Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

HP ZBook 17 Mobile Workstation Review [สุดยอดโน๊ตบุ๊คสำหรับมืออาชีพ]

หลังจากที่ทาง Notebookspec ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับเครื่อง Mobile Workstation จาก HP ในรุ่น ZBook ที่มาพร้อมสเปคในระดับสูง อย่างหน่วยประมวลผลกลาง

หลังจากที่ทาง Notebookspec ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับเครื่อง Mobile Workstation จาก HP ในรุ่น ZBook ที่มาพร้อมสเปคในระดับสูง อย่างหน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7 “Haswel”l การ์ดจอเฉพาะทาง NVIDIA Quado แรมความจุสูง พร้อมกับรองรับการเชื่อมต่อ Thuderbolt V2 ที่สามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการอุปกรณ์ที่มีเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้เช่น งานด้านวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม งานออกแบบทั่วไป งานผลิตอนิเมชั่น งานภาพยนตร์ งานด้านการศึกษา งานภาครัฐ และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กันไปแล้ว

ซึ่งในวันนี้เราก็ได้ Mobile Workstation ในรูปแบบของโน๊ตบุ๊คสำหรับมืออาชีพที่ในตระกูล ZBook?มาทดสอบให้หลายๆ ท่านชมด้วยเช่นกันด้วยครับ โดนจะเป็นทีของรุ่น HP ZBook 17 Mobile Workstation ที่บอกได้เลยว่าสเปคของเจ้านี่ ค่อนข้างสวยหรูมากมายทีเดียว เรียกได้ว่าประสิทธิภาพความแรงระดับโลกเลยละครับ

Advertisement

Specification

HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ที่มีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-4900MQ หน่วยประมวลผลใน Generation 4 หรือ Haswell นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล Quad-Core 4แกน มีความเร็วอยู่ที่ 2.8 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.8 GHz ถูกควบคุมโดย Chipset อย่าง QM87 เป็นแกนกลางในการสั่งการ มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 16GB (8GB x 2) ในรูปแบบของ DDR3L บัส 1600 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 128GB

สำหรับการ์ดจอนั้นทาง HP ZBook 17 เลือกที่จะใช้การ์ดจอเฉพาะทางจาก NVIDIA ในรุ่น Quadro K610M GDDR5 1 GB ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ เช่น CAD/CAM/CAE/CNC , MAYA , Pro/ENGINEER , SolidWork โดยมีจอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอตัวนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด โดยตัวจอมีความละเอียดแบบ Full HD 1920 x 1080 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร

นอกจากนี้?HP ZBook 17?ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง DTS HD และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , USB 2.0 , LAN , SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์ , Optical drive, DisplayPort , D-Sub , Thunderbolt V2 , ExpressCard และ Smart card reader ที่สามารถรองรับกับการเชื่อมต่อสมัยใหม่ได้ในทุกรูปแบบกันเลยทีเดียว โดยในรุ่น Zbook นั้นก็มีให้เลือกกันหลายสเปค และมีขนาดหน้าจอให้เลือกกันหลากหลายตั้งแต่ 14 นิ้ว ไปจนถึง 17.3 นิ้วเลยละครับ สนนราคาก็ตั้งแต่ 56,000 บาทไปจนถึง 110,000 บาท เลยละครับ?

ลิงค์ HP Zbook Mobile Workstation ทั้งหมด

Design

HP Z book 24

สำหรับการออกแบบโดยรวมของตัวเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น เรียนตามตรงเลยว่าออกแบบมาได้อย่างเรียบง่าย ด้วยการออกการออกแบบในโทนสีเทาเข้ม ให้อารมณ์ในบางมุมที่อาจจะแลดูค่อนข้างย้อนยุคในการออกแบบอยู่บ้าง แต่ถ้ามองในมุมของเครื่องที่นำมาใช้งานในแบบ Workstation นั้น ก็เรียกได้ว่าเป็นเครื่องที่ให้อารมณ์แบบมืออาชีพ ที่ไม่ต้องเน้นความสวยวงามแต่เน้นในเรื่องของการใช้งานจริง ซึ่งวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นตัวเครื่องนั้นจะใช้เป็นพลาสติก ตัดกับวัสดุอลูเนียมเป็นหลักตลอดทั้งตัวเครื่อง โดยบริเวณของฝาหลังนั้นจะเป็นวัสดุอลูมิเนียมที่แซมด้วยวัสดุพลาสติกเนื้อนิ่มคล้ายยางทำให้เวลาจับไม่ลื่นมือ ส่วนบริเวณที่พักมือและแป้นพิมพ์นั้นจะใช้วัสดุอลูเนียมตลอดทั้งตัวครับ

HP Z book 17

ด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็ยังคงออกแบบด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน โดยใช้วัสดุพลาสติกสีเทาเข้มตลอดทั้งตัว โดยมีการเจาะช่องระบายความร้อนของเครื่องด้วยกันสองจุดที่มีขนาดที่ค่อยข้างใหญ่ ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยมีการสกรีนโลโก้ของ HP รวมถึงชื่อรุ่นเอาไว้บริเวณด้านหลังเครื่องที่ก็สามารถมองเห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ก็ยังมีขารองตัวเครื่องติดตั้งอยู่ทั้ง 8 มุมด้วยกันครับ ซึ่งเจ้าขาตั้งนี่เองก็สามารถซับแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องขณะเปิดใช้งานได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าในการออกแบบรวมๆ นั้น ทำออกมาได้ค่อนข้างแน่นหนา และคำนึงถึงการใช้งานจริงได้ดีทีเดียว?

Keyboard / Touchpad

HP Z book 28

ในส่วนของคีย์บอร์ดและทัชแพดนั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกที่จะใช้คีย์บอร์ดแบบ Full Size โดยมีแป้นตัวเลข Numpad และ Point stick สำหรับผู้ใช้มืออาชีพที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งตัวแป้นพิมพ์นั้นก็มีการเว้นระยะห่างที่สามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ตอบสนองการพิมพ์สัมผัสได้เป็นอย่างดี โดยตัวแป้นนั้นจะเป็นแป้นที่ไม่ยวบยาบ เวลาพิมพ์ใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยทำให้ไม่เมื่อยล้าง่ายในการพิมพ์เป็นเวลานานๆ ?แถมยังเป็นคีย์บอ์ดแบบแบบกันน้ำ และระบายน้ำในตัวได้อีกด้วย?

HP Z book 34

ทัชแพดเองก็มาในรูปแบบของการใช้งานแบบมือโปรที่เป็นทัชแพดขนาดใหญ่ มาพร้อมปุ่มกดแบบสามปุ่มสองชุดเพื่อให้การใช้งานคู่กับ Point stick ได้สะดวกสะบายมากที่สุด กล่าวคือใช้นิ้วชี้ในการใช้ Point stick และใช้นิ้งโป้งในการกดปุ่มคลิ๊กทั้งสามปุ่ม นอกจากนี้ตัวทัชแพดเองเมื่อใช้งานจริงแล้วก็สามารถใช้งานได้ลิ่นไหนดีเยี่ยมแถมรองรับการใช้งานแบบหลายนิ้วมือพร้อมกันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

Screen / Speaker

HP Z book 37HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดมหึมาถึง 17.3 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด Full HD 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ DreamColor Display?และตัวขอบจอของเครื่องนั้นจะสังเกตเห็นว่ามีขอบจอด้านข้างที่ค่อนข้างบาง และอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากทีเดียว แต่บริเวณขอบจอด้านบนนั้นจะค่อนข้างหนาพอสมควรควรซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้วของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน เลื่อนลงมาที่ขอบจอด้านล่างก็จะพบกับโลโก้ HP สีขาวอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์สกรีนอยู่

HP Z book 30 HP Z book 29

และในบริเวณมุมซ้าย และก็มุมขวาของเครื่องก็จะเป็นบริเวณบานพับหน้าจอ ซึ่งดูด้วยตาเปล่านั้นเหมือนว่าจะเป็นวัสดุเกรดไม่ดีใช่ไหมละครับ แต่เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสกับมือตัวเอง ก็พบว่าบริเวณบานพับนั้นทำจากอลูมิเนียมที่มีแข็งแรงทนทานมากทีเดียว เรียกได้ว่า HP ใส่ใจในนบริเวณบานพับนี้ค่อนข้างมากทำให้หน้าจอของเครื่องสามารถกางได้ 180 องศาในแนวราบเลยละครับ

HP Z book 31

นอกเหนือจากนี้ตัวเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็ยังมาพร้อมลำโพงคู่ Stereo เสียงใสที่รอบรับระบบเสียง DTS HD คุณภาพสูง ซึ่งมีพลังเสียงโดยรวมที่มีความแหลม ใส โดดเด่นมาแต่ไกล พร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดีครับ และในบริเวณใกล้กับลำโพงก็จะพบกับปุ่มเปิด-ปิด ที่เมื่อใช้งานจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และด้านบนขวาก็จะเจอกับปุ่มกดเปิด-ปิด WiFi และปุ่มเปิด-ปิดเสียง โดยเมื่อกดเปิดนั้นจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และเมื่อปิดจะมีไฟสถานะสีส้ม ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือนั่นเอง

?

HP Z book 35 HP Z book 32

?


 

Screen Angle

HP Z book 44

หน้าจอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว ของเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น สามารถแสดงผลได้อย่างคมชัดดีทีเดียว โดยมีสีสันของภาพที่ออกมาได้เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีความผิดเพี้ยนของสีน้อยมาก ที่ต้องขอบคุณพาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอแบบนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสมจริงเหมือนต้นฉบับมากที่สุด ที่ก็ช่วยให้การแสดงผลภาพออกมานั้นไร้ที่ติสุดๆ

HP Z book 41 HP Z book 40

มุมมองจากทางด้านซ้าย และขวา ของตัวจอนั้นก็ยังสามารถมองเห็นภาพหน้าจอได้ค่อนชัดเจนดีทีเดียว โดยมีความสว่างของหน้าจอที่จะลดลงเล็กน้อย และสามารถแสดงภาพได้ดีไม่แพ้ในมุมมองตามปกติที่ผู้ใช้อยู่ตรงกลางหน้าจอเลยละครับ

HP Z book 42 HP Z book 43

สำหรับมุมก้ม และมุมเงยจะเห็นได้ว่าสีสันของภาพนั้นก็แทบจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเลย แต่จะมีความมืดที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง ซึ่งก็อยู่ในระดับดีเยี่ยม และเมื่อมองในภาพรวมแล้วถือได้ว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ทำในของการแสดงผล และมุมมองหน้าจอ ได้ดีกว่ามาตรฐานโน๊ตบุ๊คทั่วไปครับ

Connector / Thin And Weight

HP Z book 03

ในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ นั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็มีมาให้อย่างครบครัน สมกับเป็นเครื่อง Workstation โดยเรามาดูในด้านขวาของตัวเครื่องกันก่อน ซึ่งจะประกอบไปด้วย ช่อง SD Card Reader , ช่องเสียบหูฟัง+ไมโครโฟน , ช่อง USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง , เครื่อง DVD-RW และสุดท้ายก็คือช่อง D-Sub

HP Z book 05

ตามมาดูในด้านขวามือกันบ้าง สำหรับด้านขวามือนั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดไฮไลท์ของ HP ZBook 17 Mobile Workstation เลยละครับ ประกอบไปด้วย ช่อง Express Card ที่สามารถเสียบการ์ดต่างๆ เพิ่มเติมได้ , ช่อง Smart Card Reader ที่สามารถอ่านการ์ดในรูปแบบของสมาร์ทการ์ดได้ เช่น บัตรประชาชน หรือบัตรที่เอาไว้บันทึกข้อมูลต่างๆ , ช่อง USB 2.0 , ช่อง DisplayPort และช่อง Thunderbolt V2 ช่องที่สามารถส่ง-รับข้อมูลที่เร็วกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า

HP Z book 04

HP Z book 02?

นอกจากนี้ในส่วนด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็จะมีช่อง Gigabit LAN ช่อง ระบายความร้อน , ช่องเชื่อมต่อหม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ และบริเวณด้านหน้าของเครื่องนั้นก็จะมีไฟแสดงสถานะอยู่ด้านหน้าทางซ้ายครับ ที่จะสามารถแสดงผลได้ 4 ส่วนคือสถานะ WiFI , สถานะเปิดเครื่อง , สถานะเสียบชาร์จไฟ และสถานะฮาร์ดดิสครับ

HP Z book 39 HP Z book 38

ส่วนในเรื่องของความหนานั้นทางเราได้เอาตัวเครื่องมาเทียบกับขนาดของซองเอกสาร และกล่อง DVD ทำให้เห็นว่าตัวเครื่องนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่เดียว และหนาราวๆ กล่อง DVD สองกล่องมาประกบกันครับ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าใดเพราะเครื่อง Mobile Workstation ส่วนใหญ่นั้นเน้นเรื่องประสิทธิภาพการในการใช้งานมากกว่ารูปร่างหน้าตา

HP Z book 45 HP Z book 46

ตามต่อมาดูน้ำหนักตัวเครื่องกันบ้างนะครับ แน่นอนว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นเครื่อง Mobile Workstation และบวกกับความที่มีหน้าจอใหญ่โตถึง 17.3 นิ้ว ก็ทำให้มันมีน้ำหนักตัวเครื่องรวมแบตเตอรี่อยู่ที่ 3.799 กิโลกรัม พอดิบพอดี ส่วนเมื่อช่างรวมอะแดปเตอร์หรือหม้อแปลงแล้วก็จะไปอยู่ที 4.669 กิโลกรัมครับ รับรองได้เลยว่าใครใช้กระเป๋าแบบสะพายเฉียงแบกเจ้านี่ไปไหนมาไหนไหล่ทรุดแน่นอน ถ้าจะให้ดีใช้ในรูปแบบกระเป๋าสะพายก็น่าจะพอไหวครับ

Performance / Software

cpuz cpuz2 cpuz3 ?

?มาถึงช่วงของการทดสอบประสิทธิภาพกันแล้วนะครับ สำหรับสเปคของ HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเรียกได้ว่ามีสเปคที่อยู่ในระดับสูงมากทีเดียว เลือกที่จะใช้หน่วยประมวลกลางอย่าง Intel ในเจเนอเรชั่นที่ 4 “Haswell” ในรุ่น i7 4900MQ มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.8 GHz แรมจะเป็นแรมแบบ DDR3L บัส 1600 ขนาด 16GB (รองรับแรมได้ 4 แผง สูงสุด 32GB) แบบ 2 แผงมี CAS latency อยู่ที่ CL 11-11-11-28-2T

gpuz

ในส่วนของการ์ดจอนั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกใช้การ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro K610M ความเร็ว GPU 954 MHz และ Memory 900 MHz มีแรมของการ์ดจอ 1GB ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ

cb1

มาเริ่มทดสอบกันในบททดสอบแรกด้วยโปรแกรมเรนเดอร์อย่าง CINEBENCH 11.5 นั้นก็ได้คะแนนในส่วนของ OpenGL ที่ 27.94 FPS และคะแนน CPU อยู่ที่ 7.03 คะแนน อยู่ในระดับที่สูงมากที่เดียว ที่ต้องขอบคุณประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลกลาง i7 ในตรและการ์ดจอ Quodro ที่่ช่วยเค้นคะแนนออกมาได้มากทีเดียว

3d

ตามต่อด้วยโปรแกรม Benchmark พื้นฐานอย่าง 3DMARK ที่ก็ได้คะแนนในส่วนของ Ice Strome ที่ 47,192 คะแนน , Cloud Gate 6,115 คะแนน และ Fire Strike 714 คะแนนครับ

3d11

เช่นกัน 3DMARK11 ที่เป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพพื้นฐานเช่นกัน ซึ่งก็ได้คะแนนอยู่ที่ 1,313 คะแนน

pc07

และตบท้ายด้วยการทดสอบระบบโดยรวมอย่าง PCMARK7 ที่ก็ได้คะแนนโดยรวมของระบบอยู่ที่ 5,289 คะแนน

as ssd

มาดูกันในส่วนของของโปรแกรมทดสอบฮาร์ดไดร์ฟกันบ้าง โดยเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกที่จะติดตั้ง ฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD 128GB ที่ก็มีความเร็วที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว

SniperEliteV2 2013 11 28 17 23 35 571

มากันที่การทดสอบของเกมกันบ้าง โดยการทดสอบนี้จะแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้เครื่องสามารถเล่นเกมฆ่าเวลาได้หรือไม่ โดยทดสอบกับเกมแรกอย่าง Sniper Elite (1366×768 All Low 0xAA 0xAF) ที่ก็ได้เฟรมเรทต่ำสุดที่ 25.2FPS ได้เฟรมเรมเฉลี่ยที่ 34.5FPS และเฟรมเรทสูงสุดที่ 57.6FPS เล่นได้ชิวๆครับ

StreetFighterIV Benchmark 2013 11 28 17 20 20 221

และ Street Figther (1366×768 All High 0xAA) ก็ได้คะแนนไปอยู่ที่ 8850 คะแนน โดยมีเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 59.93FPS ด้วยกัน

re61

และจบด้วยการบทสอบกับเกมที่ค่อนข้างกินสเปคพอสมควรอย่าง Resident Evil ที่ก็ได้ Rank C และมีคะแนนอยู่ที่ 2012 คะแนนด้วยกัน ซึ่งโดยรวมๆ แล้วก็ถือว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ตัวนี้ตอบสนองได้ดี และมีประสิทธิภาพเยี่ยมกับการใช้งานในรูปแบบของงานเฉพาะทางอย่างพวกงานเขียนแบบ และเรนเดอร์ต่างๆ รวมถึงงานประมวลหนักๆ ที่ต้อง ใช้ซีพียูเป็นหลักครับ ครั้นจะเอามาเล่นเกมฆ่าเวลาก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน

Battery / Heat

battmon1

ทิ้งท้ายกันอีกนิดในส่วนของแบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion 8-cell ความจุแบตเตอรี่ 5400 mAh ซึ่งตัวแบตเตอรี่นั้นสามารถถอดออกจากตัวเครื่องได้ นอกจากนี้ตัวเครื่องก็ยังสามารถเสียบแบตเตอรี่ตัวที่ 2 เพิ่มเข้าไปได้ด้วย ผ่านทางการเชื่อมต่อ Docking และสำหรับระยะเวลาของการใช้เครื่องบนแบตเตอรี่นั้น เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 4 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราว 2.30 – 3 ชั่วโมงครับ ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ทั่วไปของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตฯไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตฯ มาใช้ก็ได้เช่นกัน โดยอะแดปเตอร์ที่ติดมากับตัวเครื่องนั้นจะจ่ายไฟได้สูงสุด 200W เหลือแน่นอนๆ ครับ ซึ่งในครั้งแรกที่เห็นอะแดปเตอร์นึกว่าเป็นกระทะเทปันซะอีก

HP Z book 50 HP Z book 51 HP Z book 52

ในส่วนของความร้อน และอุณหภูมิของตัวเครื่อง เมื่อวัดตัวเครื่องในขณะรันโปรแกรมอย่าง 3DMARK11 ตัวเครื่องก็มีความร้อนในบริเวณที่พักมืออยู่ที่ 45 องศาเซลเซียส และบริเวณคีย์บอร์ดอยู่ที่ 43 องศาเซลเซียส รวมถึงบริเวณหน้าจอที่ก็จะไปอยู่ที่ 47 องศาเซลเซียส โดยบริเวณด้านซ้ายของแป้นคีย์บอร์ด และที่พักมือจะอุ่นเป็นพิเศษแต่ไม่ถึงกับร้อน ที่ก็ต้องขอบคุณระบบความร้อนของเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ที่ดูจะเน้นมาเป็นพิเศษครับ รวมถึงพื้นที่ในคัวเครื่องที่ไม่เบียดเสียดยัดเยียดมากนัก(ด้วยความใหญ่โตของเครื่อง) ก็ทำให้ตัวเครื่องระบายความร้อนได้เป็นเยี่ยม

ปิดท้ายกันด้วยอัตราการกินไฟของ HP ZBook 17 Mobile Workstation สำหรับอัตราการกินไฟนั้นเจ้านี่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติสำหรับเครื่อง Mobile?Workstation ทั่วไป ซึ่งในขณะที่ไม่ได้ใช้งานเปิดเครื่องไว้เฉยๆ หรือ Idel ตัวเครื่องกินไฟอยู่ราวๆ 21 วัตต์เท่านั้น แต่เมื่อใช้งานโปรแกรม 3DMARK11 ที่กินทรัพยากรของตัวเครื่อง อัตตราการกินไฟก็พุ่งขึ้นไปจนถึงระดับ 91 วัตต์ กันเลยละครับ

Conclusion / Award

zbook17 gallery img1 tcm 245 1484059

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับบททดสอบของเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ HP เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-4900MQ “Haswell” ประสิทธิภาพสูง มีแรม DDR3L บัส 1600 ที่ใส่มาให้ถึง 16GB (8GB x 2) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงความจุ 128GB รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro K610M ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง พร้อมกันนี้ HP ZBook 17 Mobile Workstation ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 17.3 นิ้ว ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

df

และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ HP ZBook 17 Mobile Workstation ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V2 พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมถึง Express card , Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดยจะมีให้เลือกกันหลายสเปค และมีขนาดหน้าจอให้เลือกกันหลากหลายตั้งแต่ 14 นิ้ว ไปจนถึง 17.3 นิ้วเลยละครับ สนนราคาก็ตั้งแต่ 56,000 บาทไปจนถึง 110,000 ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ ครับ

 

จุดเด่น

  • หน้าจอใหญ่โตถึง 17.3 นิ้ว
  • พาเนลจอ DreamColor Display สวยงามเป็นธรรมชาติ
  • ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่อยู่ในระดับสูง
  • ใช้การ์ดจอเฉพาะทาง NVIDIA Quadro K610M
  • แข็งแรง ทนทน ด้วยวัสดุและการออกแบบที่ใส่ใจ
  • ระบบระบายความร้อทำได้ดี
  • ปุ่มคลิ๊ก 3 ปุ่ม 2 ชุด พร้อม Point Stick สำหรับมืออาชีพ
  • Figer Print Reader?
  • พอร์ต Thunderbolt , Express card , Smart Card Reader และ DisplayPort
  • ราคาต่อประสิทธิภาพค่อนข้างสมดุล

ข้อสังเกต

  • มีความหนา และหนักพอสมควร พกพาได้ค่อนข้างลำบาก
?

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 17 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็ได้รางวัลดังนี้

 

award use 2 create 05

 

Best Performacne

แน่นอนด้วยความที่ HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เรียกได้ว่าเกือบจะสูงที่สุดในตลาดขณะนี้เลยก็ว่าได้ ด้วยหน่วยประมวลผลกลางอย่าง Core i7 4900MQ “Haswell” แรมขนาด 16GB ฮาร์ดไดร์ฟ SSD ขนาด 128GB และการ์ดจอเฉพาะทางประสิทธิภาพสูงอย่าง NVIDIA Quadro K610M นั้นก็ทำให้ HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นโน๊ตบุ๊คที่หาตัวจับยากตัวนึงในตลาดเลยละครับ Notebookspec จึงขอมอบรางวัล Best Performacne ให้ไปเลย

Specification

HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ที่มีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-4900MQ หน่วยประมวลผลใน Generation 4 หรือ Haswell นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล Quad-Core 4แกน มีความเร็วอยู่ที่ 2.8 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.8 GHz ถูกควบคุมโดย Chipset อย่าง QM87 เป็นแกนกลางในการสั่งการ มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 16GB (8GB x 2) ในรูปแบบของ DDR3L บัส 1600 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 128GB

