Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

[Review] Gaming Notebook ใช้ชิป AMD Ryzen 1700 และ RX 580 : Asus ROG Strix GL702ZC – ฉบับแปล

มาแล้วครับกับรีวิวที่แฟนๆ AMD รอคอยกับ Asus ROG Strix GL702ZC โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับ Platform ของทาง AMD ไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของหน่วยความจำที่ใช้ Ryzen 1700 และชิปกราฟิก RX 580 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีผู้ใช้ไม่น้อยรอดูประสิทธิภาพ

มาแล้วครับกับรีวิวที่แฟนๆ AMD รอคอยกับ Asus ROG Strix GL702ZC โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับ Platform ของทาง AMD ไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของหน่วยความจำที่ใช้ Ryzen 1700 และชิปกราฟิก RX 580 ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีผู้ใช้ไม่น้อยรอดูประสิทธิภาพของการทำงานว่าจะเจ๋งจริงอย่างที่เขาว่ากันหรือไม่ครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 01

Advertisement

อย่างไรก็ตามแต่ Asus ROG Strix GL702ZC นั้นมีหลายโมเดลครับ โดยเครื่องรุ่นที่ทาง ULTRABOOKREVIEW นำมารีวิวนั้นเป้นรุ่นท๊อปสุด โดยในการวางจำหน่ายจริงจะมีเครื่องโมเดลที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Ryzen 5 1600 ที่มาพร้อมกับแกนการประมวลผล 6-core / 12-thread มาให้เลือกด้วย อย่างไรก็ตามแต่ไปดูสเปคของเครื่องที่รีวิวกันครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review spec 600

สำหรับ Ryzen 7 นั้นจะมาพร้อมกับ 8-core / 16-thread โดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 3.0 GHz และ Turbo Boost อยู่ที่ 3.7 GHz ส่วนชิปกราฟิก RX 580 นั้นจะมีความเร็วลดจากเวอร์ชัน Desktop มาอยู่ที่ 1,077 MHz(จากเดิม 1,250 MHz) ตัวเครื่องมาพร้อมกับหน่วยความจำ(RAM) มากถึง 24 GB แบบ DDR4 ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ

Design

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 02Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 05Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 03

ในส่วนของดีไซน์นั้นคงต้องบอกเลยครับว่า GL702ZC ไม่ได้แตกต่างไปจากโน๊คบุ๊คในซีรีส์ ROG Strix มาสักเท่าไรนัก ซึ่งนั่นหมายความว่ามันมาพร้อมกับตัวเครื่องที่เป็นสีดำซะเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีจุดตัดที่เป็นสีแดงในส่วนของแถบด้านหน้าเครื่องและโลโก้ของ ROG Strix รวมถึงโลโก้ ROG ที่อยู่ทางด้านบนของคีย์บอร์ดด้วยครับ

อย่างไรก็ตามแต่ตัวเครื่อง GL702ZC นั้นให้ความรู้สึกว่าแข็งแกร่ง ดูแล้วทนทานแต่นั่นก็กลายเป็นว่าต้องแลกมาจากขนาดที่ใหญ่กว่า(เพราะหน้าจอดันมาพร้อมกับขนาดใหญ่ถึง 17.3 นิ้ว) และน้ำหนักของตัวเครื่องก็อยู่ที่ 3.16 kg ทำให้การขนย้ายไปใช้งานที่อื่นนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สนุกมากสักเท่าไรนักครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 06Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 07Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 08

จุดที่น่าเสียดายก็คือเรื่องของวัสดุที่ GL702ZC ที่ส่วนฝานั้นเป็นส่วนเดียวที่ใช้อลูมิเนียม โดยส่วนอื่นๆ ของเครื่องนั้นเป็นพลาสติกทั้งหมด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นพลาสติกแต่ก็สามารถสัมผัสได้ครับว่ามันเป็นพลาสติกที่มีคุณภาพพอสมควร ทั้งนี้ในส่วนอลูมิเนียมและพลาสติกทั้งหมดนั้นจะใช้สีดำในการออกแบบซึ่งนั่นก็เนื่องมาจากเพื่อให้เข้ากันกับไลน์ ROG นั่นเองครับ

ส่วนของฝาพับหน้าจอนั้นสามารถที่จะกางหน้าจอให้ทำมุมได้สูงสุดที่ 145 องศา ซึ่งถือว่ากำลังอยู่ในจุดที่เหมาะสมและไม่ไปบังช่องระบายความร้อนของตัวเครื่องที่อยู่ข้างหลัง ทางด้านล่างของตัวเครื่องจะมีฐานยางสำหรับยกตัวเครื่องให้สูงกว่าพื้นผิวที่วางเล็กน้อยเนื่องจากว่าทางด้านล่างก็มีช่องระบายอากาศด้วยเช่นเดียวกันครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 04Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 09Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 12

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 10Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 11

สำหรับพอร์ทต่างๆ ที่ GL702ZC มีมาให้นั้นจะประกอบไปด้วย USB 3.0 Type A จำนวน 3 พอร์ท, USB Type C จำนวน 1 พอร์ท, HDMI 2.0 และ mini DP อย่างละ 1 พอร์ท, RJ45, card-reader, headphone/mic jack และ Kensington lock ซึ่งพอร์ทโดยส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ทางด้านซ้ายของเครื่องครับ

Keyboard and trackpad

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 13

สำหรับคีย์บอร์ดนั้นเรียกได้ว่ายกมาจากไลน์ GL702s รุ่นอื่นซึ่งสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี จุดด้อยนั้นจะอยู่ที่ทางด้านขวาของตัวคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม Numpad ซึ่งอยู่ติดกันแน่นไปหน่อย แถมปุ่ใลูกศรนั้นก็มีขนาดค่อนข้างที่จะเล็กทำให้ในการเล่นเกมแล้วสำหรับผู้ที่มีนิ้วมือใหญ่หน่อยอาจจะเกิดปัญหาในการกดปุ่มผิดได้ครับ

แรงตอบรับเวลาที่คุณกดปุ่มคีย์บอร์ดนั้นค่อนข้างที่จะต่ำครับ ดังนั้นแล้วนี่ก็อาจจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งสำหรับผู้ใช้บางคนที่ชอบแรงตอบรับของคีย์บอร์ดที่มากกว่านี้แต่เสียงของคีย์บอร์ดนั้นในการกดแต่ละปุ่มจะค่อนค้างเงียบครับ ตัวคีย์บอร์ดมาพร้อมกับไฟส่องสว่างสีแดงซึ่งถือว่าสว่างดีในระดับหนึ่งถึงแม้ว่าจะใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงรอบตัวค่อนข้างที่จะมาก

จุดที่แย่คงกลายมาเป็นการเลือกใช้ Elan clickpad ที่มาพร้อมกับ Microsoft Precision drivers ซึ่งไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีมากเท่าไรนักเพราะในการใช้งานจริงนั้นมันไม่คงเส้นคงวา การลากนั้นก็ค่อนข้างที่จะแปลกๆ เพราะบางทีคุณอาจจะพบว่าตัวชี้บนหน้าจอเกิดการกระโดดเล็กน้อยครับ ถึงแม้จะไม่ได้พบกันบ่อยๆ แต่ทว่าก็อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนรำคาญได้ครับ

Screen

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 14

สำหรับหน้าจอนั้น ASUS ได้เลือกหน้าจอของ GL702ZC ได้ดีกว่าที่พบในรุ่น GL702VM โดยตัวหน้าจอนั้นจะมีขนาด 17.3 นิ้วรองรับความละเอียดที่ระดับ Full HD @ 60 Hz ใช้พาเนลแบบ matte IPS แต่ถึงกระนั้นแล้วการรองรับของช่วงสีแบบ AdobeRGB นั้นก็อยู่ที่ 70% เท่านั้นดังนั้นแล้ว GL702ZC คงไม่เหมาะกับการใช้งานทางด้านกราฟิกนักสักเท่าไรครับ

screen brightness coverage 4

สำหรับการทดสอบในด้านอื่นๆ ของหน้าจอได้ผลดังต่อไปนี้ครับ

  • Panel HardwareID: LG Philips LP173WF4-SPF5 (LGD04E8);
  • Coverage: 92% sRGB, 69% NTSC, 71% AdobeRGB;
  • Measured gamma: 2.0;
  • Max brightness in the middle of the screen: 372 cd/m2 on power;
  • Contrast at max brightness: 730:1;
  • White point: 7200 K;
  • Black on max brightness: 0.51 cd/m2;
  • Average DeltaE: 1.59 uncalibrated, 1.09 calibrated.

แต่ครับแต่ GL702ZC ไม่ใช่โน๊ตบุ๊คสำหรับการทำงานทางด้านกราฟิกแต่มันเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกม ซึ่งทำให้เจ้า GL702ZC นั้นมาพร้อมกับการรองรับ AMD FreeSync ด้วยในตัวดังนั้นเมื่อใช้งานร่วมกับ RX 580 ด้วยแล้วนั้นนั่นทำให้เป็นการจับคู่ที่ลงตัวสำหรับการเล่นเกมเป็นอย่างมากเลยทีเดียวครับ(แถมความละเอียดที่ระดับ 1080p นั้นก็เรียกได้ว่าถูกใช้งานอย่างเต็มที่ในการเล่นเกมซึ่งเดี๋ยวจะกล่าวถึงต่อไปครับ

Hardware, performance

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 15

เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงสงสัยว่าทำไม GL702ZC สามารถมาพร้อมกับ Ryzen 7 1700 และ RX 580 ได้ทั้งๆ ที่ทาง AMD ยังไม่ได้เปิดตัวหน่วยประมวลผลและกราฟิกชิปในซีรีส์นี้สำหรับโน๊ตบุ๊คออกมาเลย คำตอบของคำถามนี้ก็คือทาง ASUS ใช้ฮาร์ดแวร์ทั้ง 2 ส่วนที่เป็นของ Desktop ทั้งคู่เลยครับ ดังนั้นแล้วนี่ถือว่าเป็นคำอธิบายที่ดีว่าทำไมตัวเครื่อง GL702ZC จึงมีความหนาและน้ำหนักมากกว่าโน๊ตบุ๊คเพื่อการเล่นเกมที่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 17.3 นิ้วและฮาร์ดแวร์สำหรับโน๊ตบุ๊คโดยตรงครับ

storage ssd 1

ก่อนอื่นมาดูผลทดสอบของแหล่งเก็บข้อมูลกันก่อน โดยเครื่อง GL702ZC ที่นำมาทดสอบนี้มาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูล 2 แบบคือ SSD และ HDD โดยในส่วนของ SSD นั้นเป็น M.2 80 mm SATA ความจุ 256 GB ซึ่งผลจากการทดสอบนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งการอ่านข้อมูลและเขียนข้อมูลครับ

storage hdd 1

สำหรับแหล่งเก็บข้อมูลแบบ HDD ความจุ 1 TB นั้นเรียกได้ว่าผลการทดสอบก็อยู่ในช่วงมาตรฐานซึ่งก็ไม่ได้น้อยเกินไปหรือดีเทพอะไรครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 16Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 17

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 18Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 19

การจัดวางฮาร์ดแวร์ต่างๆ นั้นถือว่าทำได้ค่อนข้างดีเป็นอย่างมากครับ แต่ระบบระบายความร้อนนั้นอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมาเนื่องจากต้องไม่ลืมว่าฮาร์ดแวร์หลักอย่างหน่วยประมวลผลและกราฟิกชิปนั้น ASUS เลือกใช้ของ Desktop ทั้งคู่ ก่อนอื่นในส่วนขอิงระบายความร้อนนั้นภายในจะมี heat pipe กระจายตัวสำหรับระบายความร้อนของหน่วยประมวลผลและกราฟิกการ์ เพื่อที่จะนำความร้อนไประบายที่พัดลมตัวใหญ่ 2 ตัวซึ่งอยู่ทางด้านหลังของตัวเครื่องครับ

สำหรับหน่วยประมวลผลนั้นบอกได้เลยครับว่าระบบระบายความร้อนสามารถที่จะจัดการความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลเนื่องจากทาง ASUS ไม่ได้ปรับลดความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ Ryzen 7 1700 ลงเลย ที่กลายมาเป็นข้อเสียก็คือ RX 580 นี่แหละครับเพราถึงแม้ว่าทาง ASUS จะลดความเร็วสัญญาณนาฬิกามาอยู่ที่ 1,077 MHz แล้วก็ตาม แต่ว่าเวลาที่เล่นเกมหนักๆ ความร้อนของมันนั้นเรียกได้ว่าร้อนในระดับที่รู้สึกได้เลยครับ

ลองมาดูกันครับว่าผลการทดสอบประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลและกราฟิกชิปจะเป็นเช่นไรบ้าง

  • 3DMark 11: P13526;
  • 3DMark 13: Sky Driver – 27188, Fire Strike – 9331, Time Spy – 3776;
  • 3DMark 13 Graphics: Sky Driver – 33206, Fire Strike – 10679, Time Spy – 3483;
  • PCMark 08: Home Conventional – 5222;
  • PCMark 10: 4228;
  • Passmark: CPU Mark – 13937, 3D Graphics Mark – 7698;
  • Geekbench 3 32-bit: Single-Core: 3672, Multi-core: 26595;
  • Geekbench 4 64-bit: Single-Core: 3959, Multi-core: 23725;
  • CineBench 11.5: OpenGL 85.04 fps, CPU 15.28 pts, CPU Single Core 1.49 pts;
  • CineBench R15: OpenGL 102.27 fps, CPU 1407 cb, CPU Single Core 133 cb;
  • x264 HD Benchmark 4.0 32-bit: Pass 1 – 156.71 fps, Pass 2 – 65.56 fps;
  • x264 HD Benchmark 5.0 64-bit: Pass 1 – 70.08 fps, Pass 2 – 15.06 fps.

การทดสอบนั้นถือว่าน่าพอใจครับ ต่อไปลองไปดูผลการทดสอบหน่วยประมวลผลเทียบกับ Core i7-7700HQ กันครับ

GL702ZC CPU benchmark compare

ผลคะแนนนั้นเป็นไปตามความคาดหมายครับ เมื่อการทดสอบไหนใช้หน่วยประมวลผลแบบ multi-core จะเห็นได้ว่า Ryzen 7 1700 นั้นสามารถทำคะแนนได้ดีกว่า แต่ทว่าพอเปลี่ยนมาเป็นการทดสอบที่ใช้หน่วยประมวลผลแบบ single core นั้นจะเห็นได้ว่าทาง Core i7-7700HQ กลับสามารถทำคะแนนชนะไปได้ครับ

GL702ZC GPU benchmark compare

ด้วยความที่ RX 580 นั้นเป็นชิปกราฟิกบน Desktop นั้น ทาง ULTRABOOKREVIEW จึงได้นำไปเทียบกับ GTX 1060 ของ Desktop ผลนั้นก็เป็นไปตามความคาดหมายมีชนะมีแพ้กันไปในแต่ละการทดสอบ(แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า RX 580 บน GL702ZC นั้นถูกลดความเร็วสัญญาณนาฬิกาลงมา)

อย่างไรก็ตามแต่แล้วเจ้าชิปกราฟิก RX 580 นี่กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ของ GL702ZC เลยหล่ะครับ เนื่องจาถึงแม้ว่ามันจะถูกลดความเร็วสัญญาณนาฬิกามาแล้วแต่ทว่าความร้อนที่เกิดขึ้นในการใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอน Full load นั้นพุ่งไปถึง 90 องศาเซลเซียส แถมอัตราการใช้พลังงานก็มากถึงขนาดที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไปเลยหล่ะครับ

stres cpu gpu

ภาพทางด้านบนต่อไปนี้เป็น stress tests ของทั้ง CPU และ GPU ด้วยการรันโปรแกรม Prime95 และ Furmark ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งผลนั้นก็เป็นอย่างที่บอกครับว่า GPU ความร้อนสูงขึ้นถึง 90 องศาเซลเซียส ส่วน CPU นั้นขึ้นไปสูงสุดที่ 85 องศาเซลเซียส(แต่ถ้าทำ stress tests แค่ส่วนของ CPU อย่างเดียวนั้นอุณหภูมิของ CPU จะมากสุดที่ 75 องศาเซลเซียสครับ)

Emissions (noise, heat)

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 20

GL702ZC มาพร้อมกับระบบระบายความร้อนที่ใช้พัดลมค่อนข้างใหญ่กว่าปกติ พร้อมกับการวางตัวของ heat pipe ที่ครอบคลุม CPU และ GPU ซึงตัวพัดลมนั้นจะมีความใหญ่ที่ต่างกันคือฝั่งขวาที่ใกล้กับ CPU นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าฝั่งซ้ายที่ใกล้กับ GPU มากกว่าครับ

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 21

เมื่อแกะในส่วนของ heat pipe ออกมาแล้วนั้นจะเห็นได้ครับว่าชิปกราฟิกจะเป็นแบบฝังบนตัวบอร์ด ทว่า CPU นั้นจะมาเป็น socket ดังนั้นแล้วมีความเป็นไปได้สูงครับว่าเราอาจจะสามารถทำการเปลี่ยน CPU ให้กับเจ้า GL702ZC ได้เองครับ

มาพูดกันถึงในเรื่องของเสียงพัดลมระบายอากาศกันครับ โดยปกตินั้นเสียงของพัดลมจะค่อนข้างเบาโดยอยู่ที่ 40 – 42 dB เท่านั้น แต่ในการทำงานทั่วไปนั้นเสียงของพัดลมจะกระโดดมาที่ 44 dB แล้วเมื่อทำการเล่นเกมแล้วนั้นเสียงของพัดลมจะกระโดดมาที่ 55 – 56 dB หากวัดจากทางด้านหน้าของตัวเครื่อง แต่ถ้าวัดทางด้านหลังแล้วจะมีเสียงอยู่ที่ 60 dB ดังนั้นแน่นอนครับว่าเสียงพัดลมนั้นอาจจะทำให้ใครหลายๆ คนรำคาญได้ครับ

หมายเหตุ – และเป็นที่คาดเดาได้ครับว่าเสียงที่เกิดขึ้นจากการทำ stress tests ของ CPU เพียงอย่างเดียวนั้นเสียงจะดังขึ้นไม่มากคืออยู่ที่ 46 dB แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการใช้งาน GPU ร่วมเข้ามาด้วยรับรองว่าเสียงดังแบบสุดๆ ไปเลยครับ

temperatures dailyuse asus gl702zc 600

temperatures load asus gl702zc 600

*Daily Use – 1080p Youtube clip in EDGE for 30 minutes
*Load – playing Far Cry 4 for 30 minutes

ในการใช้งานทั่วไปนั้นคุณจะรู้สึกได้ครับว่าอุณหภูมิของ GL702ZC จะอยู่ในระดับอุ่นๆ แต่เมื่อทำการเล่นเกมเมื่อไร อุณหภูมินั้นอาจจะทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกว่ามันร้อนขึ้นมาได้ครับ

Battery life

power brick 600

มาถึงเรื่องที่หลายๆ คนใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คเป็นพิเศษกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ซึ่งผลการทดสอบนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ

  • 42 W (~1 h 45 min of use) – very light browsing and text editing in Google Drive, Power Saving Mode, screen at 30%, Wi-Fi ON;
  • 45 W (~1 h 40 min of use) – 1080p fullscreen video on Youtube in Internet Explorer, Power Saving Mode, screen at 30%, Wi-Fi ON;
  • 42 W (~1 h 45 min of use) – 1080p fullscreen .mkv video in the Movie app,Power Saving Mode, screen at 30%, Wi-Fi ON;
  • 45 W (~1 h 40 min of use) – 4K fullscreen .mkv video in the Movie app, Power Saving Mode, screen at 30%, Wi-Fi ON;
  • 51 W (~1 h 30 min of use) – heavy browsing in Edge, Power SavingMode, screen at 30%, Wi-Fi ON.
  • 65 W (~1 h 10 min of use) – gaming, High Performance Mode, screen at 30%.

ถึงแม้ว่าทาง ASUS จะให้แบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับความจุค่อนข้างสูงคืออยู่ที่ 76 Wh แต่ทว่าในทุกๆ การทดสอบนั้นพบว่าอายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่มีการทดสอบใดเลยที่เกิน 2 ชั่วโมงครับ ซึ่งหากจะว่าไปแล้วการที่ ASUS เลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของ Desktop มาทำเป็นโน๊ตบุ๊คอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเท่าไรนัก

หมายเหตุ – กาดทดสอบนั้นเปิดความสว่างของหน้าจอที่ระดับ 30% มีความสว่างที่ราวๆ 120 nits และเปิด Power Saving

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Power Supply กำลังไฟฟ้า 280 W ของ GL702ZC นั้นมีน้ำหนักเยอะมากคืออยู่ที่ราวๆ 1.3 kg โดยการชาร์จให้เต็มหนึ่งครั้งนั้นจะใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงด้วยกัน

Summary

Asus ROG Strix GL702ZC Review 600 23

Asus ROG Strix GL702ZC นั้นถือว่าเป็น Desktop ที่อยู่ในร่างของโน๊ตบุ๊คก็ว่าได้ครับ การใช้ Ryzen 7 1700 นั้นน่าจะได้ใจแฟนๆ AMD หลายๆ คนแต่การนำมาจับคู่กับ RX 580 ที่มีอัตราการใช้คายความร้อนและใช้พลังงานค่อนข้างมากนั้นอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเท่าไร(อย่างที่ได้เห็นจากอายุการใช้งานแบตเตอรี่)

ผู้ซื้อคงจะต้องเลือกเอาหล่ะครับว่าจะพร้อมแบกโน๊ตบุ๊คที่มีน้ำหนักรวมกับ power supply ค่อนข้างจะมากไปไหนมาไหนรึเปล่า แถมราคาของตัวเครื่องนั้นก็ไม่ใช่น้อยๆ เพราะอยู่ที่ราวๆ $1499 หรือประมาณ 49,800 บาท ซึ่งราคาในระดับนี้นั้นมีตัวเลือกที่ดีกว่าอยู่มากในตลาด ซึ่งยังคงให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า Asus ROG Strix GL702ZC อีกด้วยครับ

จุดเด่น

  • มีโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้วที่มีน้ำหนักมากกว่า Asus ROG Strix GL702ZC
  • หน้าจออยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับ AMD FreeSync
  • คีย์บอร์ดสามารถใช้งานได้ดี
  • ประสิทธิภาพการทำงานแบบ multi-thread ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ
  • ลำโพงให้เสียงดี
  • ถ้าเทียบกับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมอื่นๆ ที่ราคาเท่ากันถือว่าคุ้มกว่า

จุดด้อย

  • ความหนาและน้ำหนักค่อนข้างจะมากกว่าโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้วในปัจจุบัน
  • เส้นแต่งที่ฉายสีแดงซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของเครื่องดูไร้ประโยชน์
  • RX 580 ไม่ใช่กราฟิกชิปที่เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับโน๊ตบุ๊ค
  • ประสิทธิภาพอายุการใช้งานแบตเตอรี่ต่ำมาก
  • เสียงของพัดลมเมื่อใช้งานแบบ full load ดังมาก

ที่มา : ultrabookreview

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นใหม่ก็มา รุ่นเก่าสเปคเด็ดก็มี ถ้าใครอยากเปลี่ยนเครื่องอยู่นาทีนี้มีรุ่นน่าโดนให้เลือกเพียบ! จะปี 2024 นี้หรือปีไหนโน๊ตบุ๊คเล่นเกมก็ยังคงเป็นตัวเลือกขวัญใจใครหลายคนเพราะประสิทธิภาพดี ทรงพลังเหลือเฟือไม่ว่าจะงานเบาๆ ทำเอกสารไปจนตัดต่อคลิปและงาน 3D ก็ไหว เล่นเกมก็ได้สบายๆ ยิ่ง 2~3 ปีมานี้ พอเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ซีพียูกับจีพียู็ยิ่งทรงพลังก็ทำให้เกมเมอร์และครีเอเตอร์ที่ไม่อยากเสียเวลาประกอบพีซีให้วุ่นวายเลือกตัดปัญหาทั้งหมดโดยซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมสเปคแรงมาใช้แทน แถมได้เปรียบว่าพกพาสะดวกหยิบไปทำงานได้ กลับบ้านต่อหน้าจอแยกก็เล่นเกมชั้นนำได้ดีพอตัว นอกจากสเปคแล้ว ในปี 2024 ที่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายแบรนด์ก็เสริม AI...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook 14 OLED UM3406H พรีเมี่ยมโน๊ตบุ๊คพร้อมพลัง Ryzen AI ทำงานได้ เนียนเล่นเกมลื่นอีก!! ถ้าจะซื้อโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง ก็จะมีทางเลือกแค่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหนาหนักแต่แรงทรงพลังหรือเป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คบางเบาเช่นเดียวกับ ASUS Zenbook 14 OLED UM3406H ทว่ามันจะไม่ติดข้อจำกัดเดิมว่าเล่นเกมไม่ไหวอีกต่อไปด้วยพลังของซีพียู AMD Ryzen 8000 Series พร้อม Ryzen...

รีวิว Asus

ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เกมมิ่งตัวบางแอบแรง หยิบไปไหนก็ดูดีไม่มีใครเกิน!! ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เป็นหนึ่งในสามหัวหอกเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจากทาง ASUS ผู้คงรูปลักษณ์เรียบหรูผู้ดี ขณะที่อีกสองพี่น้องเป็นเกมมิ่งตัวแรงทรงพลังขวัญใจเกมเมอร์ปรับสุดทุกเกม ROG Zephyrus G14 จึงเหมาะกับพนักงานออฟฟิศผู้รักในการเล่นเกมและครีเอเตอร์ปั้นงานกราฟิค 3D เสียมากกว่า ซึ่งโมเดลปี 2024...

CONTENT

AMD Ryzen 8040 series ซีพียูรุ่นใหม่ เอาใจคอเกม เล่นเกมไหลลื่น พร้อมมี AI ในตัว AMD Ryzen 8040 series เป็นซีพียูโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ล่าสุดของทาง AMD ออกแบบมาเพื่อการทำงาน สร้างงานครีเอทีฟ ไปจนถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน และการเล่นเกม โดยจุดเด่นอยู่ที่การใช้พลังงานน้อย ความร้อนน้อย จึงเหมาะกับผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ที่ต้องการทั้งศักยภาพในการทำงาน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก