ในที่สุด Windows 8 RTM ทั้งตัวของ Windows 8 และ Windows RT ก็ได้ถูกส่งถึงมือเหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางทีมงานของ Microsoft ต่างก็มีความภาคภูมิใจกับตัว Windows 8 มาก เนื่องด้วยการพัฒนามากขึ้นในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการทำงาน/การรีดประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์, ความเสถียรในการทำงาน รวมไปถึงระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ในกลุ่มเครื่องพกพาที่สามารถทำได้ดีขึ้นกว่าใน Windows 7 มาก รวมไปถึงยังคาดหวังว่าตั้งแต่ยุคของ Windows 8 นี้ ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีเยี่ยมจากทั้งตัว Windows 8 เอง และจากอุปกรณ์ ที่ทั้งฝั่ง PC ก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก เช่นกลุ่มของเครื่องพกพาก็จะมีขนาดที่บางเบาลง แต่ยังเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพและการแสดงผลจากหน้าจอติดเครื่องที่ทำได้ดีกว่าเดิม หรือจะเป็นกลุ่มชิป x86 กินไฟต่ำเช่น Intel ATOM ก็เชื่อได้ว่าจะมีการทำงานที่ดีกว่าเดิม เช่นใน Lenovo ThinkPad Tablet 2 ที่จะออกมาให้เห็นกันเร็วๆ นี้
ส่วนกลุ่มของ Ultrabook ที่น่าจะเป็นสินค้าหลักในอีกไม่นานนี้ ก็จะมีความสามารถมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเร็วที่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน การทำงานที่เสถียรมากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าจะมีจอสัมผัสอยู่ในตัวด้วย
รวมไปถึงกลุ่มเครื่องที่ใช้ชิปประมวลผลตระกูล ARM ที่มาในแพลตฟอร์มแบบ System-on-chip (SOC) ที่ Microsoft จัดการปรับแต่ง Windows RT ให้สามารถใช้งานชิปประมวลผลได้อย่างเต็มที่ แต่ก็ยังคงความสามารถในการกินไฟที่น้อยอยู่ ทั้งนี้ผู้ที่จะใช้งาน Windows RT ก็ไม่ต้องกังวล เนื่องด้วยคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
- Windows RT นั้นแชร์โค้ดและคอร์กับ Windows 8 ตัวเต็มๆ จึงทำให้ยังคงความสามารถการรองรับฮาร์ดแวร์ต่างๆ ได้ดีอยู่
- จะมีชิปประมวลผลจากหลายๆ บริษัทชื่อดังที่ีรองรับการทำงานของ Windows RT ไม่ว่าจะเป็น NVIDIA, Qualcomm, Texas Instrument
- เครื่องที่ใช้งาน Windows RT จะมีน้ำหนักเบาและสะดวกต่อการพกพา รวมไปถึงสามารถใช้งานแบตเตอรี่ไดเนานกว่าเครื่อง PC ทั่วไป และที่แน่ๆ คือมันจะสามารถใช้งานได้ง่ายต่อทุกๆ คน
ซึ่งในขณะนี้ก็มีอยู่หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน Windows RT แน่นอน นั่นคือ ASUS Tablet 600 และยังจะมีแท็บเล็ตจากทั้ง Dell, Samsung และ Lenovo ช่วยสร้างตลาดให้อีกในอนาคต ส่วนรูปด้านล่างนี้ก็เป็นรูปตัวอย่างของ เครื่องแพลตฟอร์ม PC ที่ใช้งาน Windows RT ครับ (คาดว่าน่าจะออกมาหลัง Surface) โดยฝั่งซ้ายเป็นรูปของ prototype ส่วนรูปขวาคือรูปผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการทดสอบในปัจจุบัน ซึ่งมีหน้าจอขนาด 10.1 และ 11.6 นิ้ว
โดยในการทดสอบขณะนี้ ได้เน้นในเรื่องการใช้พลังงานที่ตั้งเป้าจะให้ลดลงกว่าเดิม โดยตัวอย่างการทดสอบพบว่า สามารถเปิดวิดีโอความละเอียดระดับ HD ได้นาน 8 – 13 ชั่วโมง และสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายแล้ว stand-by เครื่องไว้ได้นานกว่า 320 – 409 ชั่วโมงด้วยกัน ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ก็น่าจะกลายมาเป็นมาตรฐานคร่าวๆ ต่อไปในอนาคตแน่ๆ ส่วนตารางด้านล่างนี้ก็เป็นตารางแสดงขนาดเครื่องคร่าวๆ ครับ
ส่วนด้านล่างนี้ก็เป็นรูปของการใช้นิ้วทำ gesture บนทัชแพดที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้ดีกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตทัชแพด และผูผลิตเครื่องด้วย (ซึ่งถ้าทำได้มาอยู่ในระดับเดียวกับหรือดีกว่าเครื่องตระกูล MacBook ก็จะดีมากเลยทีเดียว)
ที่มา : MSDN Blog