สำหรับการ์ดจอนั้นทาง HP ZBook 17 เลือกที่จะใช้การ์ดจอเฉพาะทางจาก NVIDIA ในรุ่น Quadro K610M GDDR5 1 GB ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ เช่น CAD/CAM/CAE/CNC , MAYA , Pro/ENGINEER , SolidWork โดยมีจอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอตัวนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด โดยตัวจอมีความละเอียดแบบ Full HD 1920 x 1080 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร

นอกจากนี้?HP ZBook 17?ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง DTS HD และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , USB 2.0 , LAN , SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์ , Optical drive, DisplayPort , D-Sub , Thunderbolt V2 , ExpressCard และ Smart card reader ที่สามารถรองรับกับการเชื่อมต่อสมัยใหม่ได้ในทุกรูปแบบกันเลยทีเดียว โดยในรุ่น Zbook นั้นก็มีให้เลือกกันหลายสเปค และมีขนาดหน้าจอให้เลือกกันหลากหลายตั้งแต่ 14 นิ้ว ไปจนถึง 17.3 นิ้วเลยละครับ สนนราคาก็ตั้งแต่ 56,000 บาทไปจนถึง 110,000 บาท เลยละครับ?

ลิงค์ HP Zbook Mobile Workstation ทั้งหมด

Design

HP Z book 24

สำหรับการออกแบบโดยรวมของตัวเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น เรียนตามตรงเลยว่าออกแบบมาได้อย่างเรียบง่าย ด้วยการออกการออกแบบในโทนสีเทาเข้ม ให้อารมณ์ในบางมุมที่อาจจะแลดูค่อนข้างย้อนยุคในการออกแบบอยู่บ้าง แต่ถ้ามองในมุมของเครื่องที่นำมาใช้งานในแบบ Workstation นั้น ก็เรียกได้ว่าเป็นเครื่องที่ให้อารมณ์แบบมืออาชีพ ที่ไม่ต้องเน้นความสวยวงามแต่เน้นในเรื่องของการใช้งานจริง ซึ่งวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นตัวเครื่องนั้นจะใช้เป็นพลาสติก ตัดกับวัสดุอลูเนียมเป็นหลักตลอดทั้งตัวเครื่อง โดยบริเวณของฝาหลังนั้นจะเป็นวัสดุอลูมิเนียมที่แซมด้วยวัสดุพลาสติกเนื้อนิ่มคล้ายยางทำให้เวลาจับไม่ลื่นมือ ส่วนบริเวณที่พักมือและแป้นพิมพ์นั้นจะใช้วัสดุอลูเนียมตลอดทั้งตัวครับ

HP Z book 17

ด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็ยังคงออกแบบด้วยความเรียบง่ายเช่นกัน โดยใช้วัสดุพลาสติกสีเทาเข้มตลอดทั้งตัว โดยมีการเจาะช่องระบายความร้อนของเครื่องด้วยกันสองจุดที่มีขนาดที่ค่อยข้างใหญ่ ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยมีการสกรีนโลโก้ของ HP รวมถึงชื่อรุ่นเอาไว้บริเวณด้านหลังเครื่องที่ก็สามารถมองเห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ก็ยังมีขารองตัวเครื่องติดตั้งอยู่ทั้ง 8 มุมด้วยกันครับ ซึ่งเจ้าขาตั้งนี่เองก็สามารถซับแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องขณะเปิดใช้งานได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าในการออกแบบรวมๆ นั้น ทำออกมาได้ค่อนข้างแน่นหนา และคำนึงถึงการใช้งานจริงได้ดีทีเดียว?

Keyboard / Touchpad

HP Z book 28

ในส่วนของคีย์บอร์ดและทัชแพดนั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกที่จะใช้คีย์บอร์ดแบบ Full Size โดยมีแป้นตัวเลข Numpad และ Point stick สำหรับผู้ใช้มืออาชีพที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งตัวแป้นพิมพ์นั้นก็มีการเว้นระยะห่างที่สามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ตอบสนองการพิมพ์สัมผัสได้เป็นอย่างดี โดยตัวแป้นนั้นจะเป็นแป้นที่ไม่ยวบยาบ เวลาพิมพ์ใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยทำให้ไม่เมื่อยล้าง่ายในการพิมพ์เป็นเวลานานๆ ?แถมยังเป็นคีย์บอ์ดแบบแบบกันน้ำ และระบายน้ำในตัวได้อีกด้วย?

HP Z book 34

ทัชแพดเองก็มาในรูปแบบของการใช้งานแบบมือโปรที่เป็นทัชแพดขนาดใหญ่ มาพร้อมปุ่มกดแบบสามปุ่มสองชุดเพื่อให้การใช้งานคู่กับ Point stick ได้สะดวกสะบายมากที่สุด กล่าวคือใช้นิ้วชี้ในการใช้ Point stick และใช้นิ้งโป้งในการกดปุ่มคลิ๊กทั้งสามปุ่ม นอกจากนี้ตัวทัชแพดเองเมื่อใช้งานจริงแล้วก็สามารถใช้งานได้ลิ่นไหนดีเยี่ยมแถมรองรับการใช้งานแบบหลายนิ้วมือพร้อมกันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

Screen / Speaker

HP Z book 37HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดมหึมาถึง 17.3 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด Full HD 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ DreamColor Display?และตัวขอบจอของเครื่องนั้นจะสังเกตเห็นว่ามีขอบจอด้านข้างที่ค่อนข้างบาง และอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากทีเดียว แต่บริเวณขอบจอด้านบนนั้นจะค่อนข้างหนาพอสมควรควรซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้วของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน เลื่อนลงมาที่ขอบจอด้านล่างก็จะพบกับโลโก้ HP สีขาวอันสวยงามเป็นเอกลักษณ์สกรีนอยู่

HP Z book 30 HP Z book 29

และในบริเวณมุมซ้าย และก็มุมขวาของเครื่องก็จะเป็นบริเวณบานพับหน้าจอ ซึ่งดูด้วยตาเปล่านั้นเหมือนว่าจะเป็นวัสดุเกรดไม่ดีใช่ไหมละครับ แต่เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสกับมือตัวเอง ก็พบว่าบริเวณบานพับนั้นทำจากอลูมิเนียมที่มีแข็งแรงทนทานมากทีเดียว เรียกได้ว่า HP ใส่ใจในนบริเวณบานพับนี้ค่อนข้างมากทำให้หน้าจอของเครื่องสามารถกางได้ 180 องศาในแนวราบเลยละครับ

HP Z book 31

นอกเหนือจากนี้ตัวเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็ยังมาพร้อมลำโพงคู่ Stereo เสียงใสที่รอบรับระบบเสียง DTS HD คุณภาพสูง ซึ่งมีพลังเสียงโดยรวมที่มีความแหลม ใส โดดเด่นมาแต่ไกล พร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดีครับ และในบริเวณใกล้กับลำโพงก็จะพบกับปุ่มเปิด-ปิด ที่เมื่อใช้งานจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และด้านบนขวาก็จะเจอกับปุ่มกดเปิด-ปิด WiFi และปุ่มเปิด-ปิดเสียง โดยเมื่อกดเปิดนั้นจะมีไฟแสดงสถานะสีขาว และเมื่อปิดจะมีไฟสถานะสีส้ม ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือนั่นเอง

?

HP Z book 35 HP Z book 32

?


 

Screen Angle

HP Z book 44

หน้าจอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว ของเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น สามารถแสดงผลได้อย่างคมชัดดีทีเดียว โดยมีสีสันของภาพที่ออกมาได้เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีความผิดเพี้ยนของสีน้อยมาก ที่ต้องขอบคุณพาเนลจอแบบ DreamColor Display ที่ทาง HP การันตีว่าพาเนลจอแบบนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสมจริงเหมือนต้นฉบับมากที่สุด ที่ก็ช่วยให้การแสดงผลภาพออกมานั้นไร้ที่ติสุดๆ

HP Z book 41 HP Z book 40

มุมมองจากทางด้านซ้าย และขวา ของตัวจอนั้นก็ยังสามารถมองเห็นภาพหน้าจอได้ค่อนชัดเจนดีทีเดียว โดยมีความสว่างของหน้าจอที่จะลดลงเล็กน้อย และสามารถแสดงภาพได้ดีไม่แพ้ในมุมมองตามปกติที่ผู้ใช้อยู่ตรงกลางหน้าจอเลยละครับ

HP Z book 42 HP Z book 43

สำหรับมุมก้ม และมุมเงยจะเห็นได้ว่าสีสันของภาพนั้นก็แทบจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเลย แต่จะมีความมืดที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง ซึ่งก็อยู่ในระดับดีเยี่ยม และเมื่อมองในภาพรวมแล้วถือได้ว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ทำในของการแสดงผล และมุมมองหน้าจอ ได้ดีกว่ามาตรฐานโน๊ตบุ๊คทั่วไปครับ

Connector / Thin And Weight

HP Z book 03

ในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ นั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็มีมาให้อย่างครบครัน สมกับเป็นเครื่อง Workstation โดยเรามาดูในด้านขวาของตัวเครื่องกันก่อน ซึ่งจะประกอบไปด้วย ช่อง SD Card Reader , ช่องเสียบหูฟัง+ไมโครโฟน , ช่อง USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง , เครื่อง DVD-RW และสุดท้ายก็คือช่อง D-Sub

HP Z book 05

ตามมาดูในด้านขวามือกันบ้าง สำหรับด้านขวามือนั้นเรียกได้ว่าเป็นจุดไฮไลท์ของ HP ZBook 17 Mobile Workstation เลยละครับ ประกอบไปด้วย ช่อง Express Card ที่สามารถเสียบการ์ดต่างๆ เพิ่มเติมได้ , ช่อง Smart Card Reader ที่สามารถอ่านการ์ดในรูปแบบของสมาร์ทการ์ดได้ เช่น บัตรประชาชน หรือบัตรที่เอาไว้บันทึกข้อมูลต่างๆ , ช่อง USB 2.0 , ช่อง DisplayPort และช่อง Thunderbolt V2 ช่องที่สามารถส่ง-รับข้อมูลที่เร็วกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า

HP Z book 04

HP Z book 02?

นอกจากนี้ในส่วนด้านหลังของตัวเครื่องนั้นก็จะมีช่อง Gigabit LAN ช่อง ระบายความร้อน , ช่องเชื่อมต่อหม้อแปลงหรืออะแดปเตอร์ชาร์จไฟ และบริเวณด้านหน้าของเครื่องนั้นก็จะมีไฟแสดงสถานะอยู่ด้านหน้าทางซ้ายครับ ที่จะสามารถแสดงผลได้ 4 ส่วนคือสถานะ WiFI , สถานะเปิดเครื่อง , สถานะเสียบชาร์จไฟ และสถานะฮาร์ดดิสครับ

HP Z book 39 HP Z book 38

ส่วนในเรื่องของความหนานั้นทางเราได้เอาตัวเครื่องมาเทียบกับขนาดของซองเอกสาร และกล่อง DVD ทำให้เห็นว่าตัวเครื่องนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่เดียว และหนาราวๆ กล่อง DVD สองกล่องมาประกบกันครับ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเท่าใดเพราะเครื่อง Mobile Workstation ส่วนใหญ่นั้นเน้นเรื่องประสิทธิภาพการในการใช้งานมากกว่ารูปร่างหน้าตา

HP Z book 45 HP Z book 46

ตามต่อมาดูน้ำหนักตัวเครื่องกันบ้างนะครับ แน่นอนว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นเครื่อง Mobile Workstation และบวกกับความที่มีหน้าจอใหญ่โตถึง 17.3 นิ้ว ก็ทำให้มันมีน้ำหนักตัวเครื่องรวมแบตเตอรี่อยู่ที่ 3.799 กิโลกรัม พอดิบพอดี ส่วนเมื่อช่างรวมอะแดปเตอร์หรือหม้อแปลงแล้วก็จะไปอยู่ที 4.669 กิโลกรัมครับ รับรองได้เลยว่าใครใช้กระเป๋าแบบสะพายเฉียงแบกเจ้านี่ไปไหนมาไหนไหล่ทรุดแน่นอน ถ้าจะให้ดีใช้ในรูปแบบกระเป๋าสะพายก็น่าจะพอไหวครับ

Performance / Software

cpuz cpuz2 cpuz3 ?

?มาถึงช่วงของการทดสอบประสิทธิภาพกันแล้วนะครับ สำหรับสเปคของ HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้นเรียกได้ว่ามีสเปคที่อยู่ในระดับสูงมากทีเดียว เลือกที่จะใช้หน่วยประมวลกลางอย่าง Intel ในเจเนอเรชั่นที่ 4 “Haswell” ในรุ่น i7 4900MQ มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.8 GHz แรมจะเป็นแรมแบบ DDR3L บัส 1600 ขนาด 16GB (รองรับแรมได้ 4 แผง สูงสุด 32GB) แบบ 2 แผงมี CAS latency อยู่ที่ CL 11-11-11-28-2T

gpuz

ในส่วนของการ์ดจอนั้น HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกใช้การ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro K610M ความเร็ว GPU 954 MHz และ Memory 900 MHz มีแรมของการ์ดจอ 1GB ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ

cb1

มาเริ่มทดสอบกันในบททดสอบแรกด้วยโปรแกรมเรนเดอร์อย่าง CINEBENCH 11.5 นั้นก็ได้คะแนนในส่วนของ OpenGL ที่ 27.94 FPS และคะแนน CPU อยู่ที่ 7.03 คะแนน อยู่ในระดับที่สูงมากที่เดียว ที่ต้องขอบคุณประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลกลาง i7 ในตรและการ์ดจอ Quodro ที่่ช่วยเค้นคะแนนออกมาได้มากทีเดียว

3d

ตามต่อด้วยโปรแกรม Benchmark พื้นฐานอย่าง 3DMARK ที่ก็ได้คะแนนในส่วนของ Ice Strome ที่ 47,192 คะแนน , Cloud Gate 6,115 คะแนน และ Fire Strike 714 คะแนนครับ

3d11

เช่นกัน 3DMARK11 ที่เป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพพื้นฐานเช่นกัน ซึ่งก็ได้คะแนนอยู่ที่ 1,313 คะแนน

pc07

และตบท้ายด้วยการทดสอบระบบโดยรวมอย่าง PCMARK7 ที่ก็ได้คะแนนโดยรวมของระบบอยู่ที่ 5,289 คะแนน

as ssd

มาดูกันในส่วนของของโปรแกรมทดสอบฮาร์ดไดร์ฟกันบ้าง โดยเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation เลือกที่จะติดตั้ง ฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD 128GB ที่ก็มีความเร็วที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว

SniperEliteV2 2013 11 28 17 23 35 571

มากันที่การทดสอบของเกมกันบ้าง โดยการทดสอบนี้จะแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้เครื่องสามารถเล่นเกมฆ่าเวลาได้หรือไม่ โดยทดสอบกับเกมแรกอย่าง Sniper Elite (1366×768 All Low 0xAA 0xAF) ที่ก็ได้เฟรมเรทต่ำสุดที่ 25.2FPS ได้เฟรมเรมเฉลี่ยที่ 34.5FPS และเฟรมเรทสูงสุดที่ 57.6FPS เล่นได้ชิวๆครับ

StreetFighterIV Benchmark 2013 11 28 17 20 20 221

และ Street Figther (1366×768 All High 0xAA) ก็ได้คะแนนไปอยู่ที่ 8850 คะแนน โดยมีเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 59.93FPS ด้วยกัน

re61

และจบด้วยการบทสอบกับเกมที่ค่อนข้างกินสเปคพอสมควรอย่าง Resident Evil ที่ก็ได้ Rank C และมีคะแนนอยู่ที่ 2012 คะแนนด้วยกัน ซึ่งโดยรวมๆ แล้วก็ถือว่าเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ตัวนี้ตอบสนองได้ดี และมีประสิทธิภาพเยี่ยมกับการใช้งานในรูปแบบของงานเฉพาะทางอย่างพวกงานเขียนแบบ และเรนเดอร์ต่างๆ รวมถึงงานประมวลหนักๆ ที่ต้อง ใช้ซีพียูเป็นหลักครับ ครั้นจะเอามาเล่นเกมฆ่าเวลาก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน

Battery / Heat

battmon1

ทิ้งท้ายกันอีกนิดในส่วนของแบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ HP ZBook 17 Mobile Workstation นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion 8-cell ความจุแบตเตอรี่ 5400 mAh ซึ่งตัวแบตเตอรี่นั้นสามารถถอดออกจากตัวเครื่องได้ นอกจากนี้ตัวเครื่องก็ยังสามารถเสียบแบตเตอรี่ตัวที่ 2 เพิ่มเข้าไปได้ด้วย ผ่านทางการเชื่อมต่อ Docking และสำหรับระยะเวลาของการใช้เครื่องบนแบตเตอรี่นั้น เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 4 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราว 2.30 – 3 ชั่วโมงครับ ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ทั่วไปของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตฯไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตฯ มาใช้ก็ได้เช่นกัน โดยอะแดปเตอร์ที่ติดมากับตัวเครื่องนั้นจะจ่ายไฟได้สูงสุด 200W เหลือแน่นอนๆ ครับ ซึ่งในครั้งแรกที่เห็นอะแดปเตอร์นึกว่าเป็นกระทะเทปันซะอีก

HP Z book 50 HP Z book 51 HP Z book 52

ในส่วนของความร้อน และอุณหภูมิของตัวเครื่อง เมื่อวัดตัวเครื่องในขณะรันโปรแกรมอย่าง 3DMARK11 ตัวเครื่องก็มีความร้อนในบริเวณที่พักมืออยู่ที่ 45 องศาเซลเซียส และบริเวณคีย์บอร์ดอยู่ที่ 43 องศาเซลเซียส รวมถึงบริเวณหน้าจอที่ก็จะไปอยู่ที่ 47 องศาเซลเซียส โดยบริเวณด้านซ้ายของแป้นคีย์บอร์ด และที่พักมือจะอุ่นเป็นพิเศษแต่ไม่ถึงกับร้อน ที่ก็ต้องขอบคุณระบบความร้อนของเจ้า HP ZBook 17 Mobile Workstation ที่ดูจะเน้นมาเป็นพิเศษครับ รวมถึงพื้นที่ในคัวเครื่องที่ไม่เบียดเสียดยัดเยียดมากนัก(ด้วยความใหญ่โตของเครื่อง) ก็ทำให้ตัวเครื่องระบายความร้อนได้เป็นเยี่ยม

ปิดท้ายกันด้วยอัตราการกินไฟของ HP ZBook 17 Mobile Workstation สำหรับอัตราการกินไฟนั้นเจ้านี่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติสำหรับเครื่อง Mobile?Workstation ทั่วไป ซึ่งในขณะที่ไม่ได้ใช้งานเปิดเครื่องไว้เฉยๆ หรือ Idel ตัวเครื่องกินไฟอยู่ราวๆ 21 วัตต์เท่านั้น แต่เมื่อใช้งานโปรแกรม 3DMARK11 ที่กินทรัพยากรของตัวเครื่อง อัตตราการกินไฟก็พุ่งขึ้นไปจนถึงระดับ 91 วัตต์ กันเลยละครับ

Conclusion / Award

zbook17 gallery img1 tcm 245 1484059

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับบททดสอบของเครื่อง HP ZBook 17 Mobile Workstation โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ HP เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7-4900MQ “Haswell” ประสิทธิภาพสูง มีแรม DDR3L บัส 1600 ที่ใส่มาให้ถึง 16GB (8GB x 2) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงความจุ 128GB รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro K610M ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง พร้อมกันนี้ HP ZBook 17 Mobile Workstation ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 17.3 นิ้ว ใช้พาเนลจอแบบ DreamColor Display ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

df

และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ HP ZBook 17 Mobile Workstation ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V2 พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมถึง Express card , Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดยจะมีให้เลือกกันหลายสเปค และมีขนาดหน้าจอให้เลือกกันหลากหลายตั้งแต่ 14 นิ้ว ไปจนถึง 17.3 นิ้วเลยละครับ สนนราคาก็ตั้งแต่ 56,000 บาทไปจนถึง 110,000 ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ ครับ

 

จุดเด่น

  • หน้าจอใหญ่โตถึง 17.3 นิ้ว
  • พาเนลจอ DreamColor Display สวยงามเป็นธรรมชาติ
  • ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่อยู่ในระดับสูง
  • ใช้การ์ดจอเฉพาะทาง NVIDIA Quadro K610M
  • แข็งแรง ทนทน ด้วยวัสดุและการออกแบบที่ใส่ใจ
  • ระบบระบายความร้อทำได้ดี
  • ปุ่มคลิ๊ก 3 ปุ่ม 2 ชุด พร้อม Point Stick สำหรับมืออาชีพ
  • Figer Print Reader?
  • พอร์ต Thunderbolt , Express card , Smart Card Reader และ DisplayPort
  • ราคาต่อประสิทธิภาพค่อนข้างสมดุล

ข้อสังเกต

  • มีความหนา และหนักพอสมควร พกพาได้ค่อนข้างลำบาก
?

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 17 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง HP ZBook 17 Mobile Workstation ก็ได้รางวัลดังนี้

 

award use 2 create 05

 

Best Performacne

แน่นอนด้วยความที่ HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เรียกได้ว่าเกือบจะสูงที่สุดในตลาดขณะนี้เลยก็ว่าได้ ด้วยหน่วยประมวลผลกลางอย่าง Core i7 4900MQ “Haswell” แรมขนาด 16GB ฮาร์ดไดร์ฟ SSD ขนาด 128GB และการ์ดจอเฉพาะทางประสิทธิภาพสูงอย่าง NVIDIA Quadro K610M นั้นก็ทำให้ HP ZBook 17 Mobile Workstation เป็นโน๊ตบุ๊คที่หาตัวจับยากตัวนึงในตลาดเลยละครับ Notebookspec จึงขอมอบรางวัล Best Performacne ให้ไปเลย

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

CONTENT

ในบทความก่อนหน้านี้จะเป็นการแนะนำโน้ตบุ๊ก AMD น้ำหนักเบาที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมตอบโจทย์การทำงานที่ต้องเน้นการพกพาเครื่องบ่อย ๆ โดยที่ยังได้พลังในการทำงานที่ดีอยู่ ส่วนในบทความนี้เราจะมาดูโน้ตบุ๊ก AMD การ์ดจอแรง แต่มาพร้อมกับน้ำหนักที่เบากันบ้าง เผื่อในกรณีของท่านที่ต้องการซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ซักเครื่อง แล้วอยากได้แพลตฟอร์มของค่ายแดงมาไว้ใช้ทำงาน เล่นเกม แต่ก็ยังอยากพกง่าย ๆ อยู่ด้วยในเครื่องเดียว

Buyer's Guide

หนึ่งในคุณสมบัติที่หลายคนมองหาเวลาเลือกซื้อโน้ตบุ๊กก็คือน้ำหนักเครื่องที่เบา ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกเวลาที่ต้องการ แต่อีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือประสิทธิภาพที่สูง เพื่อให้สามารถรองรับงานได้หลากหลาย ตั้งแต่นำไปใช้ทำงานเอกสารเบา ๆ จนถึงใช้งานด้านภาพ วิดีโอ และในการเล่นเกมที่ต้องการฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งในปี 2024 ก็มีตัวเลือกในตลาดหลากหลายรุ่นทีเดียว แต่ในบทความนี้เราจะมาดูโน้ตบุ๊ก AMD น้ำหนักเบาที่น่าสนใจด้วยกัน 5 รุ่นกันครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก