เป็นข่าวที่น่ายินดีกับการพัฒนาของ UNICEF และพาร์ทเนอร์สำคัญช่วยกันออกแบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษายังผู้ด้อยโอกาสห่างไกลจากเทคโนโลยี โดยล่าสุดพัฒนา Digital Drum ซึ่งเป็นคีออส (Kiosk) รุ่นที่สอง ไม่ต้องใช้พัดลมและพึ่งพาพลังงานจากธรรมชาติอีกด้วย
โดยที่ Digital Drum นี้เป็น Digital Kiosk รุ่นที่สอง ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก UK’s fanless computer ด้วยการทำงานแบบใช้พลังงานต่ำ เสียงเงียบเบา เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ ผู้ยากไร้ใน Uganda ที่ส่วนใหญ่ยังขาดแคนครู การติดต่อ และเครื่องไม้เครื่องมือทางการศึกษา ไม่มีไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต จึงทำให้เกิดการพัฒนาสิ่งนี้ขึ้นมา โดยเน้นการออกแบบให้เป็นโต๊ะแบบคีออส เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ซึ่งคีออสนี้จะติดตั้งเอาไว้ 50 แห่งใน Uganda มีคอมพิวเตอร์ 3 ตัวในเครื่องเดียวและใช้พลังงานจาก Solar-cell หรือพลังงานแสงอาทิตย์
ซึ่ง Digital Drum ในเวอร์ชั่น 2.0 นี้จะออกแบบให้มีหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น ใช้พลังงานที่น้อยลง แต่มีประสิทธิภาพที่ดี เพื่อใช้สำหรับการเป็นหน้าจอพรีเซนท์หรือใช้ในการเรียนการสอนได้ ง่ายต่อการจัดการ เคลื่อนย้ายและติดตั้งในราคาที่ลดลงมาจากเวอร์ชั่นแรกถึงครึ่งหนึ่ง โดยมาพร้อมกับ กล้องเว็บแคม ไมโครโฟน ลำโพงและ USB Charger และสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมในการเซฟหรือช่วยแชร์ไฟล์ หน้าจอจำนวน 3 ตัวแยกการใช้งานตามจำนวนเครื่องและยังเป็นจอที่ทนทานพิเศษ ป้องกันการกระแทกและมีหน้าจอใหญ่ที่เป็น Public screen สำหรับใช้เป็นจอภาพเพื่อนำเสนอหรือเป็นสื่อการสอนด้วยวิดีโอ
ส่วนหน่วยประมวลผลที่ใช้เป็นซีพียู Intel Bay Trail NUC E-3815 พร้อมแรม 4GB (1.35V L) เกิดความร้อนเพียง 40 องศาเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายอากาศเพิ่ม ความเร็วอยู่ที่ 1.5GHz Single-core ซึ่งเมื่อทดสอบแล้วจะเทียบเท่ากับ D410 Atom บนเครื่องเน็ตท็อปเลยทีเดียว ที่สำคัญไปกว่านั้น สิ่งที่ทำให้ระบบใช้ไฟน้อยก็คือ การที่มีแรมและ SSD ซึ่งใช้ไฟเพียง 4.9W ก็ทำให้การใช้พลังงานต่ำ 11V-14.4V นอกจากนี้ในส่วนหน้าจอยังเป็นนวัตกรรมที่น่าทึ่ง เพราะเป็น LED ที่ใช้พลังงานต่ำ มีระบบจัดการพลังงานเป็นพิเศษ ความกว้างที่ 15.6″ มีค่า Power consumption เพียง 3W และมีระบบ Plexiglass เพื่อช่วยป้องกันการกระแทกอีกด้วย
นับว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ช่วยเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากการออกแบบและร่วมมือกันของพาร์ทเนอร์และ UNICEF นี้ ซึ่งหากเป็นไปได้ก็น่าจะกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ในโลกที่ยังรอคอยการเรียนรู้อีกมากมาย