ก็เช่นเคยครับ นั่นคือเครื่องที่ใช้ในการเปรียบเทียบก็เป็นเครื่องจากในเว็บ notebookcheck เอง ซึ่งสาเหตุที่เราไม่นำเครื่องทั้งหลายที่เราทดสอบมาเปรียบเทียบ ก็เนื่องจากสภาวะในการทดสอบที่แตกต่างกัน เราจึงเลือกใช้แต่ข้อมูลจากในเว็บอย่างเดียวครับ
เริ่มกันด้วยคะแนนจาก Windows 7 Experience Index กันก่อน ไล่จากคะแนน CPU ที่เป็นคะแนนปกติสำหรับ i7-2630QM ครับ ส่วนแรมนั้นอาจจะดูน้อยไปนิดนึง เมื่อเทียบกับรีวิว Acer Aspire 8950G ที่เราได้ทำการแปลไปก่อนหน้านี้ ทั้งที่แรมมีความเร็วเท่ากัน ต่างกันที่ปริมาณ? ส่วนของคะแนนกราฟิกทั้งสองส่วนนั้นก็ไม่ได้สูงอะไรมากมาย แต่ก็อย่าพึ่งปักใจเลื่อนะครับ ว่ามันไม่แรง เดี๋ยวรอดูส่วนการทดสอบเกมตอนท้ายดีกว่า ว่าแรงแค่ไหน ส่วนคะแนน HDD ก็อยู่ในเกณฑ์ของเครื่องที่มี HDD แบบจานหมุนลูกเดียวครับ เนื่องด้วยเป็น SATA II ที่ไม่มีการทำ RAID ใดๆ
???????????????????????????????????????????
HWiNFO
เนื่องจากทาง notebookcheck ไม่ได้ลงผลจาก CPU-Z เอาไว้ มีแต่ HWiNFO นะครับ เราจึงนำมาให้เพื่อนๆดูกัน เริ่มจาก CPU ที่เป็น Sandy Bridge ในสถาปัตยกรรมขนาด 28 nm เต็มตัวอย่าง i7-2630QM โดยมีคอร์ในการประมวลผล 4 คอร์ แยกออกเป็นคอร์ละ 2 เธรด รวมแล้วมีทั้งหมด 8 เธรดในการร่วมกันประมวลผล โดยในขณะที่ capture ภาพ CPU ได้ลดการประมวลผลลงมาเหลือความเร็วเพียงแค่ประมาณ 800 MHz เท่านั้น อันเนื่องมาจากเทคโนโลยี SpeedStep ที่ลดความเร็วลงเมื่อมีการใช้งานต่ำครับ
นอกจากนี้แรมก็มีการแสดงว่ามีการทำงานที่ 1333 MHz จริง (667 x 2) ที่ CL9 น่าเสียดายที่ไม่มีข้อมูลของ GPU แต่เราจะไปดูกันในส่วนถัดไปครับ
???????????????????????????????????????????
GPU-Z
ข้อมูลที่ได้จาก GPU-Z ก็ถกต้องดีครับ ตั้งแต่ชื่อรุ่นนั่นคือ GTX 485M, สถาปัตยกรรมการผลิตที่ 40 nm, จำนวน shader, ปริมาณ Fillrate และนอกจากนี้ยังสามารถแสดงความเร็วของทั้งตัว GPU และของแรมที่เป็น GDDR5 อย่างถูกต้องอีกด้วย นั่นคือ
-
ความเร็ว GPU ? 575 MHz
-
ความเร็ว RAM ? 750 MHz
รวมไปถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลก็มาอย่างครบถ้วนทั้ง OpenCL, CUDA และ DirectCompute 5.0
???????????????????????????????????????????
CrystalDiskMark 2.2
ในการทดสอบนี้ก็ไม่มีข้อมูลจาก HD Tune นะครับ แต่มีผลการทดสอบจากโปรแกรม CrystalDiskMark 2.2 ซึ่งสามารถใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของแหล่งเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดีเช่นกัน ซึ่งสามารถทำความเร็วสูงสุดในการอ่านและเขียนเป็น 94.45 MB/s และ 93.85 MB/s ตามลำดับ ถือว่าทำได้ดีมากเลยทีเดียว และถ้ายิ่งต่อ RAID ด้วย ไม่อยากจะนึกเลยว่าจะแรงขนาดไหน
???????????????????????????????????????????
PCMark Vantage
มาต่อกันด้วยกราฟเปรียบเทียบผลการทดสอบจากโปรแกรม PCMark Vantage ที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพของระบบโดยรวมได้ในระดับหนึ่ง เราไปดูกราฟกันดีกว่า
เมื่อจับเทียบกันกับรุ่นอื่นๆ อย่างเมื่อเทียบกับรุ่นสูงสุดในนี้ อย่าง P501 ด้วยกัน ที่มีการใช้ CPU อย่าง i7-2920XM ที่แรงกว่า พบว่าคะแนนต่ำกว่าถึงราวๆ 1400 คะแนน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Acer Aspire 8650G ที่เราเคยแปลมาแล้ว ซึ่งมี CPU รุ่นเดียวกัน ต่างกันที่ GPU ก็พบว่า XMG P501 แรงกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว
???????????????????????????????????????????
3DMark Vantage
คราวนี้มาดูผลการทดสอบจาก 3DMark Vantage กันบ้าง ซึ่งการทดสอบนี้จะเน้นไปที่ GPU ในการแสดงผลสามมิติครับ
ก็ต้องขอเทียบกับตัวเดิมเลย นั่นคือ P501 ที่ใช้ CPU แรงกว่า เมื่อดูจากคะแนน ก็พบว่าต่างกันเพียงแค่ราวๆ 300 กว่าคะแนนเท่านั้น ก็เนื่องจากในการทดสอบนี้ CPU นั้นไม่ใช่ตัวแปรสำคัญของคะแนนครับ ตัวแปรสำคัญคือ GPU มากกว่า ดังจากเมื่อเปรียบเทียบกับ Acer Aspire ที่ใช้ CPU เดียวกัน แต่ GPU เป็น HD 6850M ที่คะแนนทิ้งห่างมากมายเลยทีเดียว แสดงถึงความแรงของ GTX 485M ได้เป็นอย่างดี
???????????????????????????????????????????
Cinebench R10
เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ใช้วัดความสามารถในการ render ของ CPU ได้ดีครับ เราไปดูผลการเปรียบเทียบเลยละกันนะ โดยคะแนนที่ได้นี้เป็นคะแนนในการทดสอบแบบ Rendering Multi 32Bit
เมื่อดูจากรุ่นที่ใช้ i7-2630QM ทั้งสามรุ่น คะแนนก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกันมากเลยทีเดียว พอเป็น i7 ในรุ่นเก่ากว่าก็พบว่าคะแนนมีความแตกต่างอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
???????????????????????????????????????????
Temperature
ในครั้งนี้ไม่มีการวัดอุณหภูมิของตัว CPU, GPU และ HDD ก่อนการ burn-in นะครับ? แต่มีอุณหภูมิของตัวเครื่องแทน โดยในการทดสอบนั้น จะทำให้เครื่องมีการทำงาน 100% เต็มเป็นเวลา 4 ชั่วโมงติดต่อกัน
Idle
อุณหภูมิที่ได้ในขณะ idle ถือว่าเย็นมากเลยทีเดียว ที่อุณหภูมิห้อง 22 องศา ตัวเครื่องด้านบนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 29.4 องศาเซลเซียส ส่วนด้านล่างก็เฉลี่ยเพียง 32.9 องศา โดยจุดที่ดูจะร้อนที่สุดก็เป็นส่วนของ CPU, ตรงกลางเครื่องและส่วนที่น่าแปลกใจ ก็คือส่วนของ touchpad ที่มันไม่ควรจะร้อนขนาดนี้ แต่ยังดีครับ ที่บริเวณที่วางข้อมือยังไม่ร้อนเท่าไร
Load
เมื่อปล่อยให้ full load ก็พบว่าอุณหภูมิไม่สูงขึ้นเท่าไรเลยครับ น่าพอใจมากๆในจุดนี้ อาจจะเนื่องจากการระบายความร้อนที่ดีของตัวเครื่องนั่นเอง โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของตัวเครื่องด้านบนคือ 32.2 องศา ส่วนด้านล่างเฉลี่ย 38.4 ซึ่งต่างจากตอน idle แค่ราวๆ 6 องศา และส่วนที่มีอุณหภูมิสูงสุดก็คือ CPU, GPU และตรงกลางเครื่อง นอกจากนี้ ส่วน touchpad ก็ยังมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสุงอีกด้วย ซึ่งดูจะไม่ค่อยดีซักเท่าไร ถ้าไม่ได้ใช้เม้าส์ต่อเพิ่มในขณะใช้งาน
???????????????????????????????????????????
Battery
ในเรื่องของระยะเวลาการใช้งาน battery ก็สามารถสรุปเป็นกราฟ ได้ตามข้างบนครับ ถ้าจะคิดเป็นจำนวนชั่วโมงง่ายๆก็คือ
- Idle = 3 ชั่วโมง 30 นาที
- เล่น DVD = 2 ชั่วโมง
- Load = 1 ชั่วโมง 50 นาที
ถือว่านานพอสมควร เมื่อดูจากสเปกของทั้งตัวเครื่องและแบตที่ให้มา