ต่อไปเรามาดูใต้เครื่องกันบ้าง จะเห็นได้ว่ามีฝาปิดฝาใหญ่เพียงฝาเดียว เวลางัดต้องระวังพอสมควรมิงั้นอาจจะหักได้นะครับท่าน
ขอบยางขนาดใหญ่ช่วยในการยึดเกาะที่มีอยู่บริเวณทั้ง 4 มุมของเครื่อง
Sticker บ่งบอกถึงสถานะต่างๆ รวมทั้งยี่ห้อและรุ่นไว้อย่างชัดเจน
เมื่อเปิดฝาออกจะเห็นได้ว่าภายในถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ได้แก่ ตำแหน่งวาง Harddrisk และอุปกรณ์สำคัญ อาทิ CPU , GPU , RAM
HDD ของเครื่องที่ทางทีมงานได้รับมาทดสอบนั้นมีถึงลูก แถมยังเป็นแบบ 7200rpm อีกด้วย ( ตัวจำหน่ายจริงมีเพียงลูกเดียว ) ซึ่งนับเป็นได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะทำให้รองรับขนาดความจุที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาล แต่ก็ต้องแลกกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากนั้นยังสามารถทำ Raid ได้อีกด้วย
ถัดมาเรามาดูขุมพลังความแรงจากหน่วยประมวลกราฟิคอย่าง GTX260M จาก nVIDIA ซึ่งเป็นแบบ MXM สามารถเปลี่ยนได้เมื่อต้องการ สังเกตุได้ว่า Heatpipe นั้นครอบคลุมไปถึงเม็ดแรมต่างๆบนการ์ดจออีกด้วย
RAM DDR2 ขนาด 4GB ที่อยู่บริเวณเดียวกับการ์ด Wireless Intel 5100ABGN
Heatpipe นั้นแบ่งออกเป็น 2 ท่อท่อแรกคงเห็นไปแล้วว่านำพาความร้อนจาก GPU อีกท่อหนึ่งนั้นนำพาความร้อนจาก CPU และ Chipset ของเครื่อง
พัดลมระบายความร้อนขนาดมหึมาของ Asus G51VX
สำหรับตัวฝาปิดนั้นทาง Asus เจาะมาให้พอสมควรเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเกือบจะครบละ
ในส่วนตรงวงกลมที่เห็นอยู่นี้จะตรงกับตำแหน่งของพัดลมพอดี ซึ่งทาง Asus ไม่ได้เปิดมาไว้ให้ครับ
แต่ถ้าหากท่านอยากเปิดก็สามารถทำได้ เพราะวัสดุที่ปิดนั้นเป็นเพียงพลาสติกสีดำบางที่สามารถลอกออกได้อย่างไม่ยากเย็น
Battery ขนาด 6 Cell ของทาง G51VX ต้องขออภัยมาตรงนี้ที่ไม่สามารถทดสอบอัตราบริโภคพลังงานมาให้ชมได้ อันเนื่องมาจากเครื่องที่รับมานั้นมีอัตรา Wear Level ที่สูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว