Connect with us

Hi, what are you looking for?

Gaming Notebook

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อก ดีไม่ดีอย่างไร บทความนี้รู้กัน

โอเวอร์คล็อกคืออะไร นี่อาจจะเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ผมจะกล่าวถึงการ “โอเวอร์คล็อก” ให้ฟังอย่างง่ายๆ ครับว่า ผลของมันจะทำให้เครื่องของเราเร็วขึ้น แรงขึ้น

โอเวอร์คล็อกคืออะไร นี่อาจจะเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ผมจะกล่าวถึงการ “โอเวอร์คล็อก” ให้ฟังอย่างง่ายๆ ครับว่า ผลของมันจะทำให้เครื่องของเราเร็วขึ้น แรงขึ้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แค่นี้ก็ชักจะสนใจกันแล้วใช้ไหมล่ะ ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับการโอเวอร็คล็อกให้มากกว่านี้กันดีมั้ยครับ

เคยมีคนสงสัยว่า การโอเวอร์คล็อกนั้นจะทำให้เครื่องของเรา เร็วขึ้น แรงขึ้น ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู โดยการปรับแต่งความเร็วของระบบบัสภายใน หรือการปรับเปลี่ยนความถี่ของซีพียูให้มีค่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้กันอยู่ อย่างเช่นปกติเราใช้ซีพียูความเร็ว 1000 เมกะเฮิรตซ์ และเมื่อเรานำมาโอเวอร์คล็อกแล้ว ซีพียูของเราจะมีความเร็วเพิ่มจาก 1000 เมกะเฮิรตซ์ ไปเป็น 1300 เมกะเฮิรตซ์ อาจจะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องซื้อซีพียูตัวใหม่ และเสียเงินเสียทองในการโอเวอร์คล็อกแต่อย่างใด แต่เมื่อจะเริ่มโอเวอร์คล็อกเรามารู้หลักการและคำศัพท์กันก่อนนะครับ

Advertisement

คำศัพท์ที่ต้องรู้จักก่อนการโอเวอร์คล็อก

Front Side BUS

เรียกกันสั้นๆ ว่า FSB หรือบัสก็ได้ ซึ่งหมายถึง เส้นทางการส่งข้อมูลของลายวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง FSB นั้น จะส่งข้อมูลและทำงานไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ และสล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ด อย่างเช่นสล็อต AGP , PCI ซึ่ง FSB สัญญาณนาฬิการที่เราเรียกกันว่าความถี่ ที่อุปกรณ์แต่ละตัวก็จะมีแตกต่างกันออกไป ซึ่ง FSB จะเป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงาน ว่าจะรับหรือจะส่งจังหวะเร็วก็ส่งเร็วเมื่อจังหวะช้าก็ส่งช้า เป็นต้น

Multiplier (ตัวคูณ)

ซีพียูทุกตัวทั้งซีพีจากค่าย lntel หรือ AMD ต่างก็มีตัวคูณอยู่ในตัวซีพียูอยู่แล้วซึ่งซีพียูแต่ละตัวจะมีตัวคูณที่ไม่เท่ากันเช่น AMD Athlon XP 2500+ ใช้ตัวคูณ 11.0x และใช้ FSB 166 เมกะเฮิรตซ์ (11×166=1826 เมกะเฮริตซ์) แต่ละส่วน AMD Athlon64 3200+ ใช้ตัวคูณ 10.0x แต่ใช้ FSB 200 เมกะเฮิรตซ์ (10×200=2000 เมกะเฮริตซ์) จะเห็นว่าซีพียูแต่ละตัวก็ใช้ FSB ที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกันครับ แต่ในทางโอเวอร์คล็อกซีพียู บางตัวเปลี่ยนค่าตัวคูณได้ (AMD) และซีพียูบางตัวก็เปลี่ยนคูณไม่ได้ (lntel) ซึ่งการเพิ่มตัวคูณนั้นจะไม่มีผลการทบต่ออุปกรณ์รอบข้างแต่อย่างใด แต่นั้นอย่าไปสับสนกับ FSB นะครับ

Vcore

หมายถึงไฟที่ใช้เลี้ยงซีพียูและแน่นอนครับว่าเราสามารถที่จะเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูได้ ซึ่งซีพียูทุกตัวต่างก็มีไฟเลี้ยงในตัวเอง และใช้ไฟเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น lntel Celeron D Processor 330 2.66 กิกะเฮิรตซ์ ใช้ไฟเลี้ยง 1.4 โวลต์ และ AMD Atlon64 FX-53 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ใช้ไฟเลี้ยง 1.6 โวลต์ แต่ในทางเทคนิคของการ โอเวอร์คล็อกนั้น การที่เราเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูสูงๆ จะทำให้สามารถโอเวอร์คล็อกได้สูงๆ ด้วนเช่นเดียวกัน เพราะซีพียูทำงานหนักขึ้น ก็ต้องใช้พลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการระบายความร้อนให้กับซีพียูอีกด้วยส่วนผลเสียก็คือ เมื่อเราเพิ่ม Vcore มากจนเกินไป แล้วเราไม่ได้ความคุมระบบระบายความบนตัวซีพียูให้ดี ซีพียูของคุณอาจจะไหม้ หรือลาโลกไปเลยก็เป็นได้

