Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

การรักษาความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ คือ กุญแจสำคัญแห่งยุค Internet of Things

AMD ซึ่งสนับสนุน Open-standardต่างๆ ได้เลือกใช้ระบบสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยแบบเปิดหรือ Open standard และเข้าร่วมกับระบบการรักษาความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งใช้เทคโนโลยี ARM TrustZone?

การรักษาความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ คือ กุญแจสำคัญแห่งยุค Internet of Things

David

Advertisement

??ชายหนุ่มใช้สมาร์ทโฟนในมือสแกนผู้คนรอบตัว เพียงเท่านี้เขาก็ได้ชื่อ อายุ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลรายได้ของคนเหล่านั้นอย่างง่ายดาย และทำได้แม้กระทั่งลักลอบโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของพวกเขา เพียงแค่สมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ชายหนุ่มก็สามารถควบคุมสัญญาณไฟจราจร รวมถึงอุปกรณ์สารพัดอย่างรอบตัวได้ และเพราะเหตุนี้เขาจึงหลบหนีตำรวจได้อย่างง่ายดาย?

เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงฉากตัวอย่างจากเกมแนวโจรกรรมข้อมูลซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ อย่างไรก็ตามนี่อาจจะเป็นการสะท้อนสภาพสังคมแห่งอนาคตอันบิดเบี้ยวหลังระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดถูกปิดตัวลงในยุค Internet of Things ซึ่งทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันบนระบบเครือข่ายด้วย

ปัญหาด้านความปลอดภัยนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถูกนำไปใช้งานเป็นจำนวนมาก เราก็ประสบกับภัยคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์ และหลังจากเริ่มมีการใช้งานโครงข่าย World Wide Web ทุกวันนี้เราต่างก็ต้องประสบกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ?มัลแวร์? ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากในอนาคตอันใกล้ ที่ซึ่งโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ จะมีการโจรกรรมข้อมูลและการโจมตีระบบรูปแบบใหม่ๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าเดิมเกิดขึ้น

โดยทั่วไปนั้นการเชื่อมต่อถึงกันในสังคมยุค Internet of Things มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างเปราะบาง และมีโอกาสถูกโจมตีจากภายนอกได้ ประกอบกับลักษณะของเครือข่ายในอนาคตนั้นมีแนวโน้มจะเป็นมากกว่าแค่การเชื่อมต่อธรรมดาระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ แต่จะมีขอบเขตกว้างขวางมาก เปรียบได้กับระบบประสาทในร่างกายมนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารที่ซับซ้อนระหว่างการรับรู้และปฏิกิริยาตอบรับต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ข้อมูลส่วนบุคคล ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงจุดอ่อนต่างๆ ในโครงสร้างระบบเครือข่ายรอบตัวที่เราคาดไม่ถึง จึงอาจจะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้นสิ่งที่ผมในฐานะผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์มานานอยากจะเน้นย้ำ ก็คือ เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเริ่มตั้งแต่ด้านความปลอดภัยในระดับพื้นฐาน ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยประมวลและเซนเซอร์จะถูกฝังลงในอุปกรณ์เครื่องมือทุกชนิดที่เราใช้เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในสภาพแวดล้อมแบบ Internet of Things ซึ่งหมายความว่าระบบชิปฝังตัวที่เดิมใช้เฉพาะในภายในกลุ่มองค์กรนั้นจะขยายตัวมายังกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปด้วย ส่งผลให้ขอบเขตของเครือข่ายขยายคลอบคลุมไปทุกที่ ทำให้ยากต่อการจัดการด้วยซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างง่ายๆ ของยุคแห่งการเชื่อมต่อก็เช่น ระบบการจัดการ Smart Home ซึ่งสามารถรับรู้ได้ว่าผู้ใช้ตื่นนอนในตอนเช้าด้วยเซ็นเซอร์ และจัดเตรียมกาแฟสูตรเฉพาะ พร้อมขนมปังแบบที่ผู้ใช้ชอบ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมตามอุณหภูมิในร่างกายของผู้ใช้ และแจ้งเตือนตารางงานต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน ไปยังสมาร์ททีวีซึ่งกำลังเปิดช่องโปรดของผู้ใช้ ด้วยสภาพแวดล้อมเช่นนี้ เราจึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นรสนิยมความชอบ อุณหภูมิในร่างกาย รวมไปถึงตารางงานในแต่ละวันได้ ผ่านข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในเครื่องใช้ภายในบ้าน ลองคิดกันเล่นๆ ว่า หากข้อมูลเหล่านี้เกิดเป็นความลับทางธุรกิจ หรือการถ่ายโอนข้อมูลทางธุรกรรมขึ้นมาล่ะ?

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟต์ได้ประกาศหยุดให้การสนับสนุนด้านความปลอดภัยสำหรับWindows XP ส่งผลให้เกิดความวุ่นวายแก่แผนกไอทีต่างๆ ที่ยังใช้ระบบปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับปัญหาด้านความปลอดภัยในรูปแบบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ตามที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายด้วยเซ็นเซอร์และหน่วยประมวลผลจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในอีกสิบปีข้างหน้า ส่งผลให้นักพัฒนาและวิศวกรด้านฮาร์ดแวร์จำเป็นต้องมองหาระบบรักษาความปลอดภัยในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเพื่อพัฒนาโซลูชั่นด้านความปลอดภัยแบบครบวงจรสำหรับอุปกรณ์พกพาในชีวิตประจำวันของเรา

ในฐานะผู้พัฒนานวัตกรรมสำหรับระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ AMD เข้าใจถึงความสำคัญด้านการรักษาความปลอดภัยในยุค Internet of Things เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้
โดยได้มีการริเริ่มไปแล้วบางส่วน กล่าวคือ AMD ซึ่งสนับสนุน Open-standardต่างๆ ได้เลือกใช้ระบบสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยแบบเปิดหรือ Open standard และเข้าร่วมกับระบบการรักษาความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งใช้เทคโนโลยี ARM TrustZone? นอกจากนี้ AMD ยังได้วางแผนที่จะเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์หลากหลายทั้งกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ กราฟฟิก ระบบชิปฝังตัวและอื่นๆ ซึ่งจะมาพร้อมกับแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัย AMD Platform Security Processor (PSP) ภายในปีหน้าอีกด้วย โดยแพลตฟอร์ม PSP นี้นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมด้าน IP ของ AMD ซึ่งจะถูกใช้เป็นกลยุทธ์ทางด้านการรักษาความปลอดภัยของ AMD ในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้นด้วยความร่วมมือกับลูกค้า ทำให้ AMD สามารถระบุปัญหาและจุดที่ต้องให้ความสนใจให้กับกลุ่มนักพัฒนาระบบเพื่อพัฒนาโซลูชั่นที่สมบูรณ์ออกสู่ตลาด โดยองค์ประกอบของโซลูชั่นเหล่านี้จะถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกันได้ และขณะเดียวกันก็ยังเหลือพื้นที่ให้ลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตสรรสร้างแพลตฟอร์มทั้งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและกลุ่มธุรกิจองค์กรที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย

ทุกวันนี้ความปลอดภัยไม่ได้เป็นแค่หน้าที่ของวงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อีกต่อไป AMD ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ และจะมอบทางเลือกด้านความปลอดภัยที่เหนือขึ้นอีกระดับให้แก่ผู้ใช้ และพาร์ทเนอร์ต่างๆ ผ่านกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ซึ่งสร้างบนมาตรฐานแบบเปิด (Open Standard) ของ ARM TrustZone เพื่อทำให้ชีวิตของคนในยุคดิจิตัลมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

amdarmroom-500-2

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นใหม่ก็มา รุ่นเก่าสเปคเด็ดก็มี ถ้าใครอยากเปลี่ยนเครื่องอยู่นาทีนี้มีรุ่นน่าโดนให้เลือกเพียบ! จะปี 2024 นี้หรือปีไหนโน๊ตบุ๊คเล่นเกมก็ยังคงเป็นตัวเลือกขวัญใจใครหลายคนเพราะประสิทธิภาพดี ทรงพลังเหลือเฟือไม่ว่าจะงานเบาๆ ทำเอกสารไปจนตัดต่อคลิปและงาน 3D ก็ไหว เล่นเกมก็ได้สบายๆ ยิ่ง 2~3 ปีมานี้ พอเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ซีพียูกับจีพียู็ยิ่งทรงพลังก็ทำให้เกมเมอร์และครีเอเตอร์ที่ไม่อยากเสียเวลาประกอบพีซีให้วุ่นวายเลือกตัดปัญหาทั้งหมดโดยซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมสเปคแรงมาใช้แทน แถมได้เปรียบว่าพกพาสะดวกหยิบไปทำงานได้ กลับบ้านต่อหน้าจอแยกก็เล่นเกมชั้นนำได้ดีพอตัว นอกจากสเปคแล้ว ในปี 2024 ที่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายแบรนด์ก็เสริม AI...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook 14 OLED UM3406H พรีเมี่ยมโน๊ตบุ๊คพร้อมพลัง Ryzen AI ทำงานได้ เนียนเล่นเกมลื่นอีก!! ถ้าจะซื้อโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง ก็จะมีทางเลือกแค่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหนาหนักแต่แรงทรงพลังหรือเป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คบางเบาเช่นเดียวกับ ASUS Zenbook 14 OLED UM3406H ทว่ามันจะไม่ติดข้อจำกัดเดิมว่าเล่นเกมไม่ไหวอีกต่อไปด้วยพลังของซีพียู AMD Ryzen 8000 Series พร้อม Ryzen...

รีวิว Asus

ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เกมมิ่งตัวบางแอบแรง หยิบไปไหนก็ดูดีไม่มีใครเกิน!! ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เป็นหนึ่งในสามหัวหอกเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจากทาง ASUS ผู้คงรูปลักษณ์เรียบหรูผู้ดี ขณะที่อีกสองพี่น้องเป็นเกมมิ่งตัวแรงทรงพลังขวัญใจเกมเมอร์ปรับสุดทุกเกม ROG Zephyrus G14 จึงเหมาะกับพนักงานออฟฟิศผู้รักในการเล่นเกมและครีเอเตอร์ปั้นงานกราฟิค 3D เสียมากกว่า ซึ่งโมเดลปี 2024...

CONTENT

AMD Ryzen 8040 series ซีพียูรุ่นใหม่ เอาใจคอเกม เล่นเกมไหลลื่น พร้อมมี AI ในตัว AMD Ryzen 8040 series เป็นซีพียูโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ล่าสุดของทาง AMD ออกแบบมาเพื่อการทำงาน สร้างงานครีเอทีฟ ไปจนถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน และการเล่นเกม โดยจุดเด่นอยู่ที่การใช้พลังงานน้อย ความร้อนน้อย จึงเหมาะกับผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ที่ต้องการทั้งศักยภาพในการทำงาน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก