Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

ก้าวข้ามนวัตกรรม!!! นักฟิสิกส์พัฒนาแบบแผนที่ทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทะลุขีดจำกัดเดิม

เมื่อไม่นานมานี้นักฟิสิกส์ของ University of California ที่ Santa Barbara ได้ทำการพัฒนาแบบแผนเพื่อที่จะช่วยให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะสำการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเองในการคำนวณ

เมื่อไม่นานมานี้นักฟิสิกส์ของ University of California ที่ Santa Barbara ได้ทำการพัฒนาแบบแผนเพื่อที่จะช่วยให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะสำการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเองในการคำนวณได้ขึ้นมาครับ โดยระบบที่ทางทีมนักฟิสิกส์คิดค้นขึ้นมานั้นเป็นการเพิ่มในส่วนของวงจรตรวจสอบตัวเองเข้าไปบนควอนตัมคอมพิวเตอร์ ที่โดยปกตินั้นข้อมูลในควอนตัมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า qubit นั้นจะไม่สามารถที่ทำการตรวจสอบสถานะของตัวเองได้ แต่เมื่อมีวงจรนี้เข้าไปแล้วจะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องในการคำนวณได้ครับ

quantum-computer2 600

Advertisement

ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าการคำนวณของควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้ qubit ซึ่งเป็นการส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบของอิเล็กตรอนเข้าไปในส่วนประมวลผลซึ่งจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับปกติทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่ว่าข้อเสียของการส่งข้อมูลแบบ qubit ก็คือเมื่ออิเล็กตรอนผ่านการคำนวณไปเรียบร้อยแล้วก็จะผ่านไปเลยไม่สามารถที่จะนำเอา qubit นั้นๆ กลับมาทำการตรวจสอบได้ครับว่าข้อมูลที่ผ่านการคำนวณนั้นถูกหรือผิด (แถมในวงจรของควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นข้อมูลของ qubit ก็จะอยู่ในรูปแบบของ yes – no หรือไม่ก็ true – false อีกต่างหากครับ)

ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถทำการตรวจสอบได้ว่าข้อมูล qubit ที่ส่งผ่านไปในควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะคำนวณได้อย่างถูกต้องหรือไม่ทางทีมนักฟิสิกส์จึงได้ทำการเพิ่มแบบแผนของวงจรเข้าไปเพื่อที่จะเก็บข้อมูลของ qubit ที่ถูกคำนวณไปแล้วก่อนที่มันจะหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็วครับ การเก็บข้อมูลนั้นก็จะใช้วิธีการเพิ่ม grid system ที่ประกอบไปด้วย 9 qubits เข้าไปในวงจรการคำนวณเสมือนกับเป็นวงจรเพื่อนบ้านครับ

เมื่อการคำนวณที่วงจรหลักผ่านไปแล้ว qubit ที่ได้รับจากการคำนวณ(รวมไปถึงค่าที่นำมาใช้ในการคำนวณ) จะถูกเก็บเอาไว้ที่ qubit เพื่อนบ้านทั้ง 9 qubits ดังกล่าว และสามารถที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลอีกรอบเพื่อทำการตรวจสอบซึ่งกันและกันครับว่าข้อมูลที่อยู่ใน qubit ทั้ง 9 นั้นถูกต้องเหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลใน qubit ทั้ง 9 นั้นเหมือนกันแสดงว่าการคำนวณนั้นก็ถูกต้องครับ

อย่างไรก็ตามทางทีมนักฟิสิกส์ได้บอกครับว่าวิธีการตรวจสอบความถูกต้องนี้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมือนกันของข้อมูล ถ้ามีข้อมูลใน qubit ไหนที่แตกต่างกันออกไปนั่นหมายความว่าการคำนวณนั้นผิดพลาดครับ วิธรการนี้คิดค้นขึ้นมาเพราะทางนักฟิสิกส์บอกครับว่าเราไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะของควอนตัมแล้วยังคงบอกว่ามันยังคงเป็นควอนตัมอยู่ได้ดังนั้นแล้วการเพิ่มวงจรเข้าไปเพื่อที่จะตรวจสอบจึงเป็นไอเดียที่ดีกว่าครับ

หมายเหตุ – ควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นถูกค้นพบมาตั้งแต่ในปี 1981 แล้วครับ โดยการคำนวณด้วย qubit นั้นก็เร็วกว่าการคำนวณในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบันมาก ทว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในตอนนี้เพราะยังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการคำนวณครับ คงจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ เราจึงจะได้เห็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้จริงครับ(ที่สำคัญไปกว่านั้นควอนตัมคอมพิวเตอร์เองก็มีราคาแพงมากด้วยครับ)

ที่มา : vr-zone

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ในช่วงสามปีหลังมานี้ การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีระบบ AI มาใช้มีอัตราการเติบโตขึ้นมาก ทำให้เราได้เห็นทั้งแบรนด์โน้ตบุ๊กและมือถือต่างโฆษณาถึงการนำ AI มาช่วยเสริมการทำงานของเครื่องในหลาย ๆ ด้าน ในบทความนี้จะมาดูกันครับว่าตอนนี้ AI ในโน้ตบุ๊ก มือถือ รวมถึงใน CPU มีไว้ใช้ทำอะไรกันบ้าง Advertisement AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ในคำไทยจะหมายถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้มีการทำงานคล้ายกับสมองมนุษย์ ส่งผลให้ตัวระบบสามารถคิดคำนวณแบบซับซ้อนจากข้อมูลที่รับเข้าไป...

CONTENT

แม้ในตอนนี้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปจะเปลี่ยนเป็น SSD เกือบจะทั้งหมดแล้วก็ตาม แต่ฮาร์ดดิสก์ (HDD) แบบจานหมุนก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้เก็บข้อมูลปริมาณมาก ด้วยราคาต่อความจุที่ต่ำกว่า SSD ซึ่งจะพบได้มากในกลุ่มของเครื่อง server หรือการใช้งานในระดับ data center ที่ต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันก็มีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่อย่าง HAMR ที่คาดกันว่าน่าจะถูกนำมาใส่ไว้ใน HDD จานหมุนที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีนี้ด้วย Advertisement แล้วเทคโนโลยีนี้คืออะไร จะมีผลอะไรกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่เราใช้กันอยู่บ้าง...

IT NEWS

Geoffrey Hinton หนึ่งในสามของ “เจ้าพ่อแห่ง AI” ที่ได้รับรางวัล Turing Award ประจำปี 2018 จากผลงานที่เกี่ยวข้องกับ AI เผยเหตุผลของการลาออกออกจาก Google ว่ามาจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความขัดแย้งด้านทัศนติเกี่ยวกับ AI เมื่อตอนที่ Hinton ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times เขาได้รับคำถามที่มีการกล่าวอ้างว่าสาเหตุที่เขาลาออกจาก...

Other News

ระบบจดจำใบหน้าคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะอุตสาหกรรมภายในทศวรรษหน้า ซึ่งคาดว่าตลาดจะมีมูลค่าถึง 3.2พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 98ล้านบาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก