Connect with us

Hi, what are you looking for?

Mac Corner

MacBook Air 13 [Early 2015] Review [อัพเดทเป็น Intel Core i Gen 5 + HD6000]

อัพเดทกันอีกหนึ่งครั้งกับการมาของ MacBook Air รุ่นล่าสุดโดยมีการเปิดตัวและจำหน่าย MacBook Air 13 [Early 2015] ในประเทศไทยไปซักพักแล้ว ที่แน่นอนว่ามาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลทั้งขนาด 11 และ 13 นิ้วเช่นเดิม

อัพเดทกันอีกหนึ่งครั้งกับการมาของ MacBook Air รุ่นล่าสุดโดยมีการเปิดตัวและจำหน่าย MacBook Air 13 [Early 2015] ในประเทศไทยไปซักพักแล้ว ที่แน่นอนว่ามาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลทั้งขนาด 11 และ 13 นิ้วเช่นเดิม แม้ว่าดีไซน์การออกแบบยังคงเหมือนเดิมแต่ก็ยังน่าสนใจอยู่ ล่าสุดทางทีมงานได้ขออนุญาติทาง iStudio by comseven ไปรีวิวถึงหน้าร้านกันเลยทีเดียว สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ซึ่งมาพร้อมกับสเปก Intel Core i Gen 5 (Broadwell) ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นกว่ารุ่นก่อน

นอกเหนือจากนั้นยังได้มีการอัพเดทพอร์ตการเชื่อมต่อเป็น Thunderbolt 2 และเพิ่มความเร็วของ SSD เข้าไปอีกด้วย เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย กับในส่วนของคนที่กำลังเล็งซื้อ MacBook Air เครื่องใหม่อยู่ ที่ในบทความรีวิวนี้เราจะมีมาดูกันว่า MacBook Air 13 [Early 2015] มีความน่าสนใจขนาดไหนกับผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วย OS X 10.10 Yosemite ท่ามกลางกระแสคอมพิวเตอร์พีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 อยู่มากมาย

Advertisement

Specification

สเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทุกรุ่นก็คือสเปกของ Ultrabook ที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i5-5250U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ แต่ประสิทธิภาพนั้นเทียบชั้นได้กับ Core i5 ปกติเลยทีเดียว ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.6 GHz และยังแอบ Turbo Boost ขึ้นไปได้สูงสุดถึงกว่า 2.7 GHz อีก และแน่นอนว่าภายใน MacBook Air 13 [Early 2015] ก็มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 6000 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว

MacBook Air มีขนาดจอให้เลือกคือ 13.3 นิ้ว บนความละเอียดสูง 1440 x 900 พิกเซล และขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ MacBook Air ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบฝังมาบนเมนบอร์ดเลยโดยมีขนาด 4GB ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้เวลาจะสั่งซื้อต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเพิ่มแรมหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,000 บาทด้วยกัน

ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ SSD บน MacBook Air จะมีความจุ 128GB และ 256GB ให้เลือก โดยเครื่องที่เรานำมารีวิวนั้นเป็นความจุ 128GB ที่แม้ว่าจะดูน้อยแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากนี้ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้งหมดยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยความสำรองเป็น PCIe รุ่นล่าสุด ซึ่งความให้ในการทำงานมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวทีเดียว อีกทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังครบครัน (ตามสไตล์ Mac ) ทั้ง USB 3.0, Thunderbolt 2 และ Bluetooth 4.0 เป็นต้น ซึ่ง Apple มีสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ให้เลือกดังต่อไปนี้ (สเปกชิปประมวลผลและแรมเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ความจุ SSD ซึ่งใครอยากได้แรงกว่านี้ ต้องสั่ง CTO เอง)

Hardware / Design

MacBook Air 2015 Review 001

โดยด้านดีไซน์การออกแบบ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงในส่วนของรูปทรงแบบเก่าไว้ทั้งหมดไม่ต่างจาก MacBook Air 13 ในรุ่นก่อน ทั้งวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook Air ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น

ซึ่งก็ถือได้ว่า Unibody เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ MacBook เหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องของการออกแบบให้มีความบางแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก

ดีไซน์ของ MacBook Air 13 [Early 2015] มีการออกแบบที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งในเรื่องของความบางตัวเครื่องที่หนาที่สุดก็จะอยู่ที่ 17 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักที่ 1.35 กิโลกรัม แน่นอนว่าทั้ง Super Drive (DVD-RW Drive) ไม่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวเครื่องมีความบางและเบาลงตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา (ถ้าจะใช้อ่านเขียนแผ่น DVD ต้องซื้อไดร์ฟแยก) และที่ขาดไม่ได้เลยของ MacBook ก็คือโลโก้ Apple ที่สามารถเปล่งแสงได้ตามความสว่างของหน้าจอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นจุดขายของ MacBook เกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ (MacBook Retina 12 รุ่นใหม่ล่าสุด ไม่มีแล้วตรงส่วนนี้)

MacBook Air 2015 Review 008

ต่อกันที่ด้านล่างตัวเครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเห็นว่า เหมือนกับ MacBook Air 13 รุ่นก่อนๆ ไม่แตกต่างกันทีเดียว โดยมีส่วนที่เป็นสีดำกลมจะเป็นยางรองตัวเครื่องทั้ง 4 ด้าน (สองตัวด้านหลังจะสูงกว่าเล็กน้อย) สำหรับส่วนของน็อตก็เป็นแบบพิเศษเช่นเดียวกับตัว MacBook Air รุ่นก่อน และ MacBook Pro Retina ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบดอกจันตรงกลางลึกลงไป เรียกได้ว่าใครจะหาซื้อไขควงมาแกะคงต้องลำบากกันเสียหน่อย (แต่เอาจริงก็แกะได้ไม่ยากนักหากมีเครื่องมือ) คาดการณ์ว่าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถแกะเครื่อง MacBook ได้ตัวเองง่ายๆ นอกจากนี้ตรงส่วนที่ใช้ยกฝาจอเพื่อเปิดเครื่องใช้งานก็จะมีการทำเป็นเว้าร่องลงไปเพื่อช่วยในการเปิดเครื่องที่ง่ายขึ้น แต่ตรงมุมแหลมทั้งสองด้านค่อนข้างคมพอสมควร แต่ก็ไม่ได้รบกวนในเรื่องของการใช้งานมากนัก

Keyboard / Touchpad

MacBook Air 2015 Review 007

คีย์บอร์ด MacBook Air 13 [Early 2015] ยังได้คงรูปแบบเดิมไว้ซึ่งก็ถือว่าทำไว้ดีอยู่แล้วเช่นกันตามสไตล์ของ Mac กับคีย์บอร์ด 4 แถวขนาด Full Size อีกทั้งด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ยังตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด รวมทั้งแป้นก็เด้งกับนิ้วเมื่อกดลงไปอย่างพอดี ที่สำคัญมาพร้อมกับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ที่สามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการ หรือจะอัตโนมัติตามสภาพปริมาณแสงก็ได้

ซึ่งบน MacBook Air 13 [Early 2015] มี Ambient light sensor คอยปรับความสว่างไปอัตโนมัติอย่างนุ่มนวลทั้ง Backlit Keyboard และความสว่างของหน้าจอ ส่วนด้านบนของแป้นคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม F1-F12 จะเป็นปุ่มฟังก์ชุ่นการทำงานพิเศษ อาทิเช่น การปรับความสว่างหน้าจอ เพิ่มเสียงลดเสียง และเรียกใช้งาน Mission Control, Launchpad & Dock ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่าปุ่ม Power ได้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งของ Eject เดิม (มุมซ้ายบนสุดของคีย์บอร์ด) เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นหลายปีก่อน

ทัชแพด หรือใน Mac จะเรียกว่า Trackpad ยังคงมีลักษณะรูปแบบหน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของสัดส่วนขนาด ที่เป็นวัสดุที่ทำออกมาได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ ซึ่งจากการใช้งานจริง พบว่าสามารถตอบสนองการใข้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งในการใช้งานแบบปกติหรือใช้งานฟังก์ชันการทำงานแบบ Multi-Touch Gesture จริงๆ อย่างที่ทัชแพดควรจะเป็นในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 5 นิ้ว ก็มีให้ใช้งานได้ครบถ้วนในระบบปฏิบัติการ OS X

Screen / Speaker

MacBook Air 2015 Review 005

MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงมาพร้อมหน้าจอแบบด้านขนาด 13.3 นิ้ว ที่มีความละเอียดที่ 1440 x 900 พิกเซล โดยเป็นสัดส่วนหน้าจอ 16:10 ตามมาตรฐานของ MacBook ของ Apple เกือบทุกรุ่น (จะมี MacBook Air 11 เท่านั้นที่ใช้สัดส่วนหน้าจอเป็น 16:9) นอกจากนี้พาเนลหน้าจอยังใช้งานเป็นพาเนล TN แบบชั้นสูง เพราะให้สีสันที่ค่อนข้างสดใสสวยงามกว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้พาเนล TN ปกติ ซึ่งบริเวณตรงกลางของขอบจอด้านล่างจะมีโลโก้ MacBook Air คิดอยู่อย่างสวยงาม

MacBook Air 2015 Review 019

สำหรับบานพับของ MacBook Air 13 [Early 2015] ดูแล้วค่อนข้างเหมือนเดิมก็คือเป็นแบบแกนเดียวที่ให้ความแข็งแรงเมื่อใช้งานและไม่หลวมหรือคลอนง่ายๆ เมื่อใช้งานไปนานๆ ประกอบกับทาง Apple ยังได้มีการติดตั้งแม่เหล็กไว้บริเวณขอบฝาด้านบนไว้สองตำแหน่งทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ตัวเครื่องและฝาประกบกันสนิท แต่ก็ไม่ถืงกับทำให้เปิดฝาขึ้นมาใช้งานลำบากแต่อย่างใด

MacBook Air 2015 Review 011

กล้องเว็บแคมบน MacBook Air 13 [Early 2015]หรือที่ทาง Apple เรียกว่า FaceTime HD camera มาพร้อมกับความละเอียด 720P ที่ให้ความคมชัดกว่า MacBook รุ่นก่อนๆ (เมื่อใช้งานจะมีไฟสีเขียวติดขึ้นมา) เรียกได้ว่าสามารถรองรับการใช้งานในเรื่องของ VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองจากกล้องเว็บแคมใน MacBook Air 13 ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจก็คือด้านข้างของกล้องยังได้มีการติดตั้ง Ambient light sensor ไว้ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพปริมาณแสงรอบๆ เพื่อคอยปรับความสว่างหน้าจอและคีย์บอร์ดให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ

MacBook Air 2015 Review 020

สำหรับลำโพงของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบสเตอริโอที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้คีย์บอร์ด เพื่อใช้พิ้นที่ในตัวเครื่องได้อย่างคุ้มค่า คุณภาพเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่เสียงดังใช้ได้ แต่ยังไงก็ด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro Retina 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก โดยส่วนตัวจัดว่าพอฟังได้ใช้งานได้ แต่ถ้าให้ดีคงจะเลือกต่อลำโพงแยกหรือหูฟังมากกว่า

ส่วนไมโครโฟนของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบคู่โดยอยู่ทางด้านข้างขอบเครื่องทางซ้าย ให้ประสิทธิภาพในการรับเสียงที่ดี ซึ่งจากการใช้งานจริงพบว่าในการใช้งาน VDO Call หรือบันทึกเสียงโดยตรงจากไมโครโฟนของเครื่อง เสียงที่ออกมานั้นมีความคมชัดพอใช้ได้ และเสียงรบกวนก็ลดน้อยลงอย่างชัดเจน

Connector / Thin And Weight

MacBook Air 2015 Review 022

MacBook Air 13 [Early 2015] จากด้านข้าง เราจะเห็นถือความบางเฉียบที่มีมากกว่าโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วทั่วไปพอสมควร เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสบายๆ ทีเดียว ซึ่งในเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อของตัว MacBook Air 13 [Early 2015] ที่ตามภาพจะเป็นด้านซ้าย ประกอบไปด้วย ช่องเสียบสายชาร์จไฟ Magsafe 2 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นแม่เหล็กดูดติดกับเครื่อง เรียกได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานสูงหากเราไม่สะดุดสายไฟ ตัวเครื่องก็จะไม่ตกลงมา ซึ่ง Magsafe เป็นสิทธิบัตรของ Apple เพียงรายเดียว ฉะนั้นแล้วเราจะเห็นที่ชาร์จแบบนี้ได้ ก็จะมีเพียง MacBook เท่านั้น ในการใช้งานหากไฟแบตเตอรี่เต็มจะมีไฟแสดงสถานะเป็นสีเขียว แต่ถ้าหากกำลังชาร์จไฟก็จะเป็นสีส้ม

MacBook Air 2015 Review 034

ถัดมาก็จะเป็น สำหรับพอร์ต USB 3.0 ด้านซ้ายนี้ได้มีใส่มาจำนวน 1 พอร์ตและช่องหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตรที่รองรับการเชื่อมต่อไมค์ในตัวอีกหนึ่งช่องด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ไมโครโฟนจำนวน 2 ตัวยังได้อยู่ติดตั้งบริเวณนี้อีกด้วย

ด้านข้างขวาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ก็จะเป็นในส่วนช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2 จำนวน 1 ช่องทาง ที่นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นช่องทางการแสดงผล Display Port ได้อีกด้วย และพอร์ต USB 3.0 อีกหนึ่งพอร์ต รวมกับด้านซ้ายก็จะมีทั้งหมดทั้งเครื่องอยู่ 2 พอร์ตด้วยกัน ตามสไตล์ของ MacBook ที่ไม่ต้องการให้มีมากจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อรูปแบบดีไซน์ สุดท้ายกับช่องอ่านการ์ดที่รองรับการ์ดความจำยอดนิยมอย่าง SD Card, SDXC Card ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบัน

MacBook Air 2015 Review 023

สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ตัวเครื่องด้านหน้าก็ยังได้มีการเว้าบริเวณตรงกลาง ลักษณะคล้ายๆ เดิมตามสไตล์ของ MacBook Air ที่ดูสวยงามลงตัว ด้วยการที่มีรูปแบบที่เว้าเข้าไปในเครื่องที่น้อยลง และด้านหลังก็ยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้ นั่นก็คือโล่งๆ เราจะเห็นเป็นเพียงแกนฝาพับที่หุ้มด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ซึ่งมิติของตัวเครื่องMacBook Air 13 [Early 2015] อยู่ที่ ความหนา (ความสูง) 1.7 เซนติเมตร / กว้าง 32.5 เซนติเมตร / ยาว 22.7 เซนติเมตร ที่เรียกได้ว่าความกว้างความยาวไม่แตกต่างไปจาก MacBook Air 13 รุ่นก่อนหน้าเลย อย่างไรก็ตามพวกซอฟต์เคสหรือกระเป๋าที่ใว้ใช้กับ MacBook Air 13 ก็สามารถใช้กับพวกซอฟต์เคสของเหล่า Ultrabook ได้อย่างสบายๆ

MacBook Air 2015 Review 018

อย่างไรก็ตามตามสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] น้ำหนักจะอยู่ที่ 1.35 กิโลกรัม ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก กับน้ำหนักเท่านี้ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสูสี

แน่นอนว่าในการใช้งานจริงบางครั้งเราจำเป็นต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วย โดยน้ำหนักก็จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ก็จัดว่ามีน้ำหนักรวมกันไม่สูงมากนัก อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยน้ำหนักยังเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เมื่อรวมอแดปเตอร์แล้ว และจากการทดลองพกพาใช้งานจริงดูแล้วก็ถือว่ามีความแตกต่างจาการพกพา MacBook Pro Retina 13 เล็กน้อยเท่านั้น

Performance / Software

Screen Shot 2558-03-23 at 3.29.56 PM

ด้านซอฟต์แวร์บน MacBook Air 13 [Early 2015] แน่นอนว่า Mac ทุกเครื่องนั้นมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง OS X ซึ่งในตอนนี้เวอร์ชั่นล่าสุดก็เป็นในส่วนของ 10.10 ที่มีชื่อว่า Yosemite โดยจะมีเวอร์ย่อยลงมาอีก อย่างใน MacBook Air 13 [Early 2015] เครื่องนี้ก็จะเป็น OS X 10.10.2 แล้ว ที่เร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนเป็น OS X 10.10.3 อีกทีหนึ่ง

ซึ่งตัว OS X เองสามารถตรวจสเปกของ Mac เครื่องนั้นๆ ได้ง่ายๆ ผ่านทาง About This Mac ซึ่งจากภาพก็แสดงให้เห็นถึงว่า Mac รุ่นนี้คือรุ่นอะไร ปีไหน และสเปกคร่าวๆ อย่าง ชิปประมวลผล, แรม, กราฟิกการ์ด, ซีเรียลนับเบอร์ และเวอร์ชั่นของ OS X โดยถ้าใครต้องการชมแบบละเอียดๆ ก็สามารถกดเข้าไปชมกันได้ที่ปุ่ม System Report ได้เลยครับ ซึ่งเรียกว่าเราจะพบกับข้อมูลและสเปกแบบละเอียดสุดๆ ไปเลย ว่าชิ้นส่วนไหนใช้อะไร ของแบรนด์ไหนบ้าง อันนี้คงไม่เจาะลงไปนะครับ เพราะมันยิบย่อยมากๆ

Benchmark (OS X)

Screen Shot 2558-03-27 at 02.42.06

โปรแกรมทดสอบเครื่องที่นิยมในฝั่ง Mac ก็คือ GeekBench ที่มีตัวเลือกให้เทสประสิทธิภาพได้ทั้งแบบ Singer-Core และ Multi-Core ซึ่งคะแนนที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลคะแนนเฉลี่ยนของ GeekBench เองได้ครับ โดยในส่วนของ Singer-Core ของ MacBook Air [Early 2015] ชิปประมวลผล Core i5 Gen5 มาพร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่า MacBook Air [Mid 2012] ที่เป็น Core i7 Gen 3 เล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นรองในส่วนของ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 อยู่พอสมควร

Screen Shot 2558-03-27 at 02.43.08

จากนั้นมาชมกันที่ Multi-Core ก็จะพบว่าผลคะแนนที่ออกมานั้นกลับน้อยกว่า MacBook Air [Mid 2012] Core i7 Gen 3 อยู่เล็กน้อย ซึ่งเทียบกันในด้านของการประมวลก็คงไม่มีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเทียบกับ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 จะเห็นได้ว่าคะแนนมีความห่างกันพอสมควร ซึ่งถ้าใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน ตัว MacBook Air [Early 2015] Core i5 Gen 5 ก็ตอบโจทย์แล้วครับ

Screen Shot 2558-03-23 at 4.09.54 PM

โดยทดสอบพลังการประมวลผลของทั้งซีพียูเป็นหลักด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ในฝั่ง OS X ของ MacBook Air 13 [Early 2015] คะแนนที่ออกมานั้นถือได้ว่าดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งชิปประมวลผล Intel Core i5-5250U ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ด Intel HD Graphics 6000 ให้ผลคะแนน OpenGL ที่มากกว่า MacBook Air 13 รุ่นก่อน พอสมควร ที่ยังไงการทดสอบ Cinebench R11.5 เราจะไปชมคะแนนฝั่ง Windows กันอีกทีนะครับ

Screen Shot 2558-03-23 at 3.40.40 PM

อีกส่วนที่หลายๆ คนอยากทราบทดสอบกันที่สุดก็คือความเร็วของ SSD ที่อยู่บน MacBook Air 13 [Early 2015] โดยเครื่องที่ทดสอบได้ติดตั้ง SSD เป็นของ Samsung ขนาดความจุ 128GB สามารถทำความเร็วเฉลี่ยในการอ่านได้ที่ประมาณ 1300 MB/s ส่วนความเร็วในการเขียนจะอยู่ช่วงประมาณ 621 MB/s ด้วยกัน ซึ่งก็คงเป็นผลมาจากการใช้การเชื่อต่อแบบ PCIe ที่โน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ระดับสูงนิยมใช้กัน รวมไปถึง SSD ประสิทธิภาพสูงจากทาง Samsung อีกด้วย ซึ่งเทียบกับรุ่นก่อนหน้าดีขึ้นกว่า 50% ถึงเกือบ 100% เลยทีเดียว

Benchmark (Windows 8)

macbook air com7 001

มาถึงส่วนที่หลายๆ คนน่าจะให้ความสนใจกัน นั่นคือการทดสอบ MacBook Air 13 [Early 2015] บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ติดตั้งผ่านทางซอฟต์แวร์ Bootcamp ซึ่งการติดตั้ง Bootcamp นั้นก็เหมือนกับการติดตั้ง Windows ในโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลย ไม่มีการลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลง เพราะมันก็คือการใช้งาน Windows บนเครื่องตรงๆ นั่นเอง แถมยังสะดวกกว่าด้วย เพราะสามารถโหลดไฟล์รวมไดร์ฟเวอร์จาก Apple มาเป็นชุดเดียวเลย คลิกติดตั้งครั้งเดียว แล้วก็รอจนเสร็จซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก

win1

Windows ที่ใช้ในการทดสอบก็คือ Windows 8.1 ที่ทำการอัพเดทล่าสุดแล้ว ซึ่งก็ตรงนี้ทำให้เราเห็นสเปกชัดเจนของชิปประมวลว่าเป็นรุ่น Intel Core i5-5250U โดยมาพร้อมกับแรมขนาด 4GB

cine

โปรแกรม Cinebench R11.5 เทียบกันระหว่างฝั่งรุ่นก่อนหน้า กับรุ่นที่ทดสอบในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้นเต็มที่ตลอดการทดสอบจริงๆ จากการวัดอัตราการใช้งานซีพียูที่เต็มประสิทธิภาพเต็มความเร็วทั้งคู่ โดยผลที่ออกมาก็คือส่วนของกราฟิก OpenGL ฝั่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ทำผลคะแนนได้ดีกว่าพอสมควร ส่วนคะแนนขิปประมวลผลนั้นก็ทำได้ดีกว่าพอสมควรเหมือนกัน (เดิม OpenGL 15.31 fps และ CPU 1.89 fps)

Resident-Evil-6-Wallpaper-For-Desktop-92372

ส่วนการทดสอบด้วยเกมนั้น เกมพื้นฐานอย่าง Resident Evil 6 นั้นก็ตั้งค่าความละเอียดแบบ Default ที่ 1280 x 720 พิกเซล ได้คะแนนอยู่ที่ระดับกลางๆ อย่าง Rank C โดยมีคะแนนมากกว่ารุ่นก่อนประมาณ 300-400 ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่มากกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทีใกล้เคียงกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แบบไม่ต้องสงสัยทั้งๆ ที่ใช้เพียงกราฟิการ์ดแบบออนบอร์ดเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าน่าประทับใจแล้วเพราะเกมนี้อย่างที่รู้ๆ กันก็คือตัว Benchmark ค่อยข้างกินทรัพยากรเครื่องพอสมควร

street-fighter-4

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้เท่าๆ กับโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกใกล้เคียงกันเช่นกัน ที่สำคัญยังได้คะแนนมากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 3,000 คะแนนด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงฮาร์ดแวร์ที่ทาง Apple เลือกสรรค์มามีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดยสำหรับเกมนี้ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ เพราะกราฟิกกินไม่ค่อยมากอยู่แล้ว

สรุปแล้วในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดดีขึ้นแบบรู้สึกได้เลย (ผลเทสอาจจะน้อยและไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไปรีวิวที่หน้าร้านครับ ยังไงของอภัยตรงจุดนี้ด้วย)

Battery / Heat / Noise

ในการทดสอบเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีความจุ 7324 mAh บน MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น ด้วยความที่เป็นระบบปฏิบัติการ OS X จึงสามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์า โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะตามการใข้งานจริงด้วยการปรับความสว่างบนหน้าจออยู่ที่ 50% และไฟคีย์บอร์ด Backlit ปรับไว้ที่ 50% เช่นกัน ผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมงกว่า ตามที่ Apple บอกไว้ในสเปกและรายละเอียดของ MacBook Air 13 พอดีที่ 12 ชั่วโมง ซึ่งเชื่อว่าหากใช้งานบน Windows ระยะเวลาของแบตเตอรี่น่าจะน้อยลงกว่านี้

เรื่องความร้อนของเครื่องที่ทดสอบด้วยโปรแกรม Hardward Monitor นั้น ในภาพด้านบนเป็นการวัดในขณะเครื่องไม่ได้เปิดโปรแกรมอื่น (ดูที่ค่า Min) ซึ่งก็คืออยู่ในสถานะ idle อุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็น ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนก็หมุนรอบที่น้อยลงกว่าเดิม แน่นอนว่าด้วยอุณหภูมิที่ต่ำลงคงต้องยกความดีความชอบให้กับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่กินไฟต่ำ แต่ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าเดิม

เรื่องอุณหภูมิบริเวณตัวเครื่อง เมื่อทำการเบิร์นให้ทำงาน 100% ได้ค่าอุณหภูมิซีพียูภายในชิปประมวลผลอยู่ที่ประมาณ 104 องศาเซลเซียส  จากค่า Max) เพื่อที่จะได้ทำเครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส โดยประมาณ แต่ละตำแหน่งตามตัวเครื่อง ที่เป็นส่วนของที่พักมือกับ Trackpad และส่วนด้านล่างของตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีความร้อนออกเลย นั่นก็เพราะบริเวณส่วนนี้ไม่มีอะไรนอกเหนือจากแบตเตอรี่

ส่วนบริเวณของกลางเครื่องที่เป็นที่อยู่ของชิปประมวลผลทั้งซีพียูจะเห็นว่ามีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่การใช้งานจริงเพียงแค่รู้สึกร้อนๆ นิดหน่อยเท่านั้น ต่อกันที่ตำแหน่งใกล้ Macsafe จะมีอุณหภูมิสูงหน่อยกรณีที่เราชาร์จไฟ แต่ถ้าแบตเตอรี่เต็มแล้วก็จะไม่มีความร้อนแต่อย่างใด สรุปรวมๆ แล้วความร้อนภายในตัวเครื่องไม่มีผลกับการใข้งานแต่อย่างใดครับ ที่สำคัญพัดลมยังมีเสียงที่ค่อยข้างเงียบกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อย แต่ก็ขอแนะนำว่าหากจำเป็นต้องใช้งานหนักหรือประมวลผลสูงๆ ก็ให้มาใช้ในห้องที่เย็นหน่อย นอกจากนี้เครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังสามารถคลายความร้อนได้อย่างรวดเร็วจากบอดี้ที่เป็นวัสดุอะลูมิเนียมอัลลอยด์อีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ติดฟิล์มไม่ใส่เคสที่ตัวเครื่องจะดีที่สุดครับ

Conclusion / Award

MacBook Air 2015 Review 035

MacBook Air 13 [Early 2015] นับเป็นผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เป็นเพียงการอัพเดทสเปกและเปลี่ยนแปลงหน้าตาเล็กน้อยเท่านั้น กับโน๊ตบุ๊คขนาด 11 และ 13 นิ้ว ที่มีความบางเบาโดยใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 5 สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ โดยยังประหยัดพลังงานเหมือนเดิม แต่กลับร้อนน้อยลง รวมไปถึงได้มีการเลือกใช้หน่วยความจำสำรองเป็นแบบ SSD PCIe เวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งมีความเร็วสูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ที่ส่งผลให้สามารถรีดประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพจัดว่าตอบสนองได้ดีทีเดียว แม้ว่าอาจจะเป็นรองด้านราคาเหมือนเทียบกับ Ultrabook บางรุ่น ที่พับหรือถอดจอเป็นแท็บเล็ตที่สามารถทัชสกรีนได้

MacBook Air 2015 Review 003

สำหรับรุ่นที่ทางทีมงานนำมารีวิวนั้นเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ความละเอียด 1440 x 900 พิกเซล มาพร้อมชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-4250U ความเร็ว 1.3GHz อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วไปได้ถึง 2.6GHz ระบบการทำงานเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เทรด  แรมเป็นแบบถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ติดเครื่องมาให้จำนวน 4GB ที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอย่างสบายๆ ส่วนกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดที่เรียกได้ว่าตรงจุดนี้มีความน่าสนใจเพราะถือว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าพอตัวด้วย Intel HD Graphics 6000 รวมไปถึงยังเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง

อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite  ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้มีการเข้ากันทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี มีความสเถียรแบบไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะแฮงค์หรือค้าง แถมยังมีการแสดงภาพ User Interface ที่ดูแล้วสวยงามลงตัว ที่สำคัญในเรื่องของการตื่นจาก Sleep ก็ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที อีกทั้งใช้เวลา Boot เครื่องเพียงประมาณ 10 วินาทีเท่านั้นเอง ที่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจาก SSD แบบ PCIe รุ่นล่าสุดที่ติดตั้งมาให้

MacBook Air 2015 Review 029

ด้านงานประกอบของ Apple หลายๆ คนคงทราบเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน รวมไปถึงวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบก็จัดได้ว่าเป็นชั้นดีทั้งสิ้น จวบจนการดีไซน์ออกแบบของตัวเครื่อง MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น เชื่อได้ว่าทุกคนที่ได้เห็นต้องชอบมันอย่างแน่นอน ด้วยการเน้นแนวทางการอกแบบที่ดูเรียบๆ แต่หรูหรา ยิ่งมีในส่วนของฝาหลังรูป Apple มีแสงไฟเปล่งออกมา ยิ่งทำให้น่าจับจองมาใช้งานเพิ่มขึ้นไปอีก รวมไปถึงความบางและน้ำหนักที่น้อย ทำให้สะดวกในการพกพากว่าโน๊ตบุ๊คธรรมดาทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงด้วยกัน

นอกเหนือจากนั้นตัวคีย์บอร์ดเองก็มีไฟ Backlit ทำให้เพิ่มความสะดวกในการใช้งานที่มีแสงน้อยยิ่งขึ้น เรื่องของสัมผัส Trackpad และคีย์บอร์ดก็ให้ความรู้สึกที่ดีในการใช้งานแบบรู้สึกได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ อีกทั้งยังมีช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต และ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 ที่มีเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ในปัจจุบัน

MacBook Air 2015 Review 002

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะดูเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องหนึ่งที่ดูสมบูรณ์แบบในเรื่องของความบาง น้ำหนัก การพกพา ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ แต่ก็ยังมีข้อสังเกตเรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีอยู่อย่างจำกัด สำหรับในการตัด Super Drive อันนี้คงเป็นเรื่องของความบางและน้ำหนักของเครื่องที่ต้องลดลง ซึ่งใครจะใช้การอ่านเขียนแผ่น DVD คงต้องซื้อไดร์ฟ DVD ภายนอกติดเอาไว้ รวมไปถึงพอร์ตต่างๆ ที่ทาง Apple คงเห็นว่าคงจะใช้ไม่ค่อยบ่อยอย่าง Ethenet (RJ-45) และ Firewire 800 แต่อย่างไรก็ตามคนที่ต้องจำเป็นใช้งานอยู่ก็สามารถหาซื้อสายแปลงได้ จาก Thunderbolt ไป Ethenet หรือ Thunderbolt ไป Firewire 800 สนนราคาอยู่ที่เส้นละ 990 บาท (จัดว่าไม่ถูกและก็ไม่แพงจนเกินไป)

คนที่มีความสนใจในโน๊ตบุ๊คที่บางและเบาอารมณ์แบบ Ultrabook มีความเป็นไปได้ที่จะนำ MacBook Air รุ่นใหม่นี้มาเป็นตัวเลือกอย่างแน่นอน ที่ถึงแม้หน้าจอจะไม่สามารถทัชสกรีนได้ แต่ในกรณีใช้งานบนระบบปฏิบัติการ OS X ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบไม่น้อยหน้าเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ทีเดียว ส่วนรุ่นที่แนะนำคงเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มาพร้อม SSD ความจุ 128GB โดยเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปในราคาเพียง 34,900 บาทเท่านั้น เรียกได้ว่าราคาถูกกว่า Ultrabook บางรุ่นซะอีก

เอาเป็นว่าสำหรับคนที่สนใจก็สามารถสั่งซื้อ MacBook Air รุ่นใหม่นี้ ขอแนะนำให้เพิ่มแรมเป็น 8GB ก็จะดีมากๆ เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับการเปิดหลายโปรแกรม หรือถ้าจะเน้นทำงานหนักก็อัพเกรดเป็นตัวชิปประมวลผล Core i7 ดูได้เลย ราคาก็เพิ่มขึ้นมาตามภาพประกอบด้านล่าง ที่โดยส่วนตัวก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ ไม่แพงจนเกินไปนัก

macbook air com7 008

ปิดท้ายกันสำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] แม้ว่าในเรื่องของการดีไซน์ออกแบบยังคงเดิม ซึ่งก็เป็นปกติของ Apple อยู่แล้วที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์บ่อยๆ แต่จะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์หรือประสิทธิภาพการทำงานเข้าไปแทน รวมไปถึงหน้าจอ Retina Display จะยังไม่มาในรุ่นนี้ แต่ก็เชื่อได้ว่าในอนาคต Apple ต้องเพิ่มความละเอียดหน้าจอลงไปใน MacBook Air รุ่นต่อๆ ไปอย่างแน่นอนครับ โดยรวมก็ถือว่าปรับสเปกขึ้นลดราคาลง ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ว่าแล้วก็ซื้อผ่านทาง Apple Store Online ส่วนใครอยากจับเครื่องจริงๆ ก่อนตัดสินใจซื้อก็สามารถเดินไปตามหน้าร้าน iStudio by comseven กันได้เลย เรียกได้ว่ามีพนักงานคอยให้บริการเป็นอย่างดีแน่นอน ปิดท้ายด้วยสเปกและราคาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้ง 4 รุ่นครับ

จุดเด่น

  • เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3 นิ้ว มีขนาดบาง น้ำหนักเบา สามารถพกพาไปได้สะดวก
  • มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 (Broadwell)
  • หน้าจอมีความสสวยสมจริงตามมาตรฐาน Apple MacBook
  • กราฟิกภายใน Intel HD Graphics 6000 มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นเดิมพอสมควร
  • SSD มีความเร็วมากกว่ารุ่นก่อนหน้าประมาณ 50% – 100%
  • เปิดเครื่องหรือตื่นจากโหมด Sleep, Boot เครื่อง และเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้อย่างรวดเร็ว
  • ดีไซน์การออกแบบสวยและงานประกอบมีความประณีต ด้วยวัสดุชั้นดีอย่างอะลูมิเนียมแบบ Unibody ตัวเครื่องแข็งแรง
  • มีไฟ Backlit Keyboard ที่ใช้งานได้อย่างสบายตา
  • สามารถสั่งอัพเกรดสเปกได้โดยตรงตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ (ซีพียู, ฮาร์ดดิสก์)
  • TrackPad (ทัชแพด) สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี
  • มีช่องทางเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 อีก 2 พอร์ต
  • มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็นรุ่นล่าสุด 802.11ac
  • ไมโครโฟนที่ติดตั้งมาเป็นแบบคู่ที่ประสิทธิกาพการทำงานดีกว่าเดิม
  • ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานสูงสุดประมาณ 11-12 ชั่วโมง
  • มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Mac OS X 10.10 Yosemite ที่มีคุณสมบัติมากมาย
  • มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มาก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดเคส ซอฟต์เคส หรืออื่นๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ
  • ราคาคุ้มค่ากว่า Ultrabook ในบางรุ่นในท้องตลาด
  • สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ได้หากต้องการ ผ่านทาง Bootcamp

ข้อสังเกต

  • พอร์ตเชื่อมต่อในตัวเครื่องค่อนข้างมีจำกัด หากต้องการใช้ Ethernet หรือ Firewire 800 ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม
  • ด้วยวัสดุเป็นอะลูมิเนียม ถ้าปลั๊กไม่มีการเดินสายดินไว้ อาจเกิดไฟดูดบ้างเล็กน้อย
  • ไม่สามารถอัพเกรดใดๆ ได้เลยในภายหลัง
  • ในการแกะฝาใต้เครื่องทำได้ยาก เพราะต้องใช้ไขควรเฉพาะ
  • ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้งานกับพอร์ต Thunderbolt ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงอยู่ จึงอาจใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในขณะนี้
  • เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วที่ไม่มีออฟติคอลไดร์ฟ
  • ในการ Restore OS X เครื่องต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยกเว้นสำรองไฟล์ติดตั้งเอาไว้แล้ว

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งความบางของตัวเครื่องก็ถือว่าทำได้ดีเทียบเท่ากับ Ultrabook ระดับสูงหลายๆ รุ่นทีเดียว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design ทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
award use 2 create 123

 

 

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ MacBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 17 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.35 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงทำให้ MacBook Air 13 [Early 2015] ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย

award use 2 create 233

 

Best Battery Life

แม้ว่าในตัวของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 11 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ Apple ได้ใส่แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ความจุ 7125 mAh เข้าไป อีกทั้งระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ก็เป็นตัวช่วยจัดการพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องปรับค่าเองแต่อย่างใดเลย

award use 2 create 203

 

ขอขอบคุณ iStudio by comseven สำหรับการรีวิว MacBook Air 13 [Early 2015]

macbook air com7 007

Specification

สเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทุกรุ่นก็คือสเปกของ Ultrabook ที่ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i5-5250U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ แต่ประสิทธิภาพนั้นเทียบชั้นได้กับ Core i5 ปกติเลยทีเดียว ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 1.6 GHz และยังแอบ Turbo Boost ขึ้นไปได้สูงสุดถึงกว่า 2.7 GHz อีก และแน่นอนว่าภายใน MacBook Air 13 [Early 2015] ก็มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 6000 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว

MacBook Air มีขนาดจอให้เลือกคือ 13.3 นิ้ว บนความละเอียดสูง 1440 x 900 พิกเซล และขนาด 11.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ MacBook Air ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบฝังมาบนเมนบอร์ดเลยโดยมีขนาด 4GB ไม่สามารถเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ทำให้เวลาจะสั่งซื้อต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะเพิ่มแรมหรือไม่ ซึ่งถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,000 บาทด้วยกัน

ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ SSD บน MacBook Air จะมีความจุ 128GB และ 256GB ให้เลือก โดยเครื่องที่เรานำมารีวิวนั้นเป็นความจุ 128GB ที่แม้ว่าจะดูน้อยแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากนี้ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้งหมดยังได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยความสำรองเป็น PCIe รุ่นล่าสุด ซึ่งความให้ในการทำงานมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวทีเดียว อีกทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังครบครัน (ตามสไตล์ Mac ) ทั้ง USB 3.0, Thunderbolt 2 และ Bluetooth 4.0 เป็นต้น ซึ่ง Apple มีสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] ให้เลือกดังต่อไปนี้ (สเปกชิปประมวลผลและแรมเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ความจุ SSD ซึ่งใครอยากได้แรงกว่านี้ ต้องสั่ง CTO เอง)

Hardware / Design

MacBook Air 2015 Review 001

โดยด้านดีไซน์การออกแบบ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงในส่วนของรูปทรงแบบเก่าไว้ทั้งหมดไม่ต่างจาก MacBook Air 13 ในรุ่นก่อน ทั้งวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook Air ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น

ซึ่งก็ถือได้ว่า Unibody เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ MacBook เหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องของการออกแบบให้มีความบางแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา ซึ่งเป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก

ดีไซน์ของ MacBook Air 13 [Early 2015] มีการออกแบบที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งในเรื่องของความบางตัวเครื่องที่หนาที่สุดก็จะอยู่ที่ 17 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักที่ 1.35 กิโลกรัม แน่นอนว่าทั้ง Super Drive (DVD-RW Drive) ไม่ได้ถูกติดตั้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวเครื่องมีความบางและเบาลงตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา (ถ้าจะใช้อ่านเขียนแผ่น DVD ต้องซื้อไดร์ฟแยก) และที่ขาดไม่ได้เลยของ MacBook ก็คือโลโก้ Apple ที่สามารถเปล่งแสงได้ตามความสว่างของหน้าจอ เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นจุดขายของ MacBook เกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ (MacBook Retina 12 รุ่นใหม่ล่าสุด ไม่มีแล้วตรงส่วนนี้)

MacBook Air 2015 Review 008

ต่อกันที่ด้านล่างตัวเครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเห็นว่า เหมือนกับ MacBook Air 13 รุ่นก่อนๆ ไม่แตกต่างกันทีเดียว โดยมีส่วนที่เป็นสีดำกลมจะเป็นยางรองตัวเครื่องทั้ง 4 ด้าน (สองตัวด้านหลังจะสูงกว่าเล็กน้อย) สำหรับส่วนของน็อตก็เป็นแบบพิเศษเช่นเดียวกับตัว MacBook Air รุ่นก่อน และ MacBook Pro Retina ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบดอกจันตรงกลางลึกลงไป เรียกได้ว่าใครจะหาซื้อไขควงมาแกะคงต้องลำบากกันเสียหน่อย (แต่เอาจริงก็แกะได้ไม่ยากนักหากมีเครื่องมือ) คาดการณ์ว่าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถแกะเครื่อง MacBook ได้ตัวเองง่ายๆ นอกจากนี้ตรงส่วนที่ใช้ยกฝาจอเพื่อเปิดเครื่องใช้งานก็จะมีการทำเป็นเว้าร่องลงไปเพื่อช่วยในการเปิดเครื่องที่ง่ายขึ้น แต่ตรงมุมแหลมทั้งสองด้านค่อนข้างคมพอสมควร แต่ก็ไม่ได้รบกวนในเรื่องของการใช้งานมากนัก

Keyboard / Touchpad

MacBook Air 2015 Review 007

คีย์บอร์ด MacBook Air 13 [Early 2015] ยังได้คงรูปแบบเดิมไว้ซึ่งก็ถือว่าทำไว้ดีอยู่แล้วเช่นกันตามสไตล์ของ Mac กับคีย์บอร์ด 4 แถวขนาด Full Size อีกทั้งด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ยังตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด รวมทั้งแป้นก็เด้งกับนิ้วเมื่อกดลงไปอย่างพอดี ที่สำคัญมาพร้อมกับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ที่สามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการ หรือจะอัตโนมัติตามสภาพปริมาณแสงก็ได้

ซึ่งบน MacBook Air 13 [Early 2015] มี Ambient light sensor คอยปรับความสว่างไปอัตโนมัติอย่างนุ่มนวลทั้ง Backlit Keyboard และความสว่างของหน้าจอ ส่วนด้านบนของแป้นคีย์บอร์ดที่เป็นปุ่ม F1-F12 จะเป็นปุ่มฟังก์ชุ่นการทำงานพิเศษ อาทิเช่น การปรับความสว่างหน้าจอ เพิ่มเสียงลดเสียง และเรียกใช้งาน Mission Control, Launchpad & Dock ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่าปุ่ม Power ได้ย้ายมาอยู่ตำแหน่งของ Eject เดิม (มุมซ้ายบนสุดของคีย์บอร์ด) เมื่อเทียบกับ MacBook รุ่นหลายปีก่อน

ทัชแพด หรือใน Mac จะเรียกว่า Trackpad ยังคงมีลักษณะรูปแบบหน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของสัดส่วนขนาด ที่เป็นวัสดุที่ทำออกมาได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ ซึ่งจากการใช้งานจริง พบว่าสามารถตอบสนองการใข้งานได้เป็นอย่างดี ทั้งในการใช้งานแบบปกติหรือใช้งานฟังก์ชันการทำงานแบบ Multi-Touch Gesture จริงๆ อย่างที่ทัชแพดควรจะเป็นในโน๊ตบุ๊คทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานตั้งแต่ 1 นิ้ว ไปจนถึง 5 นิ้ว ก็มีให้ใช้งานได้ครบถ้วนในระบบปฏิบัติการ OS X

Screen / Speaker

MacBook Air 2015 Review 005

MacBook Air 13 [Early 2015] ยังคงมาพร้อมหน้าจอแบบด้านขนาด 13.3 นิ้ว ที่มีความละเอียดที่ 1440 x 900 พิกเซล โดยเป็นสัดส่วนหน้าจอ 16:10 ตามมาตรฐานของ MacBook ของ Apple เกือบทุกรุ่น (จะมี MacBook Air 11 เท่านั้นที่ใช้สัดส่วนหน้าจอเป็น 16:9) นอกจากนี้พาเนลหน้าจอยังใช้งานเป็นพาเนล TN แบบชั้นสูง เพราะให้สีสันที่ค่อนข้างสดใสสวยงามกว่าโน๊ตบุ๊คที่ใช้พาเนล TN ปกติ ซึ่งบริเวณตรงกลางของขอบจอด้านล่างจะมีโลโก้ MacBook Air คิดอยู่อย่างสวยงาม

MacBook Air 2015 Review 019

สำหรับบานพับของ MacBook Air 13 [Early 2015] ดูแล้วค่อนข้างเหมือนเดิมก็คือเป็นแบบแกนเดียวที่ให้ความแข็งแรงเมื่อใช้งานและไม่หลวมหรือคลอนง่ายๆ เมื่อใช้งานไปนานๆ ประกอบกับทาง Apple ยังได้มีการติดตั้งแม่เหล็กไว้บริเวณขอบฝาด้านบนไว้สองตำแหน่งทั้งซ้ายและขวา เพื่อให้ตัวเครื่องและฝาประกบกันสนิท แต่ก็ไม่ถืงกับทำให้เปิดฝาขึ้นมาใช้งานลำบากแต่อย่างใด

MacBook Air 2015 Review 011

กล้องเว็บแคมบน MacBook Air 13 [Early 2015]หรือที่ทาง Apple เรียกว่า FaceTime HD camera มาพร้อมกับความละเอียด 720P ที่ให้ความคมชัดกว่า MacBook รุ่นก่อนๆ (เมื่อใช้งานจะมีไฟสีเขียวติดขึ้นมา) เรียกได้ว่าสามารถรองรับการใช้งานในเรื่องของ VDO Call หรือถ่ายรูปตัวเองจากกล้องเว็บแคมใน MacBook Air 13 ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจก็คือด้านข้างของกล้องยังได้มีการติดตั้ง Ambient light sensor ไว้ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพปริมาณแสงรอบๆ เพื่อคอยปรับความสว่างหน้าจอและคีย์บอร์ดให้เหมาะสมแบบอัตโนมัติ

MacBook Air 2015 Review 020

สำหรับลำโพงของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบสเตอริโอที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้คีย์บอร์ด เพื่อใช้พิ้นที่ในตัวเครื่องได้อย่างคุ้มค่า คุณภาพเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่เสียงดังใช้ได้ แต่ยังไงก็ด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro Retina 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก โดยส่วนตัวจัดว่าพอฟังได้ใช้งานได้ แต่ถ้าให้ดีคงจะเลือกต่อลำโพงแยกหรือหูฟังมากกว่า

ส่วนไมโครโฟนของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะเป็นแบบคู่โดยอยู่ทางด้านข้างขอบเครื่องทางซ้าย ให้ประสิทธิภาพในการรับเสียงที่ดี ซึ่งจากการใช้งานจริงพบว่าในการใช้งาน VDO Call หรือบันทึกเสียงโดยตรงจากไมโครโฟนของเครื่อง เสียงที่ออกมานั้นมีความคมชัดพอใช้ได้ และเสียงรบกวนก็ลดน้อยลงอย่างชัดเจน

Connector / Thin And Weight

MacBook Air 2015 Review 022

MacBook Air 13 [Early 2015] จากด้านข้าง เราจะเห็นถือความบางเฉียบที่มีมากกว่าโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วทั่วไปพอสมควร เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสบายๆ ทีเดียว ซึ่งในเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อของตัว MacBook Air 13 [Early 2015] ที่ตามภาพจะเป็นด้านซ้าย ประกอบไปด้วย ช่องเสียบสายชาร์จไฟ Magsafe 2 มีลักษณะพิเศษคือ เป็นแม่เหล็กดูดติดกับเครื่อง เรียกได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานสูงหากเราไม่สะดุดสายไฟ ตัวเครื่องก็จะไม่ตกลงมา ซึ่ง Magsafe เป็นสิทธิบัตรของ Apple เพียงรายเดียว ฉะนั้นแล้วเราจะเห็นที่ชาร์จแบบนี้ได้ ก็จะมีเพียง MacBook เท่านั้น ในการใช้งานหากไฟแบตเตอรี่เต็มจะมีไฟแสดงสถานะเป็นสีเขียว แต่ถ้าหากกำลังชาร์จไฟก็จะเป็นสีส้ม

MacBook Air 2015 Review 034

ถัดมาก็จะเป็น สำหรับพอร์ต USB 3.0 ด้านซ้ายนี้ได้มีใส่มาจำนวน 1 พอร์ตและช่องหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตรที่รองรับการเชื่อมต่อไมค์ในตัวอีกหนึ่งช่องด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ไมโครโฟนจำนวน 2 ตัวยังได้อยู่ติดตั้งบริเวณนี้อีกด้วย

ด้านข้างขวาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ก็จะเป็นในส่วนช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2 จำนวน 1 ช่องทาง ที่นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นช่องทางการแสดงผล Display Port ได้อีกด้วย และพอร์ต USB 3.0 อีกหนึ่งพอร์ต รวมกับด้านซ้ายก็จะมีทั้งหมดทั้งเครื่องอยู่ 2 พอร์ตด้วยกัน ตามสไตล์ของ MacBook ที่ไม่ต้องการให้มีมากจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อรูปแบบดีไซน์ สุดท้ายกับช่องอ่านการ์ดที่รองรับการ์ดความจำยอดนิยมอย่าง SD Card, SDXC Card ที่ใช้ในกล้องดิจิตอลปัจจุบัน

MacBook Air 2015 Review 023

สำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] ตัวเครื่องด้านหน้าก็ยังได้มีการเว้าบริเวณตรงกลาง ลักษณะคล้ายๆ เดิมตามสไตล์ของ MacBook Air ที่ดูสวยงามลงตัว ด้วยการที่มีรูปแบบที่เว้าเข้าไปในเครื่องที่น้อยลง และด้านหลังก็ยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้ นั่นก็คือโล่งๆ เราจะเห็นเป็นเพียงแกนฝาพับที่หุ้มด้วยพลาสติกสีดำเท่านั้น ซึ่งมิติของตัวเครื่องMacBook Air 13 [Early 2015] อยู่ที่ ความหนา (ความสูง) 1.7 เซนติเมตร / กว้าง 32.5 เซนติเมตร / ยาว 22.7 เซนติเมตร ที่เรียกได้ว่าความกว้างความยาวไม่แตกต่างไปจาก MacBook Air 13 รุ่นก่อนหน้าเลย อย่างไรก็ตามพวกซอฟต์เคสหรือกระเป๋าที่ใว้ใช้กับ MacBook Air 13 ก็สามารถใช้กับพวกซอฟต์เคสของเหล่า Ultrabook ได้อย่างสบายๆ

MacBook Air 2015 Review 018

อย่างไรก็ตามตามสเปกของ MacBook Air 13 [Early 2015] น้ำหนักจะอยู่ที่ 1.35 กิโลกรัม ในส่วนนี้ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก กับน้ำหนักเท่านี้ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เรียกได้ว่าเทียบกับ Ultrabook ในบางรุ่นได้อย่างสูสี

แน่นอนว่าในการใช้งานจริงบางครั้งเราจำเป็นต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วย โดยน้ำหนักก็จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ก็จัดว่ามีน้ำหนักรวมกันไม่สูงมากนัก อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยน้ำหนักยังเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว เมื่อรวมอแดปเตอร์แล้ว และจากการทดลองพกพาใช้งานจริงดูแล้วก็ถือว่ามีความแตกต่างจาการพกพา MacBook Pro Retina 13 เล็กน้อยเท่านั้น

Performance / Software

Screen Shot 2558-03-23 at 3.29.56 PM

ด้านซอฟต์แวร์บน MacBook Air 13 [Early 2015] แน่นอนว่า Mac ทุกเครื่องนั้นมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง OS X ซึ่งในตอนนี้เวอร์ชั่นล่าสุดก็เป็นในส่วนของ 10.10 ที่มีชื่อว่า Yosemite โดยจะมีเวอร์ย่อยลงมาอีก อย่างใน MacBook Air 13 [Early 2015] เครื่องนี้ก็จะเป็น OS X 10.10.2 แล้ว ที่เร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนเป็น OS X 10.10.3 อีกทีหนึ่ง

ซึ่งตัว OS X เองสามารถตรวจสเปกของ Mac เครื่องนั้นๆ ได้ง่ายๆ ผ่านทาง About This Mac ซึ่งจากภาพก็แสดงให้เห็นถึงว่า Mac รุ่นนี้คือรุ่นอะไร ปีไหน และสเปกคร่าวๆ อย่าง ชิปประมวลผล, แรม, กราฟิกการ์ด, ซีเรียลนับเบอร์ และเวอร์ชั่นของ OS X โดยถ้าใครต้องการชมแบบละเอียดๆ ก็สามารถกดเข้าไปชมกันได้ที่ปุ่ม System Report ได้เลยครับ ซึ่งเรียกว่าเราจะพบกับข้อมูลและสเปกแบบละเอียดสุดๆ ไปเลย ว่าชิ้นส่วนไหนใช้อะไร ของแบรนด์ไหนบ้าง อันนี้คงไม่เจาะลงไปนะครับ เพราะมันยิบย่อยมากๆ

Benchmark (OS X)

Screen Shot 2558-03-27 at 02.42.06

โปรแกรมทดสอบเครื่องที่นิยมในฝั่ง Mac ก็คือ GeekBench ที่มีตัวเลือกให้เทสประสิทธิภาพได้ทั้งแบบ Singer-Core และ Multi-Core ซึ่งคะแนนที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลคะแนนเฉลี่ยนของ GeekBench เองได้ครับ โดยในส่วนของ Singer-Core ของ MacBook Air [Early 2015] ชิปประมวลผล Core i5 Gen5 มาพร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่า MacBook Air [Mid 2012] ที่เป็น Core i7 Gen 3 เล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นรองในส่วนของ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 อยู่พอสมควร

Screen Shot 2558-03-27 at 02.43.08

จากนั้นมาชมกันที่ Multi-Core ก็จะพบว่าผลคะแนนที่ออกมานั้นกลับน้อยกว่า MacBook Air [Mid 2012] Core i7 Gen 3 อยู่เล็กน้อย ซึ่งเทียบกันในด้านของการประมวลก็คงไม่มีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าเทียบกับ MacBook Air [Mid 2013] Core i7 Gen 4 และ MacBook Air [Early 2015] Core i7 Gen 5 จะเห็นได้ว่าคะแนนมีความห่างกันพอสมควร ซึ่งถ้าใช้งานทั่วไปในปัจจุบัน ตัว MacBook Air [Early 2015] Core i5 Gen 5 ก็ตอบโจทย์แล้วครับ

Screen Shot 2558-03-23 at 4.09.54 PM

โดยทดสอบพลังการประมวลผลของทั้งซีพียูเป็นหลักด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ในฝั่ง OS X ของ MacBook Air 13 [Early 2015] คะแนนที่ออกมานั้นถือได้ว่าดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งชิปประมวลผล Intel Core i5-5250U ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ด Intel HD Graphics 6000 ให้ผลคะแนน OpenGL ที่มากกว่า MacBook Air 13 รุ่นก่อน พอสมควร ที่ยังไงการทดสอบ Cinebench R11.5 เราจะไปชมคะแนนฝั่ง Windows กันอีกทีนะครับ

Screen Shot 2558-03-23 at 3.40.40 PM

อีกส่วนที่หลายๆ คนอยากทราบทดสอบกันที่สุดก็คือความเร็วของ SSD ที่อยู่บน MacBook Air 13 [Early 2015] โดยเครื่องที่ทดสอบได้ติดตั้ง SSD เป็นของ Samsung ขนาดความจุ 128GB สามารถทำความเร็วเฉลี่ยในการอ่านได้ที่ประมาณ 1300 MB/s ส่วนความเร็วในการเขียนจะอยู่ช่วงประมาณ 621 MB/s ด้วยกัน ซึ่งก็คงเป็นผลมาจากการใช้การเชื่อต่อแบบ PCIe ที่โน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ระดับสูงนิยมใช้กัน รวมไปถึง SSD ประสิทธิภาพสูงจากทาง Samsung อีกด้วย ซึ่งเทียบกับรุ่นก่อนหน้าดีขึ้นกว่า 50% ถึงเกือบ 100% เลยทีเดียว

Benchmark (Windows 8)

macbook air com7 001

มาถึงส่วนที่หลายๆ คนน่าจะให้ความสนใจกัน นั่นคือการทดสอบ MacBook Air 13 [Early 2015] บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ติดตั้งผ่านทางซอฟต์แวร์ Bootcamp ซึ่งการติดตั้ง Bootcamp นั้นก็เหมือนกับการติดตั้ง Windows ในโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลย ไม่มีการลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลง เพราะมันก็คือการใช้งาน Windows บนเครื่องตรงๆ นั่นเอง แถมยังสะดวกกว่าด้วย เพราะสามารถโหลดไฟล์รวมไดร์ฟเวอร์จาก Apple มาเป็นชุดเดียวเลย คลิกติดตั้งครั้งเดียว แล้วก็รอจนเสร็จซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก

win1

Windows ที่ใช้ในการทดสอบก็คือ Windows 8.1 ที่ทำการอัพเดทล่าสุดแล้ว ซึ่งก็ตรงนี้ทำให้เราเห็นสเปกชัดเจนของชิปประมวลว่าเป็นรุ่น Intel Core i5-5250U โดยมาพร้อมกับแรมขนาด 4GB

cine

โปรแกรม Cinebench R11.5 เทียบกันระหว่างฝั่งรุ่นก่อนหน้า กับรุ่นที่ทดสอบในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้นเต็มที่ตลอดการทดสอบจริงๆ จากการวัดอัตราการใช้งานซีพียูที่เต็มประสิทธิภาพเต็มความเร็วทั้งคู่ โดยผลที่ออกมาก็คือส่วนของกราฟิก OpenGL ฝั่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ทำผลคะแนนได้ดีกว่าพอสมควร ส่วนคะแนนขิปประมวลผลนั้นก็ทำได้ดีกว่าพอสมควรเหมือนกัน (เดิม OpenGL 15.31 fps และ CPU 1.89 fps)

Resident-Evil-6-Wallpaper-For-Desktop-92372

ส่วนการทดสอบด้วยเกมนั้น เกมพื้นฐานอย่าง Resident Evil 6 นั้นก็ตั้งค่าความละเอียดแบบ Default ที่ 1280 x 720 พิกเซล ได้คะแนนอยู่ที่ระดับกลางๆ อย่าง Rank C โดยมีคะแนนมากกว่ารุ่นก่อนประมาณ 300-400 ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่มากกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทีใกล้เคียงกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แบบไม่ต้องสงสัยทั้งๆ ที่ใช้เพียงกราฟิการ์ดแบบออนบอร์ดเท่านั้น แต่ก็ถือได้ว่าน่าประทับใจแล้วเพราะเกมนี้อย่างที่รู้ๆ กันก็คือตัว Benchmark ค่อยข้างกินทรัพยากรเครื่องพอสมควร

street-fighter-4

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้เท่าๆ กับโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกใกล้เคียงกันเช่นกัน ที่สำคัญยังได้คะแนนมากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 3,000 คะแนนด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงฮาร์ดแวร์ที่ทาง Apple เลือกสรรค์มามีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี โดยสำหรับเกมนี้ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ เพราะกราฟิกกินไม่ค่อยมากอยู่แล้ว

สรุปแล้วในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดดีขึ้นแบบรู้สึกได้เลย (ผลเทสอาจจะน้อยและไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไปรีวิวที่หน้าร้านครับ ยังไงของอภัยตรงจุดนี้ด้วย)

Battery / Heat / Noise

ในการทดสอบเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีความจุ 7324 mAh บน MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น ด้วยความที่เป็นระบบปฏิบัติการ OS X จึงสามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์า โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะตามการใข้งานจริงด้วยการปรับความสว่างบนหน้าจออยู่ที่ 50% และไฟคีย์บอร์ด Backlit ปรับไว้ที่ 50% เช่นกัน ผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 12 ชั่วโมงกว่า ตามที่ Apple บอกไว้ในสเปกและรายละเอียดของ MacBook Air 13 พอดีที่ 12 ชั่วโมง ซึ่งเชื่อว่าหากใช้งานบน Windows ระยะเวลาของแบตเตอรี่น่าจะน้อยลงกว่านี้

เรื่องความร้อนของเครื่องที่ทดสอบด้วยโปรแกรม Hardward Monitor นั้น ในภาพด้านบนเป็นการวัดในขณะเครื่องไม่ได้เปิดโปรแกรมอื่น (ดูที่ค่า Min) ซึ่งก็คืออยู่ในสถานะ idle อุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็น ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนก็หมุนรอบที่น้อยลงกว่าเดิม แน่นอนว่าด้วยอุณหภูมิที่ต่ำลงคงต้องยกความดีความชอบให้กับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่กินไฟต่ำ แต่ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าเดิม

เรื่องอุณหภูมิบริเวณตัวเครื่อง เมื่อทำการเบิร์นให้ทำงาน 100% ได้ค่าอุณหภูมิซีพียูภายในชิปประมวลผลอยู่ที่ประมาณ 104 องศาเซลเซียส  จากค่า Max) เพื่อที่จะได้ทำเครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพที่สุด โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส ในอุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส โดยประมาณ แต่ละตำแหน่งตามตัวเครื่อง ที่เป็นส่วนของที่พักมือกับ Trackpad และส่วนด้านล่างของตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีความร้อนออกเลย นั่นก็เพราะบริเวณส่วนนี้ไม่มีอะไรนอกเหนือจากแบตเตอรี่

ส่วนบริเวณของกลางเครื่องที่เป็นที่อยู่ของชิปประมวลผลทั้งซีพียูจะเห็นว่ามีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง แต่การใช้งานจริงเพียงแค่รู้สึกร้อนๆ นิดหน่อยเท่านั้น ต่อกันที่ตำแหน่งใกล้ Macsafe จะมีอุณหภูมิสูงหน่อยกรณีที่เราชาร์จไฟ แต่ถ้าแบตเตอรี่เต็มแล้วก็จะไม่มีความร้อนแต่อย่างใด สรุปรวมๆ แล้วความร้อนภายในตัวเครื่องไม่มีผลกับการใข้งานแต่อย่างใดครับ ที่สำคัญพัดลมยังมีเสียงที่ค่อยข้างเงียบกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อย แต่ก็ขอแนะนำว่าหากจำเป็นต้องใช้งานหนักหรือประมวลผลสูงๆ ก็ให้มาใช้ในห้องที่เย็นหน่อย นอกจากนี้เครื่องของ MacBook Air 13 [Early 2015] ยังสามารถคลายความร้อนได้อย่างรวดเร็วจากบอดี้ที่เป็นวัสดุอะลูมิเนียมอัลลอยด์อีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ติดฟิล์มไม่ใส่เคสที่ตัวเครื่องจะดีที่สุดครับ

Conclusion / Award

MacBook Air 2015 Review 035

MacBook Air 13 [Early 2015] นับเป็นผลิตภัณฑ์จาก Apple ที่เป็นเพียงการอัพเดทสเปกและเปลี่ยนแปลงหน้าตาเล็กน้อยเท่านั้น กับโน๊ตบุ๊คขนาด 11 และ 13 นิ้ว ที่มีความบางเบาโดยใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 5 สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ โดยยังประหยัดพลังงานเหมือนเดิม แต่กลับร้อนน้อยลง รวมไปถึงได้มีการเลือกใช้หน่วยความจำสำรองเป็นแบบ SSD PCIe เวอร์ชั่นล่าสุดซึ่งมีความเร็วสูงกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ที่ส่งผลให้สามารถรีดประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพจัดว่าตอบสนองได้ดีทีเดียว แม้ว่าอาจจะเป็นรองด้านราคาเหมือนเทียบกับ Ultrabook บางรุ่น ที่พับหรือถอดจอเป็นแท็บเล็ตที่สามารถทัชสกรีนได้

MacBook Air 2015 Review 003

สำหรับรุ่นที่ทางทีมงานนำมารีวิวนั้นเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ความละเอียด 1440 x 900 พิกเซล มาพร้อมชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-4250U ความเร็ว 1.3GHz อีกทั้งยังเพิ่มความเร็วไปได้ถึง 2.6GHz ระบบการทำงานเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เทรด  แรมเป็นแบบถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ติดเครื่องมาให้จำนวน 4GB ที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอย่างสบายๆ ส่วนกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดที่เรียกได้ว่าตรงจุดนี้มีความน่าสนใจเพราะถือว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าพอตัวด้วย Intel HD Graphics 6000 รวมไปถึงยังเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง

อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite  ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้มีการเข้ากันทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี มีความสเถียรแบบไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะแฮงค์หรือค้าง แถมยังมีการแสดงภาพ User Interface ที่ดูแล้วสวยงามลงตัว ที่สำคัญในเรื่องของการตื่นจาก Sleep ก็ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที อีกทั้งใช้เวลา Boot เครื่องเพียงประมาณ 10 วินาทีเท่านั้นเอง ที่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจาก SSD แบบ PCIe รุ่นล่าสุดที่ติดตั้งมาให้

MacBook Air 2015 Review 029

ด้านงานประกอบของ Apple หลายๆ คนคงทราบเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน รวมไปถึงวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบก็จัดได้ว่าเป็นชั้นดีทั้งสิ้น จวบจนการดีไซน์ออกแบบของตัวเครื่อง MacBook Air 13 [Early 2015] นั้น เชื่อได้ว่าทุกคนที่ได้เห็นต้องชอบมันอย่างแน่นอน ด้วยการเน้นแนวทางการอกแบบที่ดูเรียบๆ แต่หรูหรา ยิ่งมีในส่วนของฝาหลังรูป Apple มีแสงไฟเปล่งออกมา ยิ่งทำให้น่าจับจองมาใช้งานเพิ่มขึ้นไปอีก รวมไปถึงความบางและน้ำหนักที่น้อย ทำให้สะดวกในการพกพากว่าโน๊ตบุ๊คธรรมดาทั่วไปขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานสูงสุดประมาณ 12 ชั่วโมงด้วยกัน

นอกเหนือจากนั้นตัวคีย์บอร์ดเองก็มีไฟ Backlit ทำให้เพิ่มความสะดวกในการใช้งานที่มีแสงน้อยยิ่งขึ้น เรื่องของสัมผัส Trackpad และคีย์บอร์ดก็ให้ความรู้สึกที่ดีในการใช้งานแบบรู้สึกได้ไม่ยาก เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ อีกทั้งยังมีช่องเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต และ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 ที่มีเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ในปัจจุบัน

MacBook Air 2015 Review 002

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะดูเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องหนึ่งที่ดูสมบูรณ์แบบในเรื่องของความบาง น้ำหนัก การพกพา ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ แต่ก็ยังมีข้อสังเกตเรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีอยู่อย่างจำกัด สำหรับในการตัด Super Drive อันนี้คงเป็นเรื่องของความบางและน้ำหนักของเครื่องที่ต้องลดลง ซึ่งใครจะใช้การอ่านเขียนแผ่น DVD คงต้องซื้อไดร์ฟ DVD ภายนอกติดเอาไว้ รวมไปถึงพอร์ตต่างๆ ที่ทาง Apple คงเห็นว่าคงจะใช้ไม่ค่อยบ่อยอย่าง Ethenet (RJ-45) และ Firewire 800 แต่อย่างไรก็ตามคนที่ต้องจำเป็นใช้งานอยู่ก็สามารถหาซื้อสายแปลงได้ จาก Thunderbolt ไป Ethenet หรือ Thunderbolt ไป Firewire 800 สนนราคาอยู่ที่เส้นละ 990 บาท (จัดว่าไม่ถูกและก็ไม่แพงจนเกินไป)

คนที่มีความสนใจในโน๊ตบุ๊คที่บางและเบาอารมณ์แบบ Ultrabook มีความเป็นไปได้ที่จะนำ MacBook Air รุ่นใหม่นี้มาเป็นตัวเลือกอย่างแน่นอน ที่ถึงแม้หน้าจอจะไม่สามารถทัชสกรีนได้ แต่ในกรณีใช้งานบนระบบปฏิบัติการ OS X ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบไม่น้อยหน้าเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ทีเดียว ส่วนรุ่นที่แนะนำคงเป็น MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มาพร้อม SSD ความจุ 128GB โดยเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปในราคาเพียง 34,900 บาทเท่านั้น เรียกได้ว่าราคาถูกกว่า Ultrabook บางรุ่นซะอีก

เอาเป็นว่าสำหรับคนที่สนใจก็สามารถสั่งซื้อ MacBook Air รุ่นใหม่นี้ ขอแนะนำให้เพิ่มแรมเป็น 8GB ก็จะดีมากๆ เพื่อรองรับการใช้งานสำหรับการเปิดหลายโปรแกรม หรือถ้าจะเน้นทำงานหนักก็อัพเกรดเป็นตัวชิปประมวลผล Core i7 ดูได้เลย ราคาก็เพิ่มขึ้นมาตามภาพประกอบด้านล่าง ที่โดยส่วนตัวก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ ไม่แพงจนเกินไปนัก

macbook air com7 008

ปิดท้ายกันสำหรับ MacBook Air 13 [Early 2015] แม้ว่าในเรื่องของการดีไซน์ออกแบบยังคงเดิม ซึ่งก็เป็นปกติของ Apple อยู่แล้วที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์บ่อยๆ แต่จะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์หรือประสิทธิภาพการทำงานเข้าไปแทน รวมไปถึงหน้าจอ Retina Display จะยังไม่มาในรุ่นนี้ แต่ก็เชื่อได้ว่าในอนาคต Apple ต้องเพิ่มความละเอียดหน้าจอลงไปใน MacBook Air รุ่นต่อๆ ไปอย่างแน่นอนครับ โดยรวมก็ถือว่าปรับสเปกขึ้นลดราคาลง ทำให้หลายๆ คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ว่าแล้วก็ซื้อผ่านทาง Apple Store Online ส่วนใครอยากจับเครื่องจริงๆ ก่อนตัดสินใจซื้อก็สามารถเดินไปตามหน้าร้าน iStudio by comseven กันได้เลย เรียกได้ว่ามีพนักงานคอยให้บริการเป็นอย่างดีแน่นอน ปิดท้ายด้วยสเปกและราคาของ MacBook Air 13 [Early 2015] ทั้ง 4 รุ่นครับ

จุดเด่น

  • เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3 นิ้ว มีขนาดบาง น้ำหนักเบา สามารถพกพาไปได้สะดวก
  • มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 (Broadwell)
  • หน้าจอมีความสสวยสมจริงตามมาตรฐาน Apple MacBook
  • กราฟิกภายใน Intel HD Graphics 6000 มีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นเดิมพอสมควร
  • SSD มีความเร็วมากกว่ารุ่นก่อนหน้าประมาณ 50% – 100%
  • เปิดเครื่องหรือตื่นจากโหมด Sleep, Boot เครื่อง และเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้อย่างรวดเร็ว
  • ดีไซน์การออกแบบสวยและงานประกอบมีความประณีต ด้วยวัสดุชั้นดีอย่างอะลูมิเนียมแบบ Unibody ตัวเครื่องแข็งแรง
  • มีไฟ Backlit Keyboard ที่ใช้งานได้อย่างสบายตา
  • สามารถสั่งอัพเกรดสเปกได้โดยตรงตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ (ซีพียู, ฮาร์ดดิสก์)
  • TrackPad (ทัชแพด) สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี
  • มีช่องทางเชื่อมต่อความเร็วสูงอย่าง Thunderbolt จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 อีก 2 พอร์ต
  • มาตรฐานการเชื่อมต่อเป็นรุ่นล่าสุด 802.11ac
  • ไมโครโฟนที่ติดตั้งมาเป็นแบบคู่ที่ประสิทธิกาพการทำงานดีกว่าเดิม
  • ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานสูงสุดประมาณ 11-12 ชั่วโมง
  • มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Mac OS X 10.10 Yosemite ที่มีคุณสมบัติมากมาย
  • มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้มาก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดเคส ซอฟต์เคส หรืออื่นๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ
  • ราคาคุ้มค่ากว่า Ultrabook ในบางรุ่นในท้องตลาด
  • สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ได้หากต้องการ ผ่านทาง Bootcamp

ข้อสังเกต

  • พอร์ตเชื่อมต่อในตัวเครื่องค่อนข้างมีจำกัด หากต้องการใช้ Ethernet หรือ Firewire 800 ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม
  • ด้วยวัสดุเป็นอะลูมิเนียม ถ้าปลั๊กไม่มีการเดินสายดินไว้ อาจเกิดไฟดูดบ้างเล็กน้อย
  • ไม่สามารถอัพเกรดใดๆ ได้เลยในภายหลัง
  • ในการแกะฝาใต้เครื่องทำได้ยาก เพราะต้องใช้ไขควรเฉพาะ
  • ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้งานกับพอร์ต Thunderbolt ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงอยู่ จึงอาจใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพในขณะนี้
  • เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13 นิ้วที่ไม่มีออฟติคอลไดร์ฟ
  • ในการ Restore OS X เครื่องต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยกเว้นสำรองไฟล์ติดตั้งเอาไว้แล้ว

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง MacBook Air 13 [Early 2015] ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Apple มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน MacBook Air 13 [Early 2015] ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งความบางของตัวเครื่องก็ถือว่าทำได้ดีเทียบเท่ากับ Ultrabook ระดับสูงหลายๆ รุ่นทีเดียว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design ทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
award use 2 create 123

 

 

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ MacBook อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 17 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.35 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงทำให้ MacBook Air 13 [Early 2015] ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย

award use 2 create 233

 

Best Battery Life

แม้ว่าในตัวของ MacBook Air 13 [Early 2015] จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 11 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ Apple ได้ใส่แบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์ความจุ 7125 mAh เข้าไป อีกทั้งระบบปฏิบัติการ OS X 10.10 Yosemite ก็เป็นตัวช่วยจัดการพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องปรับค่าเองแต่อย่างใดเลย

award use 2 create 203

 

ขอขอบคุณ iStudio by comseven สำหรับการรีวิว MacBook Air 13 [Early 2015]

macbook air com7 007

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Windows Zone

Microsoft 365 แตกต่างจาก Microsoft Office Home & Student 2021 อย่างไรบ้าง? “ในเมื่อซื้อโน๊ตบุ๊คมี Office แท้แล้ว จะต้องซื้อ Microsoft 365 มาทำไม?” นั่นเพราะผู้ใช้หลายๆ คนเห็นว่าฟังก์ชั่นการทำงานของทั้งสองนั้นเหมือนกันมาก เพราะรวมกลุ่มโปรแกรม Word Processing มาเป็นแพ็คเกจครบถ้วนทั้งคู่ ได้...

Buyer's Guide

10 สมาร์ทวอทช์ ผู้หญิงใส่ได้ ผู้ชายใส่ก็ดูดี ฟีเจอร์น่าสนใจ ในราคาเป็นมิตร เริ่มต้นแค่ 1,xxx บาท อัพเดท 2024 นาฬิกาออกกำลังกายที่วางขายในท้องตลาดนั้นมีให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย มีทั้งรุ่นเล็ก ราคาประหยัด ไปจนถึงรุ่นท็อปๆ ที่จัดเต็มทุกฟังก์ชัน แต่มีราคาสูง ทีมงาน NotebookSPEC ก็อยากมาแนะนำ สมาร์ทวอทช์ น่าสนใจ ไม่ได้มีดีแค่ดีไซน์ แต่ยังมาพร้อมฟีเจอร์น่าใช้งาน...

Tips & Tricks

รวมวิธีสมัคร Apple ID ใหม่ ใน 5 นาที ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง อัพเดท 2024 Apple ID เป็นอะไรที่ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานอุปกรณ์ของ Apple แต่เดิมนั้น Apple ID ก็มีไว้เพื่อซื้อเพลงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จาก iTunes Store แต่ต่อมาก็ได้รับการพัฒนาและใช้งานหลากหลายมากขึ้น...

Tips & Tricks

แนะนำเทคนิค วิธีแต่งหน้าจอไอโฟน สวย เก๋ เท่ มีสไตล์เฉพาะตัว อัพเดต 2024 ตั้งแต่ iOS 14 เป็นต้นมา Apple ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ปรับแต่ง iPhone ได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน iOS 17 ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งหน้าจอ ทั้งหน้าจอ Lock Screen...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก