กเอาแต่อยู่กับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีมากจนเกินไป อาจจะทำให้โดนเด็กคนอื่นๆ แกล้งได้เพราะว่าเด็กคนนั้นจะไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น และที่เลวร้ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการที่เด็กๆ เสพติดอุปกรณ์ชิ้นนั้น เอาแต่อยู่กับอุปกรณ์ตลอดเวลา จนตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลยนั่นเองครับ
หากจะพูดไปถึงเรื่องของเทคโนโลยีแล้วก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่มาพร้อมกันในตัวของมันเองครับ ทุกวันนี้คุณลองสังเกตดูไหมครับว่าเวลาที่เราออกไปที่ไหน เรามักจะได้เห็นคนหยิบเอา smartphone หรือไม่ก็ tablet มากดจิ้มอยู่ตลอดเวลา บางทีกลุ่มเพื่อนที่ไปนั่งทานข้าวด้วยกัน ต่างคนต่างก็หันหน้าเข้าหาอุปกรณ์ของตัวเองไม่มีปฏิสัมพันธ์กันกับคนข้างเคียงซึ่งเราคงไม่อยากให้ลูกหลานเราต้องกลายเป็นคนที่เสพย์ติดเทคโนโลยีแบบนั้นกันใช่ไหมครับ ดังนั้นทุกอย่างเริ่มได้ด้วยตัวคุณเองครับ เริ่มให้เวลากับลูกๆ หลานๆ ถ้าเขาอยากใช้ คุณก็ต้องคอยสอน คอยสอดส่องและกำหนดเวลาการใช้งานที่แน่นอนให้เขา แค่นี้ลูกหลานของท่านก็จะไม่เป็นผู้เสพย์ติดเทคโนโลยีแล้วหล่ะครับ
ที่มา :?nytimes