Vmem, VDD

เป็นไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับหน่วยความจำ ซึ่งหน่วยความจำ DDR1 นั้นจะมีกำลังไฟเลี้ยงที่ 1.6 โวลต์ แต่ถ้าเป็น DDR2 ก็จะมีไฟเลี้ยง 1.4 โวลต์ หลักในการเพิ่มไฟเลี้ยงก็จะคล้ายคลึงกับ Vcore ยิ่งไฟเลี้ยงเยอะเท่าไรก็จะทำให้เราโอเวอร์คล็อกแรมที่ความถี่สูงๆ เยอะเท่านั้น ทั้งนี้ก็อยู่อยู่กับคุณภาพของแรมด้วยว่าจะรับความถี่สูงๆ ได้มากน้อยเพียงใด อีกอย่างคือการระบายความร้อนที่ดีด้วย

VIO

นี่คือไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซิปเซต ซึ่งส่วนมากแล้วเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งค่านี้ได้จะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อกจริงๆ อย่างเช่นเมนบอร์ดจาก ABIT, DFI, MSI และ ASUS เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับ VIO ให้กับซิพเซ็ตได้อีกด้วย

Cache Latency

เรียกกันสั้นๆ ว่า CL หรือ Timing ก็ได้ครับ คืออัตราการรีเฟรซข้อมูลของแรมในหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งการรีเฟรชข้อมูลในหน่วยความจำบ่อยๆ หรือ CL น้อยๆ จะทำให้แรมทำงานได้เร็ว เนื่องจากใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลสั้นลง ซึ่งค่า CL นั้นจะเป็นตัวเลขที่ต่อท้าย 4 ตัวของแรม เช่น แรมยี่ห้อ Corsair DDR XMS 512 MB PC3200 2-7-3-3 จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งต่อไปยัง Chipset และ Chipset ก็จะประมวลผลอีกที (ถ้าค่า CL ยิ่งต่ำเท่าไรแรมก็จะส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น)

AGP/PCI

หมายถึง ความเร็วของการ์ดแสดงผลที่เป็นอินเทอร์เฟช AGP ที่มีความเร็ว 66 เมกะเฮิรตซ์ และความเร็วของอุปกรณ์ PCL ที่มีความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์ ค่า 2 ค่านี้จะเปลี่ยนตาม FSB ซึ่งหากเมนบอร์ดปรับอัตราทดได้แล้วนั้น ค่า AGP/PCI จะทำงานที่ความเร็วดังในตาราที่แสดงอยู่ แต่เมนบอร์ดบางรุ่นสามารถที่จะกำหนดความถี่ให้กับความเร็วของ AGP/PCI เมื่อเราปรับ FSB ให้สูงขึ้น

การโอเวอร์คล็อกสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ

1. โอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB อย่างเดียว

แบบนี้เป็นการเพิ่มความถี่ของ FSB ให้มากขึ้น แล้วความเร็วของซีพียูจะเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ที่เราเปลี่ยนไป จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวคูณของซีพียูนั้นจะมีมากน้อยเพียงใด เช่น ปกติซีพียูทำงานที่ความเร็ว 1000 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 10×100= 1000 เมกะเฮิรตซ์ จากนั้นเมื่อทำการเปลี่ยนตาม คือ 10×133=1330 เมกะเฮิรตซ์ นั่นเอง โดยเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ทุกวันนี้จะกำหนดค่าของ FSB ได้ ซึ่งค่า FSB ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความเร็วอื่นๆ (ค่าความถี่ของอุปกรณ์อื่นๆ ไม่สูงตาม FSB) นั้นก็คือ FSB133, 166 และ 200 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวคือ ถ้าเราใช้งานที่ FSB ดังกล่าวแล้ว AGP/PCI จะทำงานปกติที่ 66/33 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่มีผลเสียใดๆ

*** ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB คือจะทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ทำงานผิดไปจากเดิม เนื่องจาก FSB ของระบบเปลี่ยนไป เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างเสียบลงบนเมนบอร์ดแล้ว FSB ของระบบเปลี่ยนไปอุปกรณ์อื่นๆ ก็ต้องทำงานแล้ว หรือช้าตาม FSB นั้นตามไปด้วย แต่ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากครับ ถ้าเมนบอร์ดของท่านปรับอัตราทด AGP/PCI ได้ หรือกำหนดค่าได้นั้น ก็จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานที่ความเร็วเดิมแม้ FSB จะเปลี่ยนไปตามก็ตาม

2. การโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณอย่างเดียว

เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่สามารถทำได้กับซีพียูจากค่าย AMD เท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ปกติเรามีความเร็วซีพียูที่ 1000 เมกะเฮิรตซ์ (10×100=1000 เมกะเฮิรตซ์) จากนั้นเราทำการปรับตัวคูณ CPU จาก 10 เป็น 12 เราก็จะได้ความเร็ว CPU ใหม่เป็น 12×100=1200 เมกะเฮิรตซ์ นั้นเอง หรืออาจจะปรับขึ้นไปพร้อมๆ กับการเพิ่ม Vcore ก็ได้ครับ แต่จะขอให้ค่อยๆ ปรับขึ้นไปทีละขั้นๆ ไป อย่าใจร้อนปรับแบบก้าวกระโดด

*** ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณ จะทำให้ CPU เร็วขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ระบบโดยรวม หรือความถี่ของอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานที่ความเร็วเท่าเดิม

3. โอเวร์คล็อกแบบปรับ FSB และ ตัวคูณ ไปพร้อมๆ กัน

การโอเวอร์คล็อกด้วยวิธีนี้ ถือว่าเป็นการโอเวอร์คล็อกเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ทั้งความเสถียรของระบบและความเร็ว เพราะจะทำให้ระบบโดยรวมทำงานได้เร็วสูสีกันไป ไม่ใช่ว่าเร็วเฉพาะซีพียูเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

การระบายความร้อนก็มีผลต่อการโอเวอร์คล็อก

พูดถึงความร้อนของอุปกรณ์ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก็มีทั้งนั้นครับ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ตู้เย็น แต่คอมพิวเตอร์นี่สิปกติก็มีความร้อนออกมาอยู่แล้ว ยิ่งถ้าโอเวอร์คล็อกแบบอัด Vcore, Vmem เพิ่มไฟต่างๆ แล้วละก็ ความร้อนมีผลอย่างมากในการที่เราจะโอเวอร์คล็อก ดังนั้นเราควรดูแลและความคุมอุณหหภูมิให้อยู่ในระดับที่ไม่อันตรายเกินไป ซึ่งอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่ควรเกิน 60 องศา นี่เป็นอุณหภูมิที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวซีพียู แต่ถ้าโอเวอร์คล็อกแล้วละก็สมควรอย่างยิ่งที่จะควบคุมให้อุณหภูมิไม่ถึง 40 – 50 องศา ทั้งนี้ก็เพื่อความเสถียรในการทำงานครับ

ปัจจัยที่มีผลต่อการโอเวอร์คล็อกที่ต้องรู้ไว้

เวลาโอเวอร์คล็อกขอให้ค่อยๆ ปรับขึ้นไปเป็นระดับขั้น อย่าใจร้อนและปรับแบบก้าวกระโดด

  • ซีพียูทุกตัวจะสามารถโอเวอร์คล็อกขึ้นไปได้ไม่เท่ากันแม้ว่าจะเป็นรุ่นเดียวกันก็ตาม การระบายความร้อนที่ดี ส่งผลให้ระบบและซีพียูเย็นตามกันไปด้วย และจะสามารถโอเวอร์คล็อกไปที่ความเร็วสูงๆ ได้โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติ
  • เมนบอร์ดที่ดีจะมีฟังก์ชันในการโอเวอร์คล็อกที่ครบครันสามารถปรับและกำหนดค่าต่างๆ ได้ทั้งหมด
  • Vcore ยิ่งเพิ่มมากยิ่งโอเวอร์คล็อกไปได้มากเช่นเดียวกัน
  • หน่วยความจำ (RAM) ที่ดีต้องรับกับความถี่และ FSB สูงๆ ได้และมีค่า Timing ต่ำๆ
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่นอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ต้องรู้ว่ารับกับความถี่สูงๆ ได้ไหมและดูองค์ประกอบโดยรวมไปถึงระบบระบายความร้อนให้ซิปต่างๆ บนเมนบอร์ด Vmem, VIO และอุณหภูมิของห้อง

ผลเสียของการ Overclock

  • ทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเกินมาตรฐานเดิมที่โรงงานได้ผลิตมา ส่งผลให้ซีพียูมีอายุในการทำงานที่สั้นลงประมาณ 10% แต่อย่าลืมว่าซีพียูในปัจจุบันออกมากันอย่างรวดเร็วจะเสียดายไปทำไมล่ะครับ (หมายความว่ายังไงก็ตกรุ่นเร็วอยู่แล้ว ก่อนทิ้งไปใช้ของใหม่ก็เอาตัวเก่ามาซ้อมมือก็ได้)
  • อุปกรณ์โดยรวมที่เราได้โอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB ขึ้นไป ก็จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ดด้วย อาจเกิดปัญหาในการทำงานได้ แต่ถ้ารู้ว่าจุดไหนบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะรับมือได้อย่างสบาย
  • อุปกรณ์ที่จะนำมาร่วมโอเวอร์คล็อกให้ได้ประสิทธิภาพ มีราคาที่แพงกว่าปกติอยู่เล็กน้อย ซึ่งเป็นธรรมดาครับ แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้น บอกได้เลยว่าเกินคุ้ม
  • ต้องคอยดูแลและตรวจเช็คระบบอย่างสม่ำเสมอ ว่าอุปกรณ์แต่ละตัวยังทำงานปกติหรือไม่

เมื่อเราทราบถึงหลักการโอเวอร์คล็อกกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถโอเวอร์คล็อกซีพียูได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และมีความปลอดภัยมากขึ้น ไว้พบกันในตอนต่อไปนะครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

สำหรับผู้ที่เข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ นั้นอาจจะไม่รู้ว่าการ Overclock (OC) คืออะไร คอมของคุณจะสามารถทำได้ไหม แล้วจะทำอย่างไรถึงจะ OC ได้ ในบทความนี้เราจะไขปริศนาให้กับคุณเอง การ Overclock ทั้ง CPU และ GPU ในปัจจุบันนั้นปลอดภัยกว่าที่เคยเป็นมาเมื่อไม่กี่ปีก่อนมาก เพราะเมื่อตอนนั้นระบบระบายความร้อนไม่มีประสิทธิภาพเท่าในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคุณควรสังเกตอุณหภูมิ CPU และ GPU ของคุณขณะ Overclock...

CONTENT

พัดลม การ์ดจอ ไม่หมุน ตรวจเช็ค แก้ไขได้เองใน 7 ขั้นตอน ไม่ต้องซื้อการ์ดจอใหม่ พัดลม การ์ดจอ ไม่หมุน เป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ต้องหมั่นสังเกตอยู่เป็นประจำ และมีการตรวจเช็คบ้างเป็นครั้งคราว เพราะโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็มีอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ดจอที่ใช้งานมาเป็นเวลานาน หรือซื้อการ์ดจอมือสองมาก็ตาม เพราะอาจเกิดความเสื่อมเสียหาย ยิ่งเป็นการ์ดขุดด้วย ก็ยิ่งต้องใส่ใจมากขึ้น เพราะพัดลมจะมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า ย่อมมีโอกาสที่จะเสียหายได้ และเมื่อพัดลมเสีย ไม่หมุน...

Tips & Tricks

Overclock การ์ดจอ 4 โปรแกรมเด็ด เพิ่มความเร็ว เฟรมเรตลื่นไหล เล่นเกมสนุกขึ้น Overclock การ์ดจอจัดว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธี ที่จะทำให้การเล่นเกม หรือการเข้ารหัส ขุดเหมืองคริปโต มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นรูปแบบที่ใช้กันมายาวนาน โดยเฉพาะการใช้ซอฟต์แวร์ ที่ปัจจุบันมีการปรับแต่งง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อรวมกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่มีความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องของชิ้นส่วน รองรับแรงดันไฟได้มาก มีความทนทานสูง จึงทำให้การ OC เช่นนี้ได้รับความนิยมไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอบนพีซี...

How to

วิธีเช็ค การ์ดจอ ด้วย 5 ซอฟต์แวร์ ตรวจเช็คสเปคการ์ดจอ อุณหภูมิ เฟรมเรต ง่ายนิดเดียว วิธีเช็ค การ์ดจอที่คุณใช้กันอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอบนพีซีตั้งโต๊ะ หรือจะเป็นการ์ดจอบนโน๊ตบุ๊คที่หลายๆ คนใช้กันอยู่ ก็มีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่ทำไมต้องเช็คล่ะ? คำตอบก็คือ บางคนอาจสงสัยว่า การ์ดจอที่ได้รับมานั้น ตรงตามสเปคหรือเปล่า รุ่นตรงหรือไม่ หรือซื้อมือสองมาจะโดนย้อมแมวมั้ย รวมถึงบางกลุ่มก็ชอบที่จะตรวจเช็คความร้อน อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้บนการ์ดจอโน๊ตบุ๊ค...